“ซีพีเอฟ” ยื่นเอกสารให้ อนุ กมธ. ยืนยันส่ง “ซาก” ปลาหมอคางดำให้กรมประมงแล้ว

Fri, 26 Jul 2024 22:54:15

วันที่ 25 ก.ค.2567 ในการประชุมของ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่อาคารรัฐสภา (อนุ กมธ.)

ผู้บริหาร CPF ไม่ได้เดินทางมาชี้แจง กับ อนุ กมธ.ตามคำเชิญ แต่ส่งเอกสารมาชี้แจงแทน โดยลำดับเหตุการณ์ ดังนี้

วันที่ 22 ธ.ค.2553 ซีพีเอฟนำเข้าลูกปลาหมอคางดำ ขนาด 1 กรัม จำนวน 2,000 ตัว จากประเทศกาน่า ใช้เวลาเดินทางด้วยเครื่องบิน 35 ชั่วโมง เมื่อถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เปิดกล่องโฟมบรรจุลูกปลา พร้อมเจ้าหน้าที่กรมประมง ที่ประจำ ณ ด่านกักกัน พบลูกปลาตายจำนวนมาก

เมื่อรับลูกปลามาถึงฟาร์ม ได้ตรวจคัดแยก พบว่าลูกปลา มีชีวิตเหลือเพียง 600 ตัว ในสภาพ “ไม่แข็งแรง” จึงนำลูกปลาที่ “ยังมีชีวิต” ลงใน “บ่อเลี้ยงซีเมนต์” เนื่องจากลูกปลามีสุขภาพไม่แข็งแรงทยอยตายต่อเนื่องทุกวัน

เนื่องจากลูกปลาที่เหลือไม่แข็งแรง และจำนวนไม่เพียงพอต่อการวิจัย จึงโทรศัพท์ปรึกษา “เจ้าหน้าที่กรมประมง” ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบที่มีชื่อระบุอยู่ใน “หนังสืออนุมัตินำเข้า” เจ้าหน้าที่ ท่านนี้ แจ้งว่า ให้เก็บตัวอย่างใส่ขวดโหลแช่ฟอร์มาลีนและนำมาส่งที่ “กรมประมง”

ดังนั้นในสัปดาห์ที่ 2 ของการรับปลาเข้ามา จึงเก็บตัวอย่างจำนวน 50 ตัว ดองฟอร์มาลีน เข้มข้น เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

วันที่ 6 ม.ค.2554 ( สัปดาห์ที่ 3) มีปลาทยอยตายเหลือ 50 ตัว บริษัท จึงยุติการวิจัย และทำลายลูกปลาทั้งหมด โดยใช้ “คลอรีน” ใส่ลงน้ำ ในบ่อเลี้ยงซีเมนต์ เพื่อฆ่าเชื้อและทำลายลูกปลาที่เหลือ

จากนั้น "เก็บลูกปลา" ทั้งหมด แช่ฟอร์มาลีนเข้มข้น 24 ชั่วโมง และนำมา “ฝังกลบ” พร้อมโรยปูนขาว ในวันที่ 7 ม.ค.2554 รวมระยะเวลา ที่ลูกปลาชุดนี้ มีชีวิตอยู่ในประเทศไทย 16 วัน

ซีพีเอฟได้แจ้งต่อกรมประมงถึงการตายของลูกปลา และได้ทำลายซากลูกปลา ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประมงคนดังกล่าว และส่งตัวอย่างลูกปลาดองทั้งตัว ในฟอร์มาลีน รวม 50 ตัว จำนวน 2 ขวด ขวดละ 25 ตัว ให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงคนดังกล่าว โดยวันที่ 6 ม.ค.2554 ได้เดินทางมาที่กรมประมง และได้โทรแจ้ง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว เรื่องการส่งมอบตัวอย่างลูกปลาดอง ทั้ง 2 ขวด

ซึ่งเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อีกคน ลงมารับตัวอย่างแทน ที่อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง ชั้น 1 โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้ขอให้ตัวแทนบริษัท กรอกแบบฟอร์มใด ๆ ทำให้เข้าใจว่า การส่งมอบ “สมบูรณ์” แล้ว

ถัดมา 7 ปี 2560

กรมประมงได้เข้าตรวจเยี่ยม “ฟาร์มยี่สาร” อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2560 ซึ่งเจ้าหน้าที่จากกรมประมงตรวจสอบ ไม่พบปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยง จึงได้ขอสุ่มในบ่อพักน้ำ ที่เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติ

ซึ่งบ่อพักน้ำ “R 2” ของฟาร์ม ไม่ได้เป็นส่วนของบ่อเลี้ยง แต่เป็นส่วนที่เชื่อมกับแหล่งน้ำธรรม เพื่อรอการกรองและฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด ก่อนนำน้ำเข้ามาใช้ในฟาร์ม ดังนั้นการสุ่มในบ่อพักน้ำจึงไม่แปลก ที่ปลาจะเป็นชนิดเดียวกับในแหล่งน้ำธรรมชาติ

การนำปลามาเปรียบเทียบว่า เป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่ จึงเป็นการตั้งสมมติฐานที่ทราบคำตอบตั้งแต่ต้นว่า เป็นปลาชนิดเดียวกัน เพราะมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเดียวกัน

สรุปได้ว่า ซีพีเอฟไม่มีการวิจัย หรือเลี้ยงปลาหมอคางดำอีกเลย นับตั้งแต่เดือน ม.ค.2554

ถึงแม้บริษัทมั่นใจว่า ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาด แต่พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จึงได้ขับเคลื่อน 5 โครงการสำคัญ เช่น รับซื้อปลาหมอคางดำ 2 ล้านกิโลกรัม ราคา กก.ละ 15 บาท, สนับสนุนปล่อยปลาผู้ล่า 200,000 ตัว ตามแนวทางกรมประมง

หมายเหตุ : เอกสาร ที่ซีพีเอฟส่งให้ อนุ กมธ.ได้ระบุชื่อ นามสกุล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กรมประมง ที่ บริษัทอ้างถึงในเอกสารชัดเจน

อ่านขาว : จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน

นักวิชาการแม่โจ้แนะเร่งกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ก่อนปลาไทยสูญพันธุ์

 


มุมมอง "อาชีพพิทักษ์ป่า" ฉบับคนรุ่นใหม่ปกป้องทับลาน

Fri, 26 Jul 2024 15:12:00

รองเท้าผ้าใบสีขาวที่ขาดวิ่น อมฝุ่นสีน้ำตาลจนแทบไม่หลงเหลือความขาว บ่งบอกถึงประสบการณ์ของผู้สวมใส่ที่ต้องผ่านงานหนัก ทั้งลุยน้ำ ลุยโคลนท่ามกลางผืนป่าของทับลาน 

สวัสดีครับ หัวหน้าวิเชียร 

เสียงหยอกล้อ และใบหน้าเปื้อนยิ้ม ของแบน สันติ ริว ไอซ์ สายป่าน ดังขึ้นเป็นระยะ ๆ แม้ช่วงเวลาบนรถกระบะพันโซ่ ที่นำเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า 8 ชีวิตลุยฝ่าดงหิน ไปยังจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติทับลาน จะอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง

ผมเด็กสุดอายุ 20 ปี ทำงานที่ทับลานได้ 1 ปี 5 เดือน แต่ไม่รู้ว่าโดดเดี่ยว เข้าป่าจะมีบัดดี้ มีพี่ป๊อป ที่หน้าคล้ายหัวหน้าวิเชียร พี่เข้ม พี่แบน คอยสอนงาน
ทีมลาดตระเวนป่า

ทีมลาดตระเวนป่า

ภานุเดช บุษดี หรือ ไอซ์ พนักงานพิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติทับลาน หนุ่มวัย 20 ปี เริ่มบทสนทนา หลังจากพี่ ๆ ออกโรงเชียร์ให้เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่บอกเล่าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าในวันนี้

ความสำคัญอาชีพพิทักษ์ป่า มันสำคัญตรงที่ว่าถ้าเราไม่มีผืนป่า ก็ไม่มีธรรมชาติที่สวยงาม

อ่านข่าว ผุด 7 เขื่อนกลางป่ามรดกโลก ความหวังเสือโคร่งข้ามเขาใหญ่ริบหรี่

ภานุเดช บุษดี หรือ ไอซ์ พนักงานพิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติทับลาน หนุ่มวัย 20 ปี

ภานุเดช บุษดี หรือ ไอซ์ พนักงานพิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติทับลาน หนุ่มวัย 20 ปี

ไอซ์ บอกถึงแรงบันดาลใจว่าหลังจากเรียน ม.6 ที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ก็ตัดสินใจเพียงไม่กี่นาที มาสมัครงานที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เพราะรักในธรรมชาติ และเคยได้ยินเรื่องราวของพิทักษ์ป่าที่ต้องทุ่มเท

ได้ทำงานที่นี่ แม้ว่าช่วงแรก ๆ ครอบครัวก็เป็นห่วง แต่บอกกับตัวเองต้องดูแลตัวเอง และต้องทำให้ไม่เป็นห่วง

เดือนหนึ่งลาดตระเวน 7 วัน และมีรอบสแตนบาย ตรวจตรารอบนอก และดักซุ่มและผลักดันช้างป่า โหดสุดปีก่อนดับไฟป่าทำแนวกันไฟ

อ่านข่าว ข่าวดี! ทุกอัตราพิทักษ์ป่าปรับเงินจาก 9.5 พัน เป็น 1.1 หมื่นบาท

การลาดตระเวนเป็นหนึ่งในภารกิจที่ไอซ์ ป๊อป แบน พี่กวน ต้องร่วมกันปกป้องผืนป่า

การลาดตระเวนเป็นหนึ่งในภารกิจที่ไอซ์ ป๊อป แบน พี่กวน ต้องร่วมกันปกป้องผืนป่า

เมื่อถามว่าเข้าป่า พี่คนไหนใจดีสุด ไอซ์ บอกว่า พี่ๆ ทุกคนเก่งกันคนละอย่างได้อยู่ทำงานกับทีมลาดตระเวน ทำให้ได้ประสบการณ์ทำงานจากพี่ ๆ เวลาเข้าป่า ถ้าเป็นตรวจตรารอบนอก จะมีพี่ป้อม ที่หน้าคล้ายหัวหน้าวิเชียรเสือดำ ส่วนพี่เข้มเป็นตัวอย่างทำงาน ส่วนอาหารที่อร้อยที่สุด เป็นต้มไก่บ้าน 

พิทักษ์ป่าทุกคนทุ่มเททำงาน เพื่อดูแลทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าอย่างเต็มที่ จึงอยากให้มีสวัสดิการเพื่อจูงใจคนรุ่นใหม่ หรือเงินเดือนออกตรงเวลา เพราะความรับผิดชอบในแต่ละคนต่างกัน

อ่านข่าวกางรายได้ "คนเฝ้าป่า" ในวันผู้พิทักษ์ป่าโลก 31 ก.ค.

เส้นทางแนวขอบอุโมงค์เชื่อมป่า ซึ่งมักจะมีสัตว์ป่า ช้างออกมาบริเวณนี้

เส้นทางแนวขอบอุโมงค์เชื่อมป่า ซึ่งมักจะมีสัตว์ป่า ช้างออกมาบริเวณนี้

เผชิญหน้าลอบตัดไม้พะยูง-ช้างป่า

ส่วนพี่แบน บอกว่า ทำงานในอุทยานแห่งชาติทับลานมาแล้ว 6 ปีเศษ ถ้าถามว่าเสี่ยงภัยหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าเป็นความท้าทาย และถือว่าปกติที่ต้องเจอความเสี่ยงทั้งจากช้างป่า กระทิง และเรื่องผู้บุกรุกทำไม้ เพราะทับลาน ยังมีความสมบูรณ์ของผืนป่า ที่ยังเป็นเป้าหมาย ของพวกลักลอบตัดไม้พะยูง โดยเฉพาะช่วงปี 2562 เป็นกัมพูชา แต่ตอนนี้เป็นคนไทย

อันตรายสุดเคยมีการปะทะช่วงปี 2561-62 เจอชาวกัมพูชาเข้ามา 80 คน แต่เจ้าหน้าที่แค่ 7 คนเข้าล้อมจับจนเขาแตกหนีกระเจิงมาจับรอบนอก ช่วงไม้พะยูงที่หนักสุด โชคดีไม่มีใครบาดเจ็บสูญเสีย
พี่แบนและป๊อป

พี่แบนและป๊อป

ส่วนเรื่องของการเพิ่มสวัสดิการและเงินเดือนที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้สร้างขวัญกำลังใจในปีนี้ แบน บอกว่า สำหรับตัวเองมองว่า หากมีการเพิ่มเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าก็ดีเป็นกำลังใจ แต่อยากให้เงินเดือนออกตรงมากกว่า ปีนี้ที่เคยเจอนาสุด 15 วัน เงินที่ออกมาช้า หลายคนมีภาระที่ต้องรอจ่าย ทั้งผ่อนบ้าน ผ่อนรถ

อ่านข่าว ยังวุ่น "ตัดป่าทับลาน" รอมติบอร์ดอุทยาน โจทย์หินคัดกรองคน

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ

มอบเหรียญรัชกาลที่ 9 ปลุกขวัญพิทักษ์ป่า

เช่นเดียวกับชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งรับราชการมานานกว่า 30 ปี อีกเพียง 3 เดือนจะเกษียณอายุราชการ  บอกว่า ได้เตรียมทำล็อกเก็ตเหรียญบาทของรัชกาลที่ 9 ที่ปลุกเสกจากวัดช้างไห้ และใส่บาร์โค้ดทุกเหรียญเพื่อนำไปมอบให้ผู้พิทักษ์ป่า 13,000 คน เนื่องในวันพิทักษ์ป่าโลก และเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ

ตัวเองห้อยเหรียญรัชกาลที่ 9 ใช้ยึดมั่นถือมั่นตามแนวในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งการเป็นข้าราชการที่ดี และมีความแคล้วคลาดปลอดภัย จึงทำเหรียญผู้พิทักษ์ป่า พร้อมสายห้อยมอบให้พิทักษ์ป่าทุกคน 
รองเท้าผ้าใบที่สมบุกสมบันของไอซ์ ในภารกิจพิทักษ์ป่าทับลาน

รองเท้าผ้าใบที่สมบุกสมบันของไอซ์ ในภารกิจพิทักษ์ป่าทับลาน

พิทักษ์ป่าเสียชีวิต 8 คนบาดเจ็บ 37 คน

ทุกวันที่ 31 ก.ค.ของทุกปี เป็นวันเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโลก World Ranger Day วันระลึกถึงผู้พิทักษ์ป่าที่บาดเจ็บ และเสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รายงานว่าปี 2567 มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ 8 คน บาดเจ็บ 37 คน

แต่หากนับสถิติจากปี 2563-2567 มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเสียชีวิต 56 คน บาดเจ็บ 127 คน และได้รับเงินเยียวยาจากกองทุนสวัสดิการกรมอุทยานฯ จำนวน 5.7 ล้านบาท   

อ่านข่าว “ชัยวัฒน์” ยื่นหลักฐาน “บิ๊กเต่า” เอาผิด จนท.ออกโฉนด ส.ป.ก.ทับลาน

นับถอยหลังในเดือน ต.ค.นี้ ถือเป็นปีแรกที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า 13,419 อัตรา จากอัตรา 9,000 บาท เป็น 11,000 บาทต่อเดือน ทุกอัตราพร้อมกันทั่วประเทศ ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจอย่างดียิ่ง ในการปกป้องทรัพยากรป่าไม้ของชาติ

อ่านข่าว สำรวจ "หัวใจป่าทับลาน" หลังทวงคืนที่ดิน 400 ไร่


ชุมพรลงแขกจับ "ปลาหมอคางดำ" ระบาดหนัก 3 อำเภอ

Fri, 26 Jul 2024 13:32:00

วันนี้ (26 ก.ค.2567) ประมงจังหวัดชุมพร บูรณาการร่วมหลายหน่วยงาน ลงพื้นที่เพื่อทำการล่าปลาหมอคางดำหลังระบาดโดยเฉาะพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร ซึ่งมีแพปลาและโรงงานแปรรูปอาหารทะเลอยู่จำนวนมาก 

การจับปลาหมอคางดำครั้งนี้ เป็นปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในพื้นที่หลังพบการระบาดหลายจุด โดยเฉพาะพื้นที่ป่าโกงกาง ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ ทำให้ในพื้นที่แทบไม่มีสัตว์น้ำชนิดอื่นเหลืออยู่

ขณะที่ นายเอกชัย สง่า ชาวประมงพื้นบ้าน ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร ชาวประมงพื้นบ้านริมคลองอีเล็ตและคลองท่าตะเภา อ.เมืองชุมพร ที่เคยดำเนินชีวิตนำเรือเล็กออกทำประมงตามปกติจะออกหา กุ้ง ปู ปลา

รวมถึงการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อขาย ให้ข้อมูลว่า พบเจอปลาหมอคางดำมาหลายปีแล้ว แต่ใน 2 ปีหลังเริ่มสังเกตได้ว่า หาสัตว์น้ำได้น้อยลง จนขนาดนี้บริเวณคลองอีเล็ตนั้นแทบจะไม่มีสัตว์น้ำอื่น นอกจากปลาหมอคางดำ จนต้องปรับเปลี่ยนเป็นการออกหาปลาหมอคางดำทดแทน ซึ่งคลองอีเล็ตนั้นจะเชื่อมต่อกับคลองท่าตะเภาซึ่งไหลมาจากในตัวเมืองชุมพรและลงสู่ทะเล

น.ส.เกสศิณีย์ แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร กล่าวว่า พบปลาหมอคางดำใน 3 อำเภอได้แก่ อ.สวี อ.ปะทิว และ อ.เมือง และจากการร่วมกันลงแขก ลงคลอง แหว่งแห ปรากฏว่าแต่ละพื้นที่ได้ปลาหมอคางดำ 100 กิโลกรัม โดยวันนี้จะมีปฏิบัติการลงแขกอีกครั้งในพื้นที่ อ.ปะทิว เพื่อรวบรวมข้อมูลและวางมาตรการ ในพื้นที่ต่อไป

ส่วนที่ ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร ได้ระดมกำลังพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านนำเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วยกันปรากฏได้ปลาหมอคางดำประมาณกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ชาวบ้านที่นำเรือประมงใช้สวิงตักปลาหมอคางดำที่ไปหากินอยู่บริเวณแพท่าเทียบเรือซึ่งมีการปล่อยน้ำคาวปลา มีจำนวนชุกชมซึ่งเป็นแหล่งอาหารของปลาหมอคางดำ

อ่านข่าว : "ธรรมนัส" ยังไม่ฟันธงเอาผิดเอกชน ปมปลาหมอคางดำระบาด

แปรรูปปลาหมอคางดำเป็นอาหารกุ้ง จ.นครศรีธรรมราช

ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช การระบาดอย่างรุนแรงของปลาหมอคางดำใน อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ชาวบ้านหลายครอบครัวได้ใช้โอกาสนี้สร้างรายได้จากปลาหมอคางดำด้วยการนำมาจำหน่ายให้กับแพปลาในการนำไปเป็นเหยื่อในลอบปู หรือแปรรูปเป็นอาหารท้องถิ่น แต่แม้จะมีโครงการเตรียมรับซื้อปลาหมอคางดำโดยกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ กรมประมง และการยางแห่งประเทศไทย แต่ที่นครศรีธรรมราช ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องจุดรับซื้ออย่างจริงจัง

ล่าสุดมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายใหญ่ได้ทดลองนำปลาหมอคางดำมาใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับกุ้งในฟาร์ม

นายพิเชษฐ์ รัตนกุล เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งชาวเนินหนองหงส์ หมู่ 4 ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร พื้นที่ระบาดของปลาหมอคางดำได้เริ่มทดลองเริ่มต้นจากการใช้ปลาหมอคางดำวันละ 50 กิโลกรัม มูลค่า 1,000 บาทมาปรับใช้เป็นอาหารเสริมให้กับกุ้งที่เลี้ยงไว้ และเริ่มสังเกตความเปลี่ยนแปลงของกุ้งในบ่อ

โดยรับซื้อปลามาทำความสะอาดแล้วต้มทันทีพร้อมกับใส่เกลือจำนวนหนึ่งในขณะที่ยังมีความสดใหม่ โดยจะไม่ใช้ปลาสดอย่างเด็ดขาดเกรงว่าจะมีการเล็ดลอดของไข่ปลาแล้วทำให้มีการแพร่พันธุ์ได้ในบ่อกุ้ง ก่อนนำไปเสริมอาหารให้กับกุ้งในบ่อเลี้ยง

นอกจากนั้นยังมีการต้มให้เปื่อยยุ่ยแล้วนำไปหมักผสมกับจุลินทรีย์ ประมาณ 4-5 เดือนแล้วนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมคลุกเคล้ากับอาหารก่อนนำไปใช้กับกุ้ง

อ่านข่าว : หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน

สุ่มหว่านแห หาปลาหมอคางดำทะเลสาบสงขลา

ขณะที่ จ.สงขลา เจ้าหน้าที่ประมง อ.ระโนด ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา ลงพื้นที่สำรวจปลาหมอคางดำ ในคลองมาบหวาย และ คลองปากบาง ซึ่งทั้ง 2 คลองนั้นมีจุดเชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา เพื่อทอดแห สุ่มตรวจหาปลาหมอคางดำที่แพร่ขยายพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีภาคประชาชนร่วมสังเกตการณ์ จากการทอดแห 5 ครั้ง ก็ยังไม่พบปลาหมอคางดำ แต่ยังเน้นย้ำให้ร่วมกันเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการระบาดขยายวงกว้างมากขึ้น

สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เร่งหาแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะการลดจำนวนปลาหมอคางดำ ในจุดที่พบการระบาดใหม่ คือคลองเป็ด ที่มีปลาหมอคางดำจำนวนมาก และในจุดนี้นั้น ชาวบ้านไม่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร ประกอบกับในคลองมีสิ่งกีดขวาง เศษไม้ เศษ ขยะ ทำให้การทอดแหขึ้นมาทำได้ยาก นอกจากนั้นยังเตรียมปล่อยพันธุ์ปลากะพงขาวประมาณ 30,000 ตัว ในต้นเดือน ส.ค.นี้ และเร่งวางมาตรการร่วมกับสำนักงานชลประทานจังหวัดเพื่อป้องกันปลาหมอคางดำไหลตามน้ำไประบาดในอำเภออื่นๆ

ขณะที่บรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย ประเมินว่าต้องแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำอย่างน้อย 3-5 ปี โดยเฉพาะการปล่อยพันธุ์ปลานักล่าอย่างปลากะพงขาว ควรจะทำอย่างจริงจัง และให้ชุมชนมีส่วนร่วม รับรู้ว่าการปล่อยปลากะพงขาวในจุดที่มีการระบาดคือการแก้ปัญหาและอย่าเพิ่งจับปลากะพงขาวขึ้นมา จึงช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

อ่านข่าว :

จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

"ปลาหมอคางดำ" จับจากน้ำเน่าเสี่ยงสารพิษ-เชื้อโรคในตัวปลา


นักวิชาการแม่โจ้แนะเร่งกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ก่อนปลาไทยสูญพันธุ์

Fri, 26 Jul 2024 13:26:00

กรณีปลาหมอคางดำแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในแหล่งน้ำพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่แถบ จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการและจังหวัดทางภาคใต้ ส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเช่นปลาและกุ้ง ซึ่งหากไม่เร่งควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำ ก็จะสร้างความเสียหายให้ภาคการเกษตร ภาคเศรษฐกิจ ระบบนิเวศและทรัพยากรอย่างมาก

รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ปลาหมอคางดำมีสัญชาตญาณของสัตว์ป่าที่เป็นนักล่า ปรับตัวอยู่ได้ในทุกสภาพน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม และน้ำเน่าแพร่พันธุ์เร็วมาก เกิดง่ายตายยาก และรุกคืบแย่งชิงพื้นที่ปลาท้องถิ่นด้วยพฤติกรรมการรวมฝูงเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้น

อ่านข่าว : จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์

รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์

การรุกรานเริ่มจากการกิน กินทุกอย่าง กินทั้งวัน ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อกินแล้วจะสร้างอาณาจักรปิดกั้นการเข้ามาของปลาชนิดอื่น จนทำให้ปลาอื่นต้องออกไปจากพื้นที่ ซึ่งปลาหมอคางดำจะรุกพื้นที่จนปลาน้ำกร่อยไม่มีที่อยู่และหนีหายไป ส่วนปลาน้ำจืดก็ต้องถอยร่นเข้าไปอีก และจะเพิ่มจำนวนประชากรเป็นทวีคูณ หากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปจะทำให้ไม่มีทรัพยากรทางน้ำของปลาหลงเหลืออยู่ หรือแม้แต่ปลาไทย ปลาท้องถิ่นก็จะสูญพันธุ์ในที่สุด

ปลาหมอคางดำเป็นปลานักล่าขนาดเล็กและจะรวมกลุ่มกันเพื่อประสิทธิภาพการล่า เปลี่ยนสีสันให้เข้มข้นจนดูน่ากลัว เช่น สีน้ำเงินเข้มข่มขู่ปลาที่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อสร้างความน่าเกรงขามและเพิ่มประสิทธิภาพการล่าได้มากขึ้น

ดังนั้น ในระยะเร่งด่วนจึงต้องเร่งกำจัดโดยใช้วิธีใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการหว่านแห อวนรุน ซึ่งมีข้อจำกัดทำได้เฉพาะกลางแม่น้ำ หรือแม้กระทั่งไฟฟ้าช็อต แต่ต้องได้รับอนุญาตจากกรมประมง โดยต้องเอาออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดและนำไปใช้ประโยชน์

ที่สำคัญต้องเพิ่มจำนวนปลานักล่าในธรรมชาติให้มากเพียงพอกับการลงล่าเหยื่อ โดยบริเวณปากแม่น้ำ น้ำกร่อย ให้เพิ่มจำพวกปลากดทะเล ปลาริวกิว ปลาเก๋า ปลากดหัวผาน ปลาดุกทะเล ปลากะพง เป็นต้น ส่วนในแม่น้ำลำคลองที่เป็นน้ำจืด เพิ่มกลุ่มปลาชะโด ปลาช่อน ปลาหมอ เป็นต้น โดยควรเป็นปลาในระยะตัวเต็มวัยที่สามารถหากินเองได้ เพราะปลานักล่าตามธรรมชาติเหล่านี้สามารถหากินไข่ปลา ลูกปลาและกล้าบุกเข้าหากินปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงอย่างปลาหมอคางดำได้ ช่วยให้ธรรมชาติปรับสมดุลธรรมชาติตามที่ควรจะเป็น

อ่านข่าว : หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน

เมื่อสามารถจัดการปลาหมอคางดำได้หมดแล้ว ก็ยังเหลือจำนวนปลาไทยนักล่าในแหล่งน้ำ หากเป็นปลาใหญ่ก็เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะรับประทานและนำมาใช้ประโยชน์ ประกอบกับปลาวางไข่เพียงปีละครั้ง ทำให้ประชากรถูกควบคุมโดยอัตโนมัติ เป็นโครงสร้างประชากรของปลาที่เหมาะสมในแต่ละลุ่มน้ำ แต่ละช่วงของแม่น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติควบคุมจนสามารถดูแลกันเองได้ อยู่ในระบบนิเวศที่เหมาะและปลาท้องถิ่นก็จะกลับมา

ส่วนเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหา ช่วงแรกอาจจำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนในการทรีตน้ำเตรียมบ่อ ฆ่าเชื้อ โดยใช้ด่างทับทิม กากชา (ซึ่งจะกำจัดได้เฉพาะปลาตัวโต ส่วนปลาตัวเล็กจะมีความอดทนมากกว่า) คลอรีน ฟอร์มาลีน เพิ่มระบบกรองน้ำด้วยผ้า เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการเล็ดลอดของไข่ปลาหมอคางดำ

รศ.ดร.อภินันท์ ระบุอีกว่า ที่ผ่านมาเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมทางน้ำกันอย่างจริงจัง มีการทำลายต้นน้ำลำธาร เปลี่ยนทางน้ำ สร้างสิ่งกีดขวาง ทิ้งขยะและพลาสติก ปล่อยน้ำเสียและปล่อยสัตว์น้ำที่ไม่ควรปล่อยลงแหล่งน้ำจนทำให้สูญเสียระบบนิเวศ ส่งผลให้ปลาท้องถิ่นตามธรรมชาติลดจำนวนลง

ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานต้องร่วมมือบริหารจัดการเชิงระบบ สร้างความตระหนักในทรัพยากรและใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีโครงการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิต ความมั่นคงทางอาหารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระบบนิเวศทางน้ำลุ่มน้ำยม เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมเรียนรู้ หวงแหน ใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าปลาไทยในท้องถิ่น มีเป้าหมายขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทุกลุ่มน้ำในประเทศไทย เพราะเมื่อปลาไทยเจ้าถิ่นมีจำนวนมากพอก็เป็นเหมือนด่านหน้าที่จะสกัดกั้นไม่ให้ปลาต่างถิ่นรุกล้ำเข้ามาจนเกิดปัญหาเหมือนปลาหมอคางดำในขณะนี้

อ่านข่าว

"ธรรมนัส" ยังไม่ฟันธงเอาผิดเอกชน ปมปลาหมอคางดำระบาด

"นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

“ซีพีเอฟ” ไม่มาชี้แจง ! อนุ กมธ.ฯ "ปลาหมอคางดำ" ผู้บริหารระบุติดภารกิจ


"ธรรมนัส" ยังไม่ฟันธงเอาผิดเอกชน ปมปลาหมอคางดำระบาด

Fri, 26 Jul 2024 11:59:00

ความคืบหน้าการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาด 16 จังหวัดทั่วประเทศ โดยนำงบประมาณการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รับซื้อปลากิโลกรัมละ 15 บาท เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า มาตรการสำคัญในขณะนี้ คือ การรับซื้อปลาหมอคางดำที่ชาวประมงล่ามาไปทำปุ๋ยชีวภาพ รวมทั้งประสานโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสนใจนำไปแปรรูปเป็นปลาร้า

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า เมื่อเคลียร์พื้นที่ปลาหมอคางดำได้แล้ว จะปล่อยปลานักล่าควบคุมประชากรปลาดังกล่าวที่เหลืออยู่ รวมทั้งปล่อยพันธุ์ปู ปลา กุ้ง เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งน้ำ ส่วนปฏิบัติการรับซื้อปลาหมอคางดำจากการล่า ในราคากิโลกรัมละ 15 บาทนั้น จะประเมินผลทุกเดือนว่าการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ กรมประมงจะคุมเข้มไม่ให้มีการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ โดยมีอัตราโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท

ส่วนการสืบสวนหาที่มาของการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนไต่สวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยจะครบกำหนดวันที่ 30 ก.ค.นี้ และจะแถลงข่าวผลการสอบสวนว่าต้นตอมาจากที่ใด ส่วนจะเอาผิดบุคคล หรือเอกชนที่เป็นต้นตอได้หรือไม่ ฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างดูรายละเอียดทั้งหมด

ในกรณีข้อสงสัยว่าปลาอาจหลุดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติระหว่างการทำลองเลี้ยง แม้จะขออนุญาตนำเข้าอย่างถูกต้องนั้น รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ต้องสืบสวนสอบสวน และหาสาเหตุที่ปลาดังกล่าวแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำสำคัญ รวมถึงการส่งออกปลาหมอคางดำไปต่างประเทศ เพื่อตอบข้อสงสัยของสังคม

การเอาผิดทางอาญา หรือทางแพ่ง ต้องดูว่ามีข้อกฎหมายรองรับหรือไม่

อย่างไรก็ตาม กรมประมงอยู่ระหว่างของบกลางเพื่อแก้ปัญหานี้ เบื้องต้นมีภาคเอกชนสนใจรับซื้อปลาไปแปรรูปด้วยเช่นกัน

อ่านข่าว : จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ" 

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551 

"ปลาหมอคางดำ" จับจากน้ำเน่าเสี่ยงสารพิษ-เชื้อโรคในตัวปลา 

 


หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน

Fri, 26 Jul 2024 11:43:00

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ในเวทีเสวนาเรื่อง "หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ" นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เปิดหลักฐานใหม่กรณีปลาหมอคางดำระบาด โดยนำมาเผยแพร่ในเวทีเสวนา

ความสำคัญของหลักฐานใหม่

อ่านข่าว จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ข้อมูลต่อมาทำไมฟาร์มยี่สาร จึงเป็นศูนย์กลางการระบาด

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หมายเหตุ ข้อมูลในประเทศไทย มีรายงานการนำเข้ามาตั้งแต่ ปี 2553 (ชัยวุฒิ สุดทองคง และคณะ,2017) พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอสีคางดำ ในคลองดอนจั่น คลองหลวง คลองเจ็ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลอง
ตามน และคลองผีหลอก ใน ต.แพรกหนามแดง กับ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ. สมุทรสาคร

อ่านข่าว "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

และยังเข้าไปแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงปลา บ่อกุ้ง เกือบ 10,000 ไร่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปยังจังหวัดข้างเคียง อ.บ้านเหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่คลอง

ส่วนรายงานการศึกษาการวิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำในเขตพื้นที่ชายฝั่งของไทย จากโครงสร้างพันธุกรรมของประชากร โดยพบว่า 

ผลการศึกษาช่วยยืนยันที่มาของการแพร่ระบาด โดยข้อมูลระยะห่างทางพันธุศาสตร์ ลำดับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ

ชี้ให้เห็นว่า ประชากรปลาหมอสีคางดำที่แพร่ระบาดในมีแหล่งที่มาร่วมกัน

ในประเทศไทยมีแหล่งที่มาร่วมกัน และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม haplotype อยู่ในระดับการเปลี่ยนแปลงเพียง 1-2 ลำดับเบสเท่านั้น (ภาพที่ 4) ซึ่งสามารถอธิบายความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรแต่ละจังหวัดไว้ว่า เกิดจากกลไกของจีเนติกดริฟท์ หรือความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งเกิดจากปลาที่นำไปพื้นที่ใหม่มีจำนวนน้อย ขาดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างประชากร มากกว่าเกิดจากการนำเข้าหลายครั้ง

อ่านข่าว :

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

 


จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

Fri, 26 Jul 2024 10:49:00

วันนี้ (26 ก.ค.2567) มูลนิธิชีววิถี (BioThai Foundation) ร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) สภาองค์กรของผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารหายนะสิ่งแวดล้อม จัดเสวนา กรณีปลาหมอคางดำ :การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศ และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ 

อ่านข่าว อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่สมุทรสงคราม และประธาน สภาองค์กรของผู้บริโภค ยืนยันว่าเกษตรกรได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำมาตั้งแต่ปี 2554 หลังจากบริษัทซีพี ขออนุญาตอย่างถูกต้องมาทดลอง เพาะเลี้ยงที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งได้ร้องเรียนไปทุกที่แต่กฎหมายของไทยเหมือนใยแมงมุม จับได้แต่แมงหวี่แมงวัน แต่เจอพญาอินทรี กระพือปีกทีเดียวแมงมุมกระจาย ยกตัวอย่างเรื่องการจับยึดเรือประมงรายเล็ก แต่รายใหญ่กลับไม่กล้า

มุมมองส่วนตัวไม่คิดว่าใครผิดใครถูก แต่เชื่อว่าคนที่ผิดคือคนที่ถืออำนาจรัฐ ถ้าไม่มือไม้ไม่อ่อนเซ็นอนุญาต ถ้านโยบายรัฐไม่เอื้อ เอกชนทำร้ายประชาชนไม่ได้ 

น.ส.บุญยืน กล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากได้คำตอบคือ วิธีการทำลายปลาหมอคางดำเพื่อไม่ให้ระบาด ไม่ใช่แค่จับมาทำอาหาร ทำอาหารสัตว์แต่เมื่อฉีดน้ำลงไปก็มีไข่หลุดรอดลงน้ำสาธารณะ และเห็นด้วยกับการปล่อยปลากระพงแต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ตอนนี้ปล่อยน้ำ 30,000 ตัวจะเหลือรอดกี่ตัว

อ่านข่าว "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

ชี้ปลาหมอคางดำระบาดรุนแรง-กินดุ

ส่วนนายวินิจ ตันสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ถือว่า ไทยเผชิญการระบาดของปลาหมอคางดำในระดับรุนแรง เพราะสภาพอากาศเหมาะสม โดยในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก. การแพร่กระจายของไข่ อาจไปโดยถูกนกโฉบพา หลุดเองลงแหล่งน้ำ และคนพาไป

ส่วนผลศึกษาของกรมประมง พบว่าปลาหมอคางดำกินดุ กินหมดบ่อได้ใน 3-4 ชั่วโมง จนเกิดความเสียหายมากใน 17 จังหวัด ข้อมูลสัตว์น้ำกุ้งขาวมากที่สุด 72% พบว่ากลุ่มชาวบ้านที่เลี้ยงระบบเปิดเกิดความเสียหายกว่าระบบปิด

อ่านข่าว หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน

การสำรวจปี 2561พบว่าพื้นที่ 48,000-50,000 ไร่ มีปลาหมอคางดำกว่า 1,573,000 ตัว สร้างความเสียหายเกือบ 350 ล้านบาทในพื้นที่ จ.สมุทร สงคราม และเพชรบุรี

เมื่อพบการระบาดรุนแรง เห็นว่ารัฐต้องจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร การผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ อาจเกิดขึ้นได้ชาติหน้า เพราะตอนนี้ ยังไม่เห็นความชัดเจน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดยรัฐเป็นผู้กำหนดแนวทางความเสียหาย รวมถึงต้องติดตามประเมินความเสียหายต่อเนื่อง ปลาหมอคางดำ เป็นตัวสร้างความเสียหายระบบนิเวศใหญ่หลวง

อ่านข่าว เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ

"ปลาหมอบัตเตอร์" พบระบาดในเขื่อน

ดร.ชวลิต วิทยานันท์นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำ และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กล่าวว่า การนำเข้าวงการปลาสวยงาม เป็นหนึ่งจุดที่เริ่มพบการหลุดรอดของปลาที่ขอนำเข้าแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น ปลาหมอบัตเตอร์ ต่อมาพบในเขื่อนเขื่อนวชิราลงกรณ์ แม่น้ำแม่กลอง

กรณีนี้มีการนำทดลองทำให้ลูกปลานิลทนเค็ม เพื่อให้เป็นหมัน ไม่มีมีปลาออกลูก แต่ผิดกับปลานิลจิตรลดาของ กรมประมง เอาไปเพาะเลี้ยงต่อได้ 
นายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

นายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

นักกฎหมาย จี้ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย 

ด้านนายอัคคพล เสนาณรงค์ อดีต ผอ.สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เสนอว่าให้เกษตรกรและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำระบาดและได้รับความเสียหายให้รวมกลุ่มเรียกร้องค่าเสียหาย และนำเข้ากระบวนการยุติธรรม และเอกชนที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ควรใจกว้าง จะได้มีโอกาสชี้แจงต่อสาธารณชน เพื่อสร้างความปร่งใส

ขึ้นกับว่าใครจะหาหลักฐานมาสนับสนุนให้มากกว่ากัน จริงแค่ไหนที่พบการระบาดปี 2555 ในแถบสมุทรสงคราม และผู้เสียหายต้องฟ้องแพ่งและหาทนายดีในการต่อสู้ 

ด้านนายสุรชัย ตรงงาม กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) เสนอว่า สามารถใช้มาตรา 97 ของพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม มาฟ้องร้องค่าเสียหาย จากเอกชนที่เป็นผู้ก่อมลพิษ และเกิดคความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐโดยกรมประมง มีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะมีการละเว้นการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ 

อ่านข่าว

"ณัฐชา" เสนอญัตติด่วนตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

 

 

 

 


อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

Thu, 25 Jul 2024 20:20:02

วันนี้ (25 ก.ค.2567) เวลา 09.30 น. ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุม คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่มี นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธาน นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เป็นรองประธาน

เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง กรณีผลกระทบจากปลาหมอคางดำอีกครั้ง โดยในวันนี้ได้ผู้บริหารของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF เข้าชี้แจงข้อมูล แต่แจ้งว่าติดภารกิจ

นพ.วาโยกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้เชิญ นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมาธิการฯ เป็นครั้งที่ 2 แต่เนื่องจากซีพีเอฟแจ้งว่า ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ เนื่องจากติดภารกิจ แต่ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อเป็นประโยชน์ เป็นหนังสือลงวันที่ 24 ก.ค.2567 จำนวน 3 หน้า กับเอกสารแนบ 1 แผ่น รวมเป็นเอกสาร 4 แผ่น

วันนี้เราได้เปิดโอกาสให้ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำ ซึ่งกำลังเป็นประเด็นอยู่ในสังคมขณะนี้ แต่ประธานบริษัทก็ปฏิเสธการเข้าชี้แจงทั้งสองครั้ง คิดว่าเราคงไม่ได้รับเกียรติอีกต่อไป

ขอสรุปข้อมูลเบื้องต้นก่อน ย่อหน้าแรกแจ้งว่าได้รับหนังสือแล้ว ย่อหน้าที่สอง ย้อนกลับไปปี 2553 วันที่ 22 ธ.ค.2553 นำเข้าปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว ไล่เรียงมาว่า 2,000 ตัว ตาย 1,400 ตัว เหลือ 600 ตัว ผ่านไป 2 วัน เหลือ 400 ตัว ผ่านไปอาทิตย์หนึ่งเหลือ 200 ตัว ผ่านไป 2 อาทิตย์เหลือ 150 ตัว ผ่านไป 3 อาทิตย์ เหลือ 50 ตัว

ทางบริษัท ซีพีเอฟ ได้เปิดชื่อเจ้าหน้าที่กรมประมง ที่อ้างว่าเป็นผู้ติดต่อประสานงานในการเก็บโหลปลา ซึ่งตอนแรกถ้าเปรียบเทียบกับเมื่อวานซืน (23 ก.ค.2567) ที่เราไปกรมประมงกันมา เขาถมดำรายชื่อ เพราะเป็นประเด็น PDPA ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมด้วย เพราะว่าท่านไม่ได้อยู่ในที่นี้ เราคงไม่ได้เปิดเผยชื่อ และจะประสานกรมประมงไปว่า เจ้าหน้าที่คนนี้จะชี้แจงอย่างไร

แผ่นที่ 2 เล่าถึงกระบวนการว่า พอยุติเสร็จแล้วก็เอาไปฝัง โดยปูนขาว วันที่ 7 ม.ค.2554 แจ้งการตาย ทำลายซาก ไปที่เจ้าหน้าที่คนเดิม และนำส่งลูกปลาดองทั้งตัวในฟอร์มาลีนให้กับท่านนี้

ปี 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เข้ามาตรวจสอบ จึงรายงานไป เรื่องบ่อพักน้ำ R 2 ซึ่งตรงกับรายงานของกรมประมง และอธิบายว่า บ่อพักน้ำนั้นเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งก็แน่นอนว่าดูดน้ำจากแหล่งธรรมชาติเข้ามา

สรุปสุดท้ายว่า บริษัทไม่มีการเลี้ยงและวิจัยปลาหมอคางดำอีกเลย นับตั้งแต่ปี 2564 แม้ว่าทางบริษัทมั่นใจว่า ไม่ได้เป็นต้นตอของการแพร่ระบาด แต่ก็มิได้นิ่งนอนใจ ก็เหมือนที่ได้แถลงข่าวไปเรื่องการรับซื้ออะไรต่าง ๆ ก็จบเพียงเท่านี้

แผ่นสุดท้าย แนบหนังสือเพิ่มมา อันนี้เป็นหนังสือแจ้งขออนุญาตนำเข้า แต่เลือกที่จะส่งแผ่นวันที่ 11 พ.ย.2551 มา จริง ๆ ได้รับอนุญาตเข้าตั้งแต่ปี 2549 แล้วก็มีใบแจ้งหลายรอบ แต่เลือกที่จะส่งแผ่นนี้มา ผมก็นั่งพิจารณาว่า ทำไมจึงส่งแผ่นนี้มา ก็ถึงบางอ้อว่า มีชื่อท่านนักวิชาการ ประมง 4 เบอร์โต๊ะที่ผมเคยบอกไว้เมื่อวันอังคาร ก็คือเปิดชื่อมา 1 ท่าน ซึ่งของกรมประมงเขาบอกเบอร์โต๊ะอย่างเดียว แต่ในใบปี 2551 มีชื่อด้วย

มีอีกชื่อที่สำคัญคือชื่อ ท่านบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ท่านปัจจุบัน ในฐานะนิติกร 7 รักษาการในตำแหน่ง... สรุปว่าในขณะนั้นอธิบดีอยู่นี่ และน่าจะพอทราบเรื่องด้วย และพบว่าท่านเป็นนิติกรนี่นา ท่านจบกฎหมาย ให้ทีมงานสืบค้นมา ท่านจบนิติศาสตร์บัณฑิต ตั้งแต่ปี 2533

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมวันนี้ ได้นำเสนอความเห็นถึงประเด็นที่ซีพีเอฟ ไม่ได้เดินทางมาด้วยตัวเอง และเห็นว่ามีหลายประเด็นทางข้อกฎหมาย ที่ต้องการคำตอบ โดยเฉพาะรายละเอียดการนำเข้า และกระบวนการวิธีวิจัยตั้งแต่เริ่มแรก ของซีพีเอฟ โดยที่ประชุมเสนอให้ใช้มาตรการทางกฎหมาย ในการเรียกข้อมูล รวมถึงการเชิญนักกฎหมาย ทั้งจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด นักกฎหมายที่เชี่ยวชาญ รวมถึงนักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความเห็นในครั้งถัดไป

หลังเสร็จสิ้นการประชุม นพ.วาโยกล่าวว่า เราสงสัยว่า สรุปแล้วการวิจัยแล้วมันได้ผลหรือไม่ได้ผล การวิจัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร แล้วปลาที่นำเข้ามานั้น เราควรจะต้องรู้ด้วยว่ามันมาจากบริษัทอะไร เพราะจริง ๆ เราอาจจะต้องเทส DNA Bank ที่นั่นได้

ดังนั้นเราจึงอยากเห็นว่า สรุปแล้วมันเป็นอย่างไร รวมถึงบ่อที่ใช้ในการเลี้ยง ว่าเป็นบ่อดินหรือบ่อปูน การเลี้ยงเป็นระบบเปิด หรือระบบปิด มาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ และในรายงานการวิจัย ต้องมีการเขียนเรื่องวิธีการควบคุม ไม่ให้มันหลุดรอดออกไป รวมถึงวิธีการทำลายและเอกสารต่าง ๆ ที่จบงานวิจัยได้ผลดีหรือไม่ดี และท่านสรุปผลการทดลองอย่างไร

ซึ่งเรื่องนี้ในเงื่อนไขของ IBC มันต้องมี proposal งานวิจัย ซึ่งเรื่องนี้ อนุ กมธ. ยังไม่เคยได้ ทั้งจากกรมประมงและยังไม่ได้ทั้งจากซีพีเอฟ บริษัทผู้ขอนำเข้าเลย ผมไม่เข้าใจว่ามันยากเย็นอะไรขนาดนั้น ไม่เข้าใจเหมือนกันแต่พยายามขออยู่

นพ.วาโย กล่าวด้วยว่า เมื่อไม่ได้เอกสารเรื่องที่ต้องการจากซีพีเอฟ ก็คงเป็นไปตามที่บอก ว่า เราจะไม่เชิญซีพีเอฟอีก ก็คงเป็นอย่างนั้น คงไม่กล้าที่จะเชิญแล้ว แต่ไม่ได้ปิดโอกาส ก็ยังยินดีหากซีพีเอฟจะติดต่อกลับมา

ซีพีเอฟสะดวกวันไหน เวลาไหน ว่ามาเลย เดี๋ยวผมเปิดวาระการประชุมเป็นพิเศษให้ หรือจะให้ อนุ กมธ. ไปประชุมสัญจร แบบที่เคยไปที่กรมประมงก็ได้ หรือจะนัดให้ไปหาตอน 19.00 น. คณะผมก็จะไป ท่านว่าง 01.30 น. ผมก็จะไป 01.30 น. ไม่ว่าอะไรเลย ขอให้ท่านแจ้งแล้วบอกมา แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า จะได้รับความกรุณาเช่นว่าหรือเปล่า

นพ.กล่าวต่อว่า หากไม่ได้ข้อมูลอะไรมาจริง ๆ ต้องขอเชิญหน่วยงานทางกฎหมายต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ แล้วอาจจะต้องหาเจ้าภาพอื่นและต้องอาศัยกระบวนการทางกฎหมายอื่น เช่น สิทธิ์และหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการเป็นต้น ในการขอ หรือหากมีใครจะเป็นเจ้าภาพดำเนินการตามกระบวนการตุลาการ หรือใช้หมายศาลไปดำเนินการ ก็ต้องว่ากันอีกที

อ่านข่าว : "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

"ฝูงนาก" โผล่กิน "ปลาหมอคางดำ" ป่าชายเลนริมเจ้าพระยา

เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ


"ปลาหมอคางดำ" จับจากน้ำเน่าเสี่ยงสารพิษ-เชื้อโรคในตัวปลา

Thu, 25 Jul 2024 17:27:00

กรณีการระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ 16 จังหวัดซึ่งแม้จะมีการส่งเสริมให้จับปลามาทำเมนูอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ 

ผศ.ดวงใจ มาลัย อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ปลาหมอคางดำ เป็นปลาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และไม่ใช่ปลาในกลุ่มเศรษฐกิจที่นำมาบริโภค รวมทั้งไทยไม่ได้ส่งเสริมให้มีการเลี้ยง จึงทำให้ในประเทศไทยยังไม่มีผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนาการ

แต่ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่นำปลาหมอคางดำมาเลี้ยงเช่นกัน และในปี 2554 พบว่าปลาชนิดนี้ เริ่มมีการรุกรานหรือบุกรุกเข้าไปในฟาร์มปลา ทำให้มีปัญหาและต้องการกำจัด จึงมีการทำวิจัยปลาหมอคางดำเพื่อมาใช้ประโยชน์ ด้วยการแปรรูป ทำเนื้อปลาบด

การบริโภคเช่นเดียวกับปลานิล เช่น ต้ม ทอด นึ่ง หรือ ถนอมอาหาร เพื่อกำจัดให้ได้จำนวนมาก เช่น ทำปลาหมัก ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาส้ม แหนมปลา หรือนำไปถนอมอาหาร แปรรูป ทำลูกชิ้น

อ่านข่าว "ณัฐชา" เสนอญัตติด่วนตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

เมนูปลาหมอคางดำทอด

เมนูปลาหมอคางดำทอด

โปรตีนสูงเทียบเท่า ปลานิล-ปลาหมอเทศ

ผศ.ดวงใจ ระบุว่า ปลาหมอคางดำ เป็นปลาในวงศ์เดียวกับ ปลานิล ปลาหมอ เทศ หากเทียบเคียงด้านคุณค่าทางโภชนาการ ก็คล้ายกับปลานิลที่มีข้อมูล พบว่า เนื้อปลามีปริมาณโปรตีนสูงอยู่ในช่วง 18-20% ไขมันประมาณ 2% ซึ่งเป็นลักษณะของปลาทั่วไปที่มีคุณภาพทางด้านโภชนาการ ส่วนพลังงานอยู่ที่ 95-100 กิโลแคลอรี่ต่อเนื้อปลา 100 กรัม

ปลาหมอคางดำอยู่ในวงศ์เดียวกันปลาหมอเทศที่นำมาบริโภค แต่คนไทยไม่ถูกใจ ส่วนปลานิลเป็นที่นิยม เพราะเนื้อนิ่มกว่า ปลาหมอเทศเนื้อแข็ง ซึ่งคล้ายกับปลาหมอคางดำ จึงไม่ได้รับความนิยมในการบริโภค

อ่านข่าว "ฝูงนาก" โผล่กิน "ปลาหมอคางดำ" ป่าชายเลนริมเจ้าพระยา 

ผศ.ดวงใจ ระบุว่า ลักษณะของปลาหมอคางดำ เจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว รวมทั้งมีความถี่ในการบริโภคสูง จึงเกิดระบบนิเวศไม่สมดุล ทำให้ต้องกำจัด แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ปลาหมอคางดำ การเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำทะเล และยังเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเน่าด้วย

อ่านข่าว "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

จับปลาหมอคางดำ บึงมักกะสัน กทม.

จับปลาหมอคางดำ บึงมักกะสัน กทม.

แห่จับปลาบึงมักกะสัน เสี่ยงรับสารพิษ

ก่อนหน้านี้ที่มีประชาชนแห่จับปลาหมอคางดำที่บึงมักกะสัน กทม. กังวลว่า แหล่งน้ำนี้ มีการทิ้งน้ำเสีย โอกาสที่จะเป็นแหล่งเชื้อโรค มีสารพิษปะปนในน้ำ รวมทั้งปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำนี้ ก็จะซึมซับสารพิษ และเชื้อโรคไว้ในตัวปลาด้วย ซึ่งการนำปลาจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดมาบริโภค ก็อาจจะเป็นอันตราย ไม่แนะนำให้บริโภค แต่สามารถนำไปทำน้ำหมัก เป็นปุ๋ยรดพืชได้

ประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบการ ควรสอบถามแหล่งที่มาของปลา หากมาจากแหล่งน้ำที่สะอาด บริโภคได้เลย

ไบโอไทย จัดเวทีถกปลาหมอคางดำ

ขณะที่วันพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) มูลนิธิชีววิถี (BioThai Foundation) ร่วมกับ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) สภาองค์กรของผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารหายนะสิ่งแวดล้อม จัดเสวนา กรณีปลาหมอคางดำ : การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศ และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. 

โดยจะมีการรายงานผลกระทบจากในพื้นที่จริงจากชาวประมงพื้นที่สมุทรสง คราม ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งผลกระทบวิเคราะห์ผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และแนวทางการฟื้นฟูในมุมมองนักนิเวศวิทยา รวมทั้งแนวทางการเยียวยาชดเชยความเสียหาย และการฟ้องร้องตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม 

 


"เสือโคร่ง" ในป่าไทย เพิ่มขึ้นเป็น 179-223 ตัว

Thu, 25 Jul 2024 17:24:55

วันนี้ (25 ก.ค.2567) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า จัดงานวันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2567 (Global Tiger Day 2024) ภายใต้แนวคิดหลัก “Go Goal Tigers : ก้าวต่อไป...Tigers” ความก้าวหน้าของการอนุรักษ์เสือโคร่ง ด้วยการศึกษาวิจัยและฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งการจัดการถิ่นอาศัยและประชากรเหยื่อของเสือโคร่ง ตลอดจนการกระจายตัวของเสือโคร่งไปยังผืนป่าเป้าหมาย ระหว่างวันที่ 25-27 ก.ค.2567 ที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า การประชุมการเงินที่ยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์ภูมิทัศน์เสือโคร่ง (Sustainable Finance for Tiger Landscapes Conference: SFTLC) เมื่อวันที่ 22 – 23 เม.ย.2567 ณ เมืองพาโร ราชอาณาจักรภูฏาน ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อระดมทุนและความร่วมมือด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งกับกลุ่มประเทศถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง

ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็น “Champion ด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ และเพิ่มศักยภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นโมเดลการดำเนินงานของถิ่นอาศัยเสือโคร่งประเทศอื่น ๆ ได้

ในปี 2566-2567 การประเมินข้อมูลภาพถ่ายจากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติและเทคนิค การประเมินประชากรแบบ Spatially Explicit Capture Recapture (SECR) โดยกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้ามาศึกษาวิจัยและสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ได้ติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพจำนวนกว่า 1,200 จุด และมีรายงานการถ่ายภาพเสือโคร่งได้ในพื้นที่อนุรักษ์ 19 แห่ง 5 กลุ่มป่า ประกอบด้วย

กลุ่มป่าตะวันตก 152-196 ตัว, กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 19 ตัว, กลุ่มป่าแก่งกระจาน-กุยบุรี 5 ตัว, กลุ่มป่าฮาลา-บาลา 2 ตัว และกลุ่มป่าชุมพร 1 ตัว

เมื่อนำข้อมูลการถ่ายภาพประกอบกับการประเมินความหนาแน่นประชากรของเสือโคร่งด้วยเทคนิคทางสถิติ (SECR) พบว่า ปี 2567 ประเทศไทยมีประชากรเสือโคร่งตัวเต็มวัยอยู่ประมาณ 179-223 ตัว ซึ่งการเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งจะเห็นได้ชัดในกลุ่มป่าตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ มีการเดินทางออกไปกระจายพันธุ์ในพื้นที่อนุรักษ์อื่นโดยรอบ และประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนเสือโคร่งจาก 41 ตัว ในปี พ.ศ.2557 เป็น 100 ตัว ในปี พ.ศ.2565 ในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในรูปแบบภูมิทัศน์เชิงนิเวศ และการทำงานเพื่อเอาชนะความท้าทายในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ การติดตามการบังคับใช้กฎหมายการปรับปรุงพัฒนาระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ วางโครงสร้างการบริหารจัดการตามระบบนิเวศ

การเพิ่มศักยภาพพัฒนาทักษะด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครองของหัวหน้าหน่วยงาน และการลาดตระเวนเชิงคุณภาพของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ปฏิบัติงานครอบคลุมพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมบริหารจัดการพื้นที่

นายอรรถพล กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งในปี 2567 อยู่ในช่วงของแผนยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2577) โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ ภายใต้ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นถิ่นอาศัยด้วยการยกระดับการจัดการพื้นที่และการติดตามตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพ

ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันตก, กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, กลุ่มป่าแก่งกระจาน, กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาวและกลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก ภายใต้การบูรณาการการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อนำประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี พ.ศ.2577

อ่านข่าว : 107 วัน คืนเสือ "บะลาโกล" สู่บ้านใหม่ "ป่าทับลาน" 

"หมูหริ่ง" มื้อแรกเสือโคร่ง "บะลาโกล" ในป่าใหญ่ 


“ชัยวัฒน์” ยื่นหลักฐาน “บิ๊กเต่า” เอาผิด จนท.ออกโฉนด ส.ป.ก.ทับลาน

Thu, 25 Jul 2024 15:00:56

วันนี้ (25 ก.ย.2567) นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำเอกสารราชการเรื่องการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก., ภาพถ่ายทางอากาศ, รายละเอียดการออกโฉนดที่ดิน มอบให้กับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อให้ตรวจสอบและขยายผลเอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปลักลอบออกโฉนดที่ดินเพื่อใช้ทำประโยชน์ในการประกอบธุรกิจซึ่งผิดวัตถุประสงค์ ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน

นายชัยวัฒน์ เปิดเผยว่า ตนเองและคณะลงพื้นที่ตรวจสอบ เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา พบข้อมูลว่ามีการออกเอกสารสิทธิมิชอบ 2 แห่งใน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนอุทยานแห่งชาติทับลาน แต่กลับพบว่ามีความพยายามจากเจ้าหน้าที่รัฐ จ.นครราชสีมา ในการออกเอกสารสิทธิเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่สามารถกระทำได้ จึงเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำมาปรึกษากับรอง ผบช.ก. สำหรับนำข้อมูลมาพิจารณาเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

นายชัยวัฒน์ ระบุอีกว่า ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ สังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา (ส.ป.ก.นครราชสีมา) ประมาณ 14-15 คน และมีความเชื่อมโยงกับกรณีที่ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) จับกุมนายอัครเดช ซึ่งออกเอกสารสิทธิให้ 13 นอมินีครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.โคราชกว่า 600 ไร่ เพื่อรองรับน้ำเสียของนายทุน รวมถึงกลุ่มผู้ชงเรื่องสังกัดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินด้วย

เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะสามารถแจ้งดำเนินคดีเอาผิดกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำ จัดการ รักษาทรัพย์ใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

ด้าน พล.ต.ต.จรูญเกียรติ เปิดเผยว่า หลังได้รับข้อมูลดังกล่าวจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามการทำงาน โดยจะมีเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรมป่าไม้ เข้ามาร่วมด้วย อีกทั้งจะนำข้อมูลชุดที่ได้ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีอยู่ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

อ่านข่าว

เลื่อนสั่งคดี "ศรีสุวรรณ-เจ๋ง ดอกจิก" เรียกทรัพย์บิ๊กกรมการข้าว

"นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

เช็ก 107 เส้นทางใหม่ ตามแผนปฏิรูปรถเมล์ เริ่มบริการ 25 ก.ค.67


"นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

Thu, 25 Jul 2024 14:35:00

"ปลาหมอสีคางดำ" แพร่ระบาดในหลายพื้นที่ 16 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นปัญหาระดับชาติที่หลายฝ่ายระดมกำลังและหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่รับซื้อในกิโลกรัมละ 15 บาท ปล่อยปลากระพงไปกินลูกปลาหมอคางดำ

ล่าสุดมีข้อเสนอจากชาวบ้านบางส่วน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ให้ใช้ "นาก" เป็นผู้กำจัด ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ถึงความเป็นไปได้ของการใช้นากล่าปลาเอเลี่ยนสปีชีส์

น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ ส่วนตัวไม่ได้เห็นด้วย หรือคัดค้านแนวคิดนี้ แต่ต้องดูพฤติกรรมของนาก และพิจารณาให้รอบด้านถึงผลกระทบเชิงลบ ไม่ใช่มองแค่เป็นสัตว์ผู้ล่าที่กินปลา

นากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่ผ่านการฝึกและใช้โซ่คล้องคอไปล่าปลาได้ อีกทั้งการควบคุมพฤติกรรมของสัตว์ป่าทำได้ยาก อาจขยับเข้าไปกินปลาในบ่อเลี้ยงสร้างความเสียหายเพิ่มเติม

ต้องดูรอบด้านทั้งพฤติกรรม ผลกระทบ ประสิทธิภาพในการกินมากน้อยแค่ไหน นากเป็นสัตว์ป่ามีวงรอบและทางเลือกการหากินเอง อย่ามองว่าผู้ล่าต้องกินเหยื่ออย่างเดียว

ส่วนกรณีการนำนากจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ไปปล่อยในแหล่งน้ำลำคลองที่พบการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ ต้องศึกษาว่าสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ หรือเป็นอันตรายต่อนากเองหรือไม่ เพราะถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่สถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวอาจเป็นเพียงทางเลือก แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง

ฟังดูดีในแง่ให้ธรรมชาติควบคุมกันเอง แต่ปลาหมอคางดำมีเป็นแสนเป็นล้านตัว เหยื่อมากกว่าสัตว์ผู้ล่า คำถามแรกจะเอานากมาจากไหน ถ้าย้ายมาให้ช่วยกินปลาแล้วไปรบกวนประชากรนากเดิมไหม

สอดคล้องกับความเห็นของ น.สพ.เกษตร สุเตชะ นายสัตวแพทย์ประจำศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่มองว่า "นาก" อาจไม่ใช่ทางออก โดยตั้งข้อสังเกตว่า นาก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำ และไม่มีผลต่อการกำจัดปลาในปริมาณมาก

อีกทั้งในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ มีนากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งนากเล็กเล็บสั้น และนากใหญ่ขนเรียบ ซึ่งไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินหมดทั้งปลานิล ปลาซ่อน ปลาดุก

นากฝูงละ 20 ตัว แต่ 1 ตัวกินเหยื่อได้วันละ 10% ของน้ำหนักตัว ซึ่งนากเล็กเล็บสั้นน้ำหนัก 2 กิโลกรัม กินเหยื่อวันละ 200-400 กรัม เท่ากับกินปลาแค่วันละ 1 ตัว

น.สพ.เกษตร อธิบายพฤติกรรมของนาก ว่า กินเฉพาะเมื่อหิว และเน้นปลาตัวใหญ่เป็นหลัก ไม่มีผลต่อการกำจัดลูกปลา โดยเฉพาะปลาหมอคางดำที่ออกลูกครั้งละ 200-300 ตัว มนุษย์จึงเป็นทางออกดีที่สุดในการแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ จับปลาชนิดนี้

การแก้ปัญหาด้วยการใช้สัตว์กำจัดกันเองอาจไม่ใช่คำตอบ ยกตัวอย่างในนิวซีแลนด์ ประสบปัญหาหนูที่ติดมากับเรือขนคนอพยพจากทวีปยุโรปเข้าไปทำลายพืชผลการเกษตร สุดท้ายใช้วิธีนำเข้า "แมว" มากำจัดหนู แต่แมวแพร่กระจายพันธุ์ และทำลายสัตว์พื้นเมืองของนิวซีแลนด์สูญพันธุ์หลายชนิด

ให้มนุษย์จับออกจากพื้นที่ นั่นคือทางออก เพราะจับได้ไม่อั้น เมื่อมนุษย์เป็นคนเริ่มก็ต้องเป็นคนแก้

อ่านข่าว : "นาก" ทูตแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำ เสี่ยงสูญพันธุ์ของโลก 

“อุ๋งอุ๋ง” สุดน่ารัก สัตว์คุ้มครองชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ 

เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ 

"ฝูงนาก" โผล่กิน "ปลาหมอคางดำ" ป่าชายเลนริมเจ้าพระยา 


เปิดชื่อบอร์ด กยท.ทุ่มงบฯ ซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทำน้ำหมักชีวภาพ

Thu, 25 Jul 2024 14:12:00

กรณีคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กยท. เห็นชอบงบ 50 ล้านบาทรับซื้อ "ปลาหมอคางดำ" เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในสวนยางพารา โดยเบื้องต้นจะรับซื้อ 1,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ซึ่งจะสามารถทำน้ำหมักชีวภาพได้ราว 160,000 ลิตร และคาดว่าชาวสวนยางจะนำน้ำหมักดังกล่าวไปใช้ได้ในเดือน ก.ย.นี้

แม้ยังมีความเห็นต่างจากเกษตรกรชาวสวนยางบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย แต่นายเพิก เลิศวังพง ประธานบอร์ด กยท. ระบุว่าจะเร่งทำความเข้าใจ พร้อมยืนยันว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและยังช่วยกำจัดปลาหมอคางดำได้อีกทางหนึ่ง

อ่านข่าว : "บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"

ก่อนหน้านี้ นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่า กยท.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดปลาหมอคางดำที่ทำลายระบบนิเวศน์ได้ จึงเตรียมรับซื้อปลาหมอคางดำ นำไปทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร โดยใช้เงินงบประมาณ กยท.มาตรา 13 สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของ กยท. ภายใต้โครงการจำหน่ายปัจจัยการผลิต แผนปฏิบัติการดำเนินงานด้านธุรกิจ ซึ่งคณะกรรมการ กยท.มีมติเห็นชอบและให้ดำเนินการตามแผนธุรกิจของ กยท.ไว้แล้วเมื่อวันที่ 27 ก.ย.2566

เบื้องต้น กยท.ได้ร่วมกับกรมประมง จัดหาผู้ประกอบการด้านการประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง เพื่อเป็นผู้รับซื้อปลาหมอคางดำจากเกษตรกรหรือประชาชนที่จับมาขาย โดยจะจัดจุดรับซื้อในจังหวัดที่มีการแพร่ระบาด ก่อนส่งปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้โรงงานใน จ.กาญจนบุรี เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ ซึ่ง กยท.จะนำไปวางจำหน่ายตามหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ในราคาลิตรละ 100 บาท

เปิดรายชื่อบอร์ด กยท.

นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ​การยางแห่งประเทศไทย
นายประยูร อินสกุล ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรรมการ)
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรรมการ)
นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม (กรรมการ)
นายวิโรจน์ นรารักษ์ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กรรมการ)
น.ส.วรชยา ลัทธยาพร ผู้แทนกระทรวงการคลัง (กรรมการ)
นายอุดม ศรีสมทรง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ (กรรมการ)
นายปวิช พรหมทอง ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายเผ่าภัค ศิริสุข ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
น.ส.อรอนงค์ อารินวงค์ ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายพิเชษฐ ยอดใชย ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยาง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กรรมการและเลขานุการ)

อ่านข่าว :

"ณัฐชา" เสนอญัตติด่วนตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

“ซีพีเอฟ” ไม่มาชี้แจง ! อนุ กมธ.ฯ "ปลาหมอคางดำ" ผู้บริหารระบุติดภารกิจ


"ฝูงนาก" โผล่กิน "ปลาหมอคางดำ" ป่าชายเลนริมเจ้าพระยา

Thu, 25 Jul 2024 14:00:00

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ชาวบ้านย่าน ใน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ถ่ายคลิป "ตัวนาค" ขณะกำลังจับ "ฝูงปลาหมอคางดำ" กินเป็นอาหารอย่างเอร็ดอร่อย ซึ่งจะพบเห็นได้ตามลำคลองและริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่ ใน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ป่าชายเลนข้างเคียง ในภาพเป็นฝูงตัวนากที่โตเต็มวัยกำลังแหวกว่ายดำผุดดำวาย กว่า 10 ตัว ในการจับปลากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะปลาหมดคางดำที่กำลังแพร่ระบายอยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง

ฝูงตัวนากในพื้นที่ อ.พระสมุทรเจดีย์ จะพบเห็นได้ช่วงเวลาหัวน้ำขึ้นหรือเวลาช่วงเย็น ซึ่งเป็นเวลาของการหารอาหาร โดยในพื้นที่ อ.พระสมุทรเจดีย์ ยังพบเห็นฝูงตัวนากได้ทั่วเกือบทุกพื้นที่ โดยในพื้นที่ ต.บ้านคลองสวน จะพบมากที่สุด

นายชัยพร กลิ่นกล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ต.บ้านคลองสวน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ กล่าวถึงกรณีที่ชาวบ้านมีการบอกว่า ต.บ้านคลองสวน จะมีฝูงนาก หรือตัวนากมาอาศัยอยู่จำนวนมากนั้น ว่า เป็นความจริง และปัจจุบันเริ่มจะขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่อื่นเป็นชุมชนเมืองเกือบจะทั้งหมด และจะเห็นฝูงนากหรือตัวนากน้อยลงเพราะมีการลุกล้ำเข้าไปในถิ่นที่อาศัยของสัตว์จำพวกนี้ ทั้งก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โรงงาน ทำให้ฝูงนากต้องย้ายถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยใหม่

อ่านข่าว : "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

นายชัยพร กลิ่นกล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ต.บ้านคลองสวน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

นายชัยพร กลิ่นกล้า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ต.บ้านคลองสวน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

นายชัยพร กล่าวว่า ในพื้นที่ ต.บ้านคลองสวน ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ป่า ชาวบ้านยังมีการทำเกษตรประมงเลี้ยง กุ้ง เลี้ยงปลา อีกทั้งยังติดกับป่าชายเลนของพื้นที่เขตบางขุนเทียน กทม.และยังไม่มีการก่อสร้างหมู่บ้านหรือโรงงานมากนัก ทำให้ฝูงนากได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านคลองสวน และพื้นที่ใกล้เคียงและจะเห็นได้เกือบทุกวัน โดยเฉพาะช่วงหัวน้ำขึ้นหรือยามเย็นตามริมคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ปกติตัวนากพวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นฝูงกระจายไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วตำบลและพื้นที่ใกล้เคียง โดยบริเวณบ้านตนซึ่งทำเกษตรเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาจะพบเห็นตัวนากบ่อยครั้งละ 15-20 ตัว ซึ่งนากพวกนี้จะอยู่กันเป็นแบบฝูงย่อยไม่ค่อยรวมตัวเป็นฝูงใหญ่ ส่วนอาหารโปรดอย่างของพวกนาก คือ ปลา แต่ในการกินปลานั้นจะแตกต่างออกไปจากสัตว์จำพวกอื่นคือจะกินเฉพาะหัวปลามากกว่า เพราะตัวปลาจะมีก้างที่แข็งและย่อยยาก

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ต.บ้านคลองสวน กล่าวอีกว่า ที่ตนพบเห็นบ่อยคือจะกินพวกปลานิล ปลาหมอ ปลาหมอคางดำ และปลาที่มีกระดูกแข็งจะเลือกกินแต่หัวและทิ้งตัวไว้ แต่ปลาชนิดจะเลือกกินเฉพาะตัวปลาเนื่องจากหัวปลาแข็ง กางปลาแข็งจะเลือกกินแต่เนื้อบริเวณลำตัวเท่านั้นและยังกุ้งอีกด้วย 

ส่วนพฤติกรรมการหากินปลาของพวกตัวนากนั้นจะดำผุดดำว่ายจับปลาตัวใหญ่ที่มีไซด์ขนาด 3-4 นิ้ว กินเป็นอาหาร ส่วนปลาที่เล็กกว่านี้จะไม่ค่อยจับมากินเพราะปลาที่เล็กจะจับยากและกินยาก

ในช่วงนี้มีการระบาดและแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การที่เห็นฝูงตัวนากมาว่ายน้ำไล่จับกินเป็นอาหารมองว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะเข้ามาช่วยในการกำจัด ถึงจะทำได้ไม่มากนัก แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่กำจัดกันเอง

อย่างไรก็ตาม หากจะคาดหวังว่าให้ปลาหมอคางดำนั้นหมดไปนั้นเป็นไม่ได้ คงต้องพึ่งด้วยตัวเอง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวเข้ามาช่วยเหลือจึงจะสามารถกำจัดได้ แต่มองว่าจะกำจัดได้ยาก เพราะเกือบทุกพื้นที่ในขณะนี้ปลาหมอคางดำระบาดอย่างหนักทั้งในคลอง บ่อ วัง แม้กระทั่งในทะเล ยังมีคนพบเจอปลาหมอคางดำอยู่เลย

อ่านข่าว : “ซีพีเอฟ” ไม่มาชี้แจง ! อนุ กมธ.ฯ "ปลาหมอคางดำ" ผู้บริหารระบุติดภารกิจ

กรมประมง โต้ยังไม่มีวิจัย "ไข่ปลาหมอคางดำ" ทนแล้ง 2 เดือน

กยท.ยันใช้ 50 ล้านซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ


“ซีพีเอฟ” ไม่มาชี้แจง ! อนุ กมธ.ฯ "ปลาหมอคางดำ" ผู้บริหารระบุติดภารกิจ

Thu, 25 Jul 2024 10:32:00

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ที่มี นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธาน นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เป็นรองประธาน

เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง กรณีผลกระทบจากปลาหมอคางดำอีกครั้ง โดยในวันนี้จะต้องมีผู้บริหารของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF เข้าชี้แจงข้อมูลต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามก่อนการประชุม มีเจ้าหน้าที่ซีพีเดินทางมายังรัฐสภา พร้อมนำหนังสือ ของ นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ระบุว่า ไม่สามารถเดินทางมาชี้แจงได้ เนื่องจากติดภารกิจ

สำหรับประเด็นที่อนุกรรมาธิการ ต้องการทราบจากซีพีเอฟ มี 3 ประเด็นคือ
1.รายงานการขออนุญาต และได้รับอนุญาตจากกรมประมงให้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” เมื่อปี 2553 พร้อมเหตุผล และความจำเป็น รวมทั้ง Proposal
ในกรณี เพื่อ “วิจัยทดลอง” ต้องระบุ ดังนี้
- เนื้อในเอกสาร ที่เป็น รายชื่อโครงการวิจัยชื่ออะไรกันแน่
- ใคร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
- ใช้งบประมาณในการวิจัยเท่าไร
- สมมติฐานของการวิจัย คืออะไร
- ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นอย่างไร เลี้ยงตรงไหน บ่อเปิด - บ่อปิดเป็นอย่างไร
- มีกระบวนการกั้น หรือ ป้องกัน ไม่ให้ปลาหลุดออกไปข้างนอก มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และการรายงานแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ

2.“หลักฐาน” การทำลาย และ ฝังกลบ ซากปลาหมอคางดำ จำนวน 2,000 ตัว ที่ส่งให้กับ “คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ” ของกรมประมง (Institutional Biosafety Committee : IBC) พร้อมภาพถ่าย ตัวอย่างซากปลาหมอคางดำ

3. “หลักฐาน” การนำส่งตัวอย่าง “ซากปลาหมอคางดำ” ให้กรมประมง หรือให้กับ “คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ” ของกรมประมง เช่น หนังสือตอบรับ

อ่านข่าว : รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน

"บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"

วิกฤต “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin Tilapia) รุกราน-ระบาดทั่วโลก


เปิดปฏิบัติการจับ "ลิงลพบุรี" รอบใหม่ตั้งเป้า 500 ตัว

Thu, 25 Jul 2024 07:14:11

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2567 เทศบาลเมืองลพบุรี ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดปฏิบัติการดักจับลิงลพบุรีรอบใหม่ โดยนำกรงดักจับลิงขนาดใหญ่ไปติดตั้งไว้บริเวณบ้านพักเก่า สำนักประปาเทศบาลเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ติดกับโรงหนังมาลัยรามา

ดักจับลิงที่ข้ามไปสร้างความเดือดร้อนกับนักเรียนภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย รวมถึงนักท่องเที่ยวบริเวณพระปรางค์สามยอด ตามแผนควบคุมประชากรลิงในพื้นที่เศรษฐกิจ บริเวณเขตเมืองเก่าเทศบาลเมืองลพบุรี โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในช่วงเช้าสามารถดักจับลิงได้ 38 ตัว

นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นการเก็บตกลิงที่ตกค้างจากตึกชโยวานิช, ศูนย์การค้ามโนราห์, โรงแรมเอเชีย และลิงฝูงใหม่บริเวณสำนักประปาเทศบาลเมืองลพบุรี รวมถึงโรงหนังมาลัยรามา โดยจะใช้เวลา 10 วันและตั้งเป้าจับลิง 500 ตัว

สำหรับปฏิบัติการดักจับลิงตึก 3 ฝูงที่ก่อนหน้านี้ต้องยุติลงชั่วคราว เนื่องจากจำนวนลิงกว่า 1,200 ตัวที่จับได้เกินศักยภาพสถานอนุบาลสัตว์ เทศบาลเมืองลพบุรี จะรองรับได้ในขณะนั้น จนนำมาสู่การสร้างกรงลิงสำรองชั่วคราวรองรับการจับลิงรอบใหม่อีกครั้ง

อ่านข่าว

เปิดภาพ "ดวงจันทร์บังดาวเสาร์" ครั้งแรกของปี

ศาลสั่งจำคุก 12 เดือนอดีต สว.กิตติศักดิ์ คดีวัดบางคลาน

"บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"


"บอร์ด กยท." ซื้อ "ปลาหมอคางดำ" 1,000 ตัน ทำ "น้ำหมักชีวภาพ"

Wed, 24 Jul 2024 18:20:00

วันนี้ (24 ก.ค.2567) นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ​การยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีการยางแห่งประเทศไทย​ (กยท.) จะเข้าไปรับซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไปทำน้ำหนักชีวภาพ​ โดยใช้งบ​ประมาณ 50 ล้านบาท​ โดยยืนยันว่า สามารถทำได้​และไม่ขัด​ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย​ ปี​ 2558 และขอให้เกษตรกรที่ยังมีความเห็นต่างเข้าใจถึงเหตุผล ซึ่งการทำน้ำหมักชีวภาพ​ โดยการนำปลาหมอคางดำมาทำน้ำหมักจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุน จากการใช้ปุ๋ยเคมีลงร้อยละ​ 25 ขณะเดียวกันก็ช่วยกำจัดปลาหมอคางดำด้วย

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

เบื้องต้นประเมินว่าจะรับซื้อปลาหมอคางดำ ปริมาณ​ 1,000 ตัน​ มาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพได้ประมาณ 160,000 ลิตร​ ส่วนกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่​ 200,000 ไร่​ ระยะเวลาดำเนินการ​ 2 เดือน​ คือ ส.ค.-ก.ย.​ คาดว่าเกษตรกรจะสามารถใช้น้ำหมักได้ในเดือน ก.ย.​ โดย กรมพัฒนาที่ดินจะเป็นผู้ทำการผลิต​

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

ทั้งนี้ หากพบว่า​ปริมาณปลาหมอคางดำมีมากกว่ากรอบวงเงินที่ตั้งไว้​ 50 ล้านบาท​ กยท.สามารถขยายวงเงินได้​ ซึ่งปัจจุบัน​ กยท.มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อปุ๋ย​ 300 ล้านบาท​ แต่ปริมาณปลาที่จับได้เชื่อว่าจะมีไม่มากจนเกินกรอบวงเงิน​ เนื่องจากขณะนี้มี บริษัท ซีพีเอฟ เข้ามาซื้อด้วย​ ทำให้ปริมาณปลาลดลง

อ่านข่าว : กระสุนยิงไม่เข้า! เฉือนเสื้อเกราะโชว์ไร้ไม้อัดพบเลขจัดซื้อ 8A154338

"ปฏิญญาเขาใหญ่" เมื่อเพื่อนต้องการมิตรแท้

น่าห่วง! 500 ธุรกิจสมุนไพรเสี่ยงปิดยังไม่ผ่าน GMP


กรมประมง โต้ยังไม่มีวิจัย "ไข่ปลาหมอคางดำ" ทนแล้ง 2 เดือน

Wed, 24 Jul 2024 14:35:00

วันนี้ (24 ก.ค.2567) นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย 16 จังหวัด ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ปัญหาตาม 5 มาตรการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีข้อสงสัยของสังคมเรื่องไข่ปลาหมอคางดำ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมนอกปากปลาหมอคางดำได้ถึง 2 เดือน และยังฟักเป็นตัวได้

จากหลักวิชาการด้านประมง พบว่า พฤติกรรมของปลาหมอคางดำ เป็นปลาที่พ่อปลาอมไข่ไว้ในปาก เพื่อฟักไข่ในปากไข่ปลาต้องได้รับความชุ่มชื้น และออกซิเจนอย่างเพียงพอ จึงจะเป็นสภาพที่พร้อมในการฟักลูกปลา

อ่านข่าว วิกฤต “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin Tilapia) รุกราน-ระบาดทั่วโลก

ดังนั้น ไข่ปลาหมอคางดำจึงไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ หากนำไข่ปลาหมอคางดำขึ้นมาจากน้ำแล้วทิ้งไว้จนแห้ง จะกลายเป็นไข่เสียทันที ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้อีก

ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานวิจัยว่าไข่ปลาหมอคางดำ สามารถทนอยู่ในสภาพแห้งแล้ง ได้ถึง 2 เดือน แล้วกลับมาฟักเป็นตัวได้อีกอย่างแน่นอน

อธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า เมื่อนำปลาหมอคางดำขึ้นจากน้ำแล้ว ไข่ปลาที่อยู่ในปากของพ่อปลาที่ตายแล้ว จะสามารถทนอยู่ได้ในปากประมาณ 10-15 นาที และไข่ที่ออกจากปากปลาสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้นานถึง 1 ชั่วโมง

ในกรณีไข่ปลาหมอที่ตกค้างบริเวณพื้นบ่อที่ตากไว้ และโรยปูนขาวแล้ว ไข่ปลาหมอไม่สามารถฟักเป็นตัวได้

สำหรับไข่ปลา ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง พบได้ในปลาบางชนิด เช่น ปลาคิลลี่ (Killifish) ที่เป็นปลาขนาดเล็ก มีวงจรชีวิตสั้น ตามสัญ ชาตญาณ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ ทำให้ไข่ปลาชนิดนี้มีความทนทานต่อสภาพที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ โดยในฤดูที่แห้งแล้งปลาคิลลี่จะวางไข่ไว้บนพื้นดิน และเมื่อได้รับน้ำในฤดูฝนก็จะสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับปลาหมอคางดำ

นอกจากนี้ กรมประมงยังมีการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรชาวประมง และประชาชน จับปลาหมอคางดำขึ้นจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อระบบปิด ซึ่งเมื่อจับขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องนำไปใช้ประโยชน์

นอกจากนี้ กรมประมงเอง ก็มีการตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัดที่พบการแพร่ระบาด โดยตั้งราคาไว้ที่กิโลกรัมละ 15 บาท จึงขอแนะนำข้อปฏิบัติในการขนย้ายปลาหมอคางดำ ดังนี้ 

อ่านข่าว กยท.ยันใช้ 50 ล้านซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ

สำหรับเกษตรกรที่เตรียมบ่อสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมงมีข้อแนะนำ ดังนี้

อ่านข่าว

“ปลาหมอคางดำ” ใครพลาดอะไร ใครต้องรับผิดชอบ

 

 


วิกฤต “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin Tilapia) รุกราน-ระบาดทั่วโลก

Wed, 24 Jul 2024 11:54:26

รายงาน การค้นพบปลาหมอคางดำ สัตว์รุกรานทั่วโลก ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น

ดูจากแผนที่ : https://www.gbif.org/occurrence/map?has_coordinate=true

จากพื้นที่แหล่งถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก พื้นที่ชายฝั่ง และเมืองต่าง ๆ หลายประเทศในแถบนั้น ล้วนพบการแพร่พันธุ์ รุกราน มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือ กว่า 70 ปีก่อน เช่น กานา แคมเมอรูน กีนี และเซเนกัล

นอกจากนั้น ถัดมา การรุกรานขยายพันธุ์ จากการค้นของประชาชน ยังพบในแถบนั้นมากขึ้น เช่น ไลบีเรีย แกมเบีย เซียร์ราลีโอน

ถัดมาในราว ๆ ปี 1959 พบการแพร่พันธุ์ที่หลายเมือง ของแหลมฟลอริดา ทั้งที่ปากแม่น้ำ และทะเลสาบน้ำกร่อยริมชายฝั่ง คูคลอง และปากลำธาร ทำให้ปลาพื้นเมืองและปลาชนิดอื่น ๆ มีจำนวนลดลง

ฮาวาย ก็เป็นอีกที่ที่พบการระบาด ซึ่งชาวพื้นเมือง เรียกว่า “ปลานิลน้ำเค็ม” เนื่องจากสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้ในน้ำทะเล โดยเฉพาะที่เกาะโออาฮูและเมาอิ

มาที่ฝั่งเอเชีย พบที่ฟิลิปปินส์ แต่ไม่มีบันทึกว่าปลานิลคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ ถูกนำเข้าสู่แหล่งน้ำของประเทศฟิลิปปินส์ได้อย่างไร แต่เชื่อกันว่าในช่วงต้นปี 2015 อาจมาจาก การค้าสัตว์น้ำ และหลุดรอดสู่ธรรมชาติ ในแหล่งน้ำใกล้ จ.บาตาน และบูลากัน

อ่าวมะนิลาเป็นพื้นที่หลักสำหรับการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล เป็นหนึ่งในแหล่งสำคัญของการดำรงชีวิตในฮาโกนอย บูลากัน การแนะนำพันธุ์สัตว์รุกรานจึงเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการดำรงชีวิตและระบบนิเวศในฟิลิปปินส์

ส่วนทั้งที่แอฟริกา สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และไทย ประเทศไหน พบการระบาด และผลกระทบมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบว่า ประเทศไทย ที่อยู่ในขั้นวิกฤต

มีข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงปัจจัยที่อาจทำให้การขยายพันธุ์รุกราน ถึง คือแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ เกิดขึ้นในแนวเขตภูมิภาคอากาศ และทะเลอบอุ่น ทั้งเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งห่วงโซ่อาหาร และอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม

อ่านข่าว : กยท.ยันใช้ 50 ล้านซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ไม่ขัด พ.ร.บ.การยางฯ

รู้จัก “ศูนย์วิจัย CPF” ไม่มีบ่อปิด-ฝังกลบ “ซากปลา” ที่ไหน

อนุ กมธ.ทวงหลักฐาน 9 ประเด็นร้อน "กรมประมง" ต้องพูดความจริงกรณี "ปลาหมอคางดำ"

 


นายทุน รง.แป้งมัน ปัดทิ้งน้ำเสียที่ดิน ส.ป.ก. 600 ไร่

Tue, 23 Jul 2024 19:54:00

กรณีชาวบ้านร้องเรียนตรวจสอบโรงงานแป้งมันแห่งหนึ่งในจ.นครราชสีมา ปล่อยน้ำเสียลงที่ดิน ส.ป.ก.กว่า 600 ไร่ เมื่อขยายผลกลับพบข้อสงสัยว่าโรงงานดังกล่าวอาจเชื่อมโยงกับการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐ ออกเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินโดยมิชอบ รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดวัตถุประสงค์

วันนี้ (23 ก.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมการบริหารของโรงงานแป้งมันแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง ต.หนองบัวศาลา และต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เดินทางเข้าให้ปากคำกับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หลังถูกแจ้งข้อหาสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการกระทำความผิด กรณีถือครองที่ดิน ส.ป.ก.กว่า 600 ไร่ เพื่อทำเป็นบ่อทิ้งน้ำเสียของโรงงาน

เบื้องต้นทางกรรมการบริหารโรงงานให้การภาคเสธ ก่อนยื่นเงินสดจำนวน 200,000 บาท ประกันตัว เพื่อต่อสู้คดีในชั้นศาล

อ่านข่าว "บิ๊กเต่า" ลุยจับ 4 ส.ป.ก.โคราชเอี่ยวทุจริตออกใบอนุญาตให้นายทุน

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ กล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ต่อเนื่อง จากการจับกุมเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.นครราชสีมา จำนวน 4 คน โดยดำเนินคดีกับผู้ร่วมทำผิดส่วนของโรงงาน เป็นประธานกรรมการของบริษัทโรงงานแป้งมัน 1 คน และชาวบ้าน 13 คน ที่เป็นนอมินี ในการถือครองที่ดิน ส.ป.ก.โดยมิชอบ

โดย วันนี้ได้สอบปากคำกรรมการบริหารโรงงาน 2 คน แยกเป็นส่วนของคดี และการปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน

ขอความร่วมมือกับทางเจ้าของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ให้ปรับปรุงแก้ไขน้ำเสียที่ทิ้งในที่ดินส.ป.ก. ถ้าไม่ปรับปรุงจะใช้ข้อบังคับตามกฎหมาย ม.157 ข้อหาสนับสนุน และออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ

อ่านข่าว "ธรรมนัส" โต้ "ชัยวัฒน์" ปมออก ส.ป.ก.เอื้อนายทุน

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

หลังสอบปากคำเสร็จ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ พร้อมกับ นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ประธานคณะทำงานการขับเคลื่อนการตรวจสอบ และพิจารณาความผิดเกี่ยวกับผู้ได้รับการจัดที่ดิน และผู้ถือครองที่ดินโดยมิชอบในเขตปฏิรูปที่ดิน ลงพื้นที่บริ เวณที่ตั้งโรงงาน พบว่ามีการปล่อยเสีย ซึ่งมีกลุ่มชาวบ้านกว่า 30 คน มาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาแก้ไขปัญหา

อ่านข่าว 4 ส.ป.ก.โคราชได้ประกันตัวคนละ 300,000 บาท

นายเดือน สาลีวงษ์ ชาวบ้าน ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา กล่าวว่า กลิ่นมาก่อนก่อนฝนตกกลิ่นแอมโมเนียแรงมาก หากลงดินเกษตรกรโดนผลกระทบผลผลิตเสียหาย 

สำหรับที่ดิน ส.ป.ก.ที่มีปัญหา 600 ไร่ นายธนดล บอกว่า ได้เพิกถอนสิทธิแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังเปิดโอกาสให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ก่อนจะนำที่ดินทั้งหมดกลับไปเป็นของ ส.ป.ก.ส่วนการดำเนินคดีกับโรงงาน มีทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยยืนยันจะดำเนินคดีอย่างเป็นธรรม

อ่านข่าว

"บิ๊กเต่า" ลุยจับ 4 ส.ป.ก.โคราชเอี่ยวทุจริตออกใบอนุญาตให้นายทุน