8 เม.ย.ปิดการจราจร 4 ทุ่ม - ตี 4 "สะพานกรุงเทพ" ทดสอบระบบหลังเหตุแผ่นดินไหว

Thu, 3 Apr 2025 13:37:00

วันนี้ (3 เม.ย.2568) สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม จะเข้าตรวจสอบและทดสอบการทำงานของระบบเปิด - ปิดสะพานกรุงเทพ เนื่องจากเหตุฃแผ่นดินไหวที่ผ่านมา เพื่อความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้เส้นทางในระยะยาว และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของตัวสะพาน

จึงจะปิดสะพานในวันที่ 8 เม.ย.2568 เวลา 22.00-04.00 น.ของวันที่ 9 เม.ย.2568 จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ได้รับทราบ ประชาชนสามารถเลี่ยงไปใช้สะพานพระราม 3 ทดแทนได้

ภาพ : ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม

ภาพ : ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม

อ่านข่าว :  จนท.คุมเหล็กกั้นจราจรสะพานกรุงเทพกระแทกแท็กซี่ เข้ามอบตัว ตร. 

อ้อมกอดจาก K9 ฮีโร่ 4 ขากู้ภัยสู่ภารกิจฮีลใจ

 คืบหน้า เหตุอาคาร สตง.ถล่ม สอบปากคำญาติ-พยานแล้ว 50 ปาก    


อ้อมกอดจาก K9 ฮีโร่ 4 ขากู้ภัยสู่ภารกิจฮีลใจ

Thu, 3 Apr 2025 13:14:00
ไม่ว่าจะเข้าสู่วันที่เท่าไหร่ ยังเดินหน้าค้นหาอย่างมีความหวัง

นายอลงกต ชูแก้ว รองผู้อำนวยการทีมสุนัขค้นหาและกู้ภัย USAR THAILAND กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งนำสุนัข K9 ทั้ง 11 ตัว คือ K9 นารี ซาฮาร่า สีนวล และเคล แบ่งกันเป็น 3 ชุดในภารกิจค้นหาผู้สูญหายจากเหตุตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)พังถล่มจากแผ่นดินไหวขนาด 8.2

ทีมสุนัข K9 จะแบ่งออกเป็น 3 ชุดคือชุดแรกจะสแตนด์บายในที่เย็น คอยฟังคำสั่งเข้าค้นหาเวลา 24.00-08.00 น. ส่วนชุดที่ 2 จะออกปฎิบัติงานครั้งละ 20 นาที ชุดที่ 3 จะพบสัตวแพทย์หลังออกปฏิบัติงาน 

ยังไม่มีตัวไหนเลยบาดเจ็บทั้ง 11 ตัว เพราะการงานจะต้องดูแลความปลอดภัยทั้งตัวสุนัข K9 และผู้คุม

อลงกต บอกว่า มีการฝึกสุนัข K9 แต่ละตัวในสมรรถนะที่เหมาะสมกับค้นหาในสภาพแวดล้อม โดยได้มีการฝึกมาจนมีเชี่ยวชาญแตกต่างกันเช่น ตัวไหนที่ชอบมุด ปีน ค้นหาร่างผู้ประสบภัย ซึ่งมี 7 ตัวที่ค้นหาร่างได้เก่ง อย่างK9 ซูซาน K9 ซาฮารา ทั้งสองตัวมีประสบการณ์ในการค้นหาในแผ่นดินไหวตุรกี เพราะเขาต้องแสดงหลักฐานที่ชัดเจนด้วย

ถ้าพบร่าง ถ้าถูกยกออกมาแล้ว K9 จะดมหรือสงสัย ด้วยการแกว่งหาง แต่ไม่หมอบลง แต่ถ้าพบร่างจริง ๆ ตัวแรกและตัวที่ 2 จะหมอบหรือถ้ามีหินก็จะนั่งแบบนิ่ง ๆหรือคุ้ยให้พบหลักฐานแสดงตำแหน่ง
นายอลงกต ชูแก้ว รองผู้อำนวยการทีมสุนัขค้นหาและกู้ภัย USAR THAILAND

นายอลงกต ชูแก้ว รองผู้อำนวยการทีมสุนัขค้นหาและกู้ภัย USAR THAILAND

อลงกตบอกว่า หลังจากปฏิบัติภารกิจแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล K9 ก็ได้ตรวจเช็กสุขภาพ ล้างจมูก และล้างตา รวมทั้งผ้าชุบน้ำเย็นมาคลุมที่ตัว และทำความสะอาดที่อุ้งเท้า เพื่อเป็นการระบายความร้อนให้แก่สุนัขกู้ภัย ก่อนจะให้พักในกรง

อาบน้ำเช็ดตัวจะได้สดชื่น

อาบน้ำเช็ดตัวจะได้สดชื่น

อีกหนึ่งในภาพที่ประทับใจของ สุนัข K9 ยังมีภารกิจเสริมคือ การเข้าไปเยียวยาดูแลจิตใจ ญาติผู้ที่ติดค้างอยู่ภายใต้ซากอาคารถล่มด้วยเช่นกัน โดยสุนัขกู้ภัย K9 จะมีลักษณะพิเศษคือ มีความอ่อนโยน กับมนุษย์โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ซึ่งจากภารกิจการเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ พบว่าได้รับผลตอบรับที่ดี สามารถดูแลจิตใจของญาติและครอบครัวของผู้สูญหายได้เป็นอย่างดี

อ่านข่าว

นายกรัฐมนตรี จ่อถกตึกสตง.ถล่ม เผยปมเหล็กค่อนข้างชัด

คืบหน้า เหตุอาคาร สตง.ถล่ม สอบปากคำญาติ-พยานแล้ว 50 ปาก

เมียนมาประกาศหยุดยิงชั่วคราว เปิดทางช่วยฟื้นฟูแผ่นดินไหว 

 


วิกฤตตึกถล่ม-จดหมายเวียน ท้าทาย ผู้ว่าฯ สตง.มณเฑียร เจริญผล

Thu, 3 Apr 2025 12:37:00

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายมณเฑียร เจริญผล เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ต่อจากนายประจักษ์ บุญยัง ที่ครบวาระในเดือน ก.พ.2567 การเข้ามารับตำแหน่งของนายมณเฑียรเกิดขึ้นท่ามกลางความคาดหวังสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการตรวจสอบเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ สตง. ในการพิทักษ์งบประมาณของชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายมณเฑียร แถลงเมื่อเข้ารับตำแหน่งว่า ตลอดวาระ 6 ปี เขาจะมุ่งเน้นสร้างคนเก่งคนดี มีความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ยึดมั่นจิตสาธารณะ เพื่อเปลี่ยนผ่าน สตง. จากองค์กรตรวจสอบแบบดั้งเดิมสู่การเป็นหน่วยงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับทั้งจากหน่วยรับตรวจ สาธารณชน และชุมชนตรวจเงินแผ่นดินระดับสากล

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนี้เริ่มจากกระบวนการคัดเลือกของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2567 ซึ่งเชิญผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 จำนวน 7 คน มาสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์ นายมณเฑียร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ สตง. ได้รับคะแนนเสียงเกิน 2 ใน 3 จาก คตง. ด้วยวิสัยทัศน์ที่เน้นการพัฒนาองค์กรใน 3 แกนหลัก

  1. สร้างคนเก่งคนดี ตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในเชิงลึกและรอบรู้ในเชิงกว้างแบบสหสาขาวิชา รองรับการตรวจสอบเชิงบูรณาการและงานที่ซับซ้อนขึ้น พร้อมกำหนดกลยุทธ์ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสและยุติธรรม ผ่านการมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณให้ผู้ทำความดี

  2. เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล นำเทคโนโลยี AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง มาใช้ในการตรวจสอบ โดยต่อยอดจากระบบ e-Audit (งานตรวจสอบดิจิทัล) และ e-Office (งานสนับสนุนดิจิทัล) ที่เขาเริ่มวางรากฐานไว้ในฐานะ Chief Information Officer (CIO) ของ สตง.

  3. เชื่อมโยงข้อมูล วางระบบเครือข่ายและลงนามบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกรมศุลกากร เพื่อให้การตรวจสอบครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายมณเฑียร เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "เงินแผ่นดิน" โดยอ้างถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ว่า "เงินแผ่นดินคือเงินของประชาชนทั้งชาติ" ซึ่งเป็นหลักการที่ สตง. และคนตรวจเงินแผ่นดินทุกคนยึดถือ เขามั่นใจว่า การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีจะสร้างอัตลักษณ์ของ สตง. ที่ยึดมั่นจิตสาธารณะ และยกระดับให้เป็นองค์กรที่มีแบรนด์แข็งแกร่งในสายตาสาธารณชน

"มณเฑียร" ลูกหม้อผู้มากประสบการณ์

นายมณเฑียร เจริญผล เป็น "ลูกหม้อ" ของ สตง.อย่างแท้จริง ด้วยประสบการณ์การทำงานในองค์กรนี้มากว่า 20 ปี เริ่มต้นจากตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาได้เรียนรู้กระบวนการตรวจสอบเงินแผ่นดินอย่างละเอียด ก่อนจะไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้แก่ 

นอกเหนือจากงานใน สตง. นายมณเฑียรยังมีประสบการณ์ในวงการราชการและการตรวจสอบที่กว้างขวาง เช่น ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นอนุกรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (อนุ คตช.), ป.ป.ช., และ ปปง.

ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ในกระทรวงการคลัง, สำนักงานอัยการสูงสุด และรัฐสภา ด้านการเงินการคลัง เป็นกรรมการความรับผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลัง และกรรมการพิจารณารางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศของกรมบัญชีกลาง

ด้านนิติบัญญัติและปฏิรูป เป็นกรรมาธิการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวุฒิสภาที่ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561, อนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสภาปฏิรูปแห่งชาติ และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด้านการศึกษา เป็นกรรมการสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และกรรมการประจำหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้า

นายมณเฑียรจบปริญญาตรีและโทด้านบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์ รวมถึงรัฐประศาสนศาสตร์ และประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน เขายังผ่านหลักสูตรอบรมชั้นนำ เช่น หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่น 58), หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการยุติธรรม (บยส. รุ่น 18), และหลักสูตรผู้บริหารการตรวจเงินแผ่นดิน (พตส. รุ่น 3) เกียรติประวัติที่โดดเด่นคือการได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่นของ สตง. ในปี 2544 และรางวัลจากสถาบันพระปกเกล้าและกรมบัญชีกลาง

ผลงานอันโดดเด่น

ในฐานะ CIO และรองผู้ว่าฯ สตง. นายมณเฑียรได้วางรากฐานสำคัญให้ สตง. ไว้อย่างมากมาย 

วิกฤตบททดสอบ "ตึกถล่ม-จดหมายเวียน" 

เพียงไม่กี่เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง นายมณเฑียรต้องเผชิญบททดสอบครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 8.2 จากรอยเลื่อนสะกายในเมียนมา ส่งผลให้อาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่บริเวณ ถ.กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถล่มลงมา

โครงการนี้เริ่มต้นในสมัยนายประจักษ์ บุญยัง อดีตผู้ว่าฯ สตง. โดยลงนามสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2563 กับกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10) มูลค่า 2,136 ล้านบาท และสัญญาควบคุมงานกับกิจการร่วมค้า PKW มูลค่า 74.653 ล้านบาท โครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 31 ธ.ค.2566 แต่ล่าช้ามาหลายครั้ง และคืบหน้าเพียงร้อยละ 30 ก่อนเกิดเหตุ

เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีคนงานก่อสร้างกว่า 80 คนติดอยู่ใต้ซากอาคาร สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงจุดคำถามถึงคุณภาพการก่อสร้าง การออกแบบ และการบริหารจัดการงบประมาณ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำลังตรวจสอบว่า มีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากแผ่นดินไหว เช่น การใช้เหล็กเส้นไม่ได้มาตรฐาน หรือการออกแบบที่ไม่เหมาะสมหรือไม่

28 มี.ค.2568 นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ รองผู้ว่าฯ และโฆษก สตง. ออกมาแถลงว่า การก่อสร้างมีความโปร่งใสทุกขั้นตอน และช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้ 386 ล้านบาทจากราคากลาง 2,522.15 ล้านบาท ต่อมาในวันที่ 29 มี.ค. สตง. ออกแถลงการณ์ผ่านแฟนเพจอย่างเป็นทางการ แสดงความเสียใจต่อความสูญเสียจากเหตุแผ่นดินไหว และระบุว่าได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและตรวจสอบสาเหตุ แต่คำชี้แจงเหล่านี้ไม่เพียงพอต่อการคลายข้อสงสัยของสาธารณชนที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจนกว่านี้

มุ่งเน้นความฝันองค์กรมากกว่าความเดือดร้อนผู้ประสบภัย ?

สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดเมื่อมีจดหมายเวียนภายในของ สตง. ลงนามโดย "ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน" ซึ่งคาดว่านายมณเฑียรเป็นผู้เขียน หลุดออกสู่สาธารณะ เนื้อหาของจดหมายระบุถึงการปลุกขวัญทีมงานว่า "สูดลมหายใจเยอะ ๆ กุมมือกันให้แน่น และก้าวไปพร้อม ๆ กัน" พร้อมมีข้อความตัดพ้อว่า "เราไม่ได้รับความเป็นธรรม" และเน้นย้ำถึงความฝันในการมี "บ้านใหม่" หรือสำนักงานใหม่ที่ถาวรของ สตง.

แต่สิ่งที่ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ คือ จดหมายนี้ไม่มีการกล่าวถึงความสูญเสียของคนงานก่อสร้างหรือความเดือดร้อนของครอบครัวผู้ประสบภัยเลยแม้แต่น้อย

จดหมายนี้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในช่วงที่สังคมกำลังโศกเศร้าและลุ้นการช่วยชีวิตคนงาน โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงทำงานแข่งกับเวลา ทำให้เกิดกระแสตีกลับอย่างรุนแรง

นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภากลุ่มประชาสังคม และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วิจารณ์ว่า "การพูดถึงความฝันของการมีบ้านหลังใหม่ของ สตง. เทียบไม่ได้เลยกับแรงบีบคั้นในหัวใจของครอบครัวผู้สูญเสีย ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่ไม่อาจประเมินค่าได้" ขณะที่ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ผู้ว่าฯ สตง. ต้องการให้กำลังใจคนในองค์กร แต่กลับลืมพูดถึงความสูญเสียของชีวิตจากอาคารที่ถล่ม และยังมี 70 ชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซาก ซึ่งควรเป็นสิ่งที่ต้องเร่งช่วยเหลือ แทนที่จะได้กำลังใจ กลับกลายเป็นถูกวิจารณ์หนัก"

เหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวเมียนมา บททดสอบแรกที่ท้าทายความสามารถในการบริหารวิกฤตและการสื่อสาร ในสภาวการณ์ที่ สตง. เปลี่ยนจากบทบาทผู้ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินของผู้อื่น กลายเป็นผู้ถูกตรวจสอบจากสังคม ในประเด็นความโปร่งใสและความรับผิดชอบของโครงการก่อสร้างมูลค่ากว่า 2,136 ล้านบาท และจดหมายเวียนที่สะท้อนถึงความพยายามของนายมณเฑียรในการปลุกขวัญและกำลังใจให้บุคลากรในองค์กรที่อาจรู้สึกท้อแท้จากเหตุการณ์ แต่การขาดการกล่าวถึงความสูญเสียของชีวิตและการมุ่งเน้นที่ "ความฝัน" ขององค์กรมากกว่าความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย

แม้จดหมายนี้จะเป็นเอกสารภายในและถูกยกเลิกในภายหลัง แต่ภาพลักษณ์ของ สตง. และนายมณเฑียรได้ถูกสังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความรับผิดชอบของผู้นำองค์กรที่ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ได้รับผลกระทบมากกว่านี้

อ่านข่าวเพิ่ม :

สตง.ต้องปกป้องงบแผ่นดิน ทัวร์ลงหนักจดหมายเวียนผู้ว่าฯ

“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”

หวังพบผู้รอด! “ชัชชาติ” ระดม จนท.กู้ภัย ขุดโพรงจุดพบสัญญาณชีพ


ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัด ปี 68 เริ่มที่ อ.เบตง 4 เม.ย.นี้

Wed, 2 Apr 2025 19:06:00

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) เปิดไทม์ไลน์ วัน-เวลา ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดของประเทศไทยประจำปี 2568 ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 4 เม.ย.2568 เริ่มจากใต้สุด ณ อ.เบตง จ.ยะลา และสิ้นสุดในวันที่ 22 พ.ค.2568 ณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก วัตถุที่อยู่กลางแจ้งจะดู "เสมือนไร้เงา" เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี แต่จะเป็นวันที่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ของประเทศไทยเป็นครั้งแรกของปี เริ่มจากทางใต้สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา ในวันที่ 4 เม.ย.2568 เวลาประมาณ 12.19 น. จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ ของไทย

ไล่ลำดับขึ้นไปทางเหนือจนสิ้นสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในวันที่ 22 พ.ค.2568 เวลาประมาณ 12.17 น. หากเราสังเกตวัตถุกลางแดดในช่วงที่ดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากตามเวลาของแต่ละพื้นที่ จะเห็นวัตถุเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี

ทั้งนี้ แม้ในวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบตรง ๆ ทำให้พลังงานความร้อนสะสมมากขึ้น แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสม ที่อาจส่งผลต่ออุณหภูมิ ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดของปี

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง คือ

ทั้งนี้ วันและเวลาของการเกิดปรากฏการณ์ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตบนโลก ส่งผลให้แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจะมีวัน และเวลาการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่แตกต่างกัน

ดูข้อมูลการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากทั้ง 77 จังหวัด ในประเทศไทย (พิกัดเขตอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด) ได้ที่ narit

อ่านข่าว : "กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์" คว้า 20 โครงการรัฐ มูลค่า 1.2 หมื่นล้าน

ลุยค้น "ซิน เคอหยวน สตีล" สอบปมเหล็กข้ออ้อยโผล่ตึก สตง.ถล่ม

รวบอดีต ผญบ.ลอบขายที่ดินป่าสงวน 300 ไร่อ้าง ภ.บ.ท.5


เช็กบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เม.ย.2568 เงินเข้าวันไหน จ่ายอะไรบ้าง

Wed, 2 Apr 2025 17:18:40

วันนี้ (2 เม.ย.2568) น.ส.ทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งใน เดือนเมษายน2568 จะได้รับสิทธิ ดังนี้

วันที่ 1 เมษายน 2568

(เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ม.ค. - มี.ค.2568)
- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน
(ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ)

วันที่ 18 เมษายน 2568

- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน
สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือน
(โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร ของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท)

ทั้งนี้กรมบัญชีกลางรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1-31 มีนาค รวมใช้ไป4,578.56 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 3913.56 ล้านบาท วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าชหุงต้ม 22.54 ล้านบาท วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 146.34 ล้านบาท มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติครม.วันที่ 28 ม.ค.2563 256.38 ล้านบาท มาตรการบรรเทาค่าไฟฟ้า 213.26 ล้านบาท และมาตรการบรรเทาค่าน้ำประปา 26.47 ล้านบาท

อ่านข่าว:

เช็กบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มี.ค.2568 เงินเข้าวันไหน จ่ายอะไรบ้าง

"คลัง" เลื่อนลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 68 เหตุยังไม่ได้ข้อสรุปคุณสมบัติ

 


ปักหลักตั้งโรงครัวทำอาหารแจก จนท.-ญาติผู้สูญหายตึกถล่ม

Wed, 2 Apr 2025 15:20:02

วันนี้ (2 เม.ย.2568) หน่วยงานภาครัฐและจิตอาสาตั้งโรงครัวสนับสนุนภารกิจกู้ภัยในเหตุการณ์อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ถล่ม โดยโรงครัวอาสาจากมูลนิธิร่วมกตัญญู เร่งทำอาหารต่อเนื่องตลอดทั้งวันให้กับเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานที่เข้าค้นหาและรื้อซากอาคารถล่ม รวมถึงญาติผู้สูญหายหลายร้อยคน

น.ส.วันเพ็ญ มาประดิษฐ์ อาสาสมัครโรงครัวมูลนิธิร่วมกตัญญู เปิดเผยว่า ครึ่งเช้าที่ผ่านมาได้เตรียมวัตถุดิบประเภทเนื้อไก่ ข้าว เส้นเล็กและวัตถุดิบอื่นๆ มากถึง 500 กิโลกรัม เพื่อทำอาหารแจกจ่าย แต่ก็ยังไม่เพียงพอและยังต้องหาวัตถุดิบมาทำเพิ่ม โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนที่บริจาคให้กับมูลนิธิ รวมถึงเงินจากมูลนิธิส่วนหนึ่ง

พร้อมระบุว่า เดิมทีมีแผนจัดการเรื่องทำอาหารในโรงครัวให้กับผู้ปฏิบัติงานในแต่ละมื้อ ท้งมื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็นและข้าวต้มรอบดึก แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนกำลังการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกำลังอาสาสมัครทำอาหารอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ยอมรับว่าเหนื่อย แต่เพื่อนร่วมงานแผนกกู้ภัยภัยและเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติภารกิจหน้างานก็เหนื่อยเหมือนกัน การได้สนับสนุนปากท้องให้มีกำลังทำหน้าที่ต่อคือสิ่งสำคัญที่สุด

เช่นเดียวกับโรงครัวพระราชทาน กองทัพบก เป็นอีกหน่วยหนึ่งที่เข้าสนับสนุนด้านอาหารตั้งแต่วันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้เร่งทำอาหารให้ทันในแต่ละมื้อ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติงานและญาติของผู้สูญหาย โดยแจกจ่าย 3 มื้อ มื้อละ 500 กล่อง และพร้อมสนับสนุนอาหารให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตลอดทั้งวัน

ทุกมื้อ เจ้าหน้าที่ต้องทำอาหารแข่งขันกับเวลา ไม่แพ้ภารกิจกู้ภัยและกู้ซากอาคารที่ถล่ม เพื่อให้ทันต่อจำนวนเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยเฉพาะวันนี้ (2 เม.ย.) เจ้าหน้าที่เริ่มกำหนดพื้นที่เปิดการจราจร ทำให้โรงครัวของภาคเอกชนและในหลายๆ ส่วนถอนออกจากพื้นที่

อ่านข่าว

กู้ร่างได้เพิ่ม 1 ศพตึก สตง.ถล่ม เร่งค้นหาอีก 72 คน

จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม

วันแรก! เปิดจราจร ถ.กำแพงเพชร 2 ตึกสตง.ถล่มตาย 15 คน


จริงใจ-ตรงประเด็น จุดแข็ง "ทวิดา" สื่อสารในสถานการณ์วิกฤต

Wed, 2 Apr 2025 13:07:00

ลีลาการตอบคำถามสื่อมวลชนไทย และต่างชาติ ใช้เวลาสั้น กระชับ เข้าใจง่าย ไม่ยืดเยื้อ ทำให้ชื่อของ "รศ.ทวิดา กมลเวชช" รองผู้ว่าราชการ กทม. ถูกพูดถึงอย่างล้นหลามบนหน้าสื่อ ทำไมการสื่อสารในเหตุวิฤกตของ รศ.ทวิดา เจ้าของฉายาเจ้าแม่ภัยพิบัติ ถึงทำให้ประชาชนเข้าใจง่าย

ไทยพีบีเอสชวนมองปรากฏการณ์นี้ ผ่าน ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในการตอบคำถามสื่อมวลชน หรือ แถลงของ รศ.ทวิดา คือ "ความจริงใจ" นับเป็นจุดแข็งของการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤตของ กทม.

ทำให้ประชาชน เห็นระบบการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับตรงประเด็น และให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลเหล่านั้นผ่านการรย่อย หรือ สรุปมาแล้ว ไม่ใช้ศัพท์เป็นทางการที่เป็นวิทยาศาสตร์จนเกินไป ไม่มีอารมณ์เข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้นคนก็จะรับข้อมูลอย่างมีสติ ทำให้คนเชื่อมั่นในสถานการณ์มากขึ้น

ที่ผ่านมา กทม.กำหนดช่วงเวลาสื่อสารชัดเจน ไม่บ่อยจนเกินไป อัปเดตข้อมูลล่าสุด ทำให้ประชาชนเห็นความคืบหน้า ในการค้นหาผู้สูญหาย และรับรู้ถึงอุปสรรคปัญหา การทำงานโดยตรง สิ่งนี้ควรมีในภาวะ "ผู้นำ" ที่ควรจะทำให้เกิดขึ้นในทุกวิกฤต จากคลิปวิดีโอการใช้ 2 ภาษาในการสื่อสารกับสื่อมวลชนเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว ทำให้ รศ.ทวิดาได้รับการชื่นชมอย่างมาก

ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.สกุลศรี มองว่าการสื่อสารแบบนี้ เป็นข้อดี เพราะหากใช้ล่ามแปล ถ้าเกิดคนแปลไม่ได้เข้าใจบริบทสถานการณ์หน้างาน อาจจะให้ข้อมูลที่ผิดได้ เพราะฉะนั้นจะทำให้สื่อต่างประเทศได้รับข้อมูลโดยตรงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ แต่ว่าในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นำทุกคนจะต้องภาษาอังกฤษดี 100% เพราะบางคนอาจจะมีข้อจำกัดในบางท่าน แต่ว่าการเลือกล่ามแปล ที่เป็นมืออาชีพและเข้าใจทำการบ้านสามารถเป็นทางออกได้

ถ้าเทียบบทบาทการทำงาน "ผู้นำ" ในภาวะวิกฤต จากเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น กรณี 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ปี 2561 สิ่งที่เห็นในภาวะผู้นำ ทั้งอดีตผู้ว่าฯ หมู่ป่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร และ รศ.ทวิดา คือการจัดการหน้างานในพื้นที่อย่างเป็นระบบ แบ่งกลุ่มคนที่ทำงาน มีการประสานงานกับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง แล้วสามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่อะไรทำอย่างไร มีการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการติดตามสถานการณ์ และเป็นการสื่อสารอย่างจริงใจอันนี้สำคัญมาก

ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่เป็นการเขียนสปีช หรือ มีการเขียนบทมาให้ เป็นการสื่อสารจากความเข้าใจ ในพื้นที่หน้างานจริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นนั่นหมายความว่าลงมือทำจริง ทำงานอยู่ตรงนั้นจริง เวลาสื่อสารก็จะมีความจริงใจ และมีความชัดเจน มีข้อผิดพลาด หรืออะไรทำไม่สำเร็จก็มาบอกมานำเสนอ เกิดความโปร่งใส

ผศ.สกุลศรี ระบุว่า สถานการณ์วิกฤต หน้างานที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาและสิ่งที่ อดีตผู้ว่าฯ หมู่ป่า ณรงค์ศักดิ์ และ รศ.ทวิดา มีเหมือนกัน คือการสื่อสารทั้งสิ่งที่ทำได้และทำไม่ได้ และสิ่งที่ทำแล้วไม่สำเร็จ ต้องทำอะไรต่อไป มีแผนมารองรับ คนที่กำลังร้อนรนเกิดความวุ่นวายใจว่า ไม่สำเร็จสักที ก็ทำให้คนเข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำหรือผู้บัญชาการเหตุการณ์ มีเหตุมีผลใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี ก็จะลดทอนอารมณ์ความรู้สึกของคนต่อสถานการณ์ลง คนก็จะใจเย็นมีเหตุผลมากขึ้น ซึ่งทั้ง 2 คน มีคุณสมบัติที่ดีมากๆในการสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างใจเย็นมั่นคงและรอบคอบ

แต่ในสถานการณ์วิกฤตการสื่อสารด้วยอารมณ์ ก็จะยิ่งแย่ลง อย่างกรณีการทำหนังสือชี้แจงภายในองค์กร ของผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตอกย้ำให้เห็นว่าในภาวะวิกฤต

สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าสื่อสารด้วยอารมณ์ความรู้สึก เพราะอารมณ์ความรู้สึกอาจจะมากับชุดอคติของแต่ละบุคคลที่รับข้อมูล ในภาวะที่ทุกคนต้องการข้อมูลยิ่งไปเติมอารมณ์ลงไปก็จะจะยิ่งมีปัญหา ดังนั้นสิ่งที่ควรจะระวังมากที่สุด ไม่ใช้อารมณ์ในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ในลักษณะไหนก็ตาม

ในภาวะวิกฤตแบบนี้คนอยากรู้ว่าเราจะจัดการปัญหาอย่างไรส่วนใหญ่ในภาวะวิกฤต คนต้องการรู้ว่าคุณรับในสิ่งที่ผิดไหม มีความกังวลใจกับสิ่งที่จะเป็นปัญหาหรือเปล่า และคุณพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขตรวจสอบหรือเปล่าอันนี้คือสิ่งสำคัญ และหาทางออกกับเรื่องนั้นอย่างไร

หากจำเป็นต้องสื่อสารย้ำว่า ไม่ต้องยาวก็ได้ หรือบางครั้งก็แค่ตอบคำถามในสิ่งที่จำเป็นกับสิ่งที่สังคมต้องการรู้ก็พอ อะไรที่ไม่จำเป็นช่วงเวลานี้ก็ไม่จำเป็นต้องสื่อสาร ส่วนสำนักข่าวก็เหมือนกันในช่วงเวลาแบบนี้ในการเลือกข้อมูลนำเสนอ จะมีคนนำเสนอความเห็นในสังคมออนไลน์ เราก็ต้องคัดเลือกให้ดีว่าชุดความเห็นไหน จะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายได้ คนเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ชุดความเห็นที่เต็มไปด้วยอารมณ์ ควรละเว้นไว้เพราะอาจจะทำให้สังคมปั่นป่วนได้

นอกจากนี้ยังมองว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลควรเรียนรู้เพิ่มขึ้น คือ การปรับช่องทางการสื่อสารกับประชาชนไม่จำกัดแค่ SMS เพราะแต่ละหน่วยงานมีสื่อสังคมออนไลน์ แต่ที่สำคัญต้องทำให้คนเข้าใจว่าหน่วยงานไหนต้องรับผิดชอบเรื่องอะไร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ควรจะเป็นคนสื่อสารเรื่องนั้นโดยตรงให้ชัดเจน และสื่อสารให้เข้าใจง่ายอันนี้สำคัญมาก

เวลานี้อาจจะต้องนั่งคิดกันแล้วในทีมสื่อสารของภาครัฐ เพื่อเตรียมตัวสื่อสาร ไม่ต้องรอทำกราฟิก แค่ใช้ข้อความสื่อสารที่ชัดเจน ก็ทำให้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อการสื่อสารครั้งแรกมันชัดเจน เชื่อถือได้คนก็จะมั่นใจว่าจะต้องติดตามในช่องทางไหน แต่ถ้าการสื่อสารในช่วงแรกออกมาแล้วคนสับสนความเชื่อมั่นก็จะลดลง

อ่านข่าว :

จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม

แจ้งรอยร้าวอาคารแผ่นดินไหวแล้ว 15,500 เคส ทีมวิศวกรเร่งตรวจสอบ

กู้ร่างได้เพิ่ม 1 ศพตึก สตง.ถล่ม เร่งค้นหาอีก 72 คน


ดรามา! สตง.สูดลมหายใจก้าวข้ามตึกถล่มลืม 70 ชีวิตใต้ซาก

Wed, 2 Apr 2025 11:39:57

กรณีข้าสู่วันที่ 5 เหตุการณ์แผ่นดินไหวตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มมีผู้เสียชีวิต 15 คนสูญหายกว่า 70 คน ท่ามกลางการระดมค้นหาอย่างเข้มข้น 

หลังเกิดเหตุสำนักงานสตง.โพสต์ แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ถูกชาวเน็ตถล่มยับกว่า 10,000 ข้อความ นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข้อความหนังสือสตง.ที่ถึงพนักงาน ทำให้ชาวเน็ตนักวิชาการและหลายคนที่ออกมาตั้งคำถามอีกครั้ง 

สูดหายใจลึก ๆ กุมมือกันให้แน่น ก้าวไปพร้อมกัน

ก่อนตัดพ้อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม หลังแถลงการณ์เผยแพร่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ทั้งนี้ผู้ว่า สตง. ระบุว่าเป็นหนังสือเวียน สื่อสารกันเฉพาะพนักงานภายในองค์กร

สวดยับปลุกใจคนใน อย่าทิ้งฝันสร้างบ้านใหม่

นางอังคณา นีละไพจิตร สว.โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าวว่า “ช่วงเวลาที่บีบหัวใจที่เกือบ 80 ชีวิตยังไม่ทราบชะตากรรม อยากคิดว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็น April fool day ผลกระทบร้ายแรงที่ สตง.พูดถึงในแถลงการณ์ เป็นการถูกทำลายความฝันการมีบ้านหลังใหม่ และการถูกตั้งคำถาม ตรวจสอบจากสังคม

สตง.อาจไม่เคยเผชิญ เทียบไม่ได้กับเกือบ 80 ครอบครัวที่ความหวังในการค้นหากำลังเลือนลงทุกชั่วโมง บ้านที่พังลงสามารถสร้างใหม่ได้ แต่คนที่ยังอยู่ใต้ซาก และชีวิตครอบครัวพวกเขาอีกมากมายเป็นความสูญเสียไม่อาจประเมินได้

ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก สตง. ควรคิดถึงคนอื่นให้มากขึ้น และคิดถึงตัวเองให้น้อยลง ควรออกมาชี้แจงทุกเรื่องที่สังคมสงสัย ยอมรับความจริงและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายด้วยความถ่อมตน สตง.ควรระลึกว่าเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีสามารถสร้างใหม่ได้ แต่ชีวิตของคนที่สูญหาย และชีวิตของคนอีกมากมายที่ต้องเผชิญกับความเศร้าโศก และความทุกข์ทรมานทางจิตใจ ไม่อาจที่จะฟื้นคืนได้

ส่วน รศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Prinya Thaewanarumitkul ระบุว่า

ท่านผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคงต้องการให้กำลังใจคนในองค์กร แต่ไม่ได้กล่าวถึง #ความสูญเสียของชีวิตคน ที่เกิดจากอาคารของท่านถล่มเลย แล้วก็คงจะลืมไปว่ายังมี 70 ชีวิตที่ยังติดอยู่ใต้ซากอาคารที่ต้องเร่งช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด แถลงฉบับนี้แทนที่จะได้กำลังใจเลยกลายเป็นถูกวิจารณ์หนักเข้าไปอีก

ตอนนี้คนที่เราควรให้กำลังใจมากที่สุดคือ ผู้ที่กำลังทำงานอย่างหนักในการช่วยชีวิตคนที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร และญาติพี่น้องที่เฝ้ารอด้วยความหวังว่าคนในครอบครัวของเขายังรอดชีวิต วันนี้เป็นวันที่สี่แล้ว เวลายิ่งผ่านไปโอกาสช่วยผู้ที่รอดชีวิตก็ยิ่งน้อย ขอให้พวกเราช่วยกันสนับสนุนและให้กำลังทุกๆ ท่านให้ช่วยคนออกมาให้ได้มากที่สุดครับ

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มครูซึ่งเคยถูกตรวจสอบจาก สตง. ถึงความโปร่งใส หลังเห็นหนังสือฉบับดังกล่าว ครูขอสอน ได้โพสต์ข้อความว่า “เห็นทัวร์ลง สตง. มีคณะครูร่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะการเงิน พัสดุ อาหารกลางวัน ทำไมนะ ?”

โพสต์ดังกล่าว มีครูมาแสดงความเห็นจำนวนมากกว่า 3,000 ข้อความ "กับครูใบเสร็จ 8 บาท ไม่มีเลขเสียภาษี ไล่ถามไล่บี้ไม่จบ ลายเซ็นใบสำคัญรับเงินหาง ส เสือสั้นกว่าในสำเนาบัตร ไม่ผ่าน แต่เก้าอี้ตัวละเกือบแสนบาทบอกไม่แพงเกินจริง"

อ่านข่าว แจ้งรอยร้าวอาคารแผ่นดินไหวแล้ว 15,500 เคส ทีมวิศวกรเร่งตรวจสอบ


ทีม MCATT เยียวยาจิตใจ "ญาติ-ผู้ประสบเหตุ" ตึกถล่ม 282 คน

Tue, 1 Apr 2025 19:44:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีแผ่นดินไหวในประเทศไทย ครั้งที่ 5/2568 และกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ได้ระดมทีม MCATT ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และทุกเขตสุขภาพ เข้าดูแลจิตใจญาติผู้เสียชีวิตและสูญหายหลังเกิดเหตุการณ์ทันที โดยช่วง 72 ชั่วโมงแรก มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานรวม 145 คน แบ่งเป็น ณ จุดเกิดเหตุ บางซื่อ 109 คน สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ 11 คน และตามภูมิลำเนา 25 คน

ดูแลจิตใจญาติ-ผู้ประสบเหตุ ตึกถล่มแล้ว 282 คน

เข้าสู่วันที่ 5 หลังเหตุการณ์เป็นกระบวนการดูแลเยียวยาจิตใจตามแผนระยะสั้นช่วง 3-14 วัน โดยติดตามปฐมพยาบาลทางใจผู้ได้รับผลกระทบ ณ ภูมิลำเนา ขยายพื้นที่เยียวยาจิตใจรอบจุดเกิดเหตุ และสื่อสารสร้างพลังใจ ซึ่งข้อมูลล่าสุด (31 มี.ค.68) ได้เข้าช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตในพื้นที่เกิดเหตุแล้ว 282 คน เป็นญาติของผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย 271 คน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ หรือ Helper 7 คน และผู้รับรู้เหตุการณ์ผ่านสื่อสาธารณะ 4 คน พบมีความเสี่ยงสูง 9 คน ปานกลาง 41 คน เสี่ยงต่ำ/ไม่เสี่ยง 232 คน ต้องส่งต่อพบแพทย์ 14 คน นอกนั้นได้ให้ความช่วยเหลือทางจิตวิทยา

ส่วนผู้เข้ารับคำปรึกษาผ่านสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 กรณีแผ่นดินไหว มี 166 สาย แบ่งเป็น กลุ่มญาติผู้เสียหาย ผู้บาดเจ็บ 20 สาย เครียดวิตกกังวลเนื่องจากเป็นผู้อยู่ในสถานการณ์ 54 สาย เครียดวิตกกังวลจากการติดตามสถานการณ์ 34 สาย และผู้ป่วยทางจิตเวชที่ดูข่าวแล้วมีอาการกลัว/กังวล ต่อเหตุการณ์ และแสดงความเป็นห่วงบุคลากรการแพทย์ 58 สาย

เตรียมพร้อมแพทย์นิติเวช 30 คน ร่วมชันสูตร

นพ.วีรวุฒิ กล่าวว่า สธ.ได้เตรียมแพทย์นิติเวชในสังกัดจำนวน 30 คน จาก ชลบุรี ปราจีนบุรี จังหวัดละ 4 คน นครปฐม ฉะเชิงเทรา จังหวัดละ 3 คน สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร ปราจีนบุรี จังหวัดละ 2 คน และ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด ระยอง จังหวัดละ 1 คน

ทั้งนี้เพื่อร่วมทำงานกับแพทย์นิติเวชสถาบันต่างๆ ในการชันสูตรพลิกศพ พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล และคืนร่างให้ญาติ หากได้รับการประสานจากสถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ ซึ่งตามรายงานวันนี้ เวลา 09.30 น. มีผู้เสียชีวิตสะสม 20 คน ได้รับการชันสูตรพลิกศพแล้ว 20 คน พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลและญาติรับร่างแล้ว 17 คน ยังพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลไม่ได้หรือญาติยังไม่มารับ 3 คน

อาคารบริการ รับรองความปลอดภัยแล้ว 562 อาคาร

ส่วนอาคารบริการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว วันนี้ได้รับรายงานเพิ่มอีก 96 อาคาร รวม 783 อาคาร ยังปิดให้บริการอยู่ 4 อาคาร ที่ รพ.สอง จ.แพร่ รพ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร รพ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และ รพ.พระยืน จ.ขอนแก่น ทั้งนี้ มีอาคารที่ได้รับรายงานความปลอดภัย 562 อาคาร คิดเป็นร้อยละ 71.78

อ่านข่าว : สรุปราคาทองคำ 1 เม.ย.2568 ปรับขึ้น 550 บาท ผันผวน 18 ครั้ง

เปิด “กรมธรรม์” ประกันภัย ประชาชนอุ่นใจรับมือ "ภัยพิบัติ"

นำร่างคนที่ 14 เหตุตึก สตง.ถล่ม พบอีก 12 ร่างยังนำออกไม่ได้


เปิด “กรมธรรม์” ประกันภัย ประชาชนอุ่นใจรับมือ "ภัยพิบัติ"

Tue, 1 Apr 2025 17:16:00

ลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มี.ค. สะเทือนมาถึงประเทศไทยในหลายจังหวัด โดยในกรุงเทพมหานครซึ่งมีตึกสูงหลายแห่งได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม บ้านเรือน หรือแม้แต่อาคารสำนักงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้บางแห่งรุนแรงถึงขั้นถล่ม เช่นอาคารสตง. คอนโดมิเนียมบางแห่งต้องปิดห้ามผู้พักอาศัยพัก

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ นอกจากสร้างแรงสั่นสะเทือนกับอาคารสำนักงานต่างๆแล้ว ยังสร้างความตื่นตระหนกตกใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในตึกสูงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

โดยเฉพาะวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะมีอสังหาฯล้นตลาดกำลังซื้อหดตัว ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนเกิดคำถามว่า อาคารสูงอย่างคอนโดมิเนียนมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ มีกรมธรรม์คุ้มครองเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดหรือไม่ จากคำถามเหล่านี้ กระแสการคืนใบจองซื้อที่อยู่อาศัยอาจจะรุนแรงขึ้น

แม้ว่าผู้ประกอบการจะออกมายืนยันว่ายังไม่เกิดเหตุการณ์ผู้บริโภคแห่คืนใบจองหรือยกเลิกการจองก็ตาม แต่ในเชิงจิตวิทยา ผู้บริโภคอาจจะเริ่มไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยที่อยู่อาศัยแนวสูง

นายสมพร นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินทั้งประเทศมีจำนวน 194,389 ฉบับ แบ่งเป็น กรุงเทพฯ และปริมณฑล 95,372 ฉบับ และจังหวัดอื่น ๆ 99,017 ฉบับ มีทุนประกันกว่า 200,000 ล้านบาท

ขณะที่การทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ปัจจุบันมีจำนวนทั่วประเทศ 5.37 ล้านฉบับ โดยในกรณีที่อยู่อาศัยที่ทำประกันอัคคีภัย ได้รับความคุ้มครองจากภัยแผ่นดินไหวไม่เกิน 20,000 บาทและหากผู้เอาประกันตกลงค่าสินไหมตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดได้ จะต้องจ่ายภายใน 15 วัน

กรณีของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่พักอยู่อาศัยใน บ้าน และคอนโดมีเนียม ขอให้เร่งถ่ายรูปความเสียหายและรวบรวมที่นิติบุคคล ส่งให้บริษัทประกันภัย หรือแจ้งมาที่บริษัทประกันภัยได้โดยตรง หากประชาชนที่ที่พักเสียหายและเสี่ยงเกิดอันตราย สามารถซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยได้ก่อน โดยไม่ต้องรอการประเมินจากประกัน แต่ต้องมีการบันทึกภาพความเสียหาย ไว้ประกอบการขอชดเชย

นายกสมาคมฯยังอธิบายถึงกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นประเภทที่ประชาชนทั่วไปนิยมทำกันมากที่สุด โดยทั่วไปสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดให้กรมธรรม์กลุ่มนี้มีความคุ้มครองมาตรฐานสำหรับภัยพิบัติที่เป็นมหันตภัย ซึ่งรวมถึงภัยจากแผ่นดินไหวด้วย

มาตรฐานความคุ้มครองสำหรับภัยพิบัติในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมีวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติหลายประเภท ได้แก่ ลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว และภัยลูกเห็บ โดยทั้งหมดนี้รวมกันในวงเงิน 20,000 บาทต่อปีกรมธรรม์

โดยประชาชนสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะเพิ่มวงเงินความคุ้มครองให้สูงขึ้นตามที่ตกลงกับบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์และนโยบายของแต่ละบริษัทประกันภัย ซึ่งในประเทศไทยมีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.4 ล้านฉบับ แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 2.2 ล้านฉบับ และในจังหวัดอื่นๆ ประมาณ 3.1 ล้านฉบับ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับภัยแผ่นดินไหวอยู่แล้ว

ย้ำกับเจ้าของบ้านทุกท่านว่าไม่ต้องกังวลกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่มีอยู่ให้ความคุ้มครองในเรื่องนี้อยู่แล้ว และบริษัทประกันภัยทุกแห่งมีความพร้อมที่จะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ต่อไปเป็น ประกันภัยสำหรับอาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม ปกติแล้วนิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้ทำประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน หรือที่เรียกว่า Industrial All Risk (IAR) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายของตัวอาคารส่วนกลาง เช่น โครงสร้างอาคาร ลิฟต์ บันได ทางเดิน ล็อบบี้ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องประชุม และทรัพย์สินอื่นที่เป็นของส่วนกลาง

เจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการควรตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองว่าได้มีการขยายความคุ้มครองหรือเพิ่มความคุ้มครองจากมาตรฐานทั่วไปหรือไม่ เพราะกรมธรรม์แต่ละฉบับอาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน

ทั้งนี้กรมธรรม์ประเภทนี้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 450,000 ฉบับ และในภูมิภาคต่างๆ ประมาณ 661,000 ฉบับ รวมทั้งประเทศประมาณ 1.1 ล้านฉบับ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับภัยแผ่นดินไหว

ถัดประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน (Industrial All Risk)เป็นประกันภัยอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น ผู้ประกอบการร้านค้าทั่วไป สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งกรมธรรม์ประเภทนี้จะคุ้มครองความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัยจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่ได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไปแล้ว กรมธรรม์ประเภทนี้ไม่ได้ยกเว้นเรื่องภัยแผ่นดินไหว ซึ่งหมายความว่าได้รับความคุ้มครอง

อาจมีการกำหนดวงเงินจำกัดความรับผิด (Sub-limit) สำหรับภัยแผ่นดินไหวไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์ของตนเองให้ชัดเจน

ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ความคุ้มครองดังนี้ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองในเรื่องภัยจากแผ่นดินไหว 100% ไม่มีข้อยกเว้น รวมถึงกรณีที่มีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างพังทลายมาทับรถยนต์ หรือกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2, 3 และ 5 (2+ หรือ 3+)

โดยมาตรฐานอาจไม่ได้รวมความคุ้มครองเรื่องแผ่นดินไหวไว้ แต่ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทประกันภัย บางบริษัทรวมความคุ้มครองนี้ไว้ในกรมธรรม์เลย ในขณะที่บางบริษัทกำหนดให้เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ต้องซื้อแยกต่างหาก

อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์ของตนเองให้ชัดเจน หากรถยนต์ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว เช่น มีกำแพงหรือป้ายโฆษณาล้มทับ หรือมีเศษวัสดุหล่นใส่รถ ก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่ารัฐบาลต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ และมาตรการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างอาคาร ทั้งสำนักงาน โรงงาน อาคารสูง และสิ่งปลูกสร้างในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงมาตรฐานผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ระบบควบคุมอาคารและการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ในทุกจังหวัด

โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เพื่อเสริมความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เร่งรัดมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการประสานผู้ประกอบการด้านก่อสร้างและวัสดุ เพื่อซ่อมแซมอาคารและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด อันจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน

อ่านข่าว:

 "ระบบเตือนภัย" ไม่ทันภัยพิบัติ ใช้ SMS รอ Cell Broadcast

20 ปี เตือนภัยพิบัติ SMS ไม่เวิร์ค เซล บรอดแคสท์ ยังไม่เกิด

“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”

 

 


150 ปี สตง. ผู้พิทักษ์เงินแผ่นดิน เผชิญวิกฤตโปร่งใสตึกใหม่พังถล่ม

Tue, 1 Apr 2025 14:10:00

"สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน" หรือที่รู้จักในชื่อย่อ "สตง." หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย มีภารกิจหลักในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณแผ่นดินถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

สตง. ดำเนินงานภายใต้การกำกับของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการบริหาร โดยมี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้บริหารสูงสุด ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แต่กำลังเผชิญสถานการณ์ที่ท้าทายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุด

150 ปี จุดกำเนิด สตง.

ประวัติศาสตร์ของ สตง. เริ่มต้นในสมัย ร.5 เมื่อมีการออก พ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ.2418 เพื่อจัดตั้งหน่วยงานดูแลและตรวจสอบการเงินของราชสำนักและรัฐ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการตรวจเงินแผ่นดินในประเทศไทย

ต่อมาในสมัย ร.6 และ ร.7 มีการปรับปรุงโครงสร้างให้ทันสมัยขึ้นตามแบบตะวันตก เช่น การตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินในปี 2469 จนกระทั่งได้รับการยกระดับเป็นหน่วยงานอิสระตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 312 และ 333 กำหนดให้ สตง. มีอำนาจอิสระในการตรวจสอบหน่วยงานรัฐทุกประเภท รวมถึงกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อรักษาความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่

3 ภารกิจหลัก-ขอบเขตงาน สตง.

  1. การตรวจสอบบัญชี (Financial Audit) ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของงบการเงินและบัญชีของหน่วยงานรัฐ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของเงินงบประมาณ

  2. การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit) ตรวจสอบว่าการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของรัฐเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  3. การตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit) ประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของโครงการหรือการใช้เงินงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

นอกเหนือจากการตรวจสอบเหล่านี้แล้ว สตง. ยังมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อ รัฐสภา และ คณะรัฐมนตรี เป็นประจำทุกปี รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ www.audit.go.th เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการใช้จ่ายของภาครัฐ ตัวอย่าง เช่น การตรวจสอบโครงการจัดซื้อเครื่องบินของกองทัพ หรือการบริหารทรัพย์สินของรัฐที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสีย

ปัจจุบัน สตง. มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ และขยายการดำเนินงานผ่านสำนักงานภูมิภาค กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี สงขลา และนครศรีธรรมราช เพื่อให้การตรวจสอบครอบคลุมทุกภูมิภาคและตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น

นอกจากนี้ สตง. ยังมีแผนพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยหนึ่งในโครงการสำคัญคือการก่อสร้าง อาคารสำนักงานแห่งใหม่ บนเนื้อที่ 11 ไร่ ย่านจตุจักร กรุงเทพมหานคร อาคารนี้มีความสูง 30 ชั้น ออกแบบให้ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยงบประมาณรวมกว่า 2,560 ล้านบาท ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซี (อิตาเลียนไทย และ ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10) เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2563 และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2569 โครงการนี้ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและรองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต

บทบาทในการส่งเสริมธรรมาภิบาล

นอกเหนือจากการตรวจสอบ สตง. ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม ธรรมาภิบาล (Good Governance) ในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบการเงินและการบริหารจัดการ รวมถึงจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่าง ๆ สตง. มักถูกมองว่าเป็น "ผู้พิทักษ์เงินแผ่นดิน" ที่คอยตรวจจับความผิดปกติและป้องกันการทุจริต

อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ถูกวิจารณ์ว่ามีแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดเกินไป หรืออาจทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่ สตง. ยังคงยืนยันถึงความจำเป็นของการดำรงอยู่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

วิกฤต สตง. ตึกใหม่ถล่มจากแผ่นดินไหว

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ศูนย์กลางอยู่ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความลึก 10 กม. แรงสั่นสะเทือนแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและกรุงเทพมหานคร

ส่งผลให้อาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างย่านจตุจักร ถล่มลงมาทั้งหลัง ขณะนั้นการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 30 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แถลงเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 ว่า ขณะเกิดเหตุมีคนงานก่อสร้างอยู่ในไซต์จำนวนมาก เสียชีวิตเบื้องต้น 3 คน บาดเจ็บ 17 คน และกำลังค้นหากว่า 83 คน คาดว่ายังมีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจำนวนมาก

ทีมกู้ภัยทั้งในประเทศและหน่วยกู้ภัยนานาชาติ ระดมกำลังเข้าค้นหาผู้รอดชีวิต โดยใช้เครื่องจักรหนัก หุ่นยนต์ตรวจจับความร้อน และโดรนบินสำรวจ ฝุ่นควันจากซากตึกสูงนับร้อยเมตร สร้างความวิตกกังวลให้กับชาวกรุงเทพฯ ในวงกว้าง

จากผู้ตรวจสอบ สู่ผู้ (กำลังจะ) ถูกตรวจสอบ

เหตุการณ์นี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ สตง. จากหน่วยงานที่เคยมีชื่อเสียงในการตรวจสอบความไม่โปร่งใสและความสูญเปล่าของหน่วยงานอื่น วันนี้กลับต้องเผชิญการตรวจสอบตัวเองอย่างเข้มข้น สตง. ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2568 ว่า โครงสร้างอาคารได้รับการออกแบบให้ทนต่อแผ่นดินไหวตาม มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง และยืนยันว่าไม่มีการลดสเปกวัสดุหรือการก่อสร้างใด ๆ

อย่างไรก็ตาม การถล่มแบบ "Total collapse" อาคารพังราบทั้งหลัง ทำให้เกิดคำถามถึงคุณภาพการก่อสร้างและการกำกับดูแลโครงการ ทำให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงทันที โดยสั่งการให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงาน ระดมทุกสรรพกำลัง จากทั้งภาครัฐ เอกชน และอาสาสมัครในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ดังกล่าว คาดรู้ผลเบื้องต้นภายใน 7 วัน

เหตุการณ์นี้จุดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชน ประชาชนตั้งคำถามว่า โครงการมูลค่ากว่า 2,560 ล้านบาทนี้ มีการทุจริตหรือการบริหารจัดการที่ผิดพลาดหรือไม่ นอกจากนี้ อดีตวิศวกรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชี้ อาคาร สตง.ถล่ม ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองเพราะสัญญาจ้างระบุชัดเจน และหากพบการละเมิดอาจนำไปสู่การฟ้องร้องทางแพ่งและอาญา

ขณะที่บางฝ่ายมองว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงเกินกว่าที่โครงสร้างทั่วไปจะรับไหว แต่คำถามที่ยังค้างคาคือ เหตุใดอาคารอื่นในบริเวณใกล้เคียง เช่น ห้างสรรพสินค้าและคอนโดมิเนียม จึงไม่ถล่มเช่นกัน สถานการณ์นี้กลายเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของ สตง. ที่ต้องพิสูจน์ความโปร่งใสของตัวเองในฐานะหน่วยงานที่ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล

เหตุตึกถล่มไม่เพียงสร้างความเสียหายทางกายภาพและสูญเสียชีวิต แต่ยังกระทบต่อภาพลักษณ์ของ สตง. อย่างหนัก หลังจากนี้ สตง. จะต้องเผชิญกับการตรวจสอบจากทั้งหน่วยงานรัฐและสายตาของประชาชน รวมถึงต้องวางแผนฟื้นฟูโครงการใหม่ ซึ่งอาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมและเวลาอีกหลายปี

แหล่งข้อมูล :

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, รธน.2540 มาตรา 312, 333

 

อ่านข่าวอื่น :

"เอกนัฏ" ตรวจซ้ำ รง.เหล็ก ต้นตอตึก สตง.ถล่ม ระบุทีมถูกข่มขู่-วิ่งเต้น

เช็กสิทธิสวัสดิการแรงงานไทย-แรงงานข้ามชาติตายแผ่นดินไหว

"ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม


วิเคราะห์ลดขั้นตอนเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast รวดเร็ว-ป้องกันโกลาหล

Tue, 1 Apr 2025 13:36:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ศูนย์กลางประเทศเมียนมา ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สิ่งที่คนพูดถึงกันมาก คือ ระบบการแจ้งเตือนภัย ที่ภาครัฐส่งถึงประชาชนได้ช้ามาก

ซึ่งเมื่อวานนี้ (31 มี.ค.) มีการประชุมกันเรื่องนี้ โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำ ถึงการแจ้งเตือนภัยผ่านการส่งข้อความสั้นด้วย SMS ก่อนที่ระบบ Cell Broadcast จะได้รับการอนุมัติใช้งานในกลางปีนี้ และใช้วิธีการส่งตรงจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และส่งถึงประชาชนโดยตรง เพื่อให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การแจ้งเตือนภัยพิบัติที่ต้องการความรวดเร็ว และครอบคลุมประชาชนจำนวนมาก ระบบ CBS หรือ Cell Broadcast Service (CBS ) ถือเป็นทางเลือกที่ประสิทธิภาพมากกว่า Short Message Service (SMS)

ดังนั้นมาดูลักษณะ ของ Cell Broadcast Service และการทำงานกัน โดย Cell Broadcast Service จะส่งข้อความถึงทุกเครื่องในพื้นที่พร้อมกันในครั้งเดียว (แบบ broadcast) มีเสียงเตือนดังพิเศษแม้เปิดโหมดเงียบ ข้อความจะ Pop-up ขึ้นมาบนหน้าจอทันที เจาะจงพื้นที่ได้ ส่งเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย ไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม และทุกเครื่องรับได้เลยแม้เครือข่ายจะหนาแน่น

ซึ่งการปรับวิธีการส่งข้อความสั้นเตือนภัย ดร.ศิรินันต์ สุวรรณโมลี นักวิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติ ระบุว่าปัจจุบันที่ยังมีกลไกการส่งผ่าน กสทช.เพราะเนื่องจากอยู่ในระบบที่ส่งแบบ SMS ซึ่งในอนาคตตัวระบบโครงสร้างของ Cell Broadcast ที่สามารถส่งได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมี 3 ขั้นตอน คือเมื่อมีการตรวจจับได้ จะมีการส่งมาที่กรมอุตุนิยมวิทยา คือการส่ง message ผ่าน Cell Broadcast ให้กับผู้ใช้บริการผ่านเครือข่ายโดยตรงเลย

อ่านข่าว : รู้ทันที! "Cell Broadcast" เทคโนโลยีแจ้งเตือนภัยพิบัติใช้กันทั่วโลก

โดยประเทศญี่ปุ่นใช้มาตรฐานที่มีคณะกรรมการประเมินระดับสถานการณ์ภัย พร้อมกับร่างตัวข้อความล่วงหน้าสำหรับฉากทัศน์ และระบบ Cell Broadcast จะดึงข้อความอนุมัติเมื่อเกิดเหตุที่ต้องแจ้งเตือนภัย

สำหรับประเทศไทยความล่าช้า 1.ตัวโครงสร้างพื้นฐานระดับ 2.กระบวนการสร้างข้อความ ที่เหมาะสม 3.กระบวนการอนุมัติที่สามารถส่งได้ครั้งละ 200,000 ข้อความ

ทั้งนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้มีการตั้งคณะกรรมการ Cell Broadcast ได้มีการร่างข้อความอนุมัติไว้ เพียงแต่น่าจะยังอยู่ในกระบวนการประสานงานกับทาง ปภ. จึงมองว่าควรใช้โอกาสนี้ในการผลักดันให้เร็วขึ้น และนำมาทดลองใช้จริง จะช่วยทำให้กระบวนการสั้นขึ้น ที่ไม่ต้องรอการร่างข้อความแบบจากคน แต่สามารถใช้ข้อความอัตโนมัติที่ร่างไว้แล้ว และส่งอนุมัติเมื่อมีการแจ้งเตือน

สำหรับกรณีโทรศัพท์ Android และ IOS ต้องมีการพูดคุยกับทางผู้ให้บริการเครือข่ายในการแก้ระบบเทคนิค แต่ถ้าเป็นต่างประเทศผู้ให้บริการเครือข่ายมีการแก้ปัญหาระบบทางเทคนิคแล้ว ซึ่งสามารถรับข้อความแจ้งเตือนได้ทันที แม้กระทั่งแม้ไม่ได้ใส่ซิมโทรศัพท์แต่เปิดรับสัญญาณก็สามารถส่งได้ทันที 

อ่านข่าว : กทม.ยกเลิกประกาศเขตประสบภัยแผ่นดินไหว ชี้ภาพรวมคลี่คลาย

ขณะที่ระบบ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จะเริ่มใช้ช่วงเดือน ก.ค.ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้ระบบการเตือนภัย โดยต้องมีการประเมินความเสี่ยงแต่ละฉากทัศน์กันใหม่ เพราะความเสี่ยงต่างๆ ที่ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้กลับมาสู่การประเมินแต่อย่างใด และเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงใหม่แล้ว ต้องมีการสร้างข้อความอัตโนมัติที่ให้เหมาะสมกับแต่ละบริบทเพื่อเป็นการสื่อสารในภาวะวิกฤต

ซึ่งจะเห็นได้จากปรากฏการณ์วิ่งฟรีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2568 ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นถ้าก่อนหน้านั้นมีระบบที่เชื่อใจได้ว่าขณะนี้เกิดสถานการณ์ แล้วจะได้ออกไปข้างนอกได้อย่างปลอดภัย

ถ้ามียังไม่มีข้อความแจ้งเตือนจะเป็นการตื่นตระหนก และจะทำให้เกิดเหตุการณ์โกลาหลที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เกิดขึ้นเรื่อยการมีข้อความที่รวดเร็ว และเชื่อถือได้จะควบคุมความโกลาหลได้อย่างดี

สำหรับการรับมือด้านภัยพิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาล มองว่าต้องมีการประเมินขั้นที่ 1 ซึ่งยอมรับว่าระดับความรุนแรงของภัยที่ได้รับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากมีเหตุการณ์อาคารถล่มจึงทำให้รู้สึกว่ารุนแรงและไทยเองก็มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ปี 2555 เรื่องการควบคุมอาคารที่สร้างให้ทนกับเหตุแผ่นดินไหวอยู่แล้ว

แต่ที่ยังไม่ล้อมคอก คือเรื่องการจัดการความโกลาหลที่เกิดขึ้นตามมาของคน ด้วยความที่ไม่รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เรื่องของแพนิค เรื่องของคนวิ่งนำ ซึ่งยังไม่มีมาตรการเชิงสังคมที่จะเข้ามาควบคุม

อ่านข่าว : การสื่อสารจากรัฐในเหตุวิกฤต หรือ วิกฤตการสื่อสารของรัฐ

ดร.ศิรินันต์ ยังได้มีข้อเสนอ 1.ต้องมีการทำแผน public safety คือความปลอดภัยสาธารณะในอนาคต ความปลอดภัยในอนาคต ต้องมีการทำแผนการการคำนวณความหนาแน่นประชาชน เวลาในการอพยพ และจุดปลอดภัยหรือจุดรวมพลให้พ้นจากแนวอาคาร 2.คนไปอยู่จุดอพยพหรือจุดปลอดภัย แต่ถ้าไม่มีการซ้อมหรือการดูแลกลุ่มเปราะบางที่มีอาการเจ็บป่วยตามมา ซึ่งนอกจากรัฐบาลแล้ว ภาคเอกชนต้องตื่นตัวในการจัดทำแผนด้วย

หลังเหตุการณ์นี้ภาวะผู้นำของการจัดการภัยพิบัติที่ดีในตอนนี้นั้น ดร.ศิรินันต์ มองว่าไม่ใช่ภาวะของการไล่บี้คนกระทำผิด แต่เป็นภาวะของการถอดบทเรียนและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ควรทำ หรือช่องว่างที่ควรแก้ไข

นอกจากนี้หน้าที่และภาวะผู้นำคือการใช้ข้อมูลผลักดันในการแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้ที่มีความจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงของอาคารเพื่อสร้างความมั่นใจ เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตระหนก และความโกลาหล รวมถึงการบัญชาการในเหตุภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการทำให้คนเกิดความเชื่อใจ ความมั่นคง และรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนข้างหน้าได้

อ่านข่าว :

"ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม

"บิณฑ์" เผยผลสแกนตึก สตง.ถล่ม พบภาพสัญญาณมนุษย์กลุ่มใหญ่ ชั้น 17 - 21

ไขปม! แผ่นดินไหวไทย 22 ครั้ง จับตาอาฟเตอร์ช็อกต่อ 2 สัปดาห์


สพฐ.เคาะวันสอบเข้า ม.1 ม.4 ใหม่ 5-6 เม.ย.นี้

Tue, 1 Apr 2025 13:21:00

วันที่ 31 มี.ค.2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 และ สพฐ.ได้สั่งเลื่อนการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น ม. 1 และ ม. 4 ออกไปก่อนนั้น จึงแจ้งให้ ผอ.สพท. และ ผอ.สศศ.แจ้งสถานศึกษาในสังกัดฯ ดำเนินการสอบนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อ ดังนี้

ทั้งนี้ หากสถานศึกษาใดยังไม่มีความพร้อม และยังไม่มีความปลอดภัยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาใช้ดุลยพินิจ เลื่อนออกไปก่อนได้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองเป็นสำคัญ

สำหรับการจัดห้องสอบ ให้สถานศึกษาพิจารณาใช้อาคารที่มีความมั่นคงปลอดภัย และไม่ใช้ห้องสอบในชั้นที่สูง ๆ, ให้สถานศึกษาทุกแห่งเตรียมการ วางแผน อพยพ แผนเผชิญเหตุ กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ ไว้ตามแนวทางที่ สพฐ.เคยแจ้งไว้ รวมทั้งประสานหน่วยงานข้างเคียง เช่น ปภ. ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น ฯ

สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 มี.ค.2568 เวลา 15.00 น. พบว่า โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ ได้รับความเสียหายทั้งหมด 2,465 แห่ง แบ่งกลุ่มเป็น เสียหายเล็กน้อย/ไม่เสียหาย จำนวน 2,110 แห่ง เสียหายปานกลาง จำนวน 307 แห่ง และเสียหายมาก จำนวน 48 แห่ง

ในส่วนโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายหนัก มีทั้งอาคารเกิดการทรุดตัว โครงสร้างอาคารมีการพังถล่ม อาคารเคลื่อนตัวออกจากฐานราก และพื้นผิวรอบเสามีรอยฉีกขาดอย่างรุนแรง โดยจังหวัดที่มีโรงเรียนรายงานผลกระทบเข้ามามากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 190 แห่ง ลำปาง 141 แห่ง กรุงเทพฯ 123 แห่ง กาญจนบุรี 122 แห่ง และพิจิตร 119 แห่ง ตามลำดับ ขณะนี้ได้เร่งให้ทำการสำรวจให้แล้วเสร็จภายในวันนี้ เพื่อประเมินสถานการณ์และช่วยเหลือโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วต่อไป

อ่านข่าว : กทม.ยกเลิกประกาศเขตประสบภัยแผ่นดินไหว ชี้ภาพรวมคลี่คลาย 

"ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม 

สพฐ.สั่งด่วน เลื่อนวันสอบเข้า ม.1 - ม.4 หลังเหตุแผ่นดินไหว 


เช็กสิทธิสวัสดิการแรงงานไทย-แรงงานข้ามชาติตายแผ่นดินไหว

Tue, 1 Apr 2025 12:25:47

ความคืบหน้าเหตุตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 30 ชั้นที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่มจากแผ่นดินไหว ซึ่งพบผู้เสียชีวิตแล้ว 13 คนบาดเจ็บ 19 สูญหาย 74 คน 

วันนี้ (1 เม.ย.2568) เจ้าหน้าที่ส่งร่างของนายบุญรอด โอทาตะวงค์ หรือหลอดอายุ 33 ปี แรงงานไทยที่เสียชีวิตจากเหตุตึกสตง.ถล่ม กลับมาประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านเกิดใน ต.วังตามัว อ.เมืองนครพนม โดยมีพ่อแม่และคนในชุมชนมารอรับร่างด้วยความเศร้าโศก หลังติดตามภารกิจการค้นหาของเจ้าหน้าที่ จนพบร่างนายบุญรอด ก่อนจะส่งตรวจอัตลักษณ์บุคคล เพื่อส่งศพให้กับครอบครัว

ครอบครัวของ 1 ในแรงงานที่เสียชีวิตตึกสตง.ถล่มรอรับร่างลูกชาย

ครอบครัวของ 1 ในแรงงานที่เสียชีวิตตึกสตง.ถล่มรอรับร่างลูกชาย

แม่ของแรงงานที่เสียชีวิตบอกว่า มีลูกทั้งหมด 5 คน และนายบุญหลอดเป็นคนที่ 2 ที่ยังไม่แต่งงาน และเป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ครอบครัวมีฐานะยากจนพ่อและแม่ต้องรับจ้างทำนา และรับจ้างทั่วไป ลูกไปทำงานก่อสร้างและจะคอยส่งเงินมาให้เดือนละ 3,000 บาท

ลูกกำลังจะกลับมาเยี่ยมครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่มาเสียชีวิตจากแผ่นดินไหว ซึ่งตอนรู้ข่าวตึกถล่ม ก็ภาวนาว่าอย่าให้มีลูกตัวเอง จนเพิ่งได้รู้ข่าวว่าลูกชายเสียชีวิต

อ่านข่าว "บิณฑ์" เผยผลสแกนตึก สตง.ถล่ม พบภาพสัญญาณมนุษย์กลุ่มใหญ่ ชั้น 17 - 21

ส่วนคนในชุมชนที่มีอาชีพเป็นผู้รับเหมา และเป็นหัวหน้างานของนายบุญรอดที่เคยทำงานร่วมกัน ซึ่งหลังทราบข่าวตึกถล่มก็ภาวนาให้บุญรอดปลอดภัย แต่ต้องสูญเสียลูกน้องฝีมือดี 

ทั้งนี้มีคนในชุมชน มีอาชีพเป็นช่างและกรรมกรที่เดินทางไปทำงานที่ตึกสตง. 20 คน เสียชีวิต 1 คน และอีกหนึ่งคนคือนายจักรกฤษณ์ ศิลารัก หรือจักร อายุ 17 ปี ยังสูญหายหลังเหตุการณ์ผ่านมา 3 วันแล้ว

เช็กเงื่อนไขประกันสังคมเยียวยาแรงงานแผ่นดินไหว

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ร่วมกำลังใจและแสดงความเสียใจต่อครอบครัวลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 2 คน คือ นายธีระพงษ์ อายุ 37 ปี และนายนอย อายุ 53 ปี รวมถึงได้แจ้งสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม ดังนี้

นายธีระพงษ์ อายุ 37 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงิน รวม 1.7 ล้านบาท
แบ่งเป็น สิทธิกองทุนเงินทดแทน

อ่านข่าว ไขปม! แผ่นดินไหวไทย 22 ครั้ง จับตาอาฟเตอร์ช็อกต่อ 2 สัปดาห์

ส่วนนายนอย อายุ 53 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 900,000 บาทแบ่งเป็นสิทธิกองทุนเงินทดแทน

สำนักงานประกันสังคม เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิทั้ง 2 คน รวม 2.7 ล้านบาท ทั้งนี้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 จัดตั้งศูนย์ประสานและชี้แจงสิทธิประกันสังคม ณ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่ออำนวยความสะดวก บริการให้ข้อมูลเรื่องการเบิกจ่ายสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม และประสานงานระหว่างสำนักงานประกันสังคมและทายาทผู้มีสิทธิของผู้เสียชีวิต

อ่านข่าว  “ทวี” ชี้บริษัทรับเหมาจีน สร้างตึก สตง.เข้าข่ายฮั้วประมูล

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน หารือกับสำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออัปเดตสถานการณ์และแนวทางช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในไทย

จากรายงานล่าสุด (31 มี.ค.) มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว 18 คน จำนวนนี้เป็นผู้ประกันตน 10 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นผู้ประกันตน 13 คน โดยสำนักงานประกันสังคมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ขณะที่แนวทางช่วยเหลือ หากผู้ได้รับผลกระทบเป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิช่วยเหลือตามกฎหมาย ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมทั้งชาวไทยและแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงานจะหารือกับบริษัทผู้รับเหมาถึงแนวทางเยียวยาเพิ่มเติม

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงา

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงา

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากเหตุแผ่นดินไหว กรมการจัดหางานได้มีมาตรการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศ

อ่านข่าว "ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม

แรงงานไทยในประเทศเมียนมา (สมาชิกกองทุนฯ)

แรงงานต่างชาติในประเทศไทย

กรณีอยู่ในระบบประกันสังคม

กรณีซื้อประกันสุขภาพ (บริษัทประกันเอกชน)

ทั้งนี้ แรงงาน นายจ้าง และสถานประกอบการ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1–10

อ่านข่าว

พบผู้เสียชีวิตใต้ซากตึกถล่มเพิ่ม 5 คน เร่งกู้ร่างออก

กทม.ยกเลิกประกาศเขตประสบภัยแผ่นดินไหว ชี้ภาพรวมคลี่คลาย

 


คน กทม.76.4% แก๊งคอลเซนเตอร์เคยติดต่อหลอกลวง จี้รัฐปราบจริงจัง

Tue, 1 Apr 2025 07:42:00

วันที่ (1 เม.ย.2568) ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงของคอลเซนเตอร์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,179 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 11 - 18 มี.ค.2568 

ผศ.ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่อง ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องปัญหาการหลอกลวงของคอลเซนเตอร์ สร้างความเสียหายต่อประเทศไทยจำนวนมหาศาลทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว ภัยการหลอกลวงทางโทรศัพท์ มิจฉาชีพคอลเซนเตอร์ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์ (Call Center) เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศรูปแบบหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเหยื่อจำนวนมากแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในภาพรวมระดับประเทศอีกด้วย

การแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ของไทย การปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์ สร้างสายด่วนให้ติดต่อในกรณีที่ถูกหลอกลวง หรือการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนไม่หลงเชื่อกลลวงของมิจฉาชีพ ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตประชาชนไทย และประชาคมโลกภัยคอลเซนเตอร์ ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติที่เป็นภัยร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารที่การติดต่อในรูปแบบดิจิทัลมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นการหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 88 และพบเห็นการหลอกลวงของ คอลเซนเตอร์ผ่านการโทรเข้าเบอร์มือถือ ร้อยละ 70 รองลงมาผ่าน SMS ร้อยละ 19.3

เคยได้รับการติดต่อจากคอลเซนเตอร์ที่มาทำการการหลอกลวง ร้อยละ 76.4 และรู้จักบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงของคอลเซนเตอร์ ร้อยละ 50.3

ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมองว่า ร้อยละ 75.5 ไม่สามารถรู้เท่าทันการหลอกลวงได้ และไม่เคยตรวจสอบการติดต่อของคอลเซนเตอร์ ที่มาทำการการหลอกลวง ร้อยละ 45.9

ขณะที่รู้สึกว่าการหลอกลวงของคอลเซนเตอร์ เป็นเรื่องไม่ปกติ นอกจากนี้ร้อยละ 64.4 ไม่คิดว่าในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้มงวดในการป้องกันและปราบปราบ การหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์ ร้อยละ 39.7

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปราบ การหลอกลวงของคอลเซนเตอร์ อย่างจริงจัง ร้อยละ 89.5

อ่านข่าว :

"กามิน" แจ้งความ ตร. เอาผิดมือตัดต่อภาพโพสต์ให้เสียหาย

ขอฝากขัง "เอ็ม เอกชาติ" ยึดทรัพย์ 50 ล้าน คดีสมคบฟอกเงินเว็บพนัน


รมว.สธ. เผยหลังเหตุแผ่นดินไหว รพ.ยังมีอาคารปิด 6 แห่ง

Mon, 31 Mar 2025 16:40:00

วันที่ (31 มี.ค.68) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนอพยพออกจากตึกสูงหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพฯว่า การอพยพอยากขอเน้นย้ำให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักด้วย ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้มีข้อปฏิบัติแนะนำการอพยพอย่างปลอดภัยให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตามได้

ตนจึงขอให้พี่น้องประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และอย่าวิตกกังวลมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเครียด จนเป็นโรคได้ โดยพี่น้องประชาชน ควรติดตามข่าวสาร จากหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก จะได้ไม่เกิดปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งหากพี่น้องประชาชน มีความวิตกกังวล จนพบอาการผิดปกติ ก็สามารถโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชม.

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากการอพยพของพี่น้องประชาชนบนตึกสูงใน กทม.หลายแห่งวันนี้ ได้เน้นย้ำให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข เฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

พร้อมส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินไปตามอาคารสูงที่แจ้งให้พี่น้องประชาชน เร่งอพยพทั้งหมด เพื่อเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนเป็นการเร่งด่วน หากเกิดเหตุขึ้น รวมถึงช่วยประเมินอาการของพี่น้องประชาชน ที่ช่วงอพยพอาจเจ็บป่วย หรือ ได้รับบาดเจ็บได้

อ่านข่าว : ปภ.-ชัชชาติ ยันอาฟเตอร์ช็อก 3.7 ไม่กระทบตึก กทม.สั่นไหว

ส่วนหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข หลังได้รับผลกระทบ 9 เขตสุขภาพ 43 จังหวัด ส่งผลกระทบ 463 หน่วยงาน 687 อาคาร ซึ่งเปิดปกติแล้ว 681 อาคาร และยังปิดชั่วคราว 6 อาคาร คือ 1.โรงพยาบาลเทพรัตน์เวชชานุกูล จ.เชียงใหม่ แฟลตเจ้าหน้าที่โครงสร้างเสียหาย รอประเมินโดยโยธาธิการจังหวัด 2.โรงพยาบาลพรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร อาคาร 4 ชั้น 3.โรงพยาบาลบางมูลนาก จ.พิจิตร

4.โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อาคาร 4 ชั้น วิศวกรประเมินให้ระงับการใช้งานและซ่อมแซมโดยด่วน 5.โรงพยาบาลสมุทรสาคร อาคาร 12 ชั้น แตกร้าว และ 6.โรงพยาบาลพระยืน จ.ขอนแก่น แฟลตที่พักอาศัย 3 ชั้น โครงสร้างอาคารแตกร้าว

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข

ส่วนหน่วยบริการในกทม.ที่ได้รับผลกระทบมี 2 แห่ง คือ 1.โรงพยาบาลเลิดสิน พบความเสียหาย แต่ไม่กระทบต่อโครงสร้าง ยกเว้นส่วนทางเชื่อมต่ออาคารกาญจนาภิเษก ที่ยังใช้งานไม่ได้ 2.โรงพยาบาลราชวิถี อาคารนวมินทราธิราช พบความเสียหายที่อาจกระทบต่อโครงสร้างอาคาร จึงงดใช้อาคาร และส่งต่อผู้ป่วย 133 ราย ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง

ทั้งนี้ ได้กำชับให้มีการตรวจสอบและออกใบรายงานความปลอดภัยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดให้บริการประชาชนด้วย

อ่านข่าว : อาฟเตอร์ช็อก 3.7 ในเมียนมา ไม่กระทบตึกไทย 

รพ.ตำรวจ แจ้ง "อาฟเตอร์ช็อก" ขนาดเล็กในเมียนมา ไม่ส่งผลกระทบอาคาร  

เช็กรอยร้าว อาคาร-บ้าน-คอนโด หลังแผ่นดินไหว แบบไหนอันตราย  

 

 


“สุริยะ” ชงครม.เปิด “มอเตอร์เวย์” วิ่งฟรี 7 วันรับสงกรานต์ 68

Mon, 31 Mar 2025 15:23:00

วันนี้ (31 มี.ค.2568) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 เม.ย.นี้ กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอที่ประชุมเห็นชอบการยกเว้นค่าผ่านทาง หรือ ทางด่วนฟรี บนทางหลวงพิเศษ หรือมอเตอร์เวย์ฟรีหมายเลข 7 และหมายเลข 9 รวมระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่เวลา 00.01 น.ของวันที่ 11 เม.ย.นี้ ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 17 เม.ย.นี้

โดยกระทรวงคมนาคม จะเสนอการเว้นค่าทางด่วนช่วงสงกรานต์ปีนี้ ให้ครม. อนุมัติ โดยจะมีระยะเวลา 7 วัน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้ประชาชน

สำหรับการประกาศให้ขึ้นทางด่วนฟรี ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้จัดทำกำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษดังต่อไปนี้ 1.ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา

อ่านข่าว ครม.ทุ่ม 153 ล้านบาทจัดสงกรานต์สนามหลวง

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม

รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้า ท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ-บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง พ.ศ.2564

อ่านข่าว มอเตอร์เวย์ M6 หินกอง-ปากช่อง เปิดวิ่งสงกรานต์ 11 เม.ย.นี้

2.ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ก) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง-บางแค ช่วงพระประแดง -ต่างระดับบางขุนเทียน ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม การใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง-บางแค ช่วงพระประแดง-ต่างระดับ บางขุนเทียน พ.ศ.2555 (ข)

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน -บางพลี ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน -บางพลี พ.ศ.2558

ส่วนการยกเว้นค่าผ่านทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ขณะนี้ยังรอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

อ่านข่าว

เผยโฉมนางสงกรานต์ 2568 "ทุงสะเทวี" ทำนาย ปชช.จะเป็นสุขสมบูรณ์

 

 


แนะ 8 วิธีแก้อาการ "โรคสมองเมาแผ่นดินไหว"

Mon, 31 Mar 2025 14:31:56

วันนี้ (31 มี.ค.2568) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหว ไม่เพียงแค่ผลกระทบต่อสิ่งก่อสร้างเสียหาย แต่ยังทำให้ประชาชนทั้งในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลเผชิญกับภาวะโรค ที่มีชื่อว่า "เมาแผ่นดินไหว" หรือ "โรคเวียนหัวหลังแผ่นดินไหว" ทำให้รู้สึกเหมือนตนเองกำลังโคลงเคลงหรือเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัวของมนุษย์ 

เช็กอาการ! โรคสมองเมาแผ่นดินไหว-แผ่นดินไหวทิพย์

การเผชิญกับภาวะโรคสมองเมาแผ่นดินไหว ในบางรายอาจมีผลกระทบที่รุนแรงและอาจกินระยะเวลาหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลและโรคไมเกรน ซึ่งจะมีแนวโน้มและอาการมากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีการบรรเทาโรคสมองเมาแผ่นดินไหว และวิธีจัดการความเครียด ดังต่อไปนี้

1. สูดหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ช้าๆ เหมือนการทำสมาธิ จะช่วยให้ผ่อนคลาย และระบบการทรงตัวจะค่อย ๆ เริ่มกลับมาทำงานอย่างปกติ

2. ดื่มน้ำเปล่าสะอาด หรือน้ำขิง และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

3. พักสายตาจากหน้าจอมือถือ หยุดการเพ่งหรือจ้องมองหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ รวมถึงการไถฟีดข่าว เพราะสายตาจะเห็นการเคลื่อนไหวตลอดเวลา

4. มองไปที่จุดไกล ๆ ภาพที่ผ่อนคลายสบายตา เช่น เส้นขอบฟ้า ผืนนา และภาพธรรมชาติต่างๆ หรือนอนราบลงจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น

5. พูดคุยกับผู้อื่น เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้รู้สึกว่ามีเพื่อนที่เข้าใจและผ่านเหตุการณ์เดียวกันมา

6. หลีกเลี่ยงการติดตามข่าวเกี่ยวกับการสูญเสีย หรือจำกัดเวลาในการติดตามข่าว เพราะจะเป็นการกระตุ้นความเครียดได้ง่าย

7. หาที่พักที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หากยังรู้สึกตื่นตระหนกอยู่ ควรไปนอนพักที่ในสถานที่รู้สึกปลอดภัยก่อน

8. สามารถกินยาแก้เมารถ เพื่อรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ แล้วนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ หากใครที่ปวดหัวหลังแผ่นดินไหว ก็สามารถกินยาแก้ปวดรักษาตามอาการได้

ทั้งนี้หากประชาชนยังมีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถขอคำปรึกษาผ่าน http://here2healproject.com ซึ่งเป็นโครงการระบบบริการปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์ผ่านข้อความแชท เพื่อให้เข้าถึงการบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต โดยจะมีข้อแนะนำการดูแลจิตใจตนเองในเบื้องต้น ทั้งนี้ หากยังมีอาการไม่หายภายใน 1 สัปดาห์ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที หรือหากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อไปที่สายด่วน เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร 1669 หรือสายด่วนสุขภาพจิต โทร 1323

อ่านข่าว :

ได้ใช้จริง! โรงเรียนในเชียงใหม่ ฝึกนักเรียนเอาตัวรอด "แผ่นดินไหว"

ทางด่วนด่านดินแดงขาเข้า-ออกเปิดแล้ว ปชช.มารอใช้บริการ

กรมโยธาฯ ระดม 200 วิศวกร ตรวจอาคารกระทบแผ่นดินไหว รายงานผลใน 7 วัน 


รู้จัก "ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ"

Mon, 31 Mar 2025 11:01:34

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ตั้งอยู่ที่ ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมที่ทำการของหน่วยงานราชการ 29 หน่วย เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มีแนวคิดในการบริหารพื้นที่ราชพัสดุและทรัพยากรของราชการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดอาคารในวันอาทิตย์ที่ 17 ก.พ.2556

หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการศูนย์ราชการฯคือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ลงทุน ก่อสร้างอาคารและบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายรัฐบาล

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ มี 4 อาคาร 

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) รวมหน่วยงานยุติธรรม

อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) รวมหน่วยงานราชการ

อาคาร C (กำลังก่อสร้าง)

อาคาร D (อาคารจอดรถ)

ศูนย์เปลี่ยนถ่ายการจราจรจากระบบขนส่งสาธารณะสู่ระบบ EV Shuttle Bus ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ระยะทาง 205 เมตร บริเวณชั้น 2 เชื่อมต่อกับสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ​ ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ออกแบบล้ำสมัย ลดใช้พลังงานด้วยแนวคิดตู้เย็น

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสูงสุด โดยคำนึงถึงสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ซึ่งระบบปรับอากาศมักใช้พลังงานมากจากการสะสมความร้อนและความชื้นเมื่อปิดเครื่อง ทีมผู้ออกแบบจึงเน้นให้อาคารเป็นระบบปิด เปรียบเสมือน "ตู้เย็น" ที่ป้องกันความร้อนและความชื้นจากภายนอก ด้วยวัสดุฉนวนพิเศษและเทคนิคการกักเก็บความเย็นตลอด 24 ชั่วโมง

หลังคา ประกอบด้วยโลหะสะท้อนแสงสูง โครงเหล็ก และฉนวนหนา 6 นิ้ว ลดการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าหลังคาคอนกรีตทั่วไปถึง 10 เท่า พร้อมออกแบบให้รองรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในอนาคต

ผนังเอียงและเปลือกอาคาร ผนังอาคารออกแบบให้เอียงเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง ลดความร้อนได้ถึง 8 เท่า ส่วนเปลือกอาคารใช้ฉนวนที่มีค่า OTTV 10 วัตต์/ตร.ม. และ RTTV 5 วัตต์/ตร.ม. ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปอย่างเห็นผล

ระบบ Air Flow Window ติดตั้งกระจก 2 ชั้น มีช่องว่างกักความร้อน เมื่อความร้อนจากภายนอกผ่านเข้ามาถึง 28 องศาเซลเซียส ระบบจะดูดความร้อนออกทิ้ง ลดการรั่วซึมของอากาศและรักษาความเย็นภายใน

ระบบ Pond Cooling น้ำในบ่อถูกนำมาไหลวนรอบอาคารเพื่อระบายความร้อนจากระบบปรับอากาศ โดยใช้ดินในบ่อที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ช่วยดูดซับความร้อน ทำให้น้ำเย็นลงและนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างประหยัด

ระบบ Thermal Storage กลางคืนผลิตน้ำเย็นอุณหภูมิ 7.5 องศาเซลเซียส เก็บในถังความจุ 22,500 ลบ.ม. เทียบเท่าเครื่องทำความเย็น 3,000 ตัน ใช้ทำความเย็นในตอนกลางวัน ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มาก

ระบบ Co-Generation ใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าและความเย็นที่จุดใช้งาน ลดการสูญเสียพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานถึงร้อยละ 80 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนนโยบายพลังงานในประเทศ

การตกแต่งเพิ่มประสิทธิภาพ เพดานเปลือยผิวคอนกรีตและพื้นหินขัดช่วยกักเก็บความเย็น ประตู 2 ชั้นกรองความร้อนจากการเปิด-ปิด ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายตลอดเวลา แม้ใช้งานล่วงเวลา

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ไม่เพียงประหยัดพลังงาน แต่ยังมอบความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน ผสานประโยชน์ให้ทั้งผู้ให้บริการอย่าง ปตท. และการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงประเทศชาติที่ได้ใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน

ที่มา : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อ่านข่าวอื่น : 

ด่วน! อพยพคนออกอาคาร A ศูนย์ราชการทรุดตัว-เอียง

 

 


ทางด่วนด่านดินแดงขาเข้า-ออกเปิดแล้ว ปชช.มารอใช้บริการ

Mon, 31 Mar 2025 06:27:00

วันนี้ (31 มี.ค.68) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จุดด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง หรือทางพิเศษเฉลิมมหานครเปิดให้บริการตามปกติแล้วทั้ง 2 ฝั่งขาขึ้นและขาลง เมื่อเวลา 05.00 น. ที่ผ่านมา แต่ก่อนที่จะเปิดให้บริการ มีรถยนต์ส่วนบุคคลของประชาชน รอต่อคิวเพื่อเข้าใช้บริการตั้งแต่ก่อนเวลา 05.00 น. แต่หางแถวไม่ได้ยาวมากมีไม่ถึง 10 คัน

สำหรับด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ดินแดงเปิดให้บริการ ทั้งขาเข้าเมือง ที่จะมุ่งหน้าไปยังถนนพระราม 9 แจ้งวัฒนะ สุขุมวิท บางนา พระราม 4 ดาวคะนอง และถนนอีกฝั่งเส้นทางที่สวนกันคือ เส้นทางมุ่งหน้าสุทธิสาร ห้าแยกลาดพร้าว ที่จะลงตรงถนนวิภาวดี-ดินแดง หรือเส้นทางที่จะต่อโทลล์เวย์ เพื่อมุ่งหน้าไปทางสนามบินดอนเมืองได้

ซึ่งการจราจรถนนเส้นนี้ปิดให้บริการนับแต่เหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ด้วยเครนไซต์งานก่อสร้างคอนโดที่อยู่ใกล้ หักร่วงหล่นลงมา ทางการพิเศษจึงปิดปรับปรุง และตรวจสอบให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง

โดยเฉพาะในวันทำงานต้นสัปดาห์ ช่วงเช้าที่รถค่อนข้างหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน ที่มีรถใช้บริการเส้นทางนี้ราวๆ 50,000 คัน ตามข้อมูลที่นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อ้างอิงไว้ หากประชาชนมีข้อมูลสอบถามทางการพิเศษโทรหมายเลข 1543

นายชอบ และนายธนู 2 พ่อค้าขายผลไม้ ที่เป็นพี่น้องกัน ได้ ขับรถกระบะบรรทุกมะปรางและมะยงชิดจาก จ.พิจิตรเดินทางมุ่งหน้าไป จ.สมุทรปราการ เล่าว่าเมื่อวันเกิดเหตุแผ่นดินไหว ปกติใช้เส้นทางนี้เดินทางจาก จ.สมุทรปราการ เพื่อกลับ จ.พิจิตร แต่วันนั้นไม่สามารถใช้เส้นทางได้เพราะถนนปิดทำให้ตั้งเปลี่ยนเส้นทางไปใช้ทางอื่น

และยอมรับว่าหลังจากเห็นข่าวแผ่นดินไหวเกิดเครนไซต์งานก่อสร้างหักร่วงลงมามีความกังวลต่อความปลอดภัย แต่ก็ได้ติดตามข่าวสาร และจากในข่าว

เห็นว่าถนนทางด่วนดินแดงโล่ง จึงเข้าใจได้ว่าวันนี้ทางด่วนจะเปิดให้บริการ เลยมาใช้บริการตามปกติ ซึ่งการเดินทางปกติใช้บริการทางด่วนนี้เป็นประจำ

ขณะที่เจ้าหน้าที่ด่านฯดินแดง ระบุว่าในช่วงวันวันจันทร์วันเริ่มต้นของสัปดาห์ ประชาชนใช้บริการใช้บริการทางด่วนดินแดง โดยในช่วงเวลาก่อน 06.00 น. ผู้ใช้บริการจะยังไม่มากนัก แต่จะแน่นในช่วงเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลา 10.00 น. 

ส่วนช่องทางเก็บค่าผ่านทางจะมี 11 ช่องทาง ในช่วงเช้าเปิด 7 ช่องทางเนื่องจากยังเพียงพอต่อการรองรับการให้บริการ ในเวลา 05.30 น. ก็จะเปิดช่องเก็บค่าผ่านทางทั้ง 9 ช่อง ซึ่งตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ช่วงเช้าจะมีรถใช้บริการประมาณ 20,000 -25,000 คัน และโดยรวมตลอดทั้งวันจะมีรถใช้บริการประมาณ 50,000 คัน สำหรับวันทำการ

อ่านข่าว :

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดให้บริการวันนี้ 06.00 น.เว้นสถานีมีนบุรี

กรมโยธาฯ ระดม 200 วิศวกร ตรวจอาคารกระทบแผ่นดินไหว รายงานผลใน 7 วัน

สตง.ชี้แจงขั้นตอนสร้างตึกโปร่งใส-ไม่มีการแก้ไขแบบโครงสร้าง