เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2567 เที่ยวบินของสายการบิน Turkish Airlines จากซีแอตเทิลไปอิสตันบูล ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดฉุกเฉินที่นิวยอร์ก หลังพบนักบินที่ 1 หรือ กัปตัน หมดสติหลังจากเครื่องขึ้นได้ไม่นาน ลูกเรือได้ทำการปฐมพยาบาลและพยายามช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บบนเครื่องบินวัย 59 ปี แต่เขาเสียชีวิตก่อนที่เครื่องบินจะลงจอด
มีรายงานนักบินผู้ช่วยสามารถนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย
ข้อมูลการติดตามเที่ยวบินแสดงให้เห็นว่าแอร์บัส A350 ขึ้นบินจากซีแอตเทิลเมื่อคืนวันอังคาร (8 ต.ค.) ก่อนที่จะบินไปทางเหนือของแคนาดา อย่างไรก็ตาม เครื่องบินได้เปลี่ยนเส้นทางลงใต้อย่างกะทันหันและลงจอดที่สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ เคนเนดี ในเวลา 06.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ของเช้าวันพุธ (9 ต.ค.)
โฆษกของสายการบินแถลงว่า ผู้เสียชีวิตบนเครื่องคือ กัปตัน Ilcehin Pehlivan ซึ่งเข้าทำงานกับสายการบินแห่งชาติตุรกีตั้งแต่ปี 2550 และขณะนี้ยังไม่พบรายงานปัญหาสุขภาพแต่อย่างใด พร้อมกล่าวเสริมว่า "ขอให้พระเจ้าทรงเมตตากัปตันของเรา และขอให้พระเจ้าทรงอดทนต่อเพื่อนร่วมงานและคนที่เขารักทุกคน โดยเฉพาะครอบครัวของเขาที่กำลังโศกเศร้า" สายการบินยืนยันว่าได้จัดเตรียมเที่ยวบินใหม่ให้ผู้โดยสารเดินทางต่อจากนิวยอร์กกลับไปยังอิสตันบูลแล้ว
เครื่องบินสามารถลงจอดได้ด้วยนักบินเพียงคนเดียว เนื่องจากเครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่มีระบบอัตโนมัติที่ช่วยในหลายขั้นตอนของการบิน รวมถึงการลงจอด นอกจากนี้ นักบินทั้ง 2 หรือ 3 คนในห้องนักบิน (กัปตันและนักบินผู้ช่วย) ได้รับการฝึกให้สามารถควบคุมเครื่องบินได้อย่างสมบูรณ์แม้อยู่คนเดียวหากอีกฝ่ายไม่สามารถทำหน้าที่ได้
ในกรณีฉุกเฉิน เช่น นักบินคนหนึ่งหมดสติ นักบินที่เหลือสามารถเปิดใช้ระบบ Autoland ซึ่งเป็นระบบลงจอดอัตโนมัติที่มีอยู่ในเครื่องบินพาณิชย์สมัยใหม่หลายรุ่น ระบบนี้สามารถช่วยนำเครื่องบินลงจอดอย่างปลอดภัยในสนามบินที่มีการติดตั้งอุปกรณ์รองรับ แต่การนำเครื่องลงจอดโดยนักบินคนเดียว ถือเป็นความท้าทายสูง เพราะนักบินจะต้องรับผิดชอบงานของทั้ง 2 คน เช่น การควบคุมเครื่องบิน สื่อสารกับศูนย์ควบคุมการบิน และจัดการระบบเครื่องบินอื่น ๆ
อ่านข่าวอื่น :
เช็กอาการ "โรคฉี่หนูในเด็ก" หมอเตือนเลี่ยงลุยน้ำท่วม
"ธีรยุทธ" จ่อยื่นศาล รธน.สั่ง "ทักษิณ-พท." เลิกกระทำการล้มล้างการปกครอง
"ติ๊ก ชิโร่" ขับรถตู้ชน จยย.ตาย 1 กระเด็นตกสะพานบาดเจ็บอีก 1
เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2567 ภาพที่เร่งความเร็วแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนมิลตันที่ถ่ายได้จากอวกาศขณะกำลังเคลื่อนตัวอยู่ในอ่าวเม็กซิโก
ขณะที่ภาพล่าสุดจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แสดงให้เห็นกลุ่มเมฆขนาดมหึมาของพายุ ซึ่งล่าสุดเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทางตะวันตกของรัฐฟลอริดาในระยะไม่เกิน 90 กม. ทำให้คาดว่าน่าจะพัดขึ้นฝั่งในหลักชั่วโมง เป็นเวลาช่วงเย็น-ค่ำวันพุธที่ฟลอริดา (9 ต.ค.)
พายุลูกนี้ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้เกิดลมกระโชกแรงกินพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้ และคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก โดยภายในวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐฯ (10 ต.ค.) คาดว่าจะมีลมแรงระดับพายุโซนร้อนพัดถล่มครอบคลุมบริเวณแหลมฟลอริดาทั้งหมด
ก่อนหน้านี้เฮอร์ริเคนมิลตันลดระดับความเร็วลงจากเฮอร์ริเคนระดับ 5 เหลือเป็นระดับ 4 และ 3 โดยวัดความเร็วลมได้ราว 190 กม./ชม.
สะพานและถนนหลายสายแถมแทมปาเงียบสงัดไร้รถสัญจร หลังผู้คนอพยพออกจากพื้นที่ และสะพานบางแห่งถูกสั่งปิด ท่ามกลางลมและฝนที่พัดถล่มก่อนพายพัดขึ้นฝั่ง โดรนผิวน้ำขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) ตรวจวัดคลื่นได้สูงกว่า 8 เมตร ห่างจุดศูนย์กลางของพายุประมาณ 75 กม.
ส่วนที่ Treasure Island ท้องถนนเงียบสงัดหลังคนอพยพออกไปแล้วเช่นกัน ท่ามกลางภาพซากความเสียหายจากพายุเฮอร์ริเคนเฮลีนที่ยังเก็บกวาดไม่เสร็จสิ้น
ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเตือนเมื่อวันจันทร์ (7 ต.ค.) ว่า "มิลตันอาจเป็นหนึ่งในพายุเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมาในพื้นที่ตอนกลาง-ตะวันตกของฟลอริดา นี่เป็นสถานการณ์ที่คุกคามชีวิตอย่างยิ่ง"
ขณะที่ก่อนพายุเฮอร์ริเคนจะพัดขึ้นฝั่ง มีรายงานการเกิดพายุหมุนทอร์นาโดในหลายจุด ซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกภาพกลุ่มเมฆคล้ายกับทอร์นาโดที่กำลังก่อตัวเอาไว้ได้ โดยมีรายงานแล้วอย่างน้อย 11 ลูก แต่ในบางจุดถูกทอร์นาโดพัดถล่มจนเกิดความเสียหายไปก่อนแล้ว
รอน ดีซานทิส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา แถลงเตือนถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซ้ำเติมความเสียหายจากเฮอร์ริเคนเฮลีนเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พร้อมระบุว่าอาจเกิดคลื่นซัดฝั่งสูงถึง 3 เมตรในบางจุด เช่นเดียวกับสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลางสหรัฐฯ (FEMA) ที่้ย้ำเตือนถึงอันตรายจากพายุลูกนี้
ขณะที่โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตือนถึงการกักตุนและฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าของห้างร้านต่าง ๆ ในฟลอริดาระหว่างช่วงที่พายุพัดถล่ม โดยระบุว่ารัฐบาลกลางจะดูแลไม่ให้เกิดปัญหานี้ สำทับกับทางการรัฐฟลอริดาที่เตรียมการดูแลเรื่องการนำส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัย
ขณะที่คิวบาเผชิญอิทธิพลของพายุไปแล้วก่อนหน้านี้ แม้ว่าพายุจะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งโดยตรงก็ตาม
เฮอร์ริเคนมิลตันเป็นพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดอันดับ 3 โดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก้าวจากเฮอร์ริเคนระดับ 1 เป็นระดับ 5
อ่านข่าวอื่น :
เฮอร์ริเคน "มิลตัน" รุนแรงระดับ 5 จ่อขึ้นฝั่งฟลอริดา
เมื่อวันที่ 8 ต.ค.2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทัพอิสราเอลเดินหน้าโจมตีทางอากาศ พุ่งเป้าบริเวณชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
สื่อเลบานอนรายงานว่า กองทัพอิสราเอลโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มเฮซบอลลาห์บริเวณดังกล่าวหลายครั้ง สร้างความเสียหายอย่างหนักและทำให้อาคารที่พักอาศัยพังถล่มลงมาถึง 4 หลัง
วันเดียวกัน กลุ่มเฮซบอลลาห์ยิงขีปนาวุธข้ามเข้าไปในดินแดนอิสราเอลระลอกใหม่ โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลยิงสกัดจรวดเหนือ Haifa Bay ไว้ได้ หลังมีจรวด 105 ลูกถูกยิงเข้ามาเหนือน่านฟ้าเมืองท่าดังกล่าว รวมถึงพื้นที่ตอนบนและตอนล่างของภูมิภาคกาลิลี ทางตอนเหนือของอิสราเอล
กองทัพอิสราเอลส่งเฮลิคอปเตอร์หลายลำปฏิบัติการยิงขีปนาวุธเข้าไปในเลบานอน พร้อมทั้งระบุว่ามีจรวดมากกว่า 170 ลูก ถูกยิงจากฝั่งเลบานอนข้ามพรมแดนเข้ามาในฝั่งอิสราเอล ซึ่งในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาสามารถสังหารนักรบกลุ่มเฮซบอลลาห์ไป 50 คน
ด้านเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ระบุว่า ขณะนี้กลุ่มเฮซบอลลาห์อ่อนแอกว่าที่เป็นมาในรอบหลายปี พร้อมทั้งระบุว่าการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลสามารถกำจัดผู้ที่จะขึ้นมาแทนที่ ฮาสซาน นาสราลลาห์ อดีตผู้นำกลุ่มเฮซบอลลาห์ที่ถูกอิสราเอลสังหารไปก่อนหน้านี้ได้แล้ว รวมถึงผู้ที่จะมาแทนที่ว่าที่ผู้นำคนดังกล่าวด้วย
ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล ระบุก่อนหน้านี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ ฮาเซม ซาฟีดดีน ว่าที่ผู้นำกลุ่มเฮซบอลลาห์คนใหม่ ถูกกำจัดไปแล้วและขณะนี้เฮซบอลลาห์เป็นกลุ่มที่ไร้ผู้นำ
ล่าสุด โฆษกกองทัพอิสราเอล ระบุว่า อยู่ระหว่างประเมินความเสียหายการโจมตีสำนักงานใหญ่หน่วยข่าวกรองของกลุ่มเฮซบอลลาห์ในย่านดาฮีเยห์ ของกรุงเบรุตเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ซาฟีดดีน ถูกสังหารในการโจมตีดังกล่าวหรือใหม่ แต่ทราบว่าซาฟีดดีนอยู่ในบริเวณดังกล่าวในช่วงเกิดการโจมตี
แมทธิว มิลเลอร์ ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า สหรัฐฯ ต้องการเห็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีทางการทูต แต่ยังคงแสดงออกถึงการสนับสนุนความพยายามของอิสราเอลในการลดทอนศักยภาพของกลุ่มเฮซบอลลาห์ พร้อมทั้งระบุว่าการที่ Naim Qassem รองผู้นำกลุ่มเฮซบอลลาห์ออกมาสนับสนุนความพยายามของเลบานอนในการบรรลุข้อตกลวหยุดยงกับอิสราเอล ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเฮซบอลลาห์กำลังเสียเปรียบ
ขณะเดียวกันเที่ยวบินของหลายประเทศยังทยอยอพยพพลเมืองออกจากเลบานอน ล่าสุดเที่ยวบินของชิลีอพยพชาวชิลี 67 คนถึงประเทศบ้านเกิดแล้ว นอกเหนือจากการอพยพเที่ยวบินนี้ได้ส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังกรุงเบรุตด้วย รวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่นเดียวกับเครื่องบินของกองทัพฝรั่งเศสที่จัดส่งเวชภัณฑ์และยาไปยังกรุงเบรุต
อ่านข่าว
1 ปีแห่งสงคราม "เนทันยาฮู" ยังกร้าวไม่เลิกโจมตี-สู้จนกว่าชนะ
10 เรื่องต้องรู้ 1 ปี สงครามอิสราเอล-ฮามาส
เฮอร์ริเคน "มิลตัน" รุนแรงระดับ 5 จ่อขึ้นฝั่งฟลอริดา
เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2567 ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตแล้วกว่า 40,000 คน และด่านหน้าสงครามยังปะทุขึ้นในอีกหลายจุดจนเกรงว่าจะลุกลามทั่วภูมิภาค ซึ่งการรำลึกครบรอบ 1 ปี มีขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจของชาวอิสราเอลจำนวนมาก
เสียงสัญญาณเตือนภัยดังทั่วกรุงเทลอาวีฟของอิสราเอล ท่ามกลางการยิงสกัดขีปนาวุธและจรวดที่พุ่งเป้าเข้ามายังตัวเมือง โดยกองทัพอิสราเอลเปิดเผยภายหลังว่า สัญญาณดังกล่าวเกิดจากวัตถุแปลกปลอมอย่างน้อย 5 ชิ้น ที่ยิงเข้ามาทางตอนกลางของประเทศจากเลบานอน โดยบางส่วนกองทัพอากาศอิสราเอลสกัดเอาไว้ได้และตกลงในที่โล่ง
เหตุโจมตีระลอกล่าสุดเกิดขึ้นในคืนวันครบรอบ 1 ปีการโจมตีที่กลุ่มฮามาสบุกเข้ามาจู่โจมอิสราเอล ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามอิสราเอล-ฮามาสขึ้น
ในโอกาสครบรอบ 1 ปี เหตุโจมตีโดยกลุ่มฮามาส อาคารรัฐสภาอิสราเอลเปิดไฟเป็นสีธงชาติเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต ท่ามกลางความเคลื่อนไหวทั้งในอิสราเอลและหลายจุดทั่วโลก
เมื่อคืนที่ผ่านมา (7 ต.ค.) อิสราเอลถ่ายทอดพิธีรำลึกครั้งใหญ่ไปทั่วประเทศ โดยเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรี ยืนกรานว่า จะต่อสู้ในศึกนี้ต่อไปและไม่เลิกทำสงครามก่อนจะบรรลุเป้าหมายหรือได้รับชัยชนะ โดยจะต่อสู้ตราบเท่าที่ยังมีตัวประกันอยู่ในกาซา และจะไม่ทอดทิ้งใครแม้แต่คนเดียว
ท่าทีของรัฐบาลอิสราเอลขัดกับสิ่งที่ครอบครัวตัวประกันที่ยังไม่ได้กลับบ้านรู้สึก โดยพวกเขารวมตัวประท้วงเงียบในโอกาสครบรอบ 1 ปี ซึ่งพวกเขาไม่พอใจที่รัฐบาลของเนทันยาฮูไม่สามารถเจรจาเพื่อให้ตัวประกันได้รับอิสรภาพได้แม้จะผ่านมา 1 ปีเต็ม
กลุ่มครอบครัวตัวประกันจัดงานรำลึกครบรอบ 1 ปีเหตุร้ายดังกล่าวแยกต่างหากจากงานของรัฐบาล เพื่อตอกย้ำความล้มเหลวของรัฐบาลอิสราเอล โดยเฉพาะการที่ตัวประกันเสียชีวิตในเงื้อมมือฮามาสถึงอย่างน้อย 27 คน โดยมีการประเมินว่าขณะนี้ในกาซามีตัวประกันหลงเหลืออยู่อีกกว่า 101 คน จากจำนวนตัวประกันที่ฮามาสจับไปช่วงแรกเริ่มสงคราม 250 คน
ขณะที่ครอบครัวของเหยื่อจากงานเทศกาลดนตรีโนวา ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ถูกกลุ่มฮามาสโจมตีหนักหน่วง เกิดความสูญเสียและจับตัวประกันไปได้จำนวนมาก ร่วมกันจัดงานรำลึกโดยนำรูปภาพผู้เสียชีวิตมาจัดแสดงพร้อมวางดอกไม้และจุดเทียนอาลัย โดยมีครอบครัวตัวประกันและผู้เสียชีวิตร่วมกันรำลึกถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว หลายคนอยู่ในอาการโศกเศร้าอย่างหนัก
ขณะที่การชุมนุมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว ในนครอิสตันบูลของตุรกี ลุกลามเป็นความวุ่นวายเมื่อเจ้าหน้าที่กระทบกระทั่งกับกลุ่มประท้วงสนับสนุนปาเลสไตน์ ซึ่งตำรวจพยายามขอให้ผู้ชุมนุมไม่ดันแผงกั้น ขณะที่ผู้ชุมนุมต้องการเคลื่อนขบวนไปยังจัตุรัสอิสติกลัล ใจกลางเมือง
นอกจากนี้ในกรุงโรมของอิตาลียังมีการใช้ตุ๊กตาหมีเป็นสัญลักษณ์รำลึกถึงความโหดร้าย โดยนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษาชาวยิวนำตุ๊กตาหมีเปื้อนเลือดและอยู่ในสภาพถูกปิดตาไปมัดไว้กับเสาในสถานที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ทั้งที่โคลอสเซียมและจัตุรัส Piazza del Popolo เพื่อรำลึกถึงเหตุรุนแรงในวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว
ในโอกาสนี้ โจ ไบเดน ปธน.สหรัฐฯ พร้อมสุภาพสตรีหมายเลข 1 ร่วมทำพิธีจุดเทียนที่ทำเนียบขาว เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุโจมตีโดยฮามาส
ขณะที่คามาลา แฮร์ริส รอง ปธน.สหรัฐฯ และตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเดือนหน้า พร้อมสุภาพบุรุษหมายเลข 2 ปลูกต้นทับทิมเพื่อรำลึกถึงเหตุสังหารหมู่ชาวยิวที่นับว่าร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนาซีเยอรมัน แฮร์ริสย้ำจุดยืนว่ายังให้ความสำคัญกับความมั่นคงของอิสราเอลและการทวงอิสรภาพให้ตัวประกันที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไป ส่วน "ดัก เอมฮอฟฟ์" สามีของแฮร์ริส คู่สมรสของรอง ปธน.สหรัฐฯ ที่เป็นชาวยิว ซึ่งเขาระบุว่าเหตุการณ์ 7 ต.ค.ยังคงสะเทือนใจชาวยิวทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้
การโจมตีของฮามาสทำให้มีชาวยิวเสียชีวิตกว่า 1,200 คนเมื่อ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว โดยประมาณ 250 คนถูกจับเป็นตัวประกัน ซึ่งขณะนี้คาดว่าเหลืออยู่ราว 100 คนในกาซา แต่เกรงว่าอาจเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่งแล้ว
ส่วนการโจมตีเขตกาซาของอิสราเอลทำให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตแล้วกว่า 41,000 คน และพลัดถิ่นอีกกว่า 1,900,000 คน
สถานการณ์ในเลบานอนยังเกิดการโจมตีอย่างต่อเนื่องโดยอิสราเอล ซึ่งการโจมตีช่วงหนึ่งเกิดขึ้นใกล้สนามบินในกรุงเบรุต รวมถึงย่านชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงเบรุต ท่ามกลางการเร่งอพยพของชาวต่างชาติ
ก่อนหน้านี้ชาวออสเตรเลียที่อพยพออกจากเลบานอนนั่งเครื่องบินไปถึงยังไซปรัสแล้ว เพื่อเดินทางต่อไปยังออสเตรเลีย บางส่วนที่กลับไปถึงยังนครซิดนีย์ได้พบปะครอบครัวในที่สุด ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียเปิดเผยว่า มีพลเมืองลงทะเบียนขออพยพออกมาจากเลบานอนมากกว่า 3,500 คน
อ่านข่าวเพิ่ม :
10 เรื่องต้องรู้ 1 ปี สงครามอิสราเอล-ฮามาส
1 ปีแห่งสงครามอิสราเอล-ฮามาส ทั่วโลกเรียกร้องยุติความรุนแรง
เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2567 ประชาชนในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ เตรียมการรับมือกับพายุเฮอร์ริเคน "มิลตัน" ที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่ในอ่าวเม็กซิโกและคาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณรัฐฟลอริดาในช่วงสัปดาห์นี้
ล่าสุด ศูนย์พายุเฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานว่า พายุมิลตันทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากพายุโซนร้อนกลายเป็นพายุเฮอร์ริเคนระดับ 5 หรือความรุนแรงขั้นสูงสุดแล้ว โดยมีความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรอยู่ชั่วโมง
ขณะนี้พายุเคลื่อนตัวอยู่ห่างจากชายฝั่งของเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ประมาณ 1,126 กิโลเมตร และคาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณอ่าวแทมปาในวันที่ 9 ต.ค. สถานการณ์ดังกล่าวทำให้สนามบินนานาชาติแทมปาและออร์แลนโด ประกาศเตรียมปิดทำการตั้งแต่เช้าวันที่ 8 ต.ค.ตามเวลาท้องถิ่น
รอน เดอ ซานทิส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา ประกาศให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเตรียมการอพยพโดยด่วน พร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน 51 จาก 67 เคาน์ตี เช่นเดียวกับผู้อำนวยการฝ่ายจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐที่กล่าวว่า ความสูญเสียต่อชีวิตจะป้องกันได้ 100% หากประชาชนเลือกที่จะอพยพ ซึ่งการแจ้งเตือนอพยพครั้งนี้นับว่าเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปี ตั้งแต่พายุเฮอร์ริเคนอิรมา ซึ่งขณะนั้นมีการแจ้งเตือนอพยพประชาชนมากกว่า 7 ล้านคน
ขณะที่แครีน ฌ็อง-ปิแอร์ โฆษกทำเนียบขาว เตือนให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวผ่านเร่งอพยพโดยทันที ขณะที่รัฐบาลกลางเตรียมการที่จะส่งหน่วยงานความช่วยเหลือไปในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การมาถึงของพายุเฮอร์ริเคนมิลตัน อาจถือได้ว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ความเสียหายจากพายุเฮอร์ริเคนเฮลีนที่เพิ่งพัดขึ้นฝั่งเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งในหลายพื้นที่ยังฟื้นฟูระบบถนนและสาธารณูปโภคไม่แล้วเสร็จ ขณะที่ประชาชนในหลายเมืองยังคงไม่มีไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงระบบโทรศัพท์ใช้
อ่านข่าว
1 ปีแห่งสงครามอิสราเอล-ฮามาส ทั่วโลกเรียกร้องยุติความรุนแรง
พระราชทานเพลิงศพ 23 ครู-นร. เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันนี้
สภาพอากาศวันนี้ เหนือ-อีสานอากาศเย็นช่วงเช้า ใต้ฝน 70% พื้นที่
การโจมตีเริ่มต้นในค่ำคืนวันที่ 7 ต.ค.2566 โดยกลุ่มฮามาส ถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตึงเครียดครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลางในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฮามาสเปิดฉากด้วยการยิงจรวดหลายพันลูกเข้าไปในอิสราเอล รวมถึงการบุกผ่านพรมแดนไปยังหลายเมืองในอิสราเอล การโจมตีนี้ไม่เพียงแต่สังหารพลเรือนกว่า 1,400 คนในขณะนั้นในทันที อีกทั้งยังจับตัวประกันประมาณ 250 คน แต่ยังสร้างความตกใจทั่วโลก
เนื่องจากฮามาสสามารถบุกเข้าไปได้อย่างรวดเร็วและกระจายวงกว้างเกินคาด เหตุการณ์นี้จุดชนวนให้รัฐบาลอิสราเอลประกาศ "ภาวะสงคราม" เกิดการตอบโต้ทางทหารอย่างรุนแรง การปะทะครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นผลสะสมจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่ายที่ยืดเยื้อยาวนานและความล้มเหลวในการหาทางออกทางการทูตที่ยั่งยืนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการโจมตีกลับกลุ่มฮามาสทันที โดย เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล สั่งเปิดปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่รวมทั้งการโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงเพื่อทำลายฐานที่มั่นของฮามาส ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่พลเรือนในกาซา การโจมตีเหล่านี้มีเป้าหมายหลักในการทำลายอุโมงค์ใต้ดิน คลังอาวุธ และเครือข่ายการสื่อสารของฮามาส
อิสราเอลระบุว่า การโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดิน ต้องการล้างบางกลุ่มฮามาสให้สิ้นซาก แต่ขณะเดียวกัน การโจมตีก็ทำให้ประชาชนพลเรือนในกาซาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก มีระเบิดในเขตที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียบ้านเรือนและมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น ก็มีการประณามจากนานาชาติถึงผลกระทบต่อชีวิตของพลเรือนในกาซาที่เป็นผลจากการโจมตีทางทหารของอิสราเอลครั้งนี้
ความล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงได้เปิดทางไปสู่ความรุนแรงของภูมิภาคที่ดูจะไม่มีวันสิ้นสุดในกาซา ครบรอบ 1 ปีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 41,500 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กมากกว่า 16,000 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บอีกเกือบ 100,000 คน และมีผู้สูญหายที่คาดว่าเสียชีวิตใต้ซากปรักหักพังมากกว่า 10,000 คน ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกาซา
ผู้คนราว 1,900,000 คน หรือร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านเรือนของตนเองและผู้คนอีกเกือบครึ่งล้านคน ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของกาซา เช่น ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจ ที่ดินทำกิน และกองเรือประมงส่วนใหญ่ถูกทำลายจนสูญสิ้น
สงครามในกาซาทั้งการโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดิน ทำให้ระบบสาธารณสุขได้รับความเสียหายอย่างหนัก โรงพยาบาลทั้งหมด 36 แห่งในกาซา เหลือเพียง 17 แห่งเท่านั้น ที่ยังพอให้บริการคนไข้ได้บ้าง นอกจากความเสียหายของโรงพยาบาลแล้ว กาซายังเผชิญกับภาวะขาดแคลนยา เวชภัณฑ์ น้ำสะอาด และ อาหาร ทำให้สุขภาพของประชาชนย่ำแย่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก มีความเสี่ยงสูงต่อโรคระบาดและภาวะขาดสารอาหาร
การขาดแคลนน้ำและการอพยพผู้คนไปยังพื้นที่ที่มีความแออัด ยังทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น อหิวาตกโรค และ โรคทางเดินอาหาร สถานการณ์ที่ยากลำบากเหล่านี้ ยังสร้างภาระหนักให้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขที่ยากลำบากอีกด้วย
การปิดล้อมของอิสราเอล ทำให้นานาประเทศส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังกาซายากลำบาก เส้นทางการขนส่งอาหาร น้ำ และ ยารักษาโรคถูกจำกัด ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่สะอาดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่ถูกปิดล้อมหรือโดนโจมตีอย่างหนัก
ความขาดแคลนดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลพิเศษ ขณะเดียวกัน สหประชาชาติได้พยายามเรียกร้องให้อิสราเอลผ่อนปรนการปิดล้อม เพื่อเปิดทางสำหรับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีทีท่าว่าการเรียกร้องนั้นเป็นผลสักเท่าไหร่นัก
การจับตัวประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การต่อสู้ของฮามาสในการสร้างแรงกดดันต่ออิสราเอล ขณะที่อิสราเอลตอบโต้ด้วยการโจมตีทางทหารในฉนวนกาซา ส่งผลให้นานาประเทศเสนอตัวเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อหาทางปล่อยตัวประกันเหล่านี้ รายงานระบุว่า "กาตาร์ และ อียิปต์" เสนอตัวเป็นผู้ประสานงานให้ทั้งอิสราเอลและฮามาส โดยมีบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการเจรจาเงื่อนไขการปล่อยตัวประกัน
แต่การเจรจาหลายครั้งประสบปัญหา เนื่องจากความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่และความตึงเครียดที่สูงขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้ ยังมีองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติและสภากาชาดสากล (ICRC) เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของตัวประกันและช่วยเหลือในการเจรจาอีกด้วย
ความสำเร็จในการเจรจาหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส เกิดขึ้นเมื่อเดือน พ.ย.2566 หรือ เกือบ 1 เดือนหลังการโจมตี ซึ่งนับเป็นการปล่อยตัวประกันเพียงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นตลอด 1 ปีแห่งสงครามครั้งนี้ ฮามาสยอมปล่อยตัวประกันจำนวน 110 คน แลกกับเชลยศึกชาวปาเลสไตน์ 240 คน และอิสราเอลก็ยอมผ่อนปรนให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเข้าไปในกาซาเป็นการชั่วคราว
นานาชาติเข้ามามีบทบาทในการพยายามระงับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและฮามาส หลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์และกาตาร์ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงและเปิดการเจรจาสันติภาพ แต่ความพยายามเหล่านี้กลับล้มเหลว เพราะความไม่ไว้วางใจระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายยังคงอยู่ และทั้งสองต่างยืนกรานในเงื่อนไขของตนเอง
ด้านความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม องค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศ เช่น Médecins Sans Frontières (MSF) และหน่วยงานบรรเทาทุกข์ของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ (UNRWA) กลับต้องเผชิญอุปสรรคสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนในกาซา เพราะสถานการณ์การสู้รบที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้การเข้าถึงพื้นที่เพื่อส่งมอบเวชภัณฑ์และความช่วยเหลืออื่น ๆ เป็นไปได้ยาก
ผลกระทบทางจิตใจของประชาชนที่เผชิญสงครามในกาซานั้นเป็นปัญหารุนแรง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ ทั้งสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การทำลายล้างบ้านเรือน และความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากการโจมตีอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญทางจิตจาก Médecins Sans Frontières (MSF) รายงานว่า มีความต้องการนักบำบัดอย่างเร่งด่วน เด็กหลายคนในกาซามีอาการเครียดเรื้อรัง (PTSD) และมีปัญหาด้านการนอนหลับ เพราะกลัวสงครามตลอดเวลา แทบทุกคนต้องเผชิญกับเสียงระเบิดและเห็นภาพการทำลายล้างทุกวัน ความเสียหายทางจิตใจนี้คาดว่าจะยังคงมีผลต่อเนื่องยาวนาน แม้ความขัดแย้งสิ้นสุดลง แต่ความทุกข์ทรมานจะสะสมเพิ่มเรื่อย ๆ
สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสมีผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศมหาอำนาจ เช่น อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาหรับ
"สหรัฐฯ" ให้การสนับสนุนอิสราเอลอย่างเต็มที่ ในการป้องกันตนเองจากการโจมตีของฮามาส แต่ขณะเดียวกัน ก็เรียกร้องให้มีการปกป้องชีวิตพลเรือน "อิหร่าน" ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มฮามาส ได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าอาจมีบทบาทในการสนับสนุนด้านอาวุธและทรัพยากรให้กับฮามาส ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจลุกลามเป็นสงครามในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับ เช่น ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ก็อาจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในปัจจุบัน ทำให้การเจรจาสันติภาพในภูมิภาคนี้ยากขึ้น
ไม่มีใครที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาส จะสิ้นสุดเมื่อใด ดูตามปัจจัยหลายข้อจากสถานการณ์ความรุนแรงระดับภูมิภาคนี้ ความขัดแย้งนี้มีรากฐานจากความตึงเครียดทางประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งทางการเมือง ศาสนา และชาติพันธุ์ในภูมิภาค การเจรจาสันติภาพในอดีตก็มักล้มเหลวเพราะต่างฝ่ายต่างไม่ไว้ใจกัน
ส่วนองค์กรระหว่างประเทศและประเทศที่มีอำนาจ ก็ได้พยายามเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อหาทางยุติสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียกร้องให้มีการหยุดยิงชั่วคราวเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนในกาซา แต่การเจรจาเหล่านี้มักเผชิญกับความล้มเหลวเนื่องจากข้อเรียกร้องที่ขัดแย้งกัน เช่น ฮามาสเรียกร้องให้มีการยุติการปิดล้อมกาซา ขณะที่อิสราเอลยืนกรานว่าต้องมีการหยุดการโจมตีจากฮามาสอย่างสิ้นเชิง ในขณะเดียวกัน ความรุนแรงทางทหารก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
ครบ 1 ปีแล้ว ความหวังในการยุติสงครามในระยะเวลาอันใกล้ ดูเหมือนจะยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจน ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะยอมรับการเจรจาเพื่อ "สันติภาพ" ในภูมิภาคและชะตากรรมของคนนับล้านในกาซาได้ตอนไหน
อ่านข่าวอื่น :
1 ปีแห่งสงครามอิสราเอล-ฮามาส ทั่วโลกเรียกร้องยุติความรุนแรง
ระเบิดใกล้สนามบินปากีสถาน ทางการชี้โจมตีพุ่งเป้าชาวต่างชาติ
วันนี้ (7 ต.ค.2567) เมืองหลวงของอิสราเอลมีประชาชนออกมารวมตัวตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา (6 ต.ค.) สิ่งที่น่าสนใจคือการจัดงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกดำเนินการโดยครอบครัวของผู้เสียชีวิต อีกส่วนหนึ่งเป็นการจัดงานของรัฐบาล ซึ่งการจัดงานในลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมอิสราเอล
ชาวอิสราเอลในกรุงเทล อาวีฟ ออกมารวมตัวเคียงข้างครอบครัวของผู้เสียชีวิตและครอบครัวของตัวประกันตั้งแต่เมื่อคืนวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือก่อนหน้าวันครบรอบ 1 ปีสงครามในกาซาซึ่งตรงกับวันนี้ โดยงานรำลึกครบรอบ 1 ปี จุดเริ่มต้นของสงครามในกาซา แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกดำเนินการโดยครอบครัวของผู้เสียชีวิตและตัวประกัน เบื้องต้นตั๋วเข้าร่วมงานจำนวน 40,000 ใบ ถูกจับจองหมดแล้ว แต่ไม่แน่ชัดว่าจะมีคนเข้าร่วมมากเท่าไร เนื่องจากรัฐบาลอิสราเอลยังคงกังวลเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ในเลบานอนอาจจะโจมตีกรุงเทล อาวีฟ จึงจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานให้เหลือเพียง 1,000 คนเท่านั้น
ส่วนการจัดงานของรัฐบาล จะเป็นการบันทึกเทปไว้ล่วงหน้า โดยจะฉายหลังจากที่การจัดงานของภาคประชาชนจบลงไปด้วย เหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เนื่องจากการจัดงานในภาคประชาชนจะมีการอภิปรายถึงความล้มเหลวของรัฐบาล นับตั้งแต่ความล้มเหลวด้านข่าวกรองที่ปล่อยให้ฮามาสบุกเข้ามาก่อเหตุเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว
ขณะที่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนในหลายประเทศพร้อมใจออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรง
กลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ในนครอิสตันบูลของตุรกี ถือธงผืนยักษ์ร่วมเดินขบวนไปตามท้องถนน เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวปาเลสไตน์เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีสงครามในกาซา โดยผู้ประท้วงยังพร้อมใจแสดงจุดยืนต่อต้านอิสราเอล และประณามอิสราเอลว่าเป็นผู้ก่อการร้ายตัวจริง ซึ่งภาพการชุมนุมประท้วงลักษณะนี้เกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วตุรกี รวมถึงกรุงอังการา
ส่วนในภูมิภาคตะวันตกของสเปน ผู้ประท้วงถือป้ายเรียกร้องให้ยุติการการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ และเดินขบวนไปยังหน้าบริษัทผู้ผลิตยานยนต์และอาวุธของเยอรมนีซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายอาวุธให้กับอิสราเอล เพื่อเรียกร้องให้บริษัทยุติการสนับสนุนอิสราเอล และร้องให้มีการยุติการปฏิบัติการทางทหารทั้งในกาซาและเวสต์ แบงก์
ส่วนในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกนของสหรัฐฯ ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนเดินขบวนไปตามท้องถนนพร้อมชูธงปาเลสไตน์และธงชาติเลบานอน ตะโกนข้อความเรียกร้องให้ปลดปล่อยปาเลสไตน์และยุติการโจมตีเลบานอน รวมถึงเรียกร้องให้ทำข้อตกลงหยุดยิงเพื่อยุติความสูญเสียในกาซา
ขณะที่ชาวปากีสถานหลายพันคนพร้อมใจออกมารวมตัวในเมืองการาจี พร้อมทั้งโบกธงแสดงแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวปาเลสไตน์ หัวหน้าพรรค Jamaat-e-Islami Party ซึ่งเป็นพรรคอิสลามหลักของปากีสถาน ระบุว่าการประท้วงนี้จัดขึ้น เพื่อปลุกจิตสำนึกของคนทั้งโลก บอกสหรัฐฯ ว่ากำลังสนับสนุนการก่อการร้าย และบอกองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ว่าไม่ได้อยู่เคียงข้างผู้ถูกกดขี่และไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง
เช่นเดียวกับในกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ที่กลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ประมาณ 1,000 คน ออกมารวมตัวใกล้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เรียกร้องให้สหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนอาวุธให้อิสราเอล และเรียกร้องไปถึงยูเอ็นว่า จะต้องยุติการใช้สองมาตรฐาน และต้องคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ปกป้องปาเลสไตน์
ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนอิสราเอลในฝรั่งเศสพร้อมใจออกมาเดินขบวนบริเวณในกรุงปารีส เพื่อเรียกร้องให้กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันที่เหลืออยู่
ส่วนที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ กลุ่มผู้สนับสนุนอิสราเอลและกลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ ต่างจัดการเดินขบวนในท้องถนน โดยการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ท่ามกลางการระดมกำลังรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
เช่นเดียวกับบรรยากาศในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ที่ผู้สนับสนุนอิสราเอลหลายร้อยคน โบกธงอิสราเอลเดินขบวนไปตามท้องถนน พร้อมทั้งถือป้ายเขียนข้อความแสดงจุดยืนสนับสนุนอิสราเอล และเรียกร้องให้กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกัน
อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้อ่านแถลงการณ์ เนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของการทำสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาส โดยกูเตร์เรสได้กล่าวคำรำลึกถึงผู้เสียชีวิต รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทั้งหมดตลอด 1 ปีที่ผ่านมา พร้อมยืนยันว่ายูเอ็นจะเดินหน้าทำงานเพื่อช่วยเหลือตัวประกันทุกคนให้ได้รับอิสรภาพ ยุติการใช้ความรุนแรง และนี่คือเวลาแห่งสันติภาพ กฎหมายระหว่างประเทศและความยุติธรรม
อ่านข่าวอื่น :
นานาชาติ เร่งอพยพประชาชน หนีสู้รบ "เลบานอน"
ยกระดับ! กต.แนะคนไทยออกจากอิสราเอลทันที แนวโน้มรุนแรง
อิหร่านถล่มอิสราเอล - นายกฯ สั่งเตรียมพร้อมอพยพคนไทย
เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2567 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงบนถนนที่มุ่งหน้าเข้าสู่สนามบินของนครการาจี ประเทศปากีสถาน ถือเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ขณะนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว 2 คน บาดเจ็บอีก 10 คน
ทางการท้องถิ่นระบุว่ารถบรรทุกน้ำมันเกิดเหตุระเบิดขึ้น ส่วนกระทรวงมหาดไทยปากีสถานระบุว่าเป็นการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่ชาวต่างชาติเป็นหลัก แต่ตำรวจท้องถิ่นยังไม่ตอบว่าใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้
ล่าสุด กลุ่มของกองทัพปลดปล่อยบาโลจิสถาน ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธที่เคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนในแคว้นบาโลจิสถาน ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยทางกลุ่มระบุว่าการวางระเบิดครั้งนี้มุ่งเป้าโจมตีขบวนรถของนักธุรกิจและวิศวกรชาวจีนที่เดินทางออกจากสนามบินการาจี
กองกำลังติดอาวุธกลุ่มนี้มักพุ่งเป้าโจมตีชาวจีน โดยอ้างเหตุผลการก่อเหตุว่าชาวบาโลจิสถานไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมจากบริษัทต่างชาติเหล่านี้ที่มาลงทุนในพื้นที่ของแคว้น
ด้านสำนักงานการบินพลเรือนปากีสถาน ระบุว่า เที่ยวบินที่ทำการบินจากสนามบินการาจียังคงให้บริการได้ตามปกติ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างสอบสวนหาสาเหตุที่แน่ชัดของเหตุการณ์ครั้งนี้
อ่านข่าว
สภาพอากาศวันนี้ เช็กชื่อ 10 จว.ใต้ ฝนตกหนัก-ทะเลคลื่นสูง
หลีกเลี่ยงเส้นทาง "สะพานเกษะโกมล" ทรุดตัว คาดเกิดจากแนวท่อประปาแตก
เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2567 โดนัลด์ ทรัมป์ อดีต ปธน.สหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน เดินขึ้นเวทีปราศรัยในเมืองบัตเลอร์ รัฐเพนน์ซิลเวเนีย ท่ามกลางเสียงร้องต้อนรับของกลุ่มผู้สนับสนุนที่รออยู่โดยรอบ
การปราศรัยครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นสถานที่เดียวกับที่ทรัมป์ถูกลอบสังหารครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา จนได้รับบาดเจ็บที่ใบหูข้างขวา และมีผู้เข้าร่วมฟังการปราศรัยเสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บอีก 2 คน
ขณะที่การปราศรัยครั้งนี้มี เจ.ดี แวนซ์ คู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของทรัมป์ ร่วมขึ้นเวทีด้วย พร้อมทั้ง อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทเทสลาและสเปซ เอ็กซ์ ซึ่งมัสก์ใช้โอกาสนี้ ระบุว่านี่คือการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา "ทรัมป์" ต้องชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เพื่อรักษารัฐธรรมนูญ ต้องชนะเพื่อรักษาประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา และร้องขอให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปลงคะแนนเสียงเลือกทรัมป์
นอกจากนี้ ในระหว่างการปราศรัย ยังมีการยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตในวันที่ทรัมป์ถูกลอบสังหาร ขณะที่ทรัมป์ได้ให้คำมั่นสัญญากับกลุ่มผู้สนับสนุนว่าจะชนะการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย.นี้
อ่านข่าวอื่น :
“ชัยธวัช” ชี้รัฐบาลอย่ากังวล หวังสภาเร่งถก กมธ.นิรโทษกรรม
“ชลประทาน” คาด "แม่น้ำปิง" เชียงใหม่ เริ่มลดลงตั้งแต่เที่ยงคืนนี้
วันนี้ (4 ต.ค.2567) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีสิงโต 3 ตัว เสือดำ 1 ตัวพร้อมด้วยเสือโคร่ง 47 ตัวตายจากโรคไข้หวัดนกนับตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
การระบาดของไวรัส H5N1 พาหะก่อโรคไข้หวัดนก เกิดขึ้นในสวนสัตว์ Vuon Xoai ใกล้กับนครโฮจิมินห์ และสวนสัตว์ซาฟารี My Quynh ใน จ.Long An ที่อยู่ติดกัน เจ้าหน้าที่สวนสัตว์กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า สัตว์เหล่านี้น่าจะล้มป่วยหลังจากที่กินเนื้อไก่ที่ติดเชื้อเป็นอาหาร
กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนามกล่าวว่า 2 ตัวอย่างที่เก็บจากเสือที่ตายแล้วมีผลตรวจเชื้อไข้หวัดนกเป็นบวก และเจ้าหน้าที่กำลังตามหาแหล่งที่มาของไก่ตัวดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุ
คำแนะนำบนเว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนไม่ให้บริโภคเนื้อสัตว์ ไข่ดิบหรือปรุงไม่สุก ในภูมิภาคที่ประสบปัญหาไข้หวัดนก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ไวรัสสายพันธุ์ H5N1 จะติดเชื้อในสัตว์เป็นหลัก และ WHO กล่าวว่าการติดเชื้อใน "มนุษย์" เกือบทุกกรณีเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับนกที่มีเชื้อทั้งที่ยังมีชีวิตและตาย
ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา มีรายงานการระบาดร้ายแรงของไวรัสไข้หวัดใหญ่ รวมถึง H5N1 มากขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนับตั้งแต่ปี 2546 หรือประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา มีรายงานการติดเชื้อของมนุษย์เกือบ 900 ราย โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิต
การป้องกันสัตว์ในฟาร์มจากการติดเชื้อไวรัส H5N1 (ไข้หวัดนก) จำเป็นต้องดำเนินมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมโรคและการจัดการสุขอนามัยในฟาร์ม
1.ควบคุมการเข้าออกฟาร์มอย่างเคร่งครัด ผู้ที่เข้ามาในฟาร์มควรสวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกัน ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์มด้วยการฆ่าเชื้อก่อนและหลังใช้งาน
2.หากพบว่าสัตว์มีอาการป่วย ควรแยกออกจากฝูงทันที ให้สัตวแพทย์ตรวจสอบ สัตว์ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกต้องทำลายทิ้ง และจัดการซากสัตว์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสถานที่เลี้ยงสัตว์ โรงเรือน และอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นประจำ
4.ตรวจสอบสุขภาพสัตว์เป็นประจำ หมั่นสังเกตอาการที่อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ เช่น ซึม ไม่กินอาหาร หรือการหายใจลำบาก หากพบสัตว์ต้องสงสัย รีบแจ้งหน่วยงานหรือสัตวแพทย์ทันที
การป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ทำงานในฟาร์มสัตว์ปีก หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
ที่มา :
-องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office International des Epizooties; OIE)
-องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization - FAO)
-ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention - CDC)
-กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-BBC
วานนี้ (3 ต.ค.67)พายุไต้ฝุ่นกระท้อนพัดขึ้นฝั่งของไต้หวันจนทำให้บ้านเมืองเสียหายหนักเป็นวงกว้าง แม้จะอ่อนกำลังลงและพัดขึ้นฝั่งด้วยความรุนแรงระดับ 1 มีความเร็วลมสูงสุดที่ 135 กม.ต่อ ชม. ความรุนแรงส่งผลให้สภาพบ้านเรือนในเมืองเกาสงเต็มไปด้วยซากต้นไม้ที่หักโค่นและถอนรากถอนโคน เสาไฟฟ้าเอนล้ม และซากความเสียหายต่าง ๆ เกลื่อนอยู่ตามพื้นถนนของเมืองจนกีดขวางการจราจร
หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาไต้หวัน ระบุว่า หลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้วพายุจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว แต่รัฐบาลยังคงเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง คลื่นพายุซัดฝั่งและคลื่นสูง พร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านเพื่อความปลอดภัย
อิทธิพลของพายุลูกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 2 คน สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง บาดเจ็บอีกประมาณ 129 คน และประชาชนอีกหลายพันคนต้องอพยพไปยังที่ปลอดภัย
นอกจากนี้บ้านเรือนประชาชนอีกเกือบ 100,000 ครัวเรือน ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ขณะที่มีรายงานน้ำท่วมและดินถล่มสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและถนนในบางพื้นที่ด้วย
สภาพอากาศเลวร้ายยังส่งผลกระทบต่อการคมนาคม โดยรถไฟความเร็วสูงต้องระงับการให้บริการ ส่วนเที่ยวบินภายในทั้งหมดและเที่ยวบินระหว่างประเทศหลายร้อยเที่ยวบินถูกยกเลิก
ขณะที่เมื่อวานนี้ (3 ต.ค.67) ทางการไต้หวันได้สั่งปิดโรงเรียนสำนักงาน และร้านค้าธุรกิจต่าง ๆ ทั่วไต้หวันเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในวันนี้โรงเรียนและสำนักงานจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ยกเว้นในเมืองเกาสง เมืองผิงตง และบางพื้นที่ของเมืองฮวาเหลียนและนิวไทเป โดยเมืองเกาสงและเมืองผิงตงถือเป็น 2 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากลมแรงและฝนตกหนักจากพายุไต้ฝุ่นกระท้อนมากที่สุด ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นตัดสินใจปิดโรงเรียนและสำนักงานต่างๆ เป็นวันที่ 4 ติดต่อกันในวันศุกร์นี้
พายุลูกนี้พัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ ต่างจากตามปกติที่มักจะเคลื่อนขึ้นฝั่งในพื้นที่ทางตะวันออกของไต้หวัน ซึ่งทำให้ไต้ฝุ่นกระท้อนถือเป็นพายุลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งที่เมืองเกาสงในเดือน ต.ค. ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า ไต้ฝุ่นกระท้อนจะเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ ขึ้นไปทางตอนเหนือ และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงกลางดึกวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นก่อนจะพัดเข้ากรุงไทเปต่อไป
อ่านข่าว : "ไต้หวัน" ขยายปิด "โรงเรียน-สำนักงาน" รับมือไต้ฝุ่น "กระท้อน"
ไต้หวันอพยพ 7,800 คนหนีซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กระท้อน"
นานาชาติ เร่งอพยพประชาชน หนีสู้รบ "เลบานอน"
รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการระเบิดรุนแรงในกรุงเบรุต เลบานอน เกิดขึ้นใกล้กับสนามบิน โดยอิสราเอล ระบุว่า โจมตีศูนย์บัญชาการด้านข่าวกรองของกลุ่มเฮซบอลลาห์
ขณะที่การโจมตีเมืองหลวงของเลบานอนเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.67) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 9 คน ท่ามกลางบรรยากาศที่เมืองทั้งเมืองปกคลุมไปด้วยกลุ่มควันจากการระเบิดในจุดต่าง ๆ และซากความเสียหายของอาคารจำนวนมาก ไม่ต่างจากบริเวณพรมแดนเลบานอนที่ติดกับตอนเหนือของอิสราเอล ซึ่งมีกลุ่มควันจากการยิงจรวดและสกัดจรวดเกิดขึ้นต่อเนื่อง
พล.ท.เฮอร์ซี ฮาเลวี เสนาธิการ กองทัพอิสราเอล ระบุว่า อิสราเอลจะเดินหน้าทำลายกลุ่มเฮซบอลลาห์ทั่วทั้งเลบานอนต่อไป โดยชาวอิสราเอลทางตอนเหนือของประเทศจะกลับบ้านได้ก็ต่อเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มก่อการร้ายเฮซบอลลาห์ที่อยู่ใกล้กับพรมแดนจะถูกทำลายสิ้นซากเท่านั้น ก่อนหน้านี้มีรายงานทหารอิสราเอลเสียชีวิตแล้ว 9 นายจากการปะทะกันในพรมแดนเลบานอน หลังอิสราเอลเปิดปฏิบัติการภาคพื้นดิน
กระทรวงสาธารณสุขเลบานอน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่อิสราเอลโจมตีเข้าไปในดินแดนเลบานอนเมื่อปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1,974 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 127 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 9,384 คน นี่เป็นจำนวนล่าสุดจากช่วงเช้าวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นานาชาติเร่งขอให้พลเรือนออกจากเลบานอนโดยด่วน ทำให้บรรยากาศที่สนามบินเบรุตเต็มไปด้วยผู้โดยสารที่เข้าแถวรอยาวเหยียด ขณะที่ก่อนหน้านี้สเปนประกาศส่งเครื่องบินทหาร 2 ลำไปเลบานอนอพยพพลเมืองประมาณ 350 คน ซึ่งล่าสุดเดินทางกลับถึงสเปนแล้ว เช่นเดียวกับชาวกรีกที่เดินทางถึงไซปรัสด้วยเครื่องบินของกองทัพ พร้อมแวะส่งชาวไซปรัส 38 คน ก่อนเดินทางต่อไปยังกรีซ
ขณะที่ญี่ปุ่นส่งเครื่องบินไปแล้ว 2 ลำ คาดว่า จะเดินทางถึงจอร์แดนและกรีซในวันพรุ่งนี้ ( 5 ต.ค.67) ด้านอังกฤษเช่าเหมาเที่ยวบินเพิ่มเพื่อเร่งอพยพพลเมือง ส่วนเนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้และอีกหลายประเทศเตรียมส่งเครื่องบินทหาร อพยพพลเมืองออกจากเลบานอนเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการอพยพทางเรือ ซึ่งเข้าเทียบท่าในตุรกีเรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนไม่น้อยเป็นชาวเลบานอนที่ตัดสินใจอพยพ บางส่วนถือ 2 สัญชาติและเตรียมเดินทางต่อไปยังประเทศอื่น ขณะที่บางส่วนเป็นชาวต่างชาติ รวมถึงชาวอเมริกัน
แมตธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาชาวอเมริกันอพยพออกจากเลบานอน 250 คน และแม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่ามีชาวอเมริกันที่บินออกจากเลบานอนอีกจำนวนเท่าไร แต่มีจำนวนมากที่เดินทางออกไปแล้ว
ก่อนหน้านี้มีชาวอเมริกันราว 6,000 คน ที่ติดต่อขอข้อมููลเกี่ยวกับการอพยพ และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เตรียมจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านการให้ชาวอเมริกันหรือผู้ที่ถือ 2 สัญชาติ ซึ่งไม่ต้องการเดินทางออกจากเลบานอนกู้ยืมเงินสำหรับใช้เพื่อการย้ายที่อยู่อาศัยไปพำนักยังจุดอื่นที่ปลอดภัยในเลบานอน เช่นเดียวกับชาวอเมริกันที่ต้องการเดินทางออกแต่ไม่มีเงินพอซื้อตั๋วเครื่องบินที่ราคาพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง
ด้านนายนิกรเดช พลางกูร โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ใช้โอกาสระหว่างการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ร้องขอให้คนไทยที่ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพำนักในอิสราเอลและประเทศใกล้เคียง เดินทางออกมาในขณะที่สถานการณ์ยังเอื้ออำนวยอยู่ หลังจากทางกระทรวงได้แจ้งเตือนให้คนไทยที่ไม่มีเหตุจำเป็น ให้ชะลอการเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
สถานเอกอัครราชทูตไทยในภูมิภาคตะวันออกกลางได้เตรียมแผนอพยพเอาไว้แล้ว แต่ในขณะนี้ประเมินว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายคนไทย ขณะที่ถ้าต้องมีการอพยพ เบื้องต้นจะมีการเคลื่อนย้ายให้ไปอยู่พื้นที่ปลอดภัยภายในประเทศนั้นก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้าสถานการณ์ยังคงรุนแรงขึ้น จะพิจารณาอพยพไปยังประเทศใกล้เคียง หรือกลับไทย
นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้ชะลอจัดส่งแรงงานไทยไปยังอิสราเอลและประเทศใกล้เคียง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยโฆษกย้ำว่า รัฐบาลไทยมีความห่วงกังวลในความปลอดภัยของคนไทยในอิสราเอล เลบานอนและประเทศใกล้เคียงในตะวันออกกลาง และขอให้คนไทยติดตามสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการท้องถิ่นและสถานทูตอย่างเคร่งครัด
ก่อนหน้านี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทล อาวีฟ แจ้งเตือนแรงงานไทยที่อยู่ในเขตปิดทางทหาร ทางตอนเหนือของอิสราเอลติดกับชายแดนเลบานอน ให้ย้ายออกนอกพื้นที่ทันที และขอให้คนไทยพยายามอยู่ใกล้ห้องนิรภัย เมื่อได้ยินเสียงไซเรน งดถ่ายภาพหรือวิดีโอและรีบเข้าห้องนิรภัยทันที แต่หากอยู่กลางแจ้งควรเข้าไปในอาคารที่ใกล้ที่สุด ควรติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านความปลอดภัยของทางการท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด
หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย สามารถขอรับความช่วยเหลือเพื่อย้ายออกจากพื้นที่ได้ และขอให้เตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำดื่ม อาหารแห้ง แบตเตอรี่สำรอง ไฟฉาย และสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีวิต
สำหรับคนไทยที่ต้องการติดต่อขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อฝ่ายกงสุล ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +972 546368150 / +972 503673195 หรือติดต่อฝ่ายแรงงานได้ที่หมายเลข +972 99548431 / +972 544693476 รวมทั้งช่องทาง ID Line 0544693476 )
อ่านข่าว : อิหร่านถล่มอิสราเอล - นายกฯ สั่งเตรียมพร้อมอพยพคนไทย
ทหารอิสราเอลเสียชีวิต 8 นาย หลังปะทะกับกลุ่มเฮซบอลลาห์
ยกระดับ! กต.แนะคนไทยออกจากอิสราเอลทันที แนวโน้มรุนแรง
วันนี้ (4 ต.ค.2567) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เรือโดยสารที่บรรทุกคนเต็มลำได้พลิกคว่ำและจมลงกลางทะเลสาบคิวู ทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์คองโก ติดกับรวันดา
ตามรายงานของผู้ว่าจังหวัดเซาท์ คิวู ระบุว่า เรือลำดังกล่าวเป็นเรือโดยสารข้ามฟากทะเลสาบคิวู จากเมืองโนวาไปยังเมืองโกมา โดยบรรทุกคนกว่า 278 คน ถือว่าเกินพิกัดความจุของเรือลำนี้ ประกอบกับคลื่นแรง จึงเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
ล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 78 คน และสูญหายจำนวนมาก ขณะที่ญาติของผู้โดยสารเฝ้ารอติดตามสถานการณ์อยู่ที่ท่าเรือ เมื่อเจ้าหน้าที่กู้ร่างผู้เสียชีวิตขึ้นมาแล้ว หลายคนแสดงอาการโศกเศร้าเสียใจ บางคนถึงกับเป็นลมหมดสติ
ชายคนหนึ่ง บอกว่า ต้องสูญเสียญาติ 3 คน และไม่พอใจที่รัฐบาลปิดถนนระหว่างเมือง เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างกองทัพและกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ ทำให้ประชาชนต้องเดินทางโดยใช้เรือเป็นหลัก จนมีการบรรทุกคนเกินความจุเป็นประจำ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดการสถานกาณ์ความขัดแย้งและเปิดถนนโดยเร็ว
ขณะที่เจ้าหน้าที่ช่วยผู้รอดชีวิตได้ 50 คน ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งหนึ่งในผู้รอดชีวิต เล่าว่า ขณะเรือพลิกคว่ำ หลายคนพยายามกระโดดลงน้ำเพื่อว่ายน้ำหนีเอาชีวิตรอด ส่วนอีกหลายคนติดอยู่ในลำเรือ ส่วนตนเองหมดสติ และจำไม่ได้ว่ารอดชีวิตมาได้อย่างไร
ด้านแพทย์ประจำโรงพยาบาล บอกว่า ขณะมีผู้เข้ารักษาตัวเต็มโรงพยาบาล และต้องขอความช่วยเหลือจากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน คาดว่าอาจมีพื้นที่ไม่เพียงพอรองรับร่างผู้เสียชีวิต
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เกิดเหตุเรือโดยสารที่บรรทุกคนเกินพิกัดอับปางในบริเวณใกล้กับกรุงกินชาซาจ เสียชีวิต 80 คน ขณะที่เดือน เม.ย.2566 เกิดเหตุการณ์เรือล่มในทะเลสาบคิวู เสียชีวิต 6 คน สูญหาย 64 คน
อ่านข่าว : ยกระดับ! กต.แนะคนไทยออกจากอิสราเอลทันที แนวโน้มรุนแรง
ผวา! "เยอรมนี" พบชายต้องสงสัยเสี่ยง "ไวรัสมาร์บวร์ก"
"ไต้หวัน" ขยายปิด "โรงเรียน-สำนักงาน" รับมือไต้ฝุ่น "กระท้อน"
วันนี้ (3 ต.ค.2567) เพจกระทรวงการต่างประเทศ ออกประกาศเตือนคนไทยที่พำนักและทำงานอยู่ในอิสราเอล โดยระบุว่า ตามที่เกิดสถานการณ์ความตึง เครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ มีความห่วงใยต่อพี่น้องคนไทยในอิสราเอล ซึ่งอาจได้รับผลกระทบโดยตรงหากสถานการณ์บานปลาย
กระทรวงการต่างประเทศ ขอให้พี่น้องคนไทยในอิสราเอล ติดตามประกาศและการแจ้งเตือนของทางการอิสราเอลและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ อย่างใกล้ชิด และหากไม่มีความจำเป็นต้องพำนักอยู่ในอิสราเอลในขณะนี้
ขอให้พิจารณาเดินทางออกจากอิสราเอลในขณะที่สถานการณ์ยังเอื้ออำนวยต่อการเดินทาง
สำหรับผู้ที่มีแผนที่จะเดินทางไปอิสราเอล และประเทศใกล้เคียงเพื่อการทำงานและการท่องเที่ยว ขอให้ชะลอการเดินทางออกไปก่อน
กรณีฉุกเฉินขอให้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือเร่งด่วนได้ที่ สถานเอก อัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ หมายเลข +972 546 368150 และ +972 503 673195 หรือ Call Center กรมการกงสุล หมายเลข 02 572 8442
อ่านข่าว ผวา! "เยอรมนี" พบชายต้องสงสัยเสี่ยง "ไวรัสมาร์บวร์ก"
นอกจากนี้ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งร่วมคณะเดินทาง กับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมประชุม ACD ครั้งที่ 3 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยังคงติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง เนื่องจากมีความห่วงกังวลต่อพลเมือง และสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม
โดยนายกรัฐมนตรี ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่าย ใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุด และยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อไม่ให้สถานการณ์ความขัดแย้งลุกลามบานปลาย และยังแสดงความห่วงใยต่อความปลอดภัยของคนไทยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงในตะวันออกกลาง จึงกำชับให้คนไทยในพื้นที่ทุกคนติดตาม และปฎิบัติตามคำแนะนำของทางการท้องถิ่น และสถานเอกอัครราชทูตไทยอย่างเคร่งครัด
มีรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศ ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ในภูมิภาคในตะวันออกกลาง เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือคนไทย และสั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตในภูมิภาคประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
อ่านข่าว ทหารอิสราเอลเสียชีวิต 8 นาย หลังปะทะกับกลุ่มเฮซบอลลาห์
แจ้งเตือนให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในอิสราเอล และประเทศใกล้เคียงเดินทางออกนอกประเทศ ในสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยให้สามารถเดินทางออกได้ รวมทั้งสั่งการให้สถานทูตประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อสั่งย้ายคนไทยไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
ในกรณีที่เกิดสถานการณ์สู้รบที่อาจส่งผลต่อสวัสดิภาพของคนไทย ให้ข้อมูลคนไทยในอิสราเอลและประเทศใกล้เคียงเพื่อขอรับความช่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะมีรุนแรงมากขึ้น จึงได้ประสานกับกระทรวงแรงงาน ชะลอการจัดส่งแรงงานไปยังอิสราเอลและประเทศใกล้เคียง
อ่านข่าว
อิหร่านถล่มอิสราเอล - นายกฯ สั่งเตรียมพร้อมอพยพคนไทย
ย้ายออกทันที ! แจ้งคนไทยในอิสราเอล ย้ายออก 3 เมืองติดชายแดนเลบานอน
วันนี้ (3 ต.ค.2567) สำนักข่าว BBC รายงานว่า เจ้าหน้าที่แจ้งปิดชานชาลาที่ 4 สถานีรถไฟกลางฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เป็นการชั่วคราว หลังจากพบว่าในขบวนของรถไฟความเร็วสูง ICE ในเมืองฮัมบูร์ก ที่เดินทางมาจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต พบผู้โดยสารชายที่เป็นนักศึกษาแพทย์ และแฟนสาว มีอาการป่วยเหมือนไข้หวัดใหญ่
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า ชายคนดังกล่าว และแฟนสาว มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ บนรถไฟความเร็วสูง หลังกลับจากการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อไปรักษาชายคนหนึ่งซึ่งต่อมาพบว่าป่วยด้วยโรคติดเชื้อ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วยดังกล่าว จึงต้องนำตัวส่งคลินิกเฉพาะทาง เนื่องจากเกรงว่าผู้โดยสารรถไฟอาจเดินทางมาถึงพร้อมกับไวรัสอันตราย
เว็บไซต์ Morgenpost ของเมืองฮัมบูร์ก รายงานว่าพวกเขาเดินทางมาถึงแฟรงก์เฟิร์ต จากประเทศรวันดา เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ประเทศในแอฟริกาตะวันออกกำลังต่อสู้กับการระบาดของไวรัสมาร์บวร์ก มีผู้เสียชีวิตจากการระบาดดังกล่าวแล้ว 8 คน
สำหรับ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus ) อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสอีโบลา (Ebola) ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิดอาการไข้และเลือดออก มีค้างคาวผลไม้เป็นสัตว์รังโรค ถูกตั้งชื่อตามเมืองมาร์บวร์ก ในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีการรายงานผู้ป่วยคนแรก
การติดเชื้อในคนเริ่มแรกเป็นผลมาจากการสัมผัสในเหมืองหรือถ้ำที่มีค้างคาวผลไม้อยู่อาศัยเป็นกลุ่มเป็นระยะเวลานาน เมื่อเชื้อถูกแพร่ไปยังคนแล้ว คนนั้นจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกายของผู้ติดเชื้อได้เหมือนกับโรคอีโบลา
ไวรัสมาร์บวร์ก ถูกพบในปี พ.ศ.2510 (ค.ศ. 1967) จากการระบาดครั้งแรกในเมืองมาร์บวร์ก และแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี รวมทั้งเมืองเบลเกรดในประเทศเซอร์เบีย ขณะนั้นเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการที่ใช้ลิงเขียวแอฟริกาที่นำมาจากประเทศยูกันดา
หลังจากนั้นพบผู้ป่วยโรคไวรัสมาร์บวร์ก เพิ่มประปราย ประเทศที่เคยพบการระบาดของโรค ได้แก่ ประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น แองโกลา เคนยา ยูกันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
สำหรับในทวีปยุโรป พบผู้เสียชีวิตเพียงรายเดียวในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และอีกหนึ่งรายในสหรัฐอเมริกา หลังจากกลับจากการสำรวจถ้ำในประเทศยูกันดา
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อ 13 ก.พ.2566 รายงานพบการระบาดของโรคนี้ที่รัฐบาลสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี ประเทศในภูมิภาคตอนกลางของทวีปแอฟริกา ซึ่งได้มีการประกาศให้เป็นโรคระบาดร้ายแรง โดยพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ 25 คน เสียชีวิต 9 คน ผู้ป่วยมีอาการไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนเป็นเลือด และท้องเสีย ได้มีการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงประมาณ 200 คน
สำหรับประเทศไทยกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กเป็น 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง แม้ยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยในประเทศไทยมาก่อน
โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-21 วัน หลังจากสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อหรือสัตว์นำโรค ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว มีผื่นแต่ไม่คัน ต่อมาจะมีเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระดำหรือเป็นเลือด เลือดออกตามจมูก ปาก และช่องคลอด บางรายมีภาวะตับหรืออวัยวะอื่นๆ ล้มเหลว หรือเกิดภาวะช็อกได้
ผู้ป่วยหลายรายมีอาการตกเลือดอย่างรุนแรงภายใน 7 วัน ผู้ป่วยมักเสียชีวิตอย่างรวดเร็วในช่วง 8-9 วันหลังจากมีอาการวันแรก โดยมีรายงานอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 24-90 ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาจำเพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการร่วมกับให้สารน้ำหรือเลือดทดแทน
สถานการณ์ที่ไต้หวันจากแต่เดิมช่วงแรกที่มีการคาดการณ์ว่า พายุ "กระท้อน" อาจพัดขึ้นฝั่งเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (2 ต.ค.67) แม้ขณะนี้พายุจะอ่อนกำลังลงแล้วบ้าง แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งของไต้หวันไม่น้อย
สภาพอากาศบริเวณริมชายฝั่งของเมืองเกาสงทางตอนใต้ของไต้หวัน อึมครึม ซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นกระถินที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะมากยิ่งขึ้น
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเมืองเกาสง ซึ่งคาดว่า จะเป็นพื้นที่ที่พายุเคลื่อนตัวผ่าน ได้เตือนประชาชนให้อยู่แต่ในบ้านและหลีกเลี่ยงการไปทะเล แม่น้ำ และภูเขา พร้อมทั้งเตือนว่า อาจเกิดความรุนแรงซ้ำรอยไต้ฝุ่น Thelma เมื่อปี 1977 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน และสร้างความเสียหายให้กับเมืองเป็นวงกว้าง
แม้ว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาจะระบุว่า ไต้ฝุ่นกระท้อนจะอ่อนกำลังลงแล้ว แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ของเกาะได้ เนื่องจากยังคงมีคลื่นลมแรงและฝนตกหนักขณะที่พายุค่อย ๆ เคลื่อนตัวเข้าหาชายฝั่งของไต้หวันมากขึ้น คาดว่าพายุจะพัดขึ้นฝั่งทางใต้ของไต้หวันในช่วงดึกของวันพุธที่ - เช้าวันพฤหัสบดี ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ 1 วัน
ด้านทางการไต้หวันประกาศปิดสำนักงานและโรงเรียนทั่วเกาะอีก 1 วันในวันนี้ (3 ต.ค.) ขณะที่กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ประชาชนราว 10,000 คน ได้รับการอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อความปลอดภัยแล้ว
พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านและเพิ่มความระมัดระวัง หลังมีรายงานผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 2 คนสูญหาย 2 คน และบาดเจ็บอีกมากกว่า 100 คน และยังทำให้บ้านเรือนประชาชนกว่า 55,000 หลังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ชั่วคราว
ขณะที่ประชาชนในกรุงไทเปต่างเร่งซื้ออาหารและสิ่งของจำเป็นเพื่อกักตุนเอาไว้ จนทำให้ชั้นวางของในร้านค้าหลายแห่งโล่งเป็นจำนวนมาก
เมื่อวานนี้ (2 ต.ค.67) เที่ยวบินทั้งภายในและระหว่างประเทศประมาณ 250 เที่ยวบินต้องถูกยกเลิก ส่งผลให้นักท่องเที่ยวและผู้เดินทางต้องติดค้างอยู่ในภายในสนามบินเป็นจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวบางคน ระบุว่า ต้องอยู่ต่อนานขึ้น 2 - 3 วัน และยังมีรายงานว่าเที่ยวบินภายในประเทศจะถูกระงับอีกในวันพฤหัสบดีนี้ (3 ต.ค.67)
ช่วงหลังมานี้ไต้หวันมักเผชิญกับพายุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค. - ต.ค. แต่ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พายุนั้นรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และลมกระโชกแรง
ขณะที่พายุลูกนี้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ไต้หวันหลังจากพัดถล่มหมู่เกาะห่างไกลของฟิลิปปินส์ ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าและการสื่อสารถูกตัดขาด และบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายหลายหลัง รวมทั้งยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 คนและสูญหาย 1 คน
อ่านข่าว : ทหารอิสราเอลเสียชีวิต 8 นาย หลังปะทะกับกลุ่มเฮซบอลลาห์
ไต้หวันอพยพ 7,800 คนหนีซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กระท้อน
อิหร่านถล่มอิสราเอล - นายกฯ สั่งเตรียมพร้อมอพยพคนไทย
วันนี้ (3 ต.ค.2567) อิสราเอลโจมตีทางอากาศถล่มเลบานอนต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขเลบานอน เปิดเผยว่า ในรอบ 24 ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของอิสราเอล 46 คน บาดเจ็บอีก 85 คน ขณะที่รอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตรวมแล้วกว่า 1,000 คน กับอีกนับล้านคนที่ต้องพลัดถิ่น
การโจมตีครั้งล่าสุดมีรายงานระเบิดเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งที่ชานกรุงเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน และอีก 1 ครั้งใกล้กับย่านใจกลางเมืองของเบรุต ทางตะวันออกของเมือง ขณะที่สื่ออิสราเอลรายงานว่า เรือรบของอิสราเอลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพุ่งเป้าโจมตีเมืองหลวงของเลบานอน โดยแหล่งข่าวด้านความมั่นคงในเลบานอน เปิดเผยว่า ขีปนาวุธร่อนที่ยิงมาจากทะเลพุ่งเป้าไปยังศูนย์สุขภาพที่เป็นของกลุ่มเฮซบอลลาห์
ขณะที่กองทัพอิสราเอล เปิดเผยวิดีโอที่ระบุว่าเป็นภารกิจภาคพื้นดินของทหารกองทัพอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งโฆษกกองทัพอิสราเอลระบุก่อนหน้านี้ว่าจะดำเนินต่อไปจนกว่าชาวอิสราเอลหลายหมื่นคนทางตอนเหนือของประเทศได้กลับบ้านอย่างปลอดภัยในที่สุด พร้อมประกาศเตือนคนในเลบานอนอพยพกว่า 20 จุด
มีรายงานทหารอิสราเอล 8 นาย เสียชีวิตทางตอนใต้ของเลบานอน ระหว่างการปะทะกับกลุ่มเฮซบอลลาห์ใน 2 จุด นับเป็นการสูญเสียกำลังพลครั้งแรกในดินแดนเลบานอนนับตั้งแต่อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการ และเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปะทะกันข้ามพรมแดนเลบานอนมาตลอดเกือบ 1 ปี
หลังรายงานปรากฏภาพประชาชนจำนวนมากไปรวมตัวกันที่สุสานในเยรูซาเล็ม เพื่อร่วมพิธีศพของทหารคนแรกที่อิสราเอลเปิดเผยชื่อว่าเสียชีวิตในเหตุปะทะครั้งนี้ โดยเป็นผู้บัญชาการหน่วยวัย 22 ปี และเป็นคนแรกจากทั้งหมด 8 คนที่ได้จัดพิธีศพ
เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงหลังข่าวการสูญเสียทหาร ระบุว่า อิสราเอลมาถึงช่วงเวลาที่สงครามกับอิหร่านอยู่ในจุดตึงเครียดสูงสุด และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสีย พร้อมย้ำจุดยืนพาชาวอิสราเอลทางตอนเหนือกลับบ้าน
ท่าทีของผู้นำอิสราเอลมีขึ้นหลังอิหร่านยิงขีปนาวุธและจรวดร่วม 200 ลูกโจมตีอิสราเอล ถือเป็นการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ที่สุดของสองชาติปฏิปักษ์
อยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ปรากฏตัวครั้งแรกหลังจากอิหร่านเปิดฉากโจมตีอิสราเอลช่วงคืนก่อนหน้า ระบุว่า ต้นตอความขัดแย้งในตะวันออกกลางคือกลุ่มที่อ้างว่าต้องการเห็นสันติภาพ นั่นคืออเมริกาและชาติยุโรปบางส่วน
ผู้นำสูงสุดของอิหร่านไม่ได้กล่าวถึงการโจมตีอิสราเอลแต่อย่างใด โดยเขาย้ายไปยังที่ปลอดภัยก่อนหน้านี้ หลังจากอิสราเอลสังหารแกนนำกลุ่มติดอาวุธในเครือข่ายของอิหร่านหลายคน
มาซูด เปเซซเคียน ประธานาธิบดีอิหร่าน ระบุว่า อิหร่านไม่ได้ต้องการก่อสงคราม แต่ถ้าอิสราเอลตอบโต้ อิหร่านจะโต้กลับ และจะโต้กลับอย่างรุนแรงยิ่งกว่า
ขณะที่ความรุนแรงในการเผชิญหน้ากันระลอกล่าสุดในตะวันออกกลางล่าสุดลุกลามไปถึงซีเรีย เมื่ออิสราเอลโจมตีกรุงดามัสกัส ในย่านที่แกนนำกลุ่มเฮซบอลลาห์มักปรากฏตัว รวมถึงทหารกองทัพอิหร่านบางส่วน โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บอีก 3 คน
อ่านข่าว : การสู้รบ เฮซบอลเลาะห์ VS อิสราเอล ผลกระทบ "แรงงานไทย"
ควันหลงเลือกหน. LDP! ญี่ปุ่น “เยนแข็ง” โอกาสท่องเที่ยวไทย ?
"หมูเด้ง" รันวงการบิตคอยน์ เมลเบิร์นส่ง "เพสโต้" ประชันความดัง
เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2567 อิหร่านเปิดฉากโจมตีอิสราเอลด้วยขีปนาวุธ โดยมีเสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วกรุงเทล อาวีฟ ควบคู่กับเสียงสัญญาณเตือนภัย เมื่อระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอล หรือ ไอออน โดม ยิงสกัดขีปนาวุธที่ยิงมาจากอิหร่าน โดยอิสราเอลระบุว่าอิหร่านยิงขีปนาวุธมากกว่า 180 ลูก ซึ่งมีเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ช่วยยิงสกัดขีปนาวุธของอิหร่านได้อีกหลายสิบลูก
ขณะที่เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ประกาศว่า การโจมตีอิสราเอลของอิหร่านด้วยขีปนาวุธล้มเหลว เพราะระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลสกัดเอาไว้ได้ พร้อมเตือนว่าอิหร่านทำผิดพลาดครั้งใหญ่และจะต้องชดใช้
ด้านสำนักข่าวของทางการอิหร่านเผยภาพการยิงขีปนาวุธ ซึ่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ระบุว่า การโจมตีครั้งนี้เพื่อตอบโต้อิสราเอลที่สังหารผู้นำกลุ่มติดอาวุธที่อิหร่านให้การสนับสนุน รวมถึงการใช้กำลังโจมตีเลบานอนและกาซา
พร้อมระบุว่า อิหร่านได้ยิงขีปนาวุธประมาณ 200 ลูกและใช้ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง "ฟัตตาห์" เป็นครั้งแรก โดยร้อยละ 90 ของขีปนาวุธที่ถูกยิงออกไปสามารถโจมตีเป้าหมายในอิสราเอลได้สำเร็จ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอิหร่าน เตือนว่า หากอิสราเอลโต้กลับและโจมตีดินแดนของอิหร่าน อิสราเอลจะต้องเผชิญกับการโจมตีอีกหลายครั้งและรุนแรงมากขึ้น โดยอิหร่านจะเอาคืนด้วยการโจมตีสาธารณูปโภคทั่วทั้งประเทศอิสราเอล
ความรุนแรงรอบใหม่ที่ปะทุขึ้นมา ส่งผลให้ชาวอิหร่านในกรุงเตหะรานพากันนำรถยนต์ไปต่อคิวเพื่อเติมน้ำมัน เนื่องจากเกรงว่าหากสถานการณ์ลุกลามไปมากกว่านี้อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง
หลังเกิดการโจมตี "โจ ไบเดน" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ย้ำจุดยืนหนุนหลังอิสราเอลอย่างเต็มขั้น สั่งการให้ทางการสหรัฐฯ เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว รวมถึงเตรียมทรัพยากรต่างๆ เพื่อรับมือสถานการณ์ในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่ชัดเจนว่าอิหร่านจะเผชิญการโต้ตอบในรูปแบบใด
ด้านคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ และตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี ออกมาย้ำถึงจุดยืนเคียงข้างอิสราเอลเช่นกัน โดยระบุว่า สนับสนุนการสั่งการของไบเดนให้กองทัพสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ช่วยอิสราเอลยิงสกัดขีปนาวุธเหล่านี้ พร้อมประณามการโจมตีของอิหร่าน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงคนไทยในอิสราเอลจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และเพื่อหลีกเลี่ยงจากผลกระทบเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ให้กระทรวงต่างประเทศและสถานทูตของไทยที่อยู่ใกล้ที่สุดให้ข้อมูลกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
หากพบว่าอยู่ในระดับที่เสี่ยงเกินไป ให้รีบแจ้งคนไทยให้ออกจากพื้นที่ทันที พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือ
ก่อนหน้านี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ออกประกาศเตือนว่าเมื่อช่วงกลางคืนของวันที่ 30 ก.ย.2567 กองทัพอิสราเอลประกาศให้พื้นที่เมืองเมตูลา, มิซกาฟ อัม และคฟาร์ กิลอาดี บริเวณทางตอนเหนือของอิสราเอล ติดพื้นที่ชายแดนเลบานอน ให้เป็นเขตปิดทางทหาร โดยเป็นเขตห้ามทำงานและอาศัย พร้อมแจ้งว่าหากมีคนไทยยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ทันที
สำหรับคนไทยสามารถขอรับความช่วยเหลือเพื่อย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าว ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ หรือติดต่อได้ตามช่องทาง หมายเลขโทรศัพท์ ฝ่ายกงสุล +972 546368150, +972 503673195 ฝ่ายแรงงาน + 972 9-954-8431, +972 54-469-3476 และไอดีไลน์ 0544693476
อ่านข่าว
ย้ายออกทันที ! แจ้งคนไทยในอิสราเอล ย้ายออก 3 เมืองติดชายแดนเลบานอน
การสู้รบ เฮซบอลเลาะห์ VS อิสราเอล ผลกระทบ "แรงงานไทย"
ไต้หวันอพยพ 7,800 คนหนีซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กระท้อน"
วันนี้ (2 ต.ค.2567) ไต้หวันเตรียมพร้อมรับมือ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กระท้อน" ที่คาดจะพัดขึ้นฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน ในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งอาจมีความเร็วลมสูงสุดถึง 219 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจทำให้เกิดฝนตกหนักและส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่พายุพัดขึ้นฝั่ง รวมทั้งอาจทำให้มีฝนตกหนักในกรุงไทเปในวันพุธและพฤหัสบดีนี้
อิทธิพลของพายุทำให้เจ้าหน้าที่ยามฝั่งไต้หวันต้องโรยตัวลงไปบนเรือบรรทุกสินค้าลำหนึ่งที่กำลังลอยลำอยู่ห่างจากเมืองไถตง เมืองชายฝั่งตะวันออก ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตร หลังได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือจากลำนี้ ท่ามกลางคลื่นสูงและลมกระโชกแรง
เจ้าหน้าที่ ระบุว่า เรือบรรทุกสินค้าลำดังกล่าวกำลังเดินทางจากจีนไปยังสิงคโปร์ โดยลูกเรือทั้งหมดถูกนำตัวไปยังเกาะออร์คิดของไต้หวันเพื่อหลบภัย หลังได้รับการช่วยเหลือจากปลอดภัยแล้ว ซึ่งบนเรือประกอบด้วยลูกเรือ 19 คน เป็นชาวยูเครน 7 คน ชาวอียิปต์ 9 คน และชาวรัสเซีย 3 คน
สภาพอากาศรุนแรงจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างเช่นนี้ เป็นผลจากอิทธิพลของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกระท้อน ขณะที่ประชาชนพากันเสริมความแข็งแรงให้กับอาคารบ้านเรือนและเร่งบรรจุกระสอบทรายเพื่อทำแนวป้องกันน้ำท่วม รวมถึงพากันไปซื้ออาหารและของใช้ที่จำเป็น จนทำให้สินค้าหลายอย่างขายหมดเกลี้ยง
ด้านไล่ ชิง-เต๋อ ประธานาธิบดีไต้หวัน เตือนว่า พายุลูกนี้จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเมื่อวานนี้โรงเรียนและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ทางตอนใต้และตะวันออกของไต้หวันปิดทำการ รวมทั้งทหารประมาณ 40,000 นายลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชน
ขณะที่กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ประชาชนมากกว่า 7,800 คน ได้รับการอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อความปลอดภัยแล้ว
ก่อนหน้านี้พื้นที่ของเกาะบาตาเนส เกาะห่างไกลที่อยู่ระหว่างฟิลิปปินส์กับไต้หวัน ต้องเผชิญกับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นกระท้อนจนทำให้ระบบไฟฟ้าและการสื่อสารได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งว่า มีบ้านเรือนประชาชนหลายหลังได้รับความเสียหาย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
พายุลูกนี้เคลื่อนตัวตัวผ่านบริเวณใกล้เหนือสุดของเกาะลูซอน แต่ไม่พัดขึ้นฝั่งในฟิลิปปินส์ แต่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หลังจากมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของลูกดังกล่าว จนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นฝั่งและไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน
ปกติแล้วฟิลิปปินส์จะเผชิญพายุโซนร้อนเฉลี่ยปีละ 20 ลูก โดยส่วนใหญ่เป็นพายุไต้ฝุ่นและส่งผลให้เกิดดินถล่ม ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คน
อ่านข่าว : สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน เหนือ-อีสานฝนตกหนัก
"โค้ชอ๊อต" ตั้งเป้าพาทีมไทย สู่ท็อป 10 ของโลก
ความสูญเสียในการสู้รบระหว่าง "เฮซบอลเลาะห์ และ อิสราเอล" เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2567 หลังอิสราเอลเข้าโจมตีเมืองชายแดนทางตอนใต้ของกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เพื่อทำลายฐานที่มั่น ตัดกำลังและเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ของเฮซบอลเลาะห์ ไม่เพียงทำให้ ฮาสซาน นาสราลลาห์ ผู้นำกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ (Hezbollah) หรือ "พรรคของพระเจ้า" เสียชีวิต ระหว่างการเข้าโจมตีอาคารแห่งหนึ่งในพื้นที่ทางตอนใต้ของกรุงเบรุต เท่านั้น แต่ยังบั่นทอนเสถียรภาพของกลุ่ม มีผลต่อขวัญและกำลังใจ และอาจส่งผลให้เฮซบอลเลาะห์ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในทุกด้าน
โดยเฉพาะด้านการทหารและการเมือง อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สงครามที่เกิดขึ้นและอาจขยายวงกว้างในอนาคต ย่อมส่งผลสะเทือนต่อกลุ่มประเทศอาเซียนไม่น้อย โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งมีแรงงานไทยจำนวนมากเข้าไปทำงาน และทุกครั้งเมื่อเกิดวิกฤตสงคราม ผู้ที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรก ก็หนีไม่พ้นแรงงานไทย
จากสถิติของกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน พบว่า ในปี 2566 แรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอลจำนวน 5,064 คน คิดเป็นจำนวนสะสมตั้งแต่ปี 2561-2566 รวม 31,026 คน ยกเว้นปัตตานี พังงา พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ที่ไม่ได้ส่งแรงงานไปอิสราเอล
ล่าสุด รศ.ดร. ปณิธาน วัฒนายากร อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจไว้หลายประเด็นในรายการ Good Morning ASEAN ทางคลื่นวิทยุ MCOT News FM 100.5 ด้านผลกระทบต่อ "แรงงานไทย" ที่ยังอยู่ในพื้นที่อิสราเอล ว่าต้องเร่งโอนย้ายแรงงานไทยไปทำงานยังประเทศใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด และต้องทำให้รายได้ไม่แตกต่างจากที่ได้รับในอิสราเอลด้วยเช่นกัน
ซึ่งในรัฐบาลยุคนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เริ่มเจรจาไปบ้างแล้วกับประเทศซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากแรงงานไทยที่ไม่สามารถกลับไปทำงานที่อิสราเอล ก็ยังเดินทางไปทำงานที่ประเทศอื่น ๆ หรือที่ซาอุดีอาระเบียต่อไปได้ การเจรจาเบื้องต้นเป็นสัญญาณที่ดี เป็นหน้าที่ของฝ่ายนโยบายที่ต้องกระจายความเสี่ยง เพิ่มโอกาส เพิ่มรายได้ให้แรงงานไทยที่อยู่ตรงนั้น
นอกจากนี้ รศ.ดร.ปณิธาน ยังเสนอเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมในพื้นที่ขัดแย้งมากกว่านี้ เพื่อดูแลผลประโยชน์และประชากรของไทยให้มากยิ่งขึ้น ดังที่สมาชิกอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือกองทุนพัฒนาสหภาพยุโรปได้ให้การสนับสนุนทั้งกาซาและอิสราเอล พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสปรับสมดุลในการใกล้ชิดกับปาเลสไตน์
แม้ประเทศไทยจะสนับสนุนให้ตั้งรัฐคู่ขนานของปาเลสไตน์และอิสราเอล แต่ต้องสร้างแนวคิดใหม่ว่า เราไม่ได้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ทหารไทยประสบความสำเร็จในการช่วยฟื้นฟูประเทศหลังสงครามมาแล้วในหลายประเทศ เช่น ติมอร์ตะวันออก แต่สำหรับกรณีนี้ความสัมพันธ์ไม่ได้แนบชิด
ในช่วงปี 2542 ไทยเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติ International Forces in East Timor หรือ INTERFET เพื่อเข้าร่วมรักษาสันติภาพในสงครามปลดแอกติมอร์ตะวันออกจากอินโดนีเซีย และนอกเหนือจากศึกสงคราม ไทยยังได้ร่วมฟื้นฟูติมอร์ตะวันออกด้วยการช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และยังเข้าไปช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านกีฬา ซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน ของกองทัพไทยเต็มไปด้วยความเสียสละ และรักษาความเป็นกลาง ทำให้ทหารไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาชาวติมอร์ตะวันออก ถือเป็นการทำกิจการพลเรือนในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของกองทัพไทย
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปณิธาน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความน่ากังวลอย่างหนึ่งสำหรับกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยที่มีต่อพื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ คือ ความไม่ลงรอยกันของอาเซียนต่อพื้นที่ขัดแย้งดังกล่าว ประเทศมุสลิม มาเลเซีย อินโดนีเซีย นอกจากประนาม ยังต้องการกดดันและมีมาตรการต่ออิสราเอลผ่านอาเซียน ส่วนไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ต้องการลดการเผชิญหน้า โดยเฉพาะไทยและฟิลิปปินส์ที่ส่งออกแรงงานไปยังอิสราเอลในจำนวนมาก
อย่างที่เราเห็นในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในอาเซียน ทำให้เกิดความแตกต่าง ทำให้แถลงการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเวียงจันทน์ นั้นมีน้ำหนักลดลง จะทำให้เห็นข้อพิพาทระหว่าง 2 กลุ่ม
จากความไม่ลงรอยระดับองค์การระหว่างภูมิภาค นำมาสู่ความกังวลอีกอย่างที่เป็นปัญหาต่อไทย เนื่องจากคนไทยถูกจับเป็นตัวประกันราว 6 คน แต่ไทยกลับไม่ออกโรงอย่างแข็งขันในการแก้ไขปัญหาในด้านนี้ ดังนั้น เมื่อมองย้อนกลับมาที่ไทยเอง เราจะต้องสร้างการต่อรองและแรงกดดันมากกว่านี้ เพราะเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะกระทำของไทย
รศ.ดร.ปณิธาน ยังชี้อีกว่า ปัญหาด้านพลังงานและปัญหาด้านตลาดส่งออกของไทยเป็นอีกประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อไทย เพราะพื้นที่ขัดแย้งเป็นเจ้าตลาดส่งออกพลังงานรายใหญ่ของโลก ทำให้เกิดความผันผวนทางการส่งออกทรัพยากรหรือราคาที่ไม่อาจคาดเดาได้ อีกทั้ง สถานการณ์ในยุโรป รัสเซีย-ยูเครน ยังไม่สงบ ตลาดยุโรปเป็นอันดับต้น ๆ การส่งออกของไทย ยิ่งทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่บีบคั้นอย่างมาก
ไทยต้องไปหาตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งเข้าร่วมกับการประชุมใหม่ ๆ อย่างเช่น BRICS แต่จะทำให้เกิดปัญหาทางการทูตกับสหรัฐฯ และพันธมิตร ที่มองว่า BRICS เป็นคู่แข่งขัน เป็นอะไรที่ขัดแย้งกัน ประเทศไทยต้องปรับสมดุลใหม่ระหว่างกลุ่มเหล่านี้ให้ดี