วันนี้ (26 มี.ค.2568) ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 12/2568
(ครั้งที่ 954) มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน พ.ค. - ส.ค.2568 คงเดิมที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอมาเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วยแล้ว ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 4.15 บาทต่อหน่วย เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน
ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ.ได้เปิดรับฟังความเห็นผลการคำนวณค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน พ.ค. - ส.ค.2568 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 11 - 24 มี.ค.2568 โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงความเห็นจำนวนทั้งสิ้น 33 ความเห็น แบ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อค่าเอฟทีตามกรณีศึกษาที่ กกพ. เสนอรวมทั้งสิ้น 29 ความเห็น แสดงความเห็นโดยเสนอค่าเอฟทีอื่นๆ นอกเหนือจากกรณีศึกษารวม 3 ความเห็น และความเห็นในลักษณะข้อซักถามหรือคำถามอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับค่าเอฟทีจำนวน 1 ความเห็นโดยสามารถสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเป็นสัดส่วนร้อยละได้ ดังนี้
สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน พ.ค. - ส.ค.2568 ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ.
- เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 1 (ค่าเอฟที 137.39 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 21%
- เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 2 (ค่าเอฟที 116.37 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 18%
- เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 3 (ค่าเอฟที 36.72 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 49%
- ข้อเสนอค่าเอฟทีอื่นๆ นอกเหนือกรณีศึกษา จำนวน 9%
- ข้อซักถามหรือคำถามอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับค่าเอฟที จำนวน 3%
รวมทั้งสิ้น (33 ความเห็น) เป็น 100%
ในปีนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สิ้นสุด กลางเดือน พ.ค. สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิก ใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย
อ่านข่าว :
เจาะตลาด “ข้าวอินทรีย์” สนค.ชี้ปี 77 มูลค่าพุ่ง 4.05 แสนล้าน โตรับเทรนด์โลก
เทียบความต่าง "บรรทัดทอง-ห้างสรรพสินค้า" ผู้เชี่ยวชาญชี้ทางรอดธุรกิจยุคใหม่
วันนี้ ( 26 มี.ค.2568) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดข้าวอินทรีย์โลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา ซึ่งมีความต้องการข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าวอินทรีย์ไทยจึงมีโอกาสเจาะตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น หากได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์
ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) และ Research Institute of Organic Agriculture รายงานว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลกมี 96.4 ล้านเฮกตาร์ หรือ602.5 ล้านไร่ ประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย มีพื้นที่ปลูก331.3 ล้านไร่ คิดเป็น 55.0% ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั่วโลก
รองลงมา คือ อินเดีย และอาร์เจนตินา ส่วนตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์โลกมีมูลค่า 140.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ เท่ากับ 61.1, 47.0 และ 12.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
สำหรับไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 241,497 เฮกตาร์ (1.51 ล้านไร่) อยู่อันดับที่ 33 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย สินค้าสำคัญ คือ ข้าว ผัก และผลไม้อินทรีย์ ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของไทย คือ สหรัฐฯ จีน อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยยังมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบการซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตเมืองเท่านั้น
เฉพาะสินค้าข้าวอินทรีย์ ตลาดข้าวอินทรีย์โลกปี 2567 มีมูลค่า 7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ263,320 ล้านบาท เติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปี 2577 จะมีมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ405,108 ล้านบาท สำหรับไทยมีการส่งออกกลุ่มข้าวอินทรีย์ในปี 2567 ปริมาณรวม 22,378 ตัน มูลค่า 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ1,095 ล้านบาทขยายตัว 32.0% เมื่อเทียบกับปี 2566 แบ่งเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 72.1%
ข้าวกล้องอินทรีย์ (23.1%) ข้าวขาวอินทรีย์ (3.3%) และปลายข้าวอินทรีย์ (1.5%) สำหรับตลาดส่งออกข้าวอินทรีย์สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 47.4%) อิตาลี (12.8%) สวิตเซอร์แลนด์ (6.1%) เนเธอร์แลนด์ (5.3%) และฝรั่งเศส (5.3%) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสินค้าคุณภาพสูงและมีมาตรฐานความยั่งยืน
ข้าวอินทรีย์ถือเป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทยซึ่งกำลังถูกพัฒนาและส่งเสริมทั้งด้านการผลิตและการค้าเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใสใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรมุ่งส่งเสริมด้านการสร้างแบรนด์ข้าวอินทรีย์ของไทยให้มีเรื่องราว (Brand Story) ชูเอกลักษณ์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างความแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง และให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคข้าวไทยในวงกว้าง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐาน “Organic Thailand” ที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ รวมถึงหลายพื้นที่ปลูกยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากล อาทิ IFOAM, USDA Organic, EU Organic และ JAS Organic เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดสำคัญได้
ผอ.สนค.กล่าวอีกว่า เป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการข้าวไทยที่จะปรับเปลี่ยนมาผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลก เนื่องจากมีการแข่งขันน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออกข้าวทั่วไป อีกทั้งตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสินค้ารักโลก ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งยังช่วยสร้างความหลากหลาย และขยายตลาดใหม่ให้กับสินค้าเกษตรของไทยอีกด้วย
ล่าสุด กรมการค้าต่างประเทศได้พาคณะผู้ส่งออกข้าว เยือนสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ทางด้านการค้า การลงทุน การขนส่ง และคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยเฉพาะสินค้าข้าวที่แอฟริกาใต้นำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 90 และสินค้าปศุสัตว์อย่างเช่นเนื้อวัวและนกกระจอกเทศ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับต้นของแอฟริกาใต้
ส่วนการค้าไทย-แอฟริกาใต้ ในปี 2567 แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญ อันดับที่ 23 ของไทย และเป็นตลาดส่งออกสำคัญ อันดับที่ 1 ในทวีปแอฟริกา (คิดเป็นร้อยละ 44.14 ของมูลค่าส่งออกไทยไปยังทวีปแอฟริกา รองลงมาคือ อียิปต์ เซเนลกัล ลิเบีย ตามลำดับ) โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศแอฟริกาใต้ มูลค่า 3,065.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ สินค้าส่งออกมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และ ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่ง ปี 2567 ไทยได้ดุลการค้าประเทศแอฟริกาใต้ มูลค่า 2,462.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อ่านข่าว:
“พาณิชย์” ขนทัพบิ๊กเอกชน รุกแอฟริกาใต้ ดันส่งออกข้าวไทย
"ทุเรียน" ยังครองแชมป์ส่งออก 2 เดือนนำรายได้เข้าไทยกว่า 4 พันล้านบาท
ปราบแก๊งคอลฯ กระทบการค้าชายแดน ฉุดส่งออกน้ำมันเมียนมาวูบ 61 %
วันนี้ ( 25 มี.ค. 2568) เว็บไซต์ “ฮั่วเซ่งเฮง” วิเคราะห์ ภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จากเงินดอลลาร์แข็งค่ากดดันราคาทองคำ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่ามาตราการภาษีในวันที่ 2 เม.ย.นี้ อาจจะไม่รุนแรงอย่างที่กังวล
ขณะที่สื่อหลายแห่งรายงายว่าภาษีศุลกากร อย่างเช่นภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะยังไม่ประกาศใช้ในวันดังกล่าว และอาจจะมีการยกเว้นภาษีสำหรับบางประเทศ ส่วนกองทุน SPDR ขายทอง 1.44 ตัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามคืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. โดย Conference Board ตลาดคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 94.2 จาก 98.3 ในเดือนก.พ. และยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 682,000 ยูนิต จาก 657,000 ยูนิต
วิเคราะห์ราคาทองราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังคงยืนเหนือแนวรับ 3,000 ดอลลาร์ คาดว่ามีโอกาสที่ราคาทองคำจะหลุดแนวรับ 3,000 ดอลลาร์ เนื่องจากสัญญาณทางเทคนิคจาก Modified Stochastic เกิดสัญญาณขาย ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสที่ราคาทองคำปรับตัวลงระยะสั้น
ราคาทองตลาดโลกแนวรับ : 3,000 และ 2,990 ดอลลาร์ แนวต้าน : 3,030 และ 3,040 ดอลลาร์ราคาทองคำอาจปรับตัวลงระยะสั้น หากเก็งกำไรระยะสั้น อาจเปิดสถานะขายที่ 3,020-3,030 ดอลลาร์ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ 3,040 ดอลลาร์ นอกจากนี้หากราคาทองคำสามารถหลุดบริเวณแนวรับ 3,000 ดอลลาร์ให้เปิดสถานะขายตาม
ราคาทองคำแท่ง 96.5%แนวรับ : 48,300 และ 48,200 บาทแนวต้าน : 48,650 และ 48,750 บาทราคาทองคำแท่งยังคงทรงตัวในระดับสูง แม้ราคาทองคำโลกจะปรับตัวลง แต่มีแรงหนุนมาจากค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่า อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวของราคาทองคำแท่ง หากเก็งกำไรระยะสั้น แนะนำอาจขายทำกำไรบางส่วน แล้ว Wait & See
ราคาทองคำเปิดตลาด ลบ 50 บาท ส่งผลให้ราคาทองคำแท่งขายออกบาทละ 48,500 บาท และราคาทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 48,400 บาท ราคาทองรูปพรรณขายออกบาทละ 49,300 บาท และราคาทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 47,526.60 บาท ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 3,011.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 34.04 บาทต่อดอลลาร์
ราคาทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ 800 บาท มีราคาดังนี้ ทองครึ่งสลึง ราคาขาย 6,863 บาท ทอง 1 สลึง ราคาขาย 12,925 บาท ทอง 2 สลึง/50 สตางค์ ราคาขาย 25,050บาท และทอง 1 บาท ราคาขาย 49,300 บาท ภาพรวมราคาทองปี 2568 บวก 6,100 บาท เดือนม.ค. ทองคำบวก 2,050 เดือนก.พ. บวก 1,850 และเดือน มี.ค. บวก 2,200 บาท
อ่านข่าว:
"ทุเรียน" ยังครองแชมป์ส่งออก 2 เดือนนำรายได้เข้าไทยกว่า 4 พันล้านบาท
“ทองคำ” แนวโน้มขึ้นต่อ ปัจจัยหนุนสงครามตะวันออกกลาง- Trade war
สรุปราคาทองคำ 20 มี.ค. 2568 ปรับขึ้น 200 บาท ผันผวน 11 ครั้ง
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินมาตรการ "ซื้อหนี้ประชาชนจากธนาคาร" หลังนายทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2568 โดยนายพิชัย ระบุว่า จะพยายามเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะรอช้าไม่ได้ ซึ่งอยากจะดำเนินการให้เร็วก่อนเข้าสู่ไตรมาส 3
ส่วนมาตรการดังกล่าวจะออกมาในรูปแบบซื้อหนี้เสีย (NPL) เหมือนปี 2540 ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งหรือไม่ นายพิชัย กล่าวว่า น่าจะประมาณนั้น
เมื่อถามว่าหลังการอภิปรายเสร็จสิ้น ร่าง พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือ เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ได้หรือไม่ ซึ่งนายพิชัย ไม่ได้ตอบคำถามและเดินทางกลับทันที
อ่านข่าว
ลดราคาน้ำมันเบนซิน-ดีเซล 1 บาท/ลิตร ของขวัญสงกรานต์ 2568
“ทองคำ” แนวโน้มขึ้นต่อ ปัจจัยหนุนสงครามตะวันออกกลาง- Trade war
ไทยลุ้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 6-7 ปี หวังลดคาร์บอน เล็งต้นแบบเดนมาร์ก-ฝรั่งเศส
ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ทุเรียนไทย" คือ พืชเศรษฐกิจหนึ่งเดียวที่นำรายเข้าประเทศลำดับต้นๆ ของสินค้าเกษตรส่งออกทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2566 ไทยส่งออกทุเรียนมูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2567 ตลาดทุเรียนขยายตัวต่อเนื่องมูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ทุเรียนเป็นสินค้าที่พึ่งพาตลาดส่งออกถึง 75% และบริโภคภายในประเทศเพียง 25% จากปริมาณผลผลิตทั้งหมด
จีน ถือเป็นตลาดใหญ่ส่งออกทึเรียนของไทย เนื่องจากผู้บริโภคนิยมและมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งราคาทุเรียนไทยในจีนมีราคาค่อนข้างสูงและเป็นที่ต้องการ แต่ระยะหลังๆ ทุเรียนไทยกลับต้องเผชิญปัญหาหลายอย่าง ทั้ง การปิดด่าน พบสารย้อมสี BY2 ในทุเรียนซึ่งผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนัก เมื่อรัฐบาลจีนตีกลับทุเรียนไทย
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการดูแลสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทย ซึ่งแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากกว่าปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท
ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดูแลทั้งด้านตลาดในประเทศ และการขยายตลาดส่งออก ผ่านการส่งเสริมการบริโภค ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ทุเรียนไทยให้กับผู้บริโภคและผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกทุเรียนเกือบทั้งหมดของไทย ถึง 97% ของการส่งออกทั้งหมด
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์
โดยกลุ่มสินค้าผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 ของไทย มีมูลค่าการส่งออกได้แซงสินค้าข้าว และยางพารา ตั้งแต่ปี 2563 และยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับปี 2567 ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่ารวม 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (231,401 ล้านบาท) โดยคิดเป็นสัดส่วน 22.58% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ข้าวมีสัดส่วน 22.32% และยางพารา มีสัดส่วน 17.32% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย) และปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค. – ก.พ.) มูลค่าอยู่ที่ 429.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า 14,615 ล้านบาท
เฉพาะทุเรียน ในปี 2567 มีมูลค่าการส่งออกรวม 4,404.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ157,506 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุเรียนสด 3,755.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า 134,852 ล้านบาทและ ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 649.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า 22,654 ล้านบาท
ล่าสุดปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค. – ก.พ.) ไทยมีมูลค่าส่งออกรวม 128.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ4,374 ล้านบาท ปริมาณ 24,365 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 แบ่งเป็น ทุเรียนสด 85.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,918 ล้านบาทและ ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 42.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,456 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ไทยมีมูลค่าส่งออกทุเรียนรวม 137.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4,822 ล้านบาท ปริมาณ 24,155 ตัน แบ่งเป็นทุเรียนสด 99.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,469 ล้านบาท และ ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 38.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,353 ล้านบาท
โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ทุเรียนเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกถึง 75% ขณะที่บริโภคภายในประเทศเพียง 25% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดของจีนในการตรวจสาร Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียม
คู่แข่งทุเรียนไทยมีมากขึ้น ทั้งทุเรียนจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ทำให้เกิดการแข่งขันของในตลาดทุเรียนในตลาดจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ทุเรียนล้นตลาด ซึ่งจะส่งผลกับราคาทุเรียนในประเทศ
โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ทุเรียน เป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทย โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคถึง 75% ของปริมาณผลผลิตทุเรียนไทย ซึ่งกระทรวงฯให้ทูตพาณิชย์ในจีน 8 แห่ง รวมทั้งสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่ง หาตลาดรองรับทั้งในเมืองหลักและเมืองรองของจีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม พร้อมเดินหน้ามาตรการเชิงรุก ตามแผนบริหารจัดการผลไม้ปี 2568 รวม 7 มาตรการ ครอบคลุม 25 แผนงาน ให้ผลไม้ไทยปีนี้ได้ราคาดีตลอดทั้งปี
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่ากระทรวงฯมีเป้าหมายสำคัญในการ ขยายตลาดทุเรียนและผลไม้ไทยอื่น ๆ ในจีน ผ่านโครงข่ายโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อจากไทยผ่านลาวสู่จีน ซึ่ง วันที่ 26-31 มีนาคม 2568 จะนำคณะกระทรวงพาณิชย์ เยือน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้า และโลจิสติกส์
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
และจะเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว เพื่อหารือด้านโลจิสติกส์สำหรับการขนส่งสินค้าเกษตร และเดินทางไปเยี่ยมชม ท่าบกท่านาแล้ง จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าสำคัญของลาว ซึ่งเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์สำคัญในการส่งออกทุเรียนไทยไปจีน
จากนั้น จะนำคณะเดินทางโดย รถไฟจีน-ลาว ที่เวียงจันทน์สู่เมืองบ่อเต็น ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญไปจีน และจะตรวจเยี่ยม ด่านโม๋ฮ่าน ซึ่งเป็นจุดตรวจปล่อยสินค้านำเข้าทุเรียนไทย ก่อนเข้าสู่ตลาดจีน โดยจะมีการเข้าพบผู้แทนภาครัฐของจีน เพื่อหารือเรื่องกระบวนการตรวจปล่อยสินค้าให้รวดเร็วขึ้น
เพื่อขยายตลาดทุเรียนไทยในจีน ผ่านระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการตรวจปล่อยสินค้า ลดความล่าช้าในการนำเข้าสินค้าเกษตรไทยผ่านด่านจีน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของทุเรียนและผลไม้อื่น ๆของไทยจะทำให้สินค้าไทยมีราคาที่แข่งขันได้ในตลาดจีน
นายพิชัย นริพทะพันธ์ รมว.พาณิชย์ ยืนยันว่า ปัญหาการพบสารย้อมสี BY2 ในทุเรียน ได้รับคำยืนยันจากจังหวัดว่าได้แก้ปัญหาปัญหานี้แล้ว และขณะนี้ไม่พบสารนี้ในทุเรียน
นอกจากนี้ ยังได้หาหรือกับเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย เพื่อขอให้ประสานกับทางการจีน ให้ช่วยผ่อนคลายการตรวจสอบทุเรียนที่นำเข้าจากไทยจากตรวจสอบ 100% ของเปลี่ยนเป็นสุ่มตรวจแทน โดยฝั่งไทยจะคุมเข้มและตรวจสอบ 100% ก่อนการส่งออก
นายพิชัย นริพทะพันธ์ รมว.พาณิชย์
การตรวจสอบทุกล็อต ทุกตู้คอนเทนเนอร์ จะทำให้เกิดความล่าช้า และอาจทำให้ทุเรียนที่รอการตรวจสอบเพื่อนำเข้าสู่จีนเน่าเสียหายได้ ซึ่งทูตจีน รับปากที่จะประสานกับทางรัฐบาลให้
นายพิชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงฯได้มีมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2568 ออกมาแล้ว จำนวน 7 มาตรการ 25 แผนงาน ในการดูแลผลไม้ทุกชนิด รวมถึงทุเรียน เพราะทุเรียน ถือเป็นตัวหลัก เพราะส่งออกปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท และปีนี้ มีผลผลิตปริมาณ 1.767 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 37%
ทั้งนี้ ในปี 2568 ผลผลิตผลไม้สำคัญ 9 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มะม่วง สับปะรด มังคุด ส้มเขียวหวาน เงาะ ลองกอง และลิ้นจี่ คาดว่า จะมีประมาณ 6.736 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% โดยทุเรียนเพิ่มขึ้นมากสุด ผลผลิต 1.767 ล้านตัน เพิ่ม 37% รองลงมาเป็น ลำไย 1.456 ล้านตัน เพิ่ม 1% และ มะม่วง 1.306 ล้านตัน เพิ่ม 10% สับปะรด 1.343 ล้านตัน เพิ่ม 17% และมังคุด 2.79 แสนตัน เพิ่ม 2% ซึ่งแบ่งเป็นการบริโภคสด 65% และแปรรูป 35% เป็นการส่งออก 74% ในจำนวนนี้เป็นส่งออกแบบสด 62% และแปรรูป 38% และบริโภคในประเทศ 26%
จากมาตรการและแผนรับมือผลไม้ปี 2568 ของกระทรวงพาณิชย์ เกษตรกร - ผู้ประกอบการคงใจชื้นขึ้นมาบ้าง แต่การรักษาคุณภาพผลไม้ไทยยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ว่าจะอย่างไร "รสชาติ"อร่อยแบบไทย ๆ ก็ยังยากจะเลียนแบบและสามารถครองใจผู้บริโภคตลอดกาล
อ่านข่าว:
ทวงแชมป์ "ทุเรียนไทย" ส่งออกตลาดจีน 4 เดือน พุ่ง 2.25 แสนตัน
ศึกชิงตลาด “ทุเรียน” (ไทย) เสี่ยงสูงถูก "เวียดนาม" ล้มแชมป์
จบแล้ว พาณิชย์ แก้ปัญหา BY2 พาณิชย์ ถกทูตจีนขอผ่อนปรนเป็นสุ่มตรวจแทน
วันนี้ (24 มี.ค.2568) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กบน. ได้ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางดูแลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้สอดรับกับสถานการณ์ และความเหมาะสม โดยพิจารณาจากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับลดลง และสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เริ่มมีรายรับเพิ่มขึ้น
ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงสำหรับกลุ่มน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันลดลงรวม 1 บาทต่อลิตร ซึ่งการปรับลดราคาดังกล่าวจะดำเนินการเป็น 2 ระยะ ครั้งละ 50 สตางค์ต่อลิตร เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อประชาชน ได้แก่
การปรับลดอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันเบนซิน-ดีเซล ครั้งนี้ เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มดีเซล คิดเป็น 2 ใน 3 ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมด เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางกลับภูมิลำเนา และเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัว กระตุ้นการเดินทาง เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) รายงานถึงสถานการณ์ และฐานะของกองทุนน้ำมันฯ ในช่วงต้นปี (มกราคม 2568 - วันที่ 23 มีนาคม 2568) พบว่า ฐานะกองทุนน้ำมันฯ มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันดิบดูไบช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายรับเฉลี่ยกว่า 8,000 ล้านบาท/เดือน ทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ จากเดิม เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2568 กองทุนฯ ติดลบอยู่ที่ 75,945 ล้านบาท (บัญชีน้ำมันติดลบ 64,066 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 47,597 ล้านบาท) ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันฯ ปรับลดลงเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 เหลือติดลบ 60,052 ล้านบาท (บัญชีน้ำมันติดลบ 14,063 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 45,989 ล้านบาท)
"กบน.ยืนยันความมุ่งมั่นในการรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานให้กับประชาชน ขอให้ประชาชนมั่นใจว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะยังคงทำหน้าที่ดูแลราคาพลังงานให้เหมาะสมและเป็นธรรม พร้อมมุ่งมั่นดำเนินงานภายใต้หลักการ เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน และทุกภาคส่วน" นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กล่าว
อ่านข่าว :
ชาวนาบุกสภาฯ เรียกร้องรัฐแทรกแซงราคาข้าว 11,000 บาท/ตัน
“ทองคำ” แนวโน้มขึ้นต่อ ปัจจัยหนุนสงครามตะวันออกกลาง- Trade war
ลุ้นเที่ยวคนละครึ่ง เข้า ครม. หวังกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
วันนี้ (24 มี.ค.2568) นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้ติดตามการปราบปรามกลุ่มคอลเซนเตอร์ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีผลกระทบต่อการค้า มีการค้ารวม 17,470 ล้านบาท ลดลง 3.25 % เป็นการส่งออก 10,027 ล้านบาท ลดลง 0.6 % และนำเข้า 7,443 ล้านบาท ลดลง 6.6 % ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ น้ำมันดีเซลและน้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 510 ล้านบาท ลด 61.0 %
นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกชายแดนไปเมียนมาในกลุ่มสินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากสินค้าพลังงานในภาพรวมยังคงขยายตัว 7.1 % ซึ่งกรมจะติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนไทย-เมียนมาอย่างใกล้ชิด และพร้อมให้การสนับสนุนด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า
ตลอดจนจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าชายแดน ภายใต้โครงการขยายการค้าการลงทุนชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มหกรรมการค้าชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก ตามแผนงานโครงการที่วางไว้เพื่อกระตุ้นการค้าต่อไป
ขณะที่ ตัวเลขการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือน ก.พ. 2568 มีมูลค่า 154,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9 % เป็นการส่งออก 86,020 ล้านบาท เพิ่ม 20.8 % และการนำเข้า 68,334 ล้านบาท เพิ่ม 18.8 % ได้ดุลการค้า 17,686 ล้านบาท
ส่งผลให้ 2 เดือนของปี 2568 (ม.ค.-ก.พ.) การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีมูลค่าการค้ารวม 299,494 ล้านบาท เพิ่ม 10.9 % เป็นการส่งออก 164,057 ล้านบาท เพิ่ม 12.1 % การนำเข้า 135,437 ล้านบาท เพิ่ม 9.6 % ได้ดุลการค้า 28,621 ล้านบาท
แต่หากแยกการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ เดือน ก.พ. 2568 มีมูลค่า 86,543 ล้านบาท เพิ่ม 8.9 % เป็นการส่งออก 50,820 ล้านบาท เพิ่ม 5.6 % การนำเข้า 35,723 ล้านบาท เพิ่ม 13.8 % ได้ดุลการค้า 15,097 ล้านบาท
โดยการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว มีมูลค่าสูงสุด 28,078 ล้านบาท เพิ่ม 8.4 % รองลงมา คือ มาเลเซีย 25,401 ล้านบาท เพิ่ม 15.6 % เมียนมา 17,470 ล้านบาท ลด 3.3 % และกัมพูชา 15,594 ล้านบาท เพิ่ม 15.0 %
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล 3,355 ล้านบาท สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ เช่น กากถั่วเหลือง นมผง 1,501 ล้านบาท และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องมือวัดสัญญาณไฟฟ้า กระเบื้องแผ่น 1,364 ล้านบาท ทั้งนี้ 2 เดือนของปี 2568 การค้าชายแดนมีมูลค่ารวม 170,340 ล้านบาท เพิ่ม 5.2 % เป็นการส่งออก 101,349 ล้านบาท เพิ่ม 3.1 % และการนำเข้า 68,992 ล้านบาท เพิ่ม 8.5 %
ด้านการค้าผ่านแดนไปประเทศที่สาม มีมูลค่า 67,811 ล้านบาท เพิ่ม 37.7 % เป็นการส่งออก 35,200 ล้านบาท เพิ่ม 52.4 % และการนำเข้า 32,611 ล้านบาท เพิ่ม 24.8 % เป็นการค้าผ่านแดนไปจีน มีมูลค่าสูงที่สุด 38,537 ล้านบาท เพิ่ม 55.5 % รองลงมาคือ สิงคโปร์ และเวียดนาม มีมูลค่า 10,102 ล้านบาท เพิ่ม 48.8 % และ 5,583 ล้านบาท เพิ่ม 20.6 % ตามลำดับ
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ 7,571 ล้านบาท ยางแท่ง TSNR 4,887 ล้านบาท และน้ำยางข้น 2,373 ล้านบาท ทั้งนี้ 2 เดือน การค้าผ่านแดนมีมูลค่ารวม 129,154 ล้านบาท เพิ่ม 19.5% เป็นการส่งออก 62,709 ล้านบาท เพิ่ม 30.5 % และการนำเข้า 66,445 ล้านบาท เพิ่ม 10.6 %
อ่านข่าว : "รัฐบาล" ประเมิน "ฝ่ายค้าน" ซักฟอกวันแรกยังไม่เห็นหมัดน็อก
สำลีก้อนละ 7 บาท! สอบ.ชี้ รพ.เอกชนอัปราคาเวชภัณฑ์สูงลิ่ว
ไทยลุ้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 6-7 ปี หวังลดคาร์บอน เล็งต้นแบบเดนมาร์ก-ฝรั่งเศส
วันนี้ (24 มี.ค.2568) กลุ่มชาวนายกระดับเคลื่อนไหวชุมหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อร่วมฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มชาวนาในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันได้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลที่ตกต่ำต่อเนื่อง
นายฐิติวัฒน์ กลีบมาลัย แกนนำชาวนาจ.พระนครศรีอยุธยา ระบุว่า ล่าสุดราคาข้าวเหลือไม่ถึง 6,000 บาทและบางพื้นที่เหลือเพียง 5,300 บาทต่อตันเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 6,500-7,000 บาทต่อไร่ ซึ่งราคาที่ขายได้ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และจนถึงขณะนี้ภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
ส่วนตัวเลขราคาข้าวที่รัฐบาลอ้างว่า ปัจจุบันข้าวขายได้ 8,000 กว่าบาท บวกค่าชดเชยอีกไร่ละ 1,000 บาท ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากชาวนาเกี่ยวข้าวสด ความชื้นจะมากกว่า 15% จึงอยากเรียกร้องให้รัฐแทรกแซงราคาข้าวที่ 11,000 บาทต่อตัน เพื่อความอยู่รอดของชาวนา เพราะราคาขายจริงความชื้นจะอยู่ที่ประมาณ 27-28% หรือประมาณ 8,000 บาทต่อตันเท่านั้น หากยังปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อกลุ่มชาวนาอาจนัดกันเผาตอซังข้าว พร้อมกันในวันที่ 1 เม.ย.นี้
ขณะที่นายอุดมพร จอมพงษ์ ชาวนา จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องในวันนี้ (24 มี.ค.) กลุ่มชาวนามีข้อเสนอใหม่ที่ต้องการคือ การออกมาตรการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม หากรัฐต้องการจะแจกเงินก็อยากให้แจกไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 50 ไร่ โดยไม่กำหนดเงื่อนไข เพื่อเกษตรกรจะได้นำเงินไปบริหารจัดการต้นทุนที่ต้องจ่ายไป
ด้านกระทรวงพาณิชย์ เตรียมส่งหนังสือมาตรการช่วยเหลือชาวนาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เพื่อพิจารณาเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดสำคัญ เช่น โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ โดยมีเงื่อนไขให้เกษตรกรที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องทำสัญญาวางแผนปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังบางส่วน หันไปปลูกพืชอื่นที่ให้มูลค่าสูง เช่น การปลูกกล้วย หรือขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง หรือปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในระยะเวลา 3 ปี
ทั้งนี้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูก เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแล ส่วนกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนด้านการตลาด โดยรายละเอียดทั้งหมดนี้จะนำเสนอในวาระการประชุม นบข.อีกครั้ง ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา
เบื้องต้น ฝั่งรัฐบาลได้ส่งอธิบดีกรมการค้าภายใน เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มชาวนา คาดว่าจะเป็นการชี้แจงรายละเอียดของมาตรการช่วยเหลือในเบื้องต้น ขณะที่ชาวนายืนยันว่าจะปักหลักค้างคืนเพื่อร่วมฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อ่านข่าว
นายกฯ ไม่ตื่นเต้นซักฟอกวันแรก โต้ "เฉลิม" อภิปราย
"วิโรจน์" ตั้งคำถามนายกฯ หนีภาษี เอาเปรียบประชาชน
“ทองคำ” แนวโน้มขึ้นต่อ ปัจจัยหนุนสงครามตะวันออกกลาง- Trade war
วันนี้ ( 24 มี.ค. 2568) เว็บไซต์ “ฮั่วเซ่งเฮง” วิเคราะห์ ภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา สัปดาห์ก่อนราคาทองคำทำ All-time high 3,057 ดอลลาร์ ซึ่งราคาทองคำยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง จากที่อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซารุนแรง ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง
และสงครามการค้าโลก(Trade war)ที่อาจรุนแรง โดยราคาทองคำโลกได้ปรับตัวขึ้นกว่า 15.21% นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่เฟดยังคงปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 0.50% ส่วนกองทุน SPDR ซื้อทอง 24.1 ตันในสัปดาห์ก่อน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม สัปดาห์นี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมี.ค. จีดีพีไตรมาส 4 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานเดือนก.พ.
วิเคราะห์ราคาทอง หลังจากที่เกิดแรงเทขายแรงในช่วงคืนวันศุกร์ ทำให้สัญญาณทางเทคนิคของราคาทองคำจาก Modified Stochastic เริ่มเกิดเส้นตัดกันลงมา คาดว่าราคาทองคำอาจมีการปรับตัวลงระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เป็นการปรับตัวลงเพื่อปรับตัวขึ้นได้ต่อในระยะถัดไป โดยมีแนวรับสำคัญที่ 3,000 ดอลลาร์
หากเก็งกำไรระยะสั้น อาจขายทำกำไรบางส่วน เนื่องจากมีแนวโน้มที่ราคาทองคำอาจปรับตัวลง ทั้งนี้สามารถเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาทองคำปรับตัวลงที่ 2,995-3,000 ดอลลาร์ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ 2,990 ดอลลาร์ แล้วขายทำกำไรสั้นๆ
ราคาทองคำแท่ง 96.5%แนวรับ : 48,350 และ 48,200 บาทแนวต้าน : 48,650 และ 48,800 บาทราคาทองคำแท่งปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทำ All-time high ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งราคาทองคำแท่งปรับตัวขึ้นกว่า 13.72% นับตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม ให้ระวังการปรับตัวลงเกิดขึ้นในระยะสั้น หากเก็งกำไรระยะสั้นอาจขายทำกำไรบางส่วน แล้ว Wait & See รอจังหวะลงทุนรอบใหม่
สำหรับราคาทองคำเปิดตลาด ไม่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ราคาทองคำแท่งขายออกบาทละ 48,500 บาท และราคาทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 48,400 บาท ราคาทองรูปพรรณขายออกบาทละ 49,300 บาท และราคาทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 47,526.60 บาท ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 3,023 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 33.91 บาทต่อดอลลาร์
ราคาทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ 800 บาท มีราคาดังนี้ ทองครึ่งสลึง ราคาขาย 6,853 บาท ทอง 1 สลึง ราคาขาย 12,925 บาท ทอง 2 สลึง/50 สตางค์ ราคาขาย 25,050บาท และทอง 1 บาท ราคาขาย 49,300 บาท ภาพรวมราคาทองปี 2568 บวก 6,100 บาท เดือนม.ค. ทองคำบวก 2,050 เดือนก.พ. บวก 1,850 และเดือน มี.ค. บวก 2,200 บาท
อ่านข่าว:
สรุปราคาทองคำ 20 มี.ค. 2568 ปรับขึ้น 200 บาท ผันผวน 11 ครั้ง
“เฟด”คงดอกเบี้ย 4.25-4.50% ดันทองคำทำ All-time high อีกครั้ง
ราคาทองคำ ยังไปต่อ ลุ้นสัปดาห์นี้ “รูปพรรณ”ขายออกบาทละ 50,000
วันนี้ (23 มี.ค.2568) นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับนักท่องเที่ยวคนไทยที่ รัฐบาลเตรียมออกมาตรการเที่ยวคนละครึ่ง เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ น.ส. ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวคิดดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน ในการปรับลดวันพำนักบางประเทศ ที่เข้ามาท่องเที่ยวระยะสั้น ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่วนการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ มีรายงานว่า จะมีโครงการ เที่ยวคนละครึ่งรัฐบาลสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวให้ครึ่งหนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ เตรียมจะเสนอมาตรการเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ ซึ่งตั้งเป้าเริ่มโครงการในเดือนพ.ค. นี้ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซั่น โดยเปิดให้จองสิทธิ์รอบแรก 1 ล้านสิทธิ์
นอกจากนี้ สื่อต่างชาติจับตากรณีไทยเตรียมปรับลดจำนวนวันพำนักของนักท่องเที่ยวบางประเทศ ที่ได้รับฟรีวีซ่า หลังจากที่ภาคเอกชนในแวดวงการท่องเที่ยว เสนอให้รัฐบาลพิจารณาปรับลดวันพำนัก มาตรการฟรีวีซ่าสำหรับ 93 ประเทศ จาก 60 วัน เหลือ 30 วัน เพื่อแก้ปัญหานักท่องเที่ยวส่วนหนึ่ง ใช้ช่องโหว่จากการยกเว้นวีซ่า เข้ามาทำผิดกฎหมายในประเทศ โดยเรื่องนี้ กำลังถูกจับตาจากสื่อต่างประเทศหลายสำนัก
อ่านข่าว:
แจกเงิน10,000 เฟส3 นักวิชาการแนะรัฐบาลพักแจกก่อน
“พิชัย” เล็งจัด Back to School ต่อยอดเงินหมื่นเฟส3 เอาใจวัยรุ่น 16-20 ปี
นทท.จีนหด-ทรัมป์ป่วน ฉุดศก.ไทยเสี่ยงโตต่ำ KKP ปรับลด GDP เหลือ 3.2%
วันนี้ ( 23 มี.ค.2568) โครงการแจกเงินหมื่น เฟส 3 จากรัฐบาลจะมีผู้ได้รับเงินหมื่นทุกรูปแบบ กว่า 21 ล้านคน รวมงบประมาณที่ใช้กว่า 2.1 แสนล้านบาท โดยสภาพัฒน์ ประเมินว่าถ้าทำได้ครบทั้ง3เฟส จะมีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมเติบโตเพิ่มได้ 0.25% คาดว่าจะเป็นอีกประเด็นที่ฝ่ายค้านเตรียมซักฟอกในวันที่ 24-26 มี.ค.นี้เป็นมาตการที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่นั้น
รศ.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า พับเก็บคำว่าพายุหมุนเศรษฐกิจ เพราะมาเป็นระลอกเบาๆ ส่วนเฟสใหญ่เฟสสุดท้ายซึ่งเป็นรอบเก็บตกคนที่เหลือและเป็นคนกลุ่มใหญ่ ที่รัฐบาลยืนยันว่าทำแน่นอน แต่เมื่อถึงเวลาจะได้ไม่ได้ยังรัฐบาลยังไม่บอกชัดเจน นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่า พักก่อนควรหันไปทำอะไรที่ยั่งยืน
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง นโยบายเงินดิจิทัลเฟส 3 ที่ให้กับผู้มีอายุ 16-20 ปี ว่า มีการคาดการณ์กันว่าในเฟสที่ 3 นี้อาจได้ผลบ้าง เพราะกลุ่มคนที่แจกยังไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ที่ไม่มากนัก เมื่อได้เงินมาอาจจะใช้เร็ว แต่เชื่อว่าไม่น่าจะได้ผลมากกว่าเฟส 1 ที่มอบให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง
แต่หากรัฐบาลต้องการให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจริง ๆ รัฐบาลควรละทิ้งแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น และไม่ควรเปิดทางให้นำเงินจำนวนนี้ไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ควรกำหนดให้ใช้ไปกับการหาทักษะความรู้ ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเยาวชนพอดี ก่อนเข้าสู่แรงงาน
อ่านข่าว:
“พิชัย” เล็งจัด Back to School ต่อยอดเงินหมื่นเฟส3 เอาใจวัยรุ่น 16-20 ปี
“พาณิชย์” ขนทัพบิ๊กเอกชน รุกแอฟริกาใต้ ดันส่งออกข้าวไทย
นทท.จีนหด-ทรัมป์ป่วน ฉุดศก.ไทยเสี่ยงโตต่ำ KKP ปรับลด GDP เหลือ 3.2%
วันนี้ (23 มี.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯเตรียมโครงการที่จะรองรับและต่อยอดเงิน10,000 เฟส3 คือโครงการ Back to School สำหรับวัยรุ่นอายุ 16-20 ปี ซึ่งจะได้รับเงิน10,000 บาท ในเฟส 3 โดยจะมีสินค้าที่เหมาะกับช่วงวัย เช่น อุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้าแฟชั่นวัยรุ่น สินค้าไอที อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยคาดว่าจะมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ กระทรวงฯยังมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่าง ชูใจ วัยเก๋า ซึ่งเป็นการช่วยค่าครองชีพผู้สูงอายุ ล่าสุดได้มีการจัดมหากรรมสินค้าลดราคา ชูใจ วัยเก๋า ที่ตลาดเจริญศรี อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ระหว่าง 21-23 มี.ค. มีการนำสินค้าอุปโภคบริโภค 10 หมวด กว่า 800 รายการ มาจำหน่ายในราคาพิเศษ ลดสูงสุด 60% เพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนและผู้สูงอายุ หลังได้รับเงิน 10,000 บาทจากรัฐบาล
ภายในงานมีสินค้าราคาพิเศษ เช่น ไข่ไก่เบอร์ M แผงละ 90 บาทน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 23 บาท น้ำมันพืชปาล์ม ขวดละ 49 บาท ข้าวหอมมะลิ 5 กก. ถุงละ 130 บาท หอมแดงสด กิโลกรัมละ 25 บาท หอมหัวใหญ่ กิโลกรัมละ 20 บาท และนม UHT กล่องละ 10 บาท นอกจากนี้ ยังมีสินค้าจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย เช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมลดราคาพิเศษอีกด้วย
รมว.พาณิชย์กล่าวว่า โครงการ ชูใจ วัยเก๋าที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟส 2 จะดำเนินการต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้ โดยร่วมมือกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และห้างค้าปลีกทั่วประเทศ เพื่อลดราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับผู้สูงวัย คาดว่าจะช่วยลดภาระค่าครองชีพได้กว่า 10,000 ล้านบาท และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
อ่านข่าว:
“พาณิชย์” ขนทัพบิ๊กเอกชน รุกแอฟริกาใต้ ดันส่งออกข้าวไทย
นทท.จีนหด-ทรัมป์ป่วน ฉุดศก.ไทยเสี่ยงโตต่ำ KKP ปรับลด GDP เหลือ 3.2%
กรมพัฒน์ฯ เผยกวาดล้างนอมินี กว่า 800 ราย มูลค่าเสียหาย 15,000 ล้าน
วันนี้ (23 มี.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า หลังบรรลุข้อตกลงการลงนามซื้อขายข้าวไทยกับผู้นำเข้าแอฟริกาใต้ ปริมาณ 391,000 ตัน มูลค่ากว่า 199.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7,300 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นดีลใหญ่ที่ช่วยตอกย้ำศักยภาพข้าวไทยในตลาดโลก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทย โดยวันที่ 24-30 มี.ค. นี้ กระทรวงพาณิชย์และ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย จะเดินทางเยือนสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เพื่อขยายตลาดข้าวไทยและสินค้าไทยในแอฟริกาใต้ พร้อมกระชับความร่วมมือทางการค้ากับภาครัฐและเอกชนของแอฟริกาใต้
ไทยนับเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก และแอฟริกาใต้เป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคแอฟริกา โดยในปี 2567 ไทยส่งออกข้าวไปยังแอฟริกามากถึง 3.37 ล้านตัน คิดเป็น 33.88 % ของการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด โดยเฉพาะแอฟริกาใต้ที่นำเข้าข้าวจากไทยถึง 833,000 ตัน หรือ 8.38 % ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวนึ่ง ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิไทย การเดินทางครั้งนี้มีเป้าหมายหลักคือการรักษาและขยายตลาดข้าวไทยให้เติบโตยิ่งขึ้น
นอกจากการบรรลุข้อตกลงซื้อขายข้าว กระทรวงพาณิชย์ยังเตรียมเจรจากับหน่วยงานสำคัญของแอฟริกาใต้ เช่น กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการแข่งขันของแอฟริกาใต้ และ The Western Cape Tourism, Trade and Investment Promotion Agency (Wesgro) เพื่อผลักดันการค้าระหว่างสองประเทศ รวมถึงประชุมกับบริษัทผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของแอฟริกาใต้ เช่น Tastic Rice Corporation Ltd., Goldkeys International (Pty) Ltd. และ Jumbo Prepackers (Pty) Ltd. ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าข้าวไทยรวมกันมากกว่า 25%
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายข้าว แต่เป็นการขยายโอกาสทางการค้าของไทยไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะในตลาดแอฟริกาใต้ ซึ่งเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ที่ผ่านมาไทยได้ส่งออกสินค้าไปขาย 5 ลำดับแรก เช่น รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ, ข้าว, เครื่องยนต์สันดาปภายใน, เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์ยา ในส่วนสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และเครื่องเทศสมุนไพร ทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างโอกาสใหม่ให้สินค้าไทยเดินหน้าต่อไป
อ่านข่าว:
นทท.จีนหด-ทรัมป์ป่วน ฉุดศก.ไทยเสี่ยงโตต่ำ KKP ปรับลด GDP เหลือ 3.2%
กรมพัฒน์ฯ เผยกวาดล้างนอมินี กว่า 800 ราย มูลค่าเสียหาย 15,000 ล้าน
เอกชนวอนรัฐออกมาตรการเพิ่ม ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ
วันนี้ ( 23 มี.ค.2568) กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร" หรือ "เกียรตินาคินภัทร (KKP) ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มโตต่ำและเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจปี2566 ที่เติบโตได้ค่อนข้างต่ำเพียง 2.5% แม้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีและมีมาตรการแจกเงินขนาดใหญ่จากภาครัฐแล้วก็ตาม บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน
จากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาดประมาณ 25% ของ GDP แต่หดตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางและกระจุกตัวมากขึ้น
จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวได้ อีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ยังจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มที่อาจต่ำกว่า 2.0% ภายในปี2578
สำหรับปี2568 ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2569
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนมาเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้มาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงจากประมาน 6 แสนคนต่อเดือน หรือ 60% ของช่วงก่อนโควิด ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 4 แสนคน หรือ 35% ของช่วงก่อนโควิดซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2565
ประเด็นที่น่ากังวล คือ สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าของนักท่องเที่ยวจีนบางส่วนไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราวและอาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงในระยะยาว
แม้ว่า นักท่องเที่ยวจีนมีความนิยมเที่ยวในประเทศมากขึ้น แต่ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศของชาวจีนฟื้นตัวช้ากว่าการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการท่องเที่ยวต่างประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 13.5% ในขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 6.4% ซึ่งอาจสะท้อนว่านักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
ในขณะที่การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย โดยจำนวนเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นและมาเลเซียมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์ลักพาตัวนักแสดงจีนในไทยยังเพิ่มความกังวลกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาเที่ยวไทย
กรุ๊ปทัวร์จีน กลุ่มหลักที่ไม่กลับมาแม้นักท่องเที่ยวทั่วไป จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 77% ของช่วงก่อนโควิด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ยังคงไม่กลับมาในระดับเดิมอยู่เพียงระดับประมาณ 45% ของจำนวนช่วงก่อนโควิดเท่านั้น
ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์อีกว่า หากนักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาฟื้นตัวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจไม่สามารถกลับไปแตะระดับ 40 ล้านคนเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้เร็วตามคาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร จึงปรับประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี2568 เป็น 37.2 ล้านคน จาก 38.1 ล้านคน และปี2569 เป็น 39.9 ล้านคนจาก 40.6 ล้านคน
สำหรับเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ ซึ่งไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาค มีโอกาสสูงที่ไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มแรกของการเรียกเก็บภาษี reciprocal tariffs ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลสองส่วน คือ การเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ ในระดับสูง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 11 ของโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มากที่สุด
ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ยตามน้ำหนักการค้าที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทยถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศกลุ่ม Emerging Markets และสูงที่สุดใน ASEAN และไทยยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย
ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูงมากและยังไม่ได้รวมผลกระทบไว้ในการประเมินตัวเลข GDP โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่ต้องประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษี คือ ขนาดของภาษีที่สหรัฐ ฯ จะขึ้นกับไทย การชะลอตัวของการส่งออกของไทยจากการขึ้นภาษี มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ และ ระยะเวลาที่ไทยจะถูกขึ้นภาษี
ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร มองว่า อัตราภาษีที่ไทยจะถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ จะอยู่ในช่วง 10% - 20% คำนวณจากส่วนต่างของอัตราภาษีที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทย อย่างไรก็ตามอัตรานี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้ในประเทศจากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 30% - 40% ในช่วงก่อนปี2562 สินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงที่ประมาน 50% - 60%
อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี2562 การเติบโตของการส่งออกเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในประเทศในระดับต่ำมาก ทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกไทยในปัจจุบันลดต่ำลง
ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมโดยต้องจับตาช่วงต้นเดือนเม.ย. ที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม
ในขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โดยเฉพาะ มาตรการแจกเงินผ่านนโยบาย Digital Wallet เป็นความหวังของภาครัฐว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับส่งผลบวกน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยมาตรการแจกเงินใน 2 ระยะแรกคิดเป็นเงินมูลค่ารวมกว่า 1.77 แสนล้านบาท แต่การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีโดยเฉพาะเมื่อไม่รวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว
ทำให้แม้ว่าภาครัฐมีการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการแจกเงินระยะที่สามซึ่งจะแจกคนเป็นจำนวน 2.7 ล้านคนอายุระหว่าง 16-20 คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทและจะเริ่มแจกช่วงไตรมาส 2 ของปี และการแจกเงินระยะสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่จากขนาดของการแจกเงินที่เล็กลงผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีจำกัดโดยคาดว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับระดับที่เคยประเมินไว้
ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 ครั้งในปี2568 และอีก 1 ครั้งในปี2568 และทำให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal rate) ในรอบการลดดอกเบี้ยนี้จะอยู่ที่ 1.25% เหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าดอกเบี้ยควรลดลง คือ ความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินลดน้อยลงมาก จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และสินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
โดยปริมาณหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสื่อสารของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาที่กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน และสัญญาณในตลาดการเงินหลายส่วน
สะท้อนว่านโยบายการเงินในปัจจุบันอาจตึงตัวมากเกินไป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในอดีตนอกจากนี้สัญญาณของตลาดการเงินทั้งเงินบาทที่แข็งค่า อัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาจส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีแนวโน้มตึงตัวเกินไป
อ่านข่าว:
เอกชนวอนรัฐออกมาตรการเพิ่ม ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ
พนักงานรัฐ เกษตรกร พนง.เอกชน เป็นกลุ่มมีหนี้มากสุด “บ้าน-รถ”นำโด่ง
ซื้อหนี้ประชาชน "กับดักความจน" คนไทย "สารพัดหนี้" รุมเร้า
วันนี้ ( 23 มี.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการควบคุมการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและแก้ปัญหาธุรกิจนอมินี ที่ทำให้ผู้ประกอบการ SME ของไทยเสียเปรียบ
ที่ผ่านมาได้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมา 2 ชุด เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เป็นประธานอนุกรรมการฯ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
สำหรับคณะกวาดล้างนอมินี-คุมเข้มนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำ ที่จัดตั้งขึ้น โดยมี ร.ต.จักรา ยอดมณี รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยผู้แทนจาก 16 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมศุลกากร กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ร้านค้าสินค้านำเข้าจากจีน
โดยคณะทำงานนี้จะมีหน้าที่กำกับดูแล เร่งรัด และติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตาม กฎหมาย พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสืบสวน สอบสวน และดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
การดำเนินงานจะมีการบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายในทุกมิติ ตั้งแต่การตรวจสอบ สืบสวน ดำเนินคดี ยึดอายัดทรัพย์สิน ไปจนถึงมาตรการทางภาษี เพื่อให้สามารถทำลายวงจรธุรกิจผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า 5 ธุรกิจเป้าหมายที่กรมฯ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษที่การตรวจสอบนอมินี ประกอบด้วย ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการให้เช่าที่ดิน ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจโกดังสินค้าและโลจิสติกส์ และ ธุรกิจซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร
มีรายงานว่า กำลังมีการขยายตัวของธุรกิจที่เข้าข่าย เป็นนอมินีในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออก เช่น ระยองและจันทบุรี ที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนเพื่อปลูกทุเรียนเพื่อนำส่งออกต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การปราบปรามธุรกิจผิดกฎหมายและสินค้าด้อยคุณภาพ ถือเป็นวาระสำคัญของรัฐบาล เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเข้มแข็งขึ้น ยังช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการ SME ของไทย
ยืนยันว่า การดำเนินงานครั้งนี้ จะเป็นมาตรการที่ต่อเนื่องและเข้มข้นขึ้น โดยหวังว่าจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในระยะยาว
ที่ผ่านมา กรมศุลกากรสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากสินค้านำเข้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาท ได้สูงถึง 1,500 ล้านบาท และดำเนินคดีสินค้าผิดกฎหมายไปแล้ว 24,626 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1,257.24 ล้านบาท สามารถลดการนำเข้าสินค้าผ่าน e-Commerce ลง 8% หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,645 ล้านบาท และสามารถกวาดล้างธุรกิจนอมินีไปแล้ว 851 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 15,121 ล้านบาท
อ่านข่าว:
“สวนดุสิตโพล” ระบุคนเห็นด้วยซื้อหนี้ แต่หวั่นทำไร้วินัยการเงิน-ความโปร่งใสของโครงการ
พม.ช่วยหญิงชราอดีตครูสอนภาษาอังกฤษ อาศัยนอนย่านหัวลำโพง
เลขาฯ ป.ป.ช.เผย คดีชั้น 14 ล่าช้า เหตุรอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น
หลังจากวานนี้ (20 มี.ค.68) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์ LTV หรือ “Loan to Value” ตามที่เอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์ เรียกร้องมาตลอด เป็นมาตรการที่จำกัดการให้สินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อไม่ให้เกิดการก่อหนี้เกินตัวและการซื้อเพื่อเก็งกำไร แต่เป็นการปลดล็อก ชั่วคราวระยะเวลา 1 ปีเท่านั้น
มาตรการดังกล่าว ภาคอสังหาริมทรัพย์มองว่า เป็นมาตรการทางการเงินที่อาจช่วยฟื้นตลาดอสังหาฯได้ แต่ก็ต้องการให้ภาคการคลัง เร่งฟื้นอีกมาตรการ คือ การลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ออกมาพร้อม ๆ กัน เพื่อเป็นแรงเสริมกระตุ้นตลาด
เหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยอมผ่อนคลายมาตรการ เป็นเพราะเห็นว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ชะลอตัวต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน การผ่อนคลาย LTV อาจช่วยประคับประคองภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ การช่วยระบายหน่วยเหลือขายคงค้างที่อยู่ในระดับสูง และอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมได้
การผ่อนคลายมาตรการ LTV ครั้งนี้ สามารถขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้สูงถึง 100 % ของมูลค่าหลักประกัน ในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท มีผลกับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย หลังที่ 2 เป็นต้นไป และอีกกลุ่มคือ การกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป มีผลกับกู้ซื้อตั้งแต่หลังแรก ซึ่งเป็นการผ่อนคลายชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ปีนี้ ไปจนถึง 30 มิ.ย.ปี 2569 เพราะ ธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่า การบังคับใช้เกณฑ์ LTV ยังมีความสำคัญ เพื่อดูแลมาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และช่วยลดความเสี่ยงหนี้เสีย
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย
นอกจากการผ่อนคลายมาตรการ LTV นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ยังเรียกร้องไปยังกระทรวงการคลัง ขอให้เร่งต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองให้เร็วที่สุด ภายในสิ้นไตรมาส 1 หรือ ต้นไตรมาส 2 อาจจะช่วย กระตุ้นภาคอสังหาจากเดิมที่ติดลบให้ฟื้นตัวได้ ร้อยละ 5 - 10 ในปีนี้
ขณะที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง ระบุว่า พยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ในทุกมิติ ทั้ง การดูปัญหาการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง ตามที่ภาคอสังหาฯ เสนอ ซึ่งคาดว่าจะ มีข้อสรุปภายใน 1 เดือน
มีข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่เปรียบเทียบผลจากการผ่อนคลายมาตรการ LTV ในอดีตที่ผ่านมา ในปี 2552 พบว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยของระบบธนาคารกลับมาขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ในปี 2564 แม้ยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวแต่ก็มีส่วนช่วยทำให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ฟื้นตัวกลับมา
จึงมีการประเมินว่า การผ่อนคลายมาตรการ LTV ครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพรายได้ระดับกลางไปจนถึงระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มที่สถาบันการเงินสามารถจัดการความเสี่ยงได้
การผ่อนคลายมาตรการ LTV โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด หากมียอดการกู้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น เพียงแค่ประมาณร้อยละ 1 ก็คาดว่า จะทำให้ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยรวมขยับเพิ่มขึ้นได้ ร้อยละ 0.1 ถึงร้อยละ 0.2 และถ้าหากมีการลดค่าธรรมเนียมการโอนเข้ามาเสริม ก็เป็นโอกาสที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยจะเติบโตได้มากกว่านี้
อ่านข่าว : ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ช่วยประคองภาคอสังหาริมทรัพย์
วงการบันเทิงสูญเสีย "สีดา พัวพิมล" นักแสดงมากฝีมือ อายุ 70 ปี
สภาผู้บริโภคจ่อฟ้อง 4,000 ล้าน เยียวยาอุบัติเหตุ ถ.พระราม 2
กรณีปรากฏข่าวในสื่อเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย และธนาคารทหารไทยธนชาติ นั้น
วันนี้ (21 มี.ค.2568) นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Compliance & Financial Crime ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และขณะนี้คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีแนวคิดหรือมอบหมายให้ฝ่ายบริหารดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว
เช่นเดียวกับนางมานิกา สิทธิชัย เลขานุการบริษัท ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยธนาคารฯ ไม่ได้อยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการตามที่ปรากฏในสื่อ รวมทั้งไม่มีแผนการควบรวมกิจการกับธนาคารอื่นอยู่ในแผน 5 ปีแต่อย่างใด
อ่านข่าว
สภาผู้บริโภคค้าน Co-Payment ร่วมจ่ายค่ารักษา
ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ช่วยประคองภาคอสังหาริมทรัพย์
พนักงานรัฐ เกษตรกร พนง.เอกชน เป็นกลุ่มมีหนี้มากสุด “บ้าน-รถ”นำโด่ง
วันนี้ (20 มี.ค.2568) ราคาทอง ปิดบวก 200 บาท ผันผวน 11 ครั้ง ขณะที่ GOLD SPOT ทำ All-time high ต่อเนื่องที่ 3,035.50 ดอลลาร์/ออนซ์ เปรียบเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ เว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 17. 11น. “ทองรูปพรรณ”ในประเทศ ร้านทองขายออก 49,250 บาททองคำ “ทองคำแท่ง” ขายออก บาทละ 48,450 บาททองคำ ปิดตลาดทองคำเกิดแรงเทขายเพียงเล็กน้อย
ครั้งที่ 11 ลบ 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,350 บาท
• ขายออก บาทละ 48,450 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,481.12 บาท
• ขายออก บาทละ 49,250 บาท
ครั้งที่ 10 ลบ 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,400 บาท
• ขายออก บาทละ 48,500 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,526.60 บาท
• ขายออก บาทละ 49,300 บาท
ครั้งที่ 9 บวก 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,450 บาท
• ขายออก บาทละ 48,550 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,572.08 บาท
• ขายออก บาทละ 49,350 บาท
ครั้งที่ 8 ลบ 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,400 บาท
• ขายออก บาทละ 48,500 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,526.6 บาท
• ขายออก บาทละ 49,300 บาท
ครั้งที่ 7 บวก 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,450 บาท
• ขายออก บาทละ 48,550 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,572.08 บาท
• ขายออก บาทละ 49,350 บาท
ครั้งที่ 6 ลบ 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,400 บาท
• ขายออก บาทละ 48,500 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,526.6 บาท
• ขายออก บาทละ 49,300 บาท
ครั้งที่ 5 บวก 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,450 บาท
• ขายออก บาทละ 48,550 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,572.08 บาท
• ขายออก บาทละ 49,350 บาท
ครั้งที่ 4 บวก 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,400 บาท
• ขายออก บาทละ 48,500 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,526.6 บาท
• ขายออก บาทละ 49,300 บาท
ครั้งที่ 3 บวก 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,350 บาท
• ขายออก บาทละ 48,450 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,481.12 บาท
• ขายออก บาทละ 49,250 บาท
ครั้งที่ 2 ลบ 50 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,300 บาท
• ขายออก บาทละ 48,400 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,435.64 บาท
• ขายออก บาทละ 49,200 บาท
ครั้งที่ 1 บวก 200 บาท
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 48,350 บาท
• ขายออก บาทละ 48,450 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 47,481.12 บาท
• ขายออก บาทละ 49,250 บาท
อ่านข่าว:
“เฟด”คงดอกเบี้ย 4.25-4.50% ดันทองคำทำ All-time high อีกครั้ง
สรุปราคาทองคำ 19 มี.ค. 2568 ปรับขึ้น 250 บาท ผันผวน 13 ครั้ง
ราคาทองคำ ยังไปต่อ ลุ้นสัปดาห์นี้ “รูปพรรณ”ขายออกบาทละ 50,000
วันนี้ (20 มี.ค.2568) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า กรมฯ ได้วิเคราะห์ธุรกิจดาวเด่นที่กำลังมาแรงพบว่า ธุรกิจไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ยืนต้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างโอกาสให้คนไทย และเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากไทยมีภูมิประเทศที่เป็นทำเลทอง มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพื้นดิน อากาศที่อบอุ่นถึงร้อนชื้นเหมาะกับการเติบโตของต้นไม้ และมีแหล่งน้ำที่เหมาะสมกับการทำกสิกรรมหรือเพาะปลูกที่เป็นปัจจัยสำคัญให้ต้นไม้งอกงามเจริญเติบโตได้ดี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่มีทักษะในการเพาะปลูกเป็นทุนเดิมทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้จากธุรกิจได้โดยง่าย สอดรับกับข้อมูลของสำนักงานสถิติที่พบว่า ไทยมีผู้ทำการเกษตรจำนวน 8.6 ล้านราย บนพื้นที่ 141 ล้านไร่ จำนวนนี้เป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชผัก สมุนไพรและไม้ดอกไม้ประดับจำนวน 202,801 ราย ในพื้นที่กว่า 7 แสนไร่
จากข้อมูลนิติบุคคลในธุรกิจไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ยืนต้น (วันที่ 28 ก.พ. 2568) พบว่า มีธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีจำนวน 2,993 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผลิต 383 ราย และกลุ่มขาย 2,610 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม 17,670 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก 2,727 ราย รองลงมาเป็นธุรกิจขนาดกลาง 208 ราย และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ 58 ราย
สำหรับธุรกิจไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ยืนต้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิต เช่น การทำสวนไม้ประดับ, การปลูกพืช เพาะพันธุ์ และขยายพันธุ์พืชอื่นๆ, ปลูกกล้วยไม้ และปลูกไม้ดอกอื่นๆ และ กลุ่มขาย เช่น ขายส่งดอกไม้ต้นไม้และเมล็ดพันธุ์พืช และร้านขายปลีกดอกไม้ต้นไม้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลผลประกอบการปี 2566 พบว่าสร้างรายได้รวมทั้งสิ้น 91,501 ล้านบาท กลุ่มขายสร้างรายได้สูงถึง 87,376 ล้านบาท และกำไร 2,473 ล้านบาท
ขณะที่กลุ่มผลิตสร้างรายได้ 4,125 ล้านบาท และขาดทุน -54.69 ล้านบาท โดยอนาคตคาดว่าผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่องเพราะรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เน้นสร้างความแข็งแกร่งของเกษตรกร พร้อมเปิดตลาดผลไม้ดอกไม้ประดับของไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกไม้ดอกไม้ประดับและพันธุ์ไม้ ในปี 2566 สร้างมูลค่า การส่งออกกว่า 4,548 ล้านบาท และในปี 2567 สร้างมูลค่าส่งออกกว่า 4,777 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 9,325 ล้านบาท
โดยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เวียดนาม และญี่ปุ่น และสินค้าที่สร้างมูลค่าเกินกว่าครึ่งของการส่งออกไม้ดอกฯ คือ กล้วยไม้ไทย ที่เป็นแชมป์อันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอด ในปี 2566 สร้างมูลค่า 2,679 ล้านบาท และปี 2567 สร้างมูลค่ากว่า 2,755 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 5,434 ล้านบาท ตลาดหลักในการส่งออก คือ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวอีกว่า ความน่าสนใจในธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ยืนต้นของไทย คือ การเชื่อมโยงเกษตรกรไทยให้เข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เปลี่ยนเกษตรกรแบบเดิมให้เป็น Farmer Business
และทำเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้แรงงาน เพิ่มคุณภาพมาตรฐานให้สินค้า บริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นอย่างการพยากรณ์ลม ฟ้า อากาศ หรือการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดล้วนมีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจนี้
ด้านเงินทุนก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถต่อยอดต่อไปได้ โดยโอกาสที่เกษตรกรต้องคว้าไว้คือ การปลูกต้นไม้เพื่อขายเป็นคาร์บอนเครดิต รวมถึงการนำต้นไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อจากสถาบันทางการเงิน นำไปใช้หมุนเวียนหรือขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นรองรับกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ที่มีมากขึ้นทุกปี
อ่านข่าว:
พนักงานรัฐ เกษตรกร พนง.เอกชน เป็นกลุ่มมีหนี้มากสุด “บ้าน-รถ”นำโด่ง
“ทรัมป์”ป่วน-เศรษฐกิจไม่ฟื้น กระทบจัดตั้งธุรกิจไทยวูบ 5.09%
ซื้อหนี้ประชาชน "กับดักความจน" คนไทย "สารพัดหนี้" รุมเร้า
วันนี้ (20 มี.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัดและเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจ.จันทบุรีว่า ปัญหาการพบสารย้อมสี BY2 ในทุเรียนได้รับคำยืนยันจากจังหวัดว่าได้แก้ปัญหาปัญหานี้แล้วซึ่ง ขณะนี้ทุเรียนในพื้นที่เริ่มออกสู่ตลาดแล้ว โดยยืนยันว่า ขณะนี้ไม่พบสารนี้ในทุเรียน
นายพิชัย นริพทะพันธ์ รมว.พาณิชย์
นอกจากนี้ ได้หาหรือกับเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย เพื่อขอให้ประสานกับทางการจีน ให้ช่วยผ่อนคลายการตรวจสอบทุเรียนที่นำเข้าจากไทย โดยให้สุ่มตรวจ ไม่ต้องตรวจสอบ 100% โดยไทยจะคุมเข้มและตรวจสอบ 100% ก่อนการส่งออก
การตรวจสอบทุกล็อต ทุกตู้คอนเทนเนอร์ จะทำให้เกิดความล่าช้า และอาจทำให้ทุเรียนที่รอการตรวจสอบเพื่อนำเข้าสู่จีนเน่าเสียหายได้ ซึ่งทูตจีนรับปากจะประสานกับรัฐบาลให้ และยังได้เชิญทูตจีนลงพื้นที่จันทบุรี ตรวจสอบทุเรียนของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุเรียนไทยด้วย
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2568 ออกมาแล้ว จำนวน 7 มาตรการ 25 แผนงาน ซึ่งจะใช้ดูแลผลไม้ทุกชนิด รวมถึงทุเรียน โดยทุเรียน ถือเป็นตัวหลัก เพราะส่งออกปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท และปีนี้ มีผลผลิตปริมาณ 1.767 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 37% จึงต้องดูแลเต็มที่
เมื่อมีปัญหาสาร BY2 ก็เร่งแก้จนได้ข้อยุติ และเมื่อจีนเข้มงวดตรวจสอบ ก็เร่งเจรจาให้ผ่อนปรน ใช้การสุ่มตรวจแทน เพราะตอนนี้ ผลผลิตออกน้อย ตรวจ 100% ไม่มีปัญหา แต่ถ้าตอนออกเยอะ มีเป็น 100 ตู้ 1,000 ตู้ ถ้าตรวจหมดจะเสียหาย ก็ได้แจ้งจีนไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนที่จะผลักดันการส่งออกทุเรียนไปยังตลาดใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น อินเดีย โดยช่วงต้นเดือน เม.ย.2567 นายกรัฐมนตรีอินเดียจะเดินทางมาไทย จะหารือเพื่อผลักดันการส่งออกทุเรียนไทยไปขายในอินเดียด้วย
ส่วนปัญหาเรื่องนอมินี หรือการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร ของนิติบุคคลที่มีต่างด้าวถือหุ้นในจันทบุรีนั้น ได้มีการหารือเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตรวจสอบอยู่ และได้แจ้งว่า หากใครพบเบาะแส ก็ให้แจ้งมาได้ที่กระทรวงพาณิชย์ จะเร่งตรวจสอบในทันที
อ่านข่าว:
ใครบ้างอยู่ในบริษัทรับงานตรวจ BY2 ทุเรียน ปมสอบอธิบดีเกษตร
ขีดเส้น 30 วันปมบิ๊กวิชาการเกษตรเอื้อเอกชนตรวจ BY2 ทุเรียน
สั่งสอบ "อธิบดีกรมวิชาการเกษตร" ปมเอี่ยวรับเงินตรวจสาร BY2