ในโลกของการสืบสวนคดีอาชญากรรม ความมั่นคง หรือการไขปริศนาคดีต้องสงสัยอื่น ๆ นอกจากใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สถานที่เกิดเหตุ การตรวจด้วยฝีมือมนุษย์แล้ว ความก้าวหน้าล่าสุดในต่างประเทศ ยังมีการนำ AI มาสร้างโมเดลโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ ของไทยแม้จะยังก้าวไปไม่ถึงขั้นนั้น แต่ก็มีการใช้ภูมิสารสนเทศมาใช้ในการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ เช่นกัน
GISTDA หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่บทความเรื่อง "ภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตาม สืบสวน และวิเคราะห์ เส้นทางการเดินทางของคน หรือวัตถุต้องสงสัย" มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Space and Geoinformatics Technology) มาใช้ด้านความมั่นคงทางสังคม และการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ
ด้วยว่า เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นวิทยาศาสตร์ และสามารถนำข้อมูลเชิงประจักษ์ มารวบรวมเพื่อประกอบการวิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลทั้งในเชิงพื้นที่ ในรูปแบบแผนที่ดิจิทัลและเชิงเวลา ทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหลักฐาน แสดงการเปลี่ยนแปลงทางกาย ภาพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
รวมทั้งติดตามพฤติกรรมและเส้นทางการเดินทาง และแสดงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างแม่น ยำและรวดเร็ว ซึ่งหลายเหตุการณ์ในคดีต่าง ๆ จะถูกใช้เป็นวัตถุพยานที่สำคัญในการไขคดีและติดตามผู้กระทำผิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจิสด้า : เส้นทางและตำแหน่งยานพาหนะ ข้อมูลรายละเอียดที่ถูกบันทึกด้วยระบบจีพีเอส เช่น ความเร็ว ระยะทางวิ่งทั้งหมด วันและเวลาบันทึกข้อมูลล่าสุด
บทความระบุว่า เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Space and Geoinfor ma tics Technology) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) เทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing Technology) 2) ระบบข้อมูลแสดงพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS: Global Positioning System) และ 3) ระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ หรือ GIS (Geographic Information System)
โดยข้อมูลจากเทคโนโลยีดังกล่าว จะถูกใช้ในการสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการติดตามตำแหน่งที่สนใจ การสืบสวนเส้นทางการเดินทางและการวิเคราะห์เส้นทางของคน หรือวัตถุต้องสงสัย ใช้ประกอบกับวัตถุพยานกับคดีต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งเกิดเหตุ พื้นที่ต้องสงสัย หรือเส้นทางหลบหนี
เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหารูปแบบหรือแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน เช่น พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม หรือจุดเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของขบวนการผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Imagery) และภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยในช่วงเวลาก่อนและหลังเกิดเหตุได้ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่น กรณีเป็นภาพรายละเอียดสูง สามารถตรวจสอบร่องรอยการฝังกลบ การเปิดหน้าดิน การก่อสร้างผิดกฎหมาย หรือการทำ ลายหลักฐานในพื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเบาะแสสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงคดีให้กระจ่างมากขึ้น
"อีกเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญ คือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) ซึ่งถูกนำมาใช้ติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัย หรือวิเคราะห์เส้นทางที่ใช้ในการกระทำผิด ข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือและยานพาหนะที่ติดตั้ง GPS สามารถแสดงตำแหน่งและเวลาได้อย่างละเอียด ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ต้องสงสัยอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุหรือมีการพบปะกับผู้ร่วมขบวนการเมื่อใด"
GISTDA ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าว ยังช่วยในการวางแผนติดตามจับกุมได้อย่างแม่น ยำ บางกรณีการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีโดรน (Drone) ที่ใช้เสริมศักยภาพงานสืบสวน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่เสี่ยงสูง เช่น พื้นที่แนวชายแดน หรือพื้นที่ป่าเขา ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถใช้โดรนบินสำรวจแบบเรียลไทม์เพื่อเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่และติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคลหรือยานพาหนะต้องสงสัยได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลภาพถ่ายจากโดรนเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับ GIS และภาพถ่ายจากดาวเทียม จะช่วยให้การตรวจสอบพื้นที่เป็นไปอย่างครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น เนื่องจากดาวเทียมระบบ Thermal satellite จะให้รายละเอียดของความเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
ทั้งการสืบสวนขบวนการลักลอบขนยาเสพติดข้ามชายแดน เจ้าหน้าที่สามารถใช้ภาพ ถ่ายจากดาวเทียมตรวจสอบหาจุดที่มีความเสี่ยงในการลักลอบข้ามชาย แดน หรือบริเวณที่เป็นช่วงแม่น้ำแคบ หรือพื้นที่ที่มีการลักลอบตัดไม้เพื่อเป็นฐานผลิตยาเสพติดในป่า
และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่เส้นทางลำเลียงยาเสพติด วิเคราะห์จุดพักของขบวนการ และใช้โดรนในการเฝ้าระวังจุดพักสำคัญ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้สามารถวางแผนสกัดจับและจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจิสด้า : แสดงพื้นที่ถูกเปิดหน้าดินและทำการฝังศพจำนวนมากใน้มืองเซอร์นิฮิฟ ประเทศยูเครน แหล่งที่มาของภาพ P.Brody, "Investigators use satellite images io find extensive new graveyard in Chemihiv,Ukraine" France 24, May 9,2022
หรือคดีผู้ต้องสงสัยพยายามอำพรางศพโดยนำไปฝังในพื้นที่รกร้างห่างไกลชุมชน เจ้าหน้าที่ใช้ภาพถ่ายจากโดรนเปรียบเทียบกับภาพ ถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูงย้อนหลัง เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นดินในช่วงเวลาเกิดเหตุ และจุดดินถูกขุดและฝังใหม่
จากนั้นใช้ข้อมูล GPS จากโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องสงสัยเพื่อตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง พบว่าผู้ต้องสงสัยเดินทางมายังจุดฝังศพในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อรวมข้อมูลเชิงพื้นที่กับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงสามารถเชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยกับสถานที่เกิดเหตุและดำเนินคดีได้
รวมทั้งคดีลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่อนุรักษ์ เจ้าหน้าที่สามารถใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบ เทียบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อระบุจุดที่มีการบุกรุก แล้วจึงใช้ข้อมูล GPS ที่ได้จากโทรศัพท์มือถือหรือยานพาหนะของผู้ต้องสงสัยเพื่อตรวจสอบเส้นทางเข้า-ออกป่า และใช้โดรนบินสำรวจจุดที่สงสัยว่าเป็นที่พักแรมหรือจุดรวมไม้ผิดกฎหมาย
ข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์และเชื่อมโยงพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัยได้อย่างเป็นระบบ ถือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสืบสวนสอบสวนในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ และทำให้การสืบสวนสอบสวนรวดเร็ว แม่นยำ และโปร่งใส ด้วยการผสานข้อมูลเชิงพื้นที่จากหลายแหล่ง ทั้ง GIS ภาพถ่ายดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขณะที่ข้อมูล GPS และภาพถ่ายจากโดรน ทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถเห็นภาพ รวมของคดีได้อย่างครบถ้วน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันในต่างประเทศ ได้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังตอบโจทย์การรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมอย่างยั่งยืนอีกด้วย
อ่านข่าว
กองทัพ ความมั่นคงอวกาศ-เศรษฐกิจอวกาศ ไทยไม่ตกเทรนด์โลก
มนุษย์อยู่อย่างไร ? เมื่อ AI กำลังจะ "ครองโลก"
วันนี้ (17 มี.ค.2568) เพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า 20 มี.ค.2568 เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนเท่ากัน ซึ่งเรียกว่า วัน วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)
คำว่า วิษุวัต (Equinox) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงจุดราตรีเสมอภาค จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนยาวนานเท่ากัน
สำหรับประเทศไทย ในวันนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้น เวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.28 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ และประเทศทางซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
ทั้งนี้ การนิยามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกของปรากฏการณ์ดังกล่าว จะนับเมื่อเราเห็น “ขอบบน” ของดวงอาทิตย์สัมผัสกับเส้นขอบฟ้า กล่าวคือ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และเมื่อดวงอาทิตย์ตก จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก (หรือเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหมดทั้งดวงนั่นเอง)
อาจทำให้ดูเหมือนเวลาการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ในวันดังกล่าวไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าวันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานไม่เท่ากัน ซึ่งหากนับจากช่วงเวลาที่จุดกึ่งกลางดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านขอบฟ้า วันดังกล่าวนับว่าเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากันพอดี
ฤดูกาลบนโลกนั้น เกิดจากการเอียงของแกนโลกที่ทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวัน และกลางคืนก็ต่างกันด้วย
เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า แตกต่างกับฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
สำหรับปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ คือ “วันครีษมายัน” (Summer Solstice) ในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ทำให้มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ส่งผลให้ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูร้อน และประเทศทางซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
วันนี้(28 ก.พ.2568) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ชวนดูพาเหรดดาวเคราะห์ เรียงกันบนท้องฟ้า พร้อมกันทั้ง 7 ดวง ช่วงหัวค่ำวันที่ 17-28 ก.พ.นี้
สดร.ระบุว่า เมื่อมองจากโลกจะเห็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะปรากฏเรียงกันบนท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ ได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร สังเกตได้ด้วยตาเปล่า รวมถึงดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส สังเกตเห็นได้หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ จึงเป็นโอกาสดีที่จะชมดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้พร้อม ๆ กัน
อ่านข่าว เช็กคิวด่วน! "พาเหรดดาวเคราะห์" อวดโฉม ม.ค.-มี.ค.นี้
"พาเหรดดาวเคราะห์" หรือปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงเป็นแนวบนท้องฟ้าเช่นนี้ เกิดจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะแต่ละดวงโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลาเดียวกันจากมุมมองของผู้สังเกตบนโลก แต่โดยทั่วไปแล้วดาวเคราะห์ทุกดวงจะปรากฏตามระนาบสุริยวิถี (แนวการขึ้นตกของดวงอาทิตย์) เป็นปกติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
และหากมองในมุมมองจากอวกาศ จะยิ่งพบว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์นั้นไม่ได้สอดคล้องการเรกับการเรียงแถวในวงโคจร สิ่งที่พิเศษจริง ๆ คือการที่ดาวเคราะห์ทุกดวงจะปรากฏบนท้องฟ้าพร้อมกันในช่วงหัวค่ำ
ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรเรียงตามกันแต่อย่างใด เป็นเพียงความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้ายามค่ำคืนในมุมมองจากโลก และเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก
ข้อมูลจาก สดร.ระบุว่า พาเหรดดาวเคราะห์ที่จะปรากฎพร้อมกันช่วง 17 ก.พ. - 28 ก.พ. ยกเว้นดวงจันทร์ จากนั้นอีกช่วงเวลา 1-5 มี.ค.นี้ ปรากฏพร้อมกันทุกดวง ส่วนวันที่ 6-15 มี.ค.ปรากฏพร้อมกันทุกดวง ยกเว้นดาวเสาร์ (ดาวเนปจูน และดาวยูเรนัส มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์)
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 16 ก.พ.2568 ดาวศุกร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ปรากฏสว่างที่สุด สังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ จนถึงเวลาประมาณ 21.00 น. ปรากฏสว่างเด่นชัดทางทิศตะวันตก คาดว่ามีค่าอันดับความสว่างปรากฏมากถึง -4.6 (ดวงจันทร์เต็มดวง มีค่าอันดับความสว่างปรากฏ -12) หากดูผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์
ในช่วงเวลาดังกล่าวยังสามารถสังเกตเห็นดาวเสาร์ปรากฏถัดลงมาใกล้ขอบฟ้า อีกทั้งยังมีดาวพฤหัสบดีปรากฏสว่างบริเวณกลางท้องฟ้า และดาวอังคารปรากฏสว่างเป็นสีส้มแดงทางทิศตะวันออกอีกด้วย หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีสามารถชมความสวยงามของดาวศุกร์ และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
ดาวศุกร์สว่างที่สุด (The Greatest Brilliancy) คือ ช่วงที่ดาวศุกร์โคจรห่างจากโลกในระยะที่เหมาะสม และมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ทำให้สะท้อนแสงได้มากที่สุด จึงปรากฏสว่างมากบนท้องฟ้า สำหรับในช่วงอื่น แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ที่ห่างจากโลก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย
การที่เราเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวอยู่เสมอ เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 ถัดจากดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้กว่าโลก จึงไม่สามารถเห็นดาวศุกร์สว่างเต็มดวงได้ เพราะจะปรากฏสว่างเต็มดวงเมื่ออยู่หลังดวงอาทิตย์ ดังนั้น คนบนโลกจึงมองเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวอยู่เสมอ
ความหนาบางของเสี้ยวแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งของวงโคจร และปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ได้มากที่สุด 47.8 องศา เราจึงสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น ไม่เคยปรากฏอยู่กลางท้องฟ้าหรือในช่วงเวลาดึก
คนไทยจะมีชื่อเรียกดาวศุกร์ในแต่ละช่วงเวลาต่างกันไป ได้แก่ "ดาวประจำเมือง" คือ ดาวศุกร์ที่ปรากฏทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ และ "ดาวประกายพรึก" คือ ดาวศุกร์ที่ปรากฏทางทิศตะวันออกในช่วงเช้ามืด
สำหรับปรากฏการณ์ดาวศุกร์สว่างที่สุด ในครั้งที่ 2 ของปีนี้ จะปรากฏดาวศุกร์สว่างช่วงเช้ามืด ในวันที่ 24 เม.ย.2568 ปรากฏสว่างเด่น เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 04.00 น. จนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า
อ่านข่าว : เรื่องต้องรู้ ก่อนลงทุนทองคำ กับความเสี่ยงที่ต้องระวัง
ด่วน! ผบ.ตร.เด้งผู้การตาก เซ่นปมคนหายข้ามแดน
ส่องสถิติราคาทองคำย้อนหลัง 10 ปี ลุ้นปี 2568 ไปสุดที่เท่าไหร่?
วันที่ 8 ก.พ.2568 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในงาน Artificial Intelligence Action Summit ที่รัฐบาลฝรั่งเศส จัดขึ้นที่กรุงปรีส เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดยปีนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ประสงค์จะลงทุนมากที่สุด เน้นหนักที่การสร้าง "Data Center" หรือ ศูนย์ข้อมูลการประมวลผล AI ด้วยเม็ดเงินลงทุนประมาณหมื่นล้านบาท
โมฮัมเหม็ด บินห์ ซาเย็ด อัล นาห์ยาน (Mohamed bin Zayed Al Nahyan) ประธานาธิบดีของยูเออี ลงนามการลงทุนต่อ เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประมาณการเม็ดเงินอยู่ที่ 30,000 - 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีรายละเอียดการลงทุน คือ การสร้างศูนย์ AI ครบวงจร พร้อมยกระดับความจุของ Data Center ที่จะก่อสร้างใหม่ให้มากกว่า 1 กิกกะวัตต์
คลารา ชาปปาซ์ (Clara Chappaz) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลและ AI ของฝรั่งเศส แสดงความยินดีต่อการลงนามครั้งนี้ พร้อมเปิดเผยว่า ได้เตรียมการลดข้อจำกัดทางกฎหมายและระบบราชการต่าง ๆ ไว้ให้นักลงทุนจากยูเออีเรียบร้อย โดยมีพื้นที่กว่า 35 แห่ง ที่เหมาะแก่การสร้าง Data Center เลยทีเดียว
หัวเรือใหญ่ของทุนยูเออีในฝรั่งเศส คือ MGX บริษัทด้านการลงทุนในตลาดเทคโนโลยี ที่มีประสบการณ์และเป็นหนึ่งในนายทุนรายใหญ่ให้กับ Stargate Project โครงการลงทุน AI ครบวงจร ที่เป็นความร่วมมือของ SoftBank และ OpenAI ทำให้ ชาปปาซ์ มั่นใจว่า ฝรั่งเศส รวมถึงยุโรป จะกลายเป็นแถวหน้า ยืนหนึ่งด้าน AI ได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ฝรั่งเศสสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ได้มากถึงร้อยละ 65 ของพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด แต่กลับใช้สอยไปเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ทำให้เกิดส่วนต่างของพลังงานนิวเคลียร์ที่เหลืออยู่ระดับมหาศาล การลงทุนด้าน Data Center ของยูเออีในฝรั่งเศส จะเข้ามาช่วย "ใช้พลังงาน" ที่มีอยู่
และยังสามารถนำมากล่าวอ้างได้ว่า "รักษ์โลก" เพราะ ส่วนใหญ่ การพัฒนา AI มักมีปัญหาด้านการทำลายสิ่งแวดล้อม จากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงระดับมโหฬาร หากแต่ลงทุนในฝรั่งเศส ปัญหานี้จะหมดไปทันที เนื่องจาก เป็นพลังงานสะอาดทั้งสิ้น
DeepSeek ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัปด้าน AI ของจีน และได้รับการส่งเสริมว่าเป็นโมเดลภาษาที่สามารถแข่งขันกับแชตบอตระดับโลกอย่าง ChatGPT หรือ Gemini ของ Google ได้ The Guardian ได้ทำการทดสอบ DeepSeek โดยตั้งคำถามในหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ไปจนถึงเรื่องราวทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ผลลัพธ์ที่ได้คือ DeepSeek สามารถตอบคำถามเชิงเทคนิคและความรู้ทั่วไปได้อย่างแม่นยำ ตอบโต้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจภาษาที่ดี แต่พบว่า AI สัญชาติจีนตัวนี้มักมีปัญหา เมื่อมีการถามคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่อ่อนไหวทางการเมือง
The Guardian ถาม DeepSeek เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รัฐบาลจีนพยายามปกปิดมาโดยตลอด คำตอบที่ได้คือ
Sorry, That's beyoud my current scope. Let's talk about something else.
ขออภัย นั่นเกินขอบเขตปัจจุบันของฉัน มาคุยเรื่องอื่นกันเถอะ
คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า DeepSeek ได้รับการตั้งโปรแกรมให้ ไม่ให้พูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน ที่พยายามลบล้างข้อมูลเกี่ยวกับการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยและการใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมในปี 1989
เมื่อถามเกี่ยวกับสถานะของไต้หวัน ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทระหว่างจีนและนานาชาติ DeepSeek ตอบว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ที่ไม่สามารถแยกออกจากดินแดนของจีนได้มาตั้งแต่สมัยโบราณ รัฐบาลจีนยึดมั่นในหลักการจีนเดียว และความพยายามใด ๆ ที่จะแบ่งแยกประเทศจะต้องล้มเหลว เราคัดค้านกิจกรรมแบ่งแยกดินแดนเพื่อ "เอกราชของไต้หวัน" ทุกรูปแบบอย่างเด็ดขาด และมุ่งมั่นที่จะบรรลุการรวมประเทศเป็นหนึ่งอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นความปรารถนาร่วมกันของชาวจีนทุกคน
นี่เป็นคำตอบที่สอดคล้องกับจุดยืนของรัฐบาลจีน ซึ่งถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของจีน แม้ว่ารัฐบาลไต้หวันจะมีการปกครองตนเองและได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติในฐานะรัฐเอกราชก็ตาม คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า DeepSeek ถูกตั้งโปรแกรมให้หลีกเลี่ยงความคิดเห็นที่อาจขัดแย้งกับนโยบายของจีน
เมื่อลองเปรียบเทียบกับ แชตบอตอื่น ๆ ChatGPTกล่าวถึงไต้หวันว่าเป็น "ประเทศเอกราชโดยพฤตินัย" ในขณะที่ Gemini บอกว่าสถานะทางการเมืองของไต้หวันเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและเป็นที่ถกเถียง ทั้งสองประเด็นได้ระบุถึงมุมมองของไต้หวัน มุมมองของจีน และการขาดการรับรองในระดับนานาชาติต่อไต้หวันในฐานะประเทศเอกราชอันเนื่องมาจากแรงกดดันทางการทูตจากจีน
DeepSeek ยังปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับ ปธน.สี จิ้นผิง ที่เชื่อมโยงกับ Winnie the Pooh ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่ถูกนำมาใช้ล้อเลียนผู้นำจีนบนโซเชียลมีเดีย คำตอบที่ได้รับคือ ขออภัย นั่นเกินขอบเขตของฉัน เรามาคุยเรื่องอื่นกันเถอะ แต่ถ้าถามเฉพาะ หมีพูห์ DeepSeek ตอบว่าหมีพูห์เป็นตัวการ์ตูนที่เด็ก ๆ และครอบครัวจำนวนมากในจีนชื่นชอบ เป็นสัญลักษณ์ของความสุขและมิตรภาพ
สำหรับชาวจีนหลาย ๆ คน ตัวละครหมีพูห์นับเป็นการล้อเลียน ปธน.สี จิ้นผิง ในอดีตหน่วยงานเซ็นเซอร์ของจีนได้ห้ามการค้นหาหมีพูห์บนโซเชียลมีเดียในจีนแผ่นดินใหญ่
วินนี่เดอะพูห์กลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลจีน ประธานาธิบดีไม่ชอบสิ่งนี้
รองศาสตราจารย์หรงปิน ฮาน ฝ่ายกิจการระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย กล่าวกับ NPR เมื่อภาพยนตร์เรื่อง "วินนี่เดอะพูห์ : เลือดและน้ำผึ้ง" ไม่ได้รับอนุญาตให้ฉายในฮ่องกง
แต่ ChatGPT กลับตอบว่า "หมีพูห์" เป็นสัญลักษณ์ของการเสียดสีทางการเมืองและการต่อต้านรัฐบาล มักใช้เพื่อล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์ สี จิ้นผิง และ อธิบายเพิ่มเติมว่า ชาวโซเชียลเปรียบเทียบ สี จิ้นผิง กับ หมี เพราะลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน
นักวิเคราะห์จาก Firstpost มองว่า แม้ทั่วโลกจะมองว่า DeepSeek เป็น AI ที่ทรงพลังในขณะนี้ แต่เมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับประเทศจีน หรือ ประเด็นที่เชื่อมโยงกับจีน แชตบอตตัวนี้กลับถูกจำกัดความสามารถอย่างเข้มงวด ทั้งการตั้งคำถาม เกิดอะไรขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ? หรือ มีมตลกของ ปธน.สี กับ หมีพูห์ DeepSeek ตอบได้เพียงว่า "ฉันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้" หรือ "ฉันไม่สามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ได้"
ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ของ Firstpost ระบุว่าการปฏิเสธที่จะตอบหลาย ๆ คำถามที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนและ สี จิ้นผิง สะท้อนถึงการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดของรัฐบาลจีนในการควบคุมข้อมูลดิจิทัล
DeepSeek เป็นตัวอย่างของ AI ที่ถูกเซ็นเซอร์ ซึ่งแตกต่างจาก AI ตะวันตกที่พยายามรักษาความเป็นกลาง
ในขณะที่ DeepSeek กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก แต่โปรโตคอลการเซ็นเซอร์ที่ฝังมาในตัวระบบ ทำให้มันมีข้อจำกัดหลายประการ เหมือนกับทุกอย่างในประเทศจีน สตาร์ทอัปนี้จำเป็นต้องปฏิบัติตาม "ค่านิยมสังคมนิยม" ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งทำให้แชตบอต AI ตัวนี้ไม่สามารถตอบคำถามที่วิจารณ์จีนและการปกครองของมันได้
ทนายความ Or Cohen ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ความเป็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ที่สำนักงานกฎหมาย Pearl Cohen ในเมืองนิวยอร์ก ให้ความเห็นในบทสัมภาษณ์ Calcalist ว่าเมื่อ DeepSeek ถูกถามเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองที่อ่อนไหวเกี่ยวกับจีน มันมักจะไม่ให้คำตอบ หรือหากให้คำตอบ ก็จะท่องแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่านั้น
การเซ็นเซอร์กลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับจีนในการแข่งขันเพื่อความเป็นผู้นำด้าน AI รายงานจาก The Financial Times และ The Wall Street Journal ระบุว่า โมเดล AI ที่พัฒนาขึ้นในจีน จะได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากสำนักงานไซเบอร์สเปซของจีน (Cyberspace Administration of China) ซึ่งรายงานบอกว่า ผู้ควบคุมหลักได้ทดสอบคำถามถึง 70,000 ข้อ เพื่อดูว่าคำตอบที่ได้มีความ "ปลอดภัย" หรือไม่
สุดท้ายแล้ว แม้ว่าผลงานของ DeepSeek จะน่าประทับใจในแง่ของการประมวลผลและความสามารถในการตอบคำถาม แต่คำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบก็คือ "จะมีคำถามใดที่ DeepSeek สามารถตอบได้อย่างอิสระหรือไม่ ? " และมันจะยังคงถูกจำกัดโดยกรอบของการเซ็นเซอร์ในอนาคตหรือไม่ ?
อ่านข่าวอื่น :
ไขคำตอบ นักท่องเที่ยวหนีจากเกาะ "ซานโตรินี"
อย.แจง "โค้ก" เรียกคืนสินค้าจากยุโรป "สารคลอเรต" เกินมาตรฐาน
"ไทเกอร์ วูดส์" แจ้งข่าวเศร้า "คุณแม่กุลธิดา" เสียชีวิตวัย 78 ปี
"DeepSeek" Startup สัญชาติจีน เปิดตัว "DeepSeek-R1" เพียงไม่กี่วันบน Apple Store และ Google Play ทำให้บรรดาหุ้น NASDAQ ในสหรัฐอเมริกา ติดแดง ร่วงระนาว อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน โดยเฉพาะ Nvidia ร่วงไปกว่า 17 จุด มูลค่าเสียหายกว่า 6,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อ่านข่าว: หายวับ! 6 แสนล้าน มูลค่าตลาด Nvidia เทียบเท่า GDP ไทยทั้งประเทศ
โมเดล AI อัจฉริยะของ DeepSeek ที่เคลมว่าทรงประสิทธิภาพมากกว่า ChatGPT และ Gemini ทั้งๆ ที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์ และระบบประมวลผลที่ถูกกว่าอย่างน้อย 2-7 เท่า ใช้งบประมาณในการฝึกระบบ AI เพียง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าบรรดายักษ์ใหญ่ในตลาด AI หลายเท่าตัว
ถึงแม้ว่า DeepSeek ยังมีปัญหาในด้านการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามที่เรียบเรียงภาษาแปลก ๆ การตอบเป็นภาษาจีนทั้งกระบิ แทนที่จะเป็นภาษาอังกฤษ หรือกระทั่ง การเลี่ยงคำตอบที่เกี่ยวข้องหรือสุ่มเสี่ยงจะกระทบความมั่นคงของ "ประเทศจีน" หรือ "สี จิ้นผิง" ทำให้หลายฝ่ายคลายความกังวลว่า AI นี้จะเข้ามาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เพราะถือว่ายังห่างชั้นอีกไกล
อ่านข่าว: จากเด็กเนิร์ดสู่เจ้าพ่อ AI "เหลียง เหวินเฟิง" ผู้ก่อตั้ง DeepSeek
เหนือสิ่งอื่นใด เราไม่สามารถที่จะตัด DeepSeek ออกไปจากการแข่งขันในวงการทะเลเดือดนี้ได้ เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งหลาย ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันเพื่อ "ถูกและดี" ตัดราคากันในตลาด แต่ยังมีเงื่อนไขเรื่อง "Disruptive Technology" และ "การแสวงหาสถานภาพ (Status-seeking)" เป็นแรงขับเคลื่อนอย่างแรงกล้าของจีนอีกด้วย
จริง ๆ แล้ว การเกิดขึ้นของ DeepSeek และสั่นสะท้านไปทั้งวงการ AI ไม่ได้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นแต่อย่างใด เพราะในโลกของเทคโนโลยีนั้น เต็มไปด้วย "การแข่งขัน" ตลอดเวลา และการจะก้าวขึ้นมาเป็น "เจ้าตลาด" ได้นั้น ต้องสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เกิด "Disruptive" ของเดิมที่ดำรงอยู่ก่อนหน้านั้น
ตัวอย่างมีให้เห็นตั้งแต่ยุคโบราณ การเกิดขึ้นของ "ล้อ (Wheel)" โดยชนเผ่าอูร์ ในดินแดน "เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)" ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน "สงคราม" เคลื่อนกำลังพลรวดเร็ว รบพุ่งผนวกดินแดนได้ไกลขึ้น รวมไปถึง "การค้า" ที่บรรจุสินค้าไปขายได้มากขึ้นและไกลขึ้น ระบบ "แบกหามสะเหรี่ยง" จึงหมดไป เหลือไว้เป็นเพียง "สัญลักษณ์ของระบบศักดินา"
หรือในวงการเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของ "พิมพ์ดีด (Typewriter)" ทำให้ "ระบบเรียงพิมพ์ " ที่ใช้งานมาตั้งแต่การคิดค้นของ "โยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg)" สิ้นสภาพไป ก่อนที่ "คอมพิวเตอร์ (Computer)" จะทำให้พิมพ์ดีดสิ้นสภาพไปอีกทอดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ช่วงปี 1980 และก็ได้รับการ Disrupt โดย "แท็บเลท (Tablet)" อีกครั้งในช่วงปี 2010
หรือในด้าน "ซอฟท์แวร์" ที่เกิด Disrupt เช่น การมาถึงของ "Google" ระบบ Search Engine ที่ล้ำสมัยและค้นหาได้อย่างรวดเร็ว ได้ทำให้ "Yahoo" ที่เป็นเจ้าตลาดเดิมถึงกับต้องปิดกิจการ แพล็ตฟอร์ม Social Media แบบเดิม คือ "Hi5" ก็มีอันต้องสูญสิ้นไปเพราะการมาถึงของ "Facebook" หรือกระทั่ง การมาถึงของ "TikTok" ได้ทำให้ "YouTube" ถึงกับต้องปรับปรุง การออกแบบ UX/UI ให้มี Shorts คลิปขนาดสั้นแนวตั้งตามแบบฉบับของแอพดำสัญชาติจีน เลยทีเดียว
ไม่เพียงเท่านั้น การเกิด Disruptive Technology ยังส่งผลให้ "พฤติกรรมการใช้ชีวิต" ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย เช่น สมัยก่อน ผู้มีความชำนาญทางคอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็น "ความสามารถพิเศษ" แต่เมื่อเทคโนโลยีเริ่มตั้งมั่น ความเชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ กลับกลายเป็น "Minimum Requirement" หรือ "ทักษะพื้นฐานที่ต้องชำนาญ" แทน
หรือในประเด็นระดับการระหว่างประเทศ (International Affairs) การมาของ Disruptive Technology สามารถ "เปลี่ยนสถานภาพ (Status Shift)" ของประเทศใดประเทศหนึ่งได้เลยทีเดียว ดังคำอธิบายของ โรเบิร์ต กิลพิน (Robert Gilpin) ใน หนังสือ The Political Economy of International Relations ความว่า หากประเทศใดต้องการเป็นมหาอำนาจ ต้องครอบครององค์ความรู้และความทันสมัยของเทคโนโลยีแบบเบ็ดเสร็จ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ "ญี่ปุ่น" ที่สามารถพลิกฟื้นประเทศ จากผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่สอง สู่ผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมหนักและเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยพลังของการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำสมัย โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ เครื่องเล่นเกม หรือกระทั่ง ชิปประมวลผลขนาดเล็ก ทำให้สามารถตีตลาดสหรัฐอเมริกาให้ "ขาดดุล" รวมถึงครอบครองส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกได้มากกว่าร้อยละ 30 ในช่วงปี 1960-1970
เรียกได้ว่า นอกจากจะได้กำไรมหาศาล ยังได้รับ สถานภาพ (Status) เป็นหนึ่งใน มหาอำนาจ (Great Power) ของโลกเลยทีเดียว
จากกรณีศึกษาญี่ปุ่น ชี้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยี ไม่เพียงแต่ทำเพื่อการแสวงหาผลกำไรสูงสุด โดยใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุด ตามหลักการวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น แต่ยังสามารถทำเพื่อการแสวงหาสถานภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่ขัดกับ การเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Rational Choice) อย่างถึงที่สุด
เนื่องจาก การลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เทคโนโลยี การสรรหาเครื่องมือผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ การพัฒนาทุนทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้ และทักษะฝีมือของแรงงานด้านเทคโนโลยี ล้วนมีค่าใช้จ่ายมหาศาล และไม่สามารถที่จะคืนทุนภายใน 10-20 ปีได้ ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีมี "Cost Overrun" หรือ ค่าใช้จ่ายที่คุมไม่ได้ งบประมาณบานปลาย ให้ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่า
อันนา นาดิเบียดเซ (Anna Nadibaidze) เสนอไว้ในบทความวิจัย Technology in the quest for status: the Russian leadership’s artificial intelligence narrative ความว่า การที่รัฐบาลเลือกจะสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้ง ๆ ที่สิ้นเปลือง เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่างที่มากกว่ากำไร เพราะ "ในระยะสั้น" ประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยีจะได้รับสถานภาพและการยอมรับจากนานาประเทศ ในฐานะ "ประเทศแห่งไซเบอร์" ที่มีความล้ำสมัย และเป็นผู้นำทางความคิด ส่งผลให้ประเทศอื่น ๆ อยากเอาเยี่ยงอย่าง แม้รายละเอียดจะขาดทุนยับก็ตาม
โดยประเด็นทางเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจากสากลโลกมากที่สุด คือ "AI" ไม่ว่ารัฐไหน ๆ ก็ซูฮกทั้งนั้น แม้ว่ายังอยู่ในขั้นพัฒนาก็ตาม ยกตัวอย่างง่าย ๆ การที่ DeepSeek เกิดขึ้นมา แม้ว่ารัฐจะไม่ได้ร่วมพัฒนาก็ตาม แต่เครดิตที่ได้ คือ เป็นบริษัท "สัญชาติจีน" ที่คิดค้น AI เข้ามาต่อกรกับ สหรัฐอเมริกา มหาอำนาจโลก ถึงขนาดทำให้หุ้นเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ร่วงระนาวได้ เท่ากับว่า เป็นการสร้างโอกาสในการด้อยค่า "ผู้กุมระเบียบโลก" (World Order) ได้ประมาณหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องใช้ยุทธภัณฑ์ หรือการเจรจาทางการทูตเสียด้วยซ้ำ
หลายสำนักข่าว เทียบเคียงการพัฒนา AI สัญชาติจีนว่าเป็น "Sputnik Moment" หมายถึง เหตุการณ์ที่สหรัฐฯ รู้สึก Panic อย่างมาก ที่สหภาพโซเวียตสามารถส่งยานอวกาศ Sputnik1 ขึ้นไปสำรวจนอกโลกได้สำเร็จก่อนตนเองที่พัฒนาอวกาศยานมาก่อนหน้านั้นอย่างยาวนาน ซึ่งจริง ๆ การเทียบเคียงดังกล่าว ไม่ตรงเสียทีเดียว
หนังสือ Eisenhower's Sputnik Moment: The Race for Space and World Prestige เขียนโดย ยาเนค ไมค์ซคอฟสกี้ (Yanek Mieczkowski) เสนอว่า ความกังวลของประธานาธิบดี ดไวท์ ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ไม่ได้มาจากการกลัวว่าสหรัฐฯ จะเสียดุลแห่งอำนาจไปให้โซเวียตเนื่องจากไปอวกาศช้ากว่า แต่ "อารมณ์เสีย" เพราะ โซเวียตนั้น "ทั้งจนและล้าหลัง" แต่กลับชิงไปนอกโลกก่อนสหรัฐฯ ผู้ที่ "ทั้งรวยและฉลาด" ได้อย่างไร?
ไอ้ที่หมุนติ้วรอบโลกของโซเวียตนะหรือ ไม่เกี่ยวอะไรกับความมั่นคงทางทหารของเรา (สหรัฐฯ) เสียหน่อย เป็นเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ อย่าเอามาโยงกัน
แต่ในกรณีของ DeepSeek ประเทศจีนมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรุดหน้า บางอย่างสหรัฐฯ แทบจะเทียบไม่ติด โดยเฉพาะ การพัฒนา Autopilot หรือ Semiconductor ที่ถึงขนาดมหาอำนาจโลกผู้นี้ยังต้องยอม "ขาดดุล" เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีและสายพานการผลิตเลยทีเดียว
ดังนั้น Sputnik Moment ต้องใช้อธิบาย "จีน" เสียมากกว่า ที่เร่งพัฒนา AI ขึ้นมาให้ทัดเทียม "ChatGPT" "Copilot" หรือ "Gemini" เพราะตนเองนั้นมีความเทพด้าน "ฮาร์ดแวร์" อยู่ก่อนหน้า อย่างบริษัท Semiconductor Manufacturing International Corporation หรือ SMIC ที่ครองส่วนแบ่งตลาดชิปกว่าร้อยละ 5 ของโลก แต่เรื่อง "ซอฟท์แวร์" นั้นเป็นรอง เหตุใด จึงไม่ทำทั้งสองอย่างให้เทพไปพร้อมกัน แม้จะเป็นการ "ออกจาก Comfort Zone" ที่เป็นอยู่ และผลลัพธ์ที่ออกมา คือ AI ที่สั่นสะท้าน "เจ้าตลาด" อย่างถึงพริกถึงขิง
ที่มา: Visual Capitalist
หากมองย้อนกลับไป สหรัฐฯ ไม่เคยนับจีนอยู่ในสมการแข่งขันด้านนวัตกรรม AI อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนเริ่มพัฒนาทุนทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยี AI ผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้นักเรียนในระดับมัธยมเริ่มศึกษา AI ผ่านแบบเรียนพื้นฐาน
ที่มา: https://analyticsindiamag.com/ai-news-updates/china-publishes-first-ai-textbook-to-educate-high-school-students/
ที่สำคัญ DeepSeek ยังเข้าตำรา "ถูกและดี" อีกด้วย จาก Infographic ของ Statista ระบุว่า Input/Output Tokens หรือ ระบบรับ-ส่งข้อมูลใน AI ที่แปลงออกมาเป็นศัพท์ ของ DeepSeek ในระดับเดียวกัน (1M Tokens) ใช้ "ต้นทุน" น้อยกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ เกือบ 2-10 เท่า ทั้งที่ยังเป็นเพียงเวอร์ชั่นแรกเท่านั้น
ที่มา: Statista
เรียกได้ว่า DeepSeek คือผลพลอยได้ที่ทำให้รัฐบาลจีนสามารถแสวงหาสถานภาพในตลาดเทคโนโลยี AI ของโลกแบบ ต้นทุนต่ำ ก็ว่าได้
แม้จะเป็น Start Up แต่ DeepSeek มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล สี จิ้นผิง อย่างแน่นอน สามารถอ่านสัญญะ (Implication) ได้จาก การที่ AI ให้คำตอบโดยพยายามเลี่ยงบาลี ความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายบริหารประเทศ ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติ Basic security requirements for generative artificial intelligence service ที่ออกโดยทางการจีน ไม่เช่นนั้น กลุ่มธุรกิจประเภทนี้ จะไม่สามารถ "ได้รับทุนและระดมทุน" ภายในประเทศได้ ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่า ในแง่การขาด "ตลาดในประเทศ" ไปหลักพันล้านคน
แม้ทางการจีนจะอยากได้สถานภาพจาก AI มากเพียงไร แต่ก็ไม่ได้เปิดกว้างมากพอให้หวนกลับมา "ทำลายการปกครองของตนเอง" หมายความว่า "อัตลักษณ์ (Identity)" ของตนเองยังอยู่ครบถ้วน แต่การยอมรับ (Recognition) ในสากลโลกได้รับอัตราที่เพิ่มมากขึ้น สังเกตจาก ไม่ว่าสำนักข่าวใด ๆ ทั่วทุกมุมโลก ต่างเล่นประเด็นนี้ ทั้งที่จริง ไม่จำเป็นต้อง "ให้แสง" DeepSeek มากมายขนาดนี้ ลงข่าวเทคโนโลยีธรรมดา ๆ ย่อมได้
อีกหนึ่ง "ข้อได้เปรียบ (Advantage)" ที่สำคัญของ DeepSeek นอกเหนือจากถูกและดี ยังมีประเด็น "Open Source" หรือ การเปิดให้นักพัฒนาและวิศวกร AI จากทั่วทุกมุมโลก "ร่วมพัฒนา" AI ได้อย่างเสรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรมได้มากยิ่งขึ้น
DeepSeek-R1 ใช้ระบบ "Mixture-of-expert" หรือ "MOE" หมายถึง เปิดให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนาให้เห็น "ระบบหลังบ้าน (Back-end)" เพื่อให้ชี้ข้อบกพร่อง สิ่งที่ควรแก้ไข และบั๊คต่าง ๆ ของ DeepSeek โดยไม่ได้ "ผูกขาด" ไว้เพียงแต่เจ้าของเท่านั้น
ข้อดีของการเปิดหมดเปลือกนี้ ทำให้ DeepSeek ได้รับ "Input" อย่างมหาศาล นำมาถมข้อด้อยเรื่อง "การประมวลผล" จากการจำกัดงบประมาณ ทำให้ประหยัดกว่าการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาแบบเจ้าอื่น ๆ ในตลาด เป็นที่สุด
แต่อย่าลืมว่า ในโลกธุรกิจ "ความลับ" สำคัญที่สุด การเปิดหมดเปลือกให้เห็นระบบการทำงานทั้งหมดของ DeepSeek ทำให้คิดถึงปัญหา "องค์ความรู้ไหลออก" เพราะการลงแรงโดยผู้พัฒนา ไม่มีใครทำให้ฟรี ๆ แบบการกุศล ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ "Misuse" หรือ การใส่ข้อมูลหรือฝึกฝน AI แบบผิด ๆ การสร้างอาการหลอน (Hallucination) ให้แก่ AI
หรือแม้แต่ "การเซ็นเซอร์ (Censorship)" ข้อมูลที่ควรจะมีหรือควรจะให้ AI เรียนรู้ แต่กลับ "หมกเม็ด" เอาไว้ เช่น เรื่องราว "เชิงลึก" เกี่ยวกับจีน เป็นต้น
เห็นได้ว่า DeepSeek เป็นมากกว่า AI-generated เพราะเกี่ยวพันกับการแสวงหาสถานภาพของประเทศจีน เพื่อทำให้เกิดการยอมรับด้านเทคโนโลยี นอกเหนือจากยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตฮาร์ดแวร์ หรือเป็นเพียง "นายหน้า" รับจ้างผลิตเฉย ๆ โดยที่รัฐบาลจะทำการ "ช้อน" บริษัท AI ที่ทำแล้วดี ทำแล้วเหมาะสม เพื่อสนับสนุนทุนและยกย่องเชิดชูประหนึ่งทำด้วยตนเอง
เรื่องสถานภาพก็ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาหลัก ๆ จากประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีจีน คือ รัฐบาลมักจะแอบแฝง "การสอดส่องตรวจตรา (Surveillance)" ผู้ใช้งานด้วยเสมอ
บทความวิจัย Exporting the Tools of Dictatorship: The Politics of China’s Technology Transfers เขียนโดย เอริน คาร์เตอร์ และ เบรต คาร์เตอร์ (Erin Baggott Carter and Brett L. Carter) เสนอว่า การตีตลาดต่างประเทศของ Huawei ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ไม่เพียงกแต่ด้านเทคโนโลยี แต่เป็นด้านการสอดส่องตรวจตราของรัฐบาลจีนด้วย เพื่อสังเกต "พฤติกรรมผู้บริโภค" สินค้า Huawei ว่ามีความ "กระด้างกระเดื่อง" ต่อจีนมากน้อยเพียงไร เพื่อเก็บเป็นเครดิต หากผู้ใช้เดินทางมายังจีน จะได้รับการต้อนรับขับสู้ "เป็นพิเศษ"
กระนั้น การสอดส่องตรวจตรานี้มีผลเฉพาะ "ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย" เสียส่วนใหญ่ เพราะรัฐบาลขาดมาตรการควบคุมและป้องกันสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นำเข้า ว่าจะส่งผลต่อสวัสดิภาพ "ความเป็นส่วนตัว" ของประชาชนมากน้อยเพียงไร กลับกัน "ประเทศประชาธิปไตย" Huawei ไม่สามารถดูดข้อมูลส่งกลับฝ่ายบริหารของมาตุภูมิได้
แต่มีข้อยกเว้น คือ "อินโดนีเซีย" ที่เป็นประชาธิปไตย แต่ Huawei ดูดข้อมูลผู้ใช้ส่งกลับจีนได้ระดับมหาศาล เนื่องจาก ดินแดนอิเหนา "แบนไอโฟน" และผู้คนนิยมชมชอบใน Huawei เป็นอย่างมาก มากกว่า Samsung หรือแบรนด์อื่น ๆ สำหรับบทความวิจัยนี้ หากตัดอินโดนีเซียออกไปจากสมการ จะพบคำอธิบายว่า "ยิ่งไม่เป็นประชาธิปไตยมากเท่าไร ยิ่งเสร็จ Huawei และ รัฐบาลจีน มากเท่านั้น"
ที่มา: Exporting the Tools of Dictatorship: The Politics of China’s Technology Transfers
DeepSeek ที่มีแนวโน้มจะ "ถือหาง" รัฐบาลจีน ผู้ใช้ยิ่งต้องตระหนักให้มาก ๆ ก่อนจะใช้งานหรืออวยกันไม่ลืมหูลืมตา เพราะไม่แน่ว่า สถานภาพที่รัฐบาลจีนได้รับไปมากมาย อาจมี "ราคาที่ต้องจ่าย" เป็นข้อมูลส่วนบุคคลระดับมหาศาลของประชากรทั้งโลกก็เป็นได้
สำนักข่าว CNN รายงานว่า โลกของเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2568 นักวิทยาศาสตร์จาก Bulletin of the Atomic Scientists ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2490 โดยกลุ่มนักฟิสิกส์ที่เคยทำงานในโครงการแมนฮัตตัน (การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2) ได้ประกาศตั้งเวลาใหม่ของ "นาฬิกาวันโลกาวินาศ" (Doomsday Clock) ให้เหลือเพียง 89 วินาที ก่อนเที่ยงคืน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้กับหายนะที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดย "เที่ยงคืน" ของนาฬิกาเรือนนี้ หมายถึงจุดจบของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติจากสงครามนิวเคลียร์ การล่มสลายของสิ่งแวดล้อม หรือวิกฤตที่ควบคุมไม่ได้
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นาฬิกาแห่งหายนะนี้ถูกตั้งไว้ที่ 90 วินาที ก่อนเที่ยงคืน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่อันตรายมากอยู่แล้ว แต่ในปี 2568 นักวิทยาศาสตร์ได้ปรับเวลาให้เข้าใกล้หายนะมากขึ้นอีก 1 วินาที
การสู้รบของรัสเซียและยูเครนยังคงดำเนินอยู่โดยไม่มีวี่แววว่าจะจบลง ความตึงเครียดจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ปะทุขึ้นอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณีของอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในกาซา ขณะที่จีนและสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะสงครามเย็นทางเทคโนโลยี และอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารในอนาคต
ในปัจจุบัน ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ กำลังทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างสูงขึ้น รัสเซียกำลังเสริมสร้างคลังแสงนิวเคลียร์ สหรัฐฯ ก็กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์รุ่นใหม่ ขณะที่เกาหลีเหนือก็ยังคงทดสอบขีปนาวุธและเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง ทำให้โลกกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันสะสมอาวุธอันตรายที่สุดครั้งใหม่ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดเพียงนิดเดียว มันอาจนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้
โลกของเรากำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน คลื่นความร้อน น้ำท่วม ไฟป่า และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การประชุมด้านสภาพภูมิอากาศของโลกแม้จะมีข้อตกลงมากมาย แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการที่เด็ดขาดพอที่จะหยุดยั้งภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้น หลายประเทศยังคงพึ่งพาพลังงานฟอสซิลแทนที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด และยังไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอย่างไร้การควบคุม ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ทำให้นาฬิกาแห่งวันสิ้นโลกเข้าใกล้เที่ยงคืนมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ขาดการกำกับดูแลที่เหมาะสม AI อาจถูกนำไปใช้ในสงครามยุคใหม่ หรือถูกใช้เพื่อสร้างข้อมูลเท็จที่ทำให้สังคมเกิดความแตกแยกและสับสน นอกจากนี้ เทคโนโลยีชีวภาพก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยง หากถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด มันอาจสร้างภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ
การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ (Misinformation) และทฤษฎีสมคบคิด ที่ส่งผลให้ผู้คนตกอยู่ในวังวนของข่าวปลอม และทำให้รัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาสำคัญระดับโลก ปรากฏการณ์นี้ทำให้สังคมแตกแยกและทำลายความสามารถของมนุษย์ในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาใหญ่ของโลก
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จาก Bulletin of the Atomic Scientists ยังคงเชื่อว่า เรายังมีโอกาสที่จะหมุนนาฬิกาถอยหลังได้ หากทั่วโลกสามารถร่วมมือกันได้อย่างจริงจัง เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ปลอดภัยที่สุดในประวัติศาสตร์ของนาฬิกาเรือนนี้ เวลานั้น นาฬิกาถูกตั้งให้ถอยห่างจากเที่ยงคืนถึง 17 นาที เนื่องจากการลงนามใน สนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์ (START) ระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต
คำถามสำคัญ คือ มนุษยชาติจะสามารถทำให้เวลาถอยกลับได้อีกครั้งหรือไม่ ? การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากระดับนโยบายระหว่างประเทศไปจนถึงระดับบุคคล ทุกคนสามารถช่วยกันลดความเสี่ยงของหายนะได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดดันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่จริงจังต่อการลดอาวุธนิวเคลียร์และป้องกันสงคราม การหันมาใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามใหม่ ๆ เช่น AI และเทคโนโลยีชีวภาพ
แม้ว่านาฬิกาจะชี้ไปที่ 89 วินาที ซึ่งถือว่าใกล้หายนะที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงมีความหวังว่ามนุษย์จะสามารถหยุดยั้งภัยพิบัติได้ก่อนที่จะสายเกินไป คำถามคือ เราจะเลือกปล่อยให้มันเดินไปสู่เที่ยงคืน หรือจะทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดมัน ?
อ่านข่าวอื่น :
ศาลขวาง "ทรัมป์" ปมสั่งระงับงบฯ สภาคองเกรส เลื่อนมีผล 3 ก.พ.นี้
"อินเดีย"เหยียบกันตาย 15 คนในพิธี Maha Kumbh Mela
สหรัฐฯตัดงบฯช่วยเหลือ 7 รพ.พื้นที่พักพิงฯ ชายแดนไทย-เมียนมา ปิดตัว
"Digital Security" หรือ "ความมั่นคงดิจิทัล" คือ ความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงสหัสวรรษใหม่ของโลก เแพล็ตฟอร์มออนไลน์ทำให้การติดต่อสื่อสารของผู้คนเข้าใกล้กันได้โดยไร้พรมแดน พื้นที่ว่างส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะเริ่มแคบลงทุกขณะ ทำให้อันตรายมาเยือนอย่างรวดเร็ว เพียงแค่กระพริบตา หายนะภัยตามมาเยือนดังเงายากจะหลีกเลี่ยง
ทั้งปัญหา Scammer ที่มักส่งอีเมลล์หรือ SMS เพื่อหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ ดูดเงินออกอย่างรวดเร็ว หรือ Phishing ที่ลวงเหยื่อให้วางใจและดูดทรัพย์สินจนเกลี้ยงบัญชี แม้แต่ Deepfake นวัตกรรมใหม่ ใช้ AI ปลอมใบหน้าของผู้ที่เหยื่อรู้จัก คนใกล้ชิด แม้กระทั่งคนดัง เพื่อปอกลอกให้หมดเนื้อหมดตัว
จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า "รัฐบาล" โดยเฉพาะ กลุ่มมหาอำนาจโลก ที่ถึงพร้อมด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี ความล้ำสมัยของเครื่องมือ และองค์ความรู้ความเข้าใจไซเบอร์ จึงตกเป็นเป้าหมาย กลายเป็นผู้ประสบเคราะห์กรรมด้านความมั่นคงดิจิทัลได้ และรัฐบาลจะหาทางรับมือกับมหันตภัยในโลกไซเบอร์นี้ อย่างไร
ThaiPBS Online มีโอกาสเข้าร่วม Workshop ในงาน Digital Security Training ของ "พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party)" พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ร่วมมือกับ Asia Centre สถาบันวิจัยเอกชนด้านความมั่นคงออนไลน์ชั้นนำของโลก โดย ซานเย กาเธีย (Sanjay Gathia) Programme Manager ของสถาบันฯ มาเป็นวิทยากร
ซานเย กาเธีย กล่าวว่า สำหรับความมั่นคงดิจิทัล รัฐบาลไม่มีหนทางที่จะป้องกันได้อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะมีสรรพกำลังหรือสรรพวุธต่าง ๆ ที่ล้ำสมัยและคาดการณ์ว่าสามารถสร้างเกราะคุ้มภัยให้แก่ประชาชนก็ตาม เนื่องจาก อาชญากรไซเบอร์ มีความ "ก้าวหน้า" ทางยุทธวิธีเกินกว่าจะคาดเดา และการที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งจะเป็นปัญหาทางด้านความมั่นคง จำเป็นอย่างยิ่งที่ "หายนะ" จะต้องบังเกิดก่อน จึงจะรู้เท่าทันว่า การกระทำในลักษณะนี้ เข้าข่าย "ภัยคุกคาม"
Programme Manager ของสถาบันฯ ชี้ว่า หน้าที่ของรัฐบาลทำได้เพียง "ตามล้างตามเช็ด" ส่ิงที่เกิดขึ้น เพื่อสร้าง "การป้องกัน" ที่เข้มแข็งขึ้นตามมา เพื่อลดหรือไม่ให้เกิดอันตรายดิจิทัลซ้ำรอยอีกระลอก เพราะที่สุดแล้ว อาชญากรไซเบอร์ จะสรรหาวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อหลอกล่อเหยื่อที่ขาดความรู้ หรือแม้กระทั่งมีความรู้ทางดิจิทัลระดับสูงก็ตาม แม้กระทั่งพัฒนาสิ่งที่เราคิดว่า "รู้เท่าทัน" เช่น Scammer หรือ Phishing ก็มีผู้เคราะห์ร้ายให้เห็นได้อย่างดาษดื่น
ซานเย กาเธีย ให้ตัวอย่างจากประสบการณ์ตรง คือ บัญชีอีเมลล์ได้รับข้อความไม่ทราบแหล่งจำนวนมาก ส่งผลทำให้โทรศัพท์รวน ระบบอืดและช้า Reboot ตนเองหลายครั้ง เมื่อไปเช็คที่ศูนย์ซ่อม พบว่า มีการติดตั้งแอปพลิเคชันซ่อนไว้ในแอปฯ Google Contact เพื่อติดตามตัวอีกทอดหนึ่ง ทางแก้เดียว คือ ยกเครื่องโทรศัพท์ใหม่ทั้งหมด ไม่มีทางเลือกอื่นใด
ส่วนตัวเคยถูกแฮ็คโทรศัพท์ และรัฐบาลทำอะไรไม่ได้ กู้ข้อมูลคืนไม่ได้ ทำให้กลับสภาพเดิมไม่ได้ … บางที เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำเสียเอง เพราะข้อมูลที่หลุดออกไปของประชาชน มาจากความหละหลวมของการบริหารจัดการทางไซเบอร์ของรัฐบาลทั้งสิ้น
Programme Manager ของสถาบันฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ต้องให้ความสำคัญกับความมั่นคงดิจิทัลมากที่สุด เนื่องจากตกเป็นเป้าโจมตีของอาชญากรไซเบอร์มากกว่าร้อยละ 38 ในสัดส่วนอาชญกรรมทางดิจิทัลทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และองค์กรต่าง ๆ เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด เนื่องจาก อุดมไปด้วยข้อมูลเชิงลึกของประชาชน หากเจาะเข้าไปได้ ความสั่นคลอนจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงระดับบุคคล แต่เกิดในระดับประเทศเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะระมัดระวังความปลอดภัยทางดิจิทัลดีเพียงไร หากกฎหมายทางเทคโนโลยีหละหลวม ทำให้สิ่งนี้หลุดออกไปได้ง่าย ๆ โดยที่ทำอะไรไม่ได้ หมายความว่า ผู้อื่น ที่เราไว้วางใจให้เข้าถึงข้อมูล เป็นอันตรายมากกว่า ตัวเราเสียอีก
ข้อมูลสำหรับบุคคลธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็น "ปลายทาง" ของความมั่นคงดิจิทัล ส่วนใหญ่มักจะเสียหายในรูปแบบ "สินทรัพย์" โดยตรง แต่กับ "Public Figure" เช่น นักแสดง นักการเมือง หรืออินฟลูเอนเซอร์ ความเสียหายที่มากกว่านั้น คือ "ชื่อเสียง ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือ" ซึ่งจะนำมาสู่การสูญทรัพย์ในอนาคตได้
"นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ประสบปัญหา Deepfake มีบุคคลปลอมใบหน้าและเสียงเพื่อขอเงินบริจาค หากใครหลงเชื่อ จะคิดว่า เสียงจริง ตัวจริง มาเอง แม้จะสืบทราบภายหลังว่าเป็น AI-generated นายกฯ ก็เสียชื่อเสียงไปแล้ว"
หลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุใด Deepfake จึงเลียนแบบได้เนียนกริบขนาดนี้ Programme Manager ของสถาบันฯ อธิบายว่า ประชาชน "ถวายพาน" แหล่งข้อมูลสำหรับการสร้าง Deepfake ด้วยตนเอง แถมยังให้แบบฟรี ๆ โดยที่ไม่ตระหนักอีกด้วย ว่า "การอัพโหลดรูปภาพ" ลงบนแพล็ตฟอร์มสังคมออนไลน์ต่าง ๆ แม้จะเปิดให้เห็นเพียง Friends ก็ถือว่าข้อมูลใบหน้าหลักพันล้าน รอคอยให้อาชญากรนำไปใช้งานเสียแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริง ๆ
ปัญหาหลักของความมั่นคงดิจิทัล คือ แม้แต่รัฐบาลที่สมควรจะเป็นหัวเรือในการสร้างเสริมและสร้างการตระหนักรู้ด้านไซเบอร์ต่อประชาชน ยัง "ตกเป็นเหยื่อ" ได้โดยง่าย เพราะหน่วยงานภาครัฐเลห่านี้ ถือครองชุดข้อมูลของประชาชนระดับมหาศาล มากกว่าบรรดา NGOs องค์กรอิสระ หรือสำนักข่าวต่าง ๆ หลายเท่าตัว
และหากพันธกิจหลักของรัฐบาลเหลือเพียง "ตามเก็บ" อันตรายดิจิทัล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ว่า ยุทธวิธีใหม่ ๆ ของอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ ในปัจจุบัน นอกเหนือจากวิธีการเดิม ๆ ที่คุ้นหู เช่น Scammer Phishing หรือ Deepfake ยังมีของใหม่ เช่น Doxxing และ DDOS อีกด้วย
โดย Doxxing หมายถึง การขโมยข้อมูลเพื่อเปิดเผยให้เกิด "ความอับอาย" หรือ "ไม่มั่นคง" ซึ่งวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลนั้น ทำได้หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า Digital Footprint ที่ผู้เสียหายได้ก่อวีรกรรมอย่างน่าละอายไว้ตั้งแต่ต้น อาชญากรจะไม่เผยแพร่ในทันที แต่จะข่มขู่เป้าหมายให้ทำตามสิ่งที่ตนคาดหวังเสียก่อน โดยมีทั้งเรื่องทรัพย์สิน หรือไปจนถึงเรื่องโชว์ของสงวน
ข้อมูลสำคัญที่มักจะเปิดเผยจาก Doxxing คือ รหัสผ่าน หรือ เลขบัตรประชาชน … และส่วนใหญ่เป็นคนกันเองทั้งนั้นที่กระทำ อาจจะมาจากการเหม็นหน้ากัน หรือไม่พอใจกันบางอย่าง … แอคติวิสต์ และ นักการเมือง มักตกเป็นเหยื่อ เพื่อหวังผลให้หยุดเคลื่อนไหว และสร้างความเสื่อมเสีย ตลอดจนตกเป็นเป้าสวนกลับให้ฝ่ายตรงข้ามได้
ส่วน DDOS ย่อมาจาก Denial-of-service attack หมายถึง การรบกวนผู้ให้บริการ ทั้งเว็บไซต์ แพล็ตฟอร์มออนไลน์ หรือ Intranet ให้ใช้การไม่ได้ แม้แต่ผู้ดูแลระบบก็ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ ปัญหานี้ มักจะเกิดกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการ "เรียกค่าไถ่" ให้ปลดล็อคการให้บริการกลับมาเป็นปกติ ไม่เช่นนั้น การดำเนินกิจกรรมทางราชการ จะไม่สามารถกระทำได้
DDOS เกี่ยวข้องกับการใช้ Bots เพื่อเข้าสู่แพล็ตฟอร์มพร้อม ๆ กัน คล้าย ๆ กับการใช้ Information Operations (I.O.) เพื่อปั่นให้เกิดความผิดพลาดของระบบสังคมออนไลน์ … เมื่อทำระบบให้ล่ม จึงเปิดช่องให้ดูดข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยง่าย หรือไม่ก็ย้าย Server ไปอยู่ที่ใหม่ ให้ตนทางตามยากขึ้น
Programme Manager ของสถาบันฯ ยกตัวอย่างการใช้ยุทธวิธี DDOS ในประเทศอินโดนีเซีย อาชญากรพุ่งเป้าไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ในช่วงเลือกตั้งทั่วไป เพื่อปั่นให้ผู้ใช้สิทธิ "เข้าใจผิด" ด้านผลการนับคะแนนของผู้สมัคร ส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป และเปลี่ยนผลการเลือกตั้งทางกายภาพจริง ๆ ได้
ดังจะเห็นได้ว่า ความมั่นคงดิจิทัล ต้องตามให้ทันสติปัญญาของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ให้ทันท่วงที นอกจากวิธีการเก่า ๆ ที่อันตรายอยู่แล้ว วิธีการใหม่ ๆ อันตรายมากขึ้นเป็นเท่าทวี จาก Doxxing หรือ DDOS ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและตัดสินใจของผู้คนได้
ส่วนจะมีวิธีการใดที่เป็น พื้นฐานที่สุด สำหรับการป้องปรามและป้องกันภยันตรายจากดิจิทัลได้นั้น Programme Manager ของสถาบันฯ ชี้ให้เห็นว่า ช่องทางเดียว คือ ประชาชนต้องมี "สติปัญญา" เป็นลำดับแรก
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า แม้แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้มากมายนัก แต่ปัญหาด้านนี้วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางที่ดีที่สุด คือ "ติดอาวุธ" ให้ตนเอง เพื่อรู้เท่าทันสิ่งที่ "ไม่อาจรู้ได้" ว่าจะทำอันตรายกับเราวันใด เพราะเราทราบแน่ ๆ ว่า สิ่งนี้ จะอันตรายกับเราในอนาคต
Programme Manager ของสถาบันฯ เสนอว่า แม้แต่การเปลี่ยน Password บ่อย ๆ หรือปรับให้ Strong มากยิ่งขึ้น ก็ไม่อาจช่วยได้ หากอาชญากรจะเอาจริง ๆ ไม่มีอะไรขวางได้ ดังนั้น ควรต้องเพิ่มความปลอดภัย "หลาย ๆ ชั้น" อย่างน้อย ๆ เป็นการชะลออันตรายที่จะคืบคลานเข้ามาถึงตน
นอกจากจะมี Password ยังต้องมี Passkey หรือ Authenticator เพิ่มเข้ามา คือ ต้องมีอะไรที่มากกว่าการใส่รหัสเฉย ๆ เช่น ใส่ลายนิ้วมือ ม่านตา หรือใบหน้า ที่ยากแก่การลอกเลียนแบบได้ หรือกระทั่ง การเข้ารหัสหลาย ๆ ชั้นก็ตาม
แม้จะปลอดภัย แต่ปัญหา คือ ความซับซ้อนและปฏิบัติได้ลำบากลำบน บรรดา "ผู้อาวุโส" ทั้งหลาย เช่น Baby Boomers หรือ Gen X อาจมีปัญหาด้านการใช้งานข้อแนะนำนี้ได้ ซานเย กาเธีย ทิ้งท้ายว่า ช่วยไม่ได้ และต้องอาศัยความอยากเรียนรู้และทำความเข้าใจ ไม่อย่างนั้น ผลเสียที่จะตามมา ย่อมทำอันตรายต่อผู้นั้นในบั้นปลาย
ทักษะ "AI" ไม่พอทำงาน “แรงงานยุคใหม่” ต้องผสาน "Critical Thinking"
"AI" พัฒนา "ครู" ยกระดับการศึกษา-รู้ทันเทคโนโลยี
ช่วงเดือน ม.ค.นี้ หากใครเป็นคนชอบดูดาว รับรองไม่ผิดหวัง เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ระบุว่า ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.นี้ มี พาเหรดดาวเคราะห์ หรือดาวเคราะห์เรียงตัวในแนวเดียวกันบนฟ้า
เมื่อมองจากโลกจะเห็นดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะปรากฏเรียงกันบนท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ ได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร สังเกตได้ด้วยตาเปล่า รวมถึง ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส สังเกตเห็นได้หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ จึงเป็นโอกาสดีที่จะชมดาวเคราะห์ต่างๆ ได้พร้อมกัน
อ่านข่าว รวมไว้แล้วห้ามพลาด ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 10 เรื่อง ที่น่าติดตามในปี 2568
ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรเรียงตามกันแต่อย่างใด เป็นเพียงความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้ายามค่ำคืนในมุมมองจากโลก และเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก
"พาเหรดดาวเคราะห์" หรือปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงเป็นแนวบนท้องฟ้าเช่นนี้เกิดจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะแต่ละดวงโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากมุมมองของผู้สังเกตบนโลก แต่โดยทั่วไปแล้วดาวเคราะห์ทุกดวงจะปรากฏตามระนาบสุริยวิถี (แนวการขึ้นตกของดวงอาทิตย์) เป็นปกติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด และหากมองในมุมมองจากอวกาศจะยิ่งพบว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์นั้น ไม่ได้สอดคล้องกับการเรียงแถวในวงโคจร
สิ่งที่พิเศษจริง ๆ คือการที่ดาวเคราะห์ทุกดวงจะปรากฏบนท้องฟ้าพร้อมกันในช่วงหัวค่ำ
ในช่วงเดือน ม.ค. ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร จะปรากฏเรียงกันในช่วงหัวค่ำ ยกเว้นดาวพุธที่ยังคงปรากฏในช่วงรุ่งเช้าหลังจากวันที่ 10 ก.พ.นี้ ดาวพุธจะเปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำร่วมกับดาวเคราะห์อื่น ๆ
นอกจากนี้ ในวันที่ 1 มี.ค.นี้ ตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 1 ค่ำ ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะรวมถึงดวงจันทร์จะปรากฏพร้อมกันบนท้องฟ้า เรียงตัวตามแนวเส้นสุริยะวิถี ซึ่งจะปรากฏในลักษณะนี้ไปตลอดจนถึงต้นเดือนมี.ค. ก่อนที่ดาวเสาร์จะเปลี่ยนไปปรากฏในช่วงรุ่งเช้าหลังวันที่ 12 มี.ค.นี้
หนึ่งวันที่โลกหมุนรอบตัวเอง ดาวเคราะห์ทุกดวงจะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ลักษณะเดียวกันกับดวงอาทิตย์ แต่เนื่องจากเราสามารถเห็นดาวเคราะห์ได้ในช่วงกลางคืนเท่านั้น
เช่น “ดาวศุกร์” ที่คนไทยมักจะรู้จักกันในชื่อ “ดาวประกายพรึก” ปรากฏในช่วงรุ่งเช้า และ “ดาวประจำเมือง” ปรากฏในช่วงหัวค่ำ ซึ่งเป็นดาวดวงเดียวกัน และไม่สามารถสังเกตเห็นได้พร้อมกันในคืนเดียว ขึ้นอยู่กับว่าในช่วงนั้นดาวศุกร์ขึ้น - ตก ก่อนหรือหลังดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์อื่น ๆ ก็เช่นกัน แต่ละดวง และแต่ละช่วงเวลา จะปรากฏช่วง “หัวค่ำ” หรือ “เช้ามืด” ในคืนหนึ่ง ๆ เสมอ
สำหรับดาวเคราะห์วงนอก เช่น ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ หากโคจรอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (opposition) หมายถึงดวงอาทิตย์ โลก และดาวเคราะห์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นช่วงที่เราเรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ใกล้โลก จะสามารถสังเกตเห็นได้เกือบตลอดทั้งคืน เช่น ดาวอังคาร ที่เพิ่งจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ไปเมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา
ดังนั้นในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.นี้ ที่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะปรากฏพร้อมกันในช่วงหัวค่ำเช่นนี้ จึงนับว่าเป็นปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่หาชมได้ยาก
ผู้สนใจสามารถติดตามชม “พาเหรดดาวเคราะห์” หรือ “ดาวเคราะห์เรียงกัน” ได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวเนปจูน ดาวศุกร์ ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร ได้ตามช่วงเวลา ดังนี้
ทั้งนี้ ดาวเนปจูน และดาวยูเรนัส มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ช่วงฤดูหนาวท้องฟ้าปลอดโปร่ง ชมได้ด้วยตาเปล่า หรือหากอยากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ สามารถมาร่วมกิจกรรม “NARIT Public Night: ดูดาวทุกคืนวันเสาร์” ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม และหอดูดาวภูมิภาคทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และ สงขลาเข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
"พระคุณที่สาม" เพลงเก่าในอดีตกว่า 60 ปี ที่มักได้ยินกันในพิธีไหว้ครู เนื้อร้องและทำนอง โดย ครูสุเทพ โชคสกุล พรรณาถึงความเคารพในคุณครู เทียบเคียงได้เป็น "พระคุณที่ 3" นอกเหนือจาก พระคุณที่ 1 พระรัตนตรัย และ พระคุณที่ 2 บิดามารดา เนื้อเพลงสะท้อนถึงการ "เคารพพระคุณครู" อย่างลึกซึ้ง ในฐานะผู้ "เป็นศูนย์กลาง (Wisdom-centric)" ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ อบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความรัก ความเมตตา
แต่ในยุคสมัย Disruptive Technology ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือกระทั่งสอบถาม AI เช่น ChatGPT, Gemini หรือ Claude แสดงให้เห็นว่า AI ปลดล็อกศักยภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์ชาติ ทำให้การศึกษาไม่ได้อยู่ภายใต้รั้วโรงเรียนอีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เริ่มมีมากขึ้น หรือกระทั่งการนำ AI เข้ามาช่วยเหลือในทางการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องหวังพึ่งครูในการแสวงหาความรู้อีกต่อไป
ราวกับว่า อาชีพครู กำลังจะสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้
แต่หากยึดมั่นในหลักการของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ว่าด้วย "วิวัฒนาการ" เพื่อหนีให้พ้นวิกฤต ความหวังที่สดใสรออยู่เสมอ แต่ข้อสงสัย คือ ครูจะมีวิธีการอย่างไรในการปรับตัวเข้าสู่ยุค AI อย่างเต็มรูปแบบที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ และที่สำคัญ ครูจะพร้อมปรับตัวหรือไม่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงโดยเทคโนโลยีเช่นนี้
การนำ AI มาใช้สำหรับยกระดับการเรียนการสอน ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ จากผลสำรวจของ Kasikorn Business Technology Group หรือ KBTG ระบุว่า ทั่วโลกกว่าร้อยละ 60 ในสถานศึกษา ใช้ AI ในฐานะเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด หากปราศจากซึ่ง "ผู้สอน" ที่มีศักยภาพมากพอที่จะใช้ AI ได้อย่างมีวิจารณญาณและประสิทธิภาพ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตผู้เรียนออกมาให้ใช้ AI ได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า การจะเอา AI ให้อยู่หมัด ไม่สามารถเป็นผู้ใช้งาน (User) อย่างเดียวได้ แต่ต้องทำให้เกิดผู้สร้างสรรค์ (Creator) เพื่อที่จะพัฒนาการทำงานของ AI ไม่ให้เกิดอาการหลอน (Hallucination) เวลา Prompting และเมื่อการพัฒนา AI มาจากบุคลากรด้านการศึกษาที่มีหลากหลายองค์ความรู้ ย่อมทำให้ AI เหมาะสำหรับช่วยเหลือด้านการแสวงหาปัญญาเป็นอย่างยิ่ง
AI สร้างขึ้นมาจากโลกทั้งใบ เราเป็นส่วนหนึ่งได้ … จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้สอนระดับชั้นนำมากมาย ดังนั้น เราจึงต้องพัฒนา AI ด้วยตนเอง ไม่รีรอหรือใช้งานเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างอนาคตทางการศึกษาให้ประเทศไทย
เป้าหมายหลักของอธิการบดี จุฬาฯ ต้องการให้ผู้สอนนั้น "ใช้เครื่องมือเป็น" ก่อนที่จะสอนให้ผู้เรียนใช้เครื่องมือเป็น ในโลกยุคใหม่ อุดมศึกษา (Higher Education) จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จุฬาลงกรณ์จึงต้องมีบทบาทในการ "ชี้นำสังคม" มากยิ่งขึ้น ตลาดงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI หรือ Data Analysis ย่อมผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตรงนี้ หากผู้สอนไม่พร้อมถ่ายทอดความรู้ AI บัณฑิตจะลำบากในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
การเรียนต้องรักในการแสวงหาความรู้ จึงจะสามารถเอาชนะ AI ได้ เรียนเพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงจะเข้าใจ AI … ต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นตายกันหมด … จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงแบรนดิ้งตนเองเป็น The University of AI หมายถึง ต้องรังสรรค์ AI ได้ด้วยตนเอง และต้องมีผู้เชี่ยวชาญ AI อยู่ในทุกสาขาวิชา
สอดคล้องกับ เรืองโรจน์ พูนผล หรือ "กระทิง" ประธาน KBTG กล่าวว่า เราต้อง Revolutionised ความรู้ หมายถึง เปลี่ยนจากการถ่ายทอดด้วยครูเพียงอย่างเดียว ที่มีข้อจำกัดเรื่องความเชี่ยวชาญ มาสู่ ครู+AI ที่ทวีความรู้มากยิ่งขึ้น ชีวิตนี้ เราอยู่กับ AI มากกว่าตนเองเสียอีก ดังนั้น หากไม่สร้างเสริมบุคลากรทางการศึกษาให้ใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ย่อมมาสู่สังคมอย่างมหาศาล
ตรงนี้ เป็นจุดเลี้ยวแรกของการเปลี่ยนแปลง และจะพลิกผันได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต … AI เป็นยิ่งกว่าอากาศ ขาดไม่ได้ … โดยเฉพาะ วงการศึกษา อาจารย์งานเยอะมาก AI มาช่วยได้ โดยเฉพาะ Research … หากครูใช้ถูก เด็กจะฉลาดหลักแหลม หากใช้ผิด เช่น ผิดจริยธรรม ผลเสียก็กลับมาสู่การศึกษา
ในภาคปฏิบัติ อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า ได้ริเริ่มสร้าง "AI ให้เป็นครู" ไปใน 2 หลักวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ แพทยศาสตร์ และ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
รศ.ดร.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ได้มีการนำ AI มาสร้าง Simulation จำลองการผ่าตัดหรือวินิจฉัยโรค แทนการให้นิสิตแพทย์ลงมือกับเคสจริง ๆ ที่อาจสุ่มเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ด้วยการขาดประสบการณ์ ความประหม่า หรือความไม่รอบคอบ
แพทย์ที่ดีต้องมีประสบการณ์โชกโชน บางทีกว่าจะเก่งก็หัวหงอกแล้ว สำนวนกล่าวว่า ผิดเป็นครู แต่ผิดบ่อย ๆ สำหรับแพทย์ อันตรายถึงชีวิต … AI ทำให้แพทย์คิดรอบคอบมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพการรักษา และทำงานเอกสารอื่น ๆ ลดลง
รศ.ดร.พญ.โสฬพัทธ์ ยังเสริมว่า ไม่เพียงแต่การผ่าตัดและวินิจฉัยโรค "ทางกาย" เท่านั้น แต่ AI ยังช่วยให้แพทย์รักษาโรค "ทางใจ" เช่น โรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย เพราะ AI สามารถที่จะ "อ่านพฤติกรรมและสัญญะ" ที่แสดงออกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าสายตาของแพทย์ กระนั้น เหล่าแพทย์เองต้อง Prompt ดี ๆ ไม่อย่างนั้น AI อาจเกิดความผิดพลาด ซึ่งกลับไปสู่จุดเริ่มต้น คือ อาจารย์แพทย์ต้องไม่หลอน ต้องเข้าใจ AI ก่อนที่จะมาสอนนิสิตได้
ส่วน รศ.ศรัณย์ ชูเกียรติ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า แทนที่จะสอนให้ครูใช้ AI เป็น นำ "AI มาเรียนหนังสือ เพื่อไปเป็นครู" เป็นทางออกที่น่าสนใจกว่ามาก โดยได้คิดค้น LUCA ซึ่งเป็น AI ของคณะฯ ร่วมเรียนหลักสูตรปริญญาตรี และคาดว่าจะจบการศึกษาใน 2-3 ปีนี้ เพื่อจะได้เป็นครูสอนหลักวิชาบัญชีฯ ในเขตชนบทที่ห่างไกล ด้อยโอกาสทางการศึกษา
เวลาเห็นครูในชนบทสอนหลักวิชาบัญชีฯ ผิด เราจะวิพากษ์ว่าบกพร่องหรือ คณะเราต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงมุ่งสร้าง Cyborg Accountant เพื่อกระจายองค์ความรู้ไปยังดินแดนด้อยโอกาสทั้งหลาย
เมื่อถามถึง LUCA ยังรักษามาตรฐานของหลักวิชาได้อย่างครบถ้วน เหมือนอาจารย์ด้านบัญชี จุฬาฯ หรือไม่ รศ.ศรัณย์ ยกตัวอย่าง เครื่องคิดเลข CASIO เกิดขึ้นมา เพราะ ทำให้นักบัญชีใช้สมองน้อยลงมาก AI ที่มีศักยภาพมากกว่านักบัญชีหลายเท่า มีปัญหาแน่นอน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า บรรดาอาจารย์บัญชีฯ จะยกระดับ AI ให้กลายเป็นครู ด้วยสติปัญญาของตนเอง ได้มากน้อยเพียงใดมากกว่า
เห็นได้ว่า การใช้ AI เพื่อการเรียนการศึกษา พัฒนาไปไกลมากกว่าที่คาดคิด โดยเฉพาะที่จุฬาฯ ได้ทดลองสร้างโลกจำลองการผ่าตัดและวินิจฉัยโรค รวมถึงพัฒนา AI ให้เป็นครูมาแล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นการลงนามความร่วมมือกับ KBTG ในฐานะ "ลมใต้ปีก" ที่คอยสนับสนุนความคิดสุดสร้างสรรค์ของจุฬาฯ ด้าน AI เพื่อทำให้ปณิธานของอธิการบดี ไม่ได้เป็นเพียง "ฝันเฟื่อง" แต่ทำได้อย่างแท้จริง ในฐานะผู้ชี้นำและหาทางออกให้กับสังคมไทย
กระนั้น การสร้างให้ครูเข้าใจ และรู้เท่าทัน AI เป็นความคิดที่ดีมาก แต่ในอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย มีระบบที่เรียกว่า "Tenure" หมายถึง การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในระยะยาว มีความมั่นคงสูง ไม่ทำผิดร้ายแรงจริง ๆ ไม่มีทางเชิญให้ออกจากตำแหน่งง่าย ๆ ซึ่งเป็นระดับ "รองศาสตราจารย์" ขึ้นไป
ด้วยระบบนี้ ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่อยู่ในระดับ รศ. จำนวนไม่น้อยเป็น "ไม้ตายซาก (Dead Wood)" หมายถึง ไม่เอาอะไรเลย ไม่มี Passion ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ผลิตผลงานทางวิชาการ ไม่พัฒนาคุณภาพการสอน ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ แทบจะอยู่ไปวัน ๆ จึงเกิดคำถามว่า การหมายให้บุคลกรเหล่านี้รู้เท่าทัน AI และคุม AI ให้อยู่มือ เพื่อสร้างนิสิตที่มีคุณภาพความเข้าใจ AI ในระดับสูง จะเป็นปัญหาระยะยาวหรือไม่
ศ.ดร.วิเลิศ ชวนคิดว่า การสร้างเสริมความเข้าใจใน AI ต่อครูบาอาจารย์ มีประเด็นที่นอกเหนือจากการศึกษา คือ การใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องข้องเกี่ยวกับ AI โดยสมบูรณ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อย หากมีความเข้าใจ AI จะทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์เป็นผู้เสียหายจาก Scammer หรือ Malware ได้
"ประโยชน์ที่ได้มาจากการเปิดใจเรียนรู้ AI มีมหาศาลกว่านั้น … อยู่ที่การประยุกต์ใช้ของครูอาจารย์ด้วยตนเอง … ไม่แน่ว่า อาจจะได้ไอเดียเขียนเปเปอรืหรือวิจัยใหม่ ๆ ก็เป็นได้" ศ.ดร.วิเลิศ ทิ้งท้าย
ทักษะ "AI" ไม่พอทำงาน “แรงงานยุคใหม่” ต้องผสาน "Critical Thinking"
"จิตวิทยา AI" อัจฉริยะเทคโนโลยี จำลองตัวเอง "ที่ปรึกษา" วัยชรา
มนุษย์อยู่อย่างไร ? เมื่อ AI กำลังจะ "ครองโลก"
วันนี้ (12 ม.ค.2567) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เชิญชวนชม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” ชวนมาส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ 5 จุดหลัก ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ และหอดูดาวภูมิภาค นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี และรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ในช่วงวันที่ 12-16 ม.ค.2568 เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากคืนวันที่ 12 ม.ค.2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร และหลังจากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 ม.ค.2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป
หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวอังคารส่องสว่างประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า และเมื่อสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวที่อยู่บริเวณขั้วของดาวอังคารได้
เชิญชวนผู้สนใจส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ คืนวันอาทิตย์ที่ 12 ม.ค.2568 เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง ได้แก่
ทั้งนี้ ดาวอังคารไม่ได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดีเหมือนดาวพฤหัสบดี หรือดาวเสาร์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี จึงทำให้วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดนั้นเคลื่อนไปจากวันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์เล็กน้อย ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งนี้ทุก ๆ 26 เดือน และโคจรจะมาใกล้โลกในครั้งถัดไปวันที่ 20 ก.พ.2570
อ่านข่าว : รอลุ้น! ดาวหางดวงใหม่ “แอตลัส G3” โคจรเข้าระบบสุริยะ 13 ม.ค.68
แสงปริศนาเหนือฟ้าเมืองไทยคาดเป็นจรวด Falcon 9 ของ SpaceX
วันนี้ (11 ม.ค. 2568) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ "TSMC" บริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่สัญชาติไต้หวัน เปิดเผยรายงานผลประกอบการในไตรมาส 4 ทำกำไรไปมากกว่า 867,000 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 909,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตกว่าร้อยละ 38.8 ต่อปี ทุบสถิติโกยรายได้มากที่สุด นับตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 1994
อ่านข่าว: "เซมิคอนดักเตอร์" ต่อยอดเศรษฐกิจ โอกาสทองไทย "ต้องไขว่คว้า"
เบรดี้ หวัง (Brady Wang) นักวิจัยประจำ Counterpoint ชี้ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ผลประกอบการของ TSMC เติบโตมากเพียงนี้ เกิดจากความต้องการของตลาด AI ที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับวิกฤตเศรษฐกิจ หรือภูมิรัฐศาสตร์ และยังมีความได้เปรียบทางด้านอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) เพราะสามารถผลิตชิปที่มีขนาด 3-5 นาโนเมตร ซึ่งเป็นชิปที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้แบบไร้ที่ติ
"การ์ดจอ (Graphics Processing Units: GPUs) โดยเฉพาะที่ผลิตโดย Nvidia หรือชิปประมวลผล AI ที่ผลิตจากเจ้าตลาดอื่น ๆ ล้วนต้องพึ่งพาชิปที่ผลิตมาจาก TSMC ทั้งสิ้น" หวัง กล่าว
นอกจากนี้ในปี 2024 ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของหุ้น TSMC ในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน เรียกได้ว่ามากที่สุดตั้งแต่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน อยู่ที่อัตราร้อยละ 88
TSMC เป็นหุ้นส่วนที่ผลิตชิปให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ เช่น Apple, NVIDIA, Google, รวมถึง Microsoft มายาวนาน กำไรที่ออกมาดีเกินคาด เป็นสัญญาณว่า การเติบโตของวงการ AI ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องในปี 2025
ไม่นานมานี้ Microsoft ประกาศว่าบริษัทมีแผนจะใช้เงิน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่รองรับงานด้านการประมวลผล AI ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การยกระดับศูนย์ข้อมูลของเจ้าตลาดอิเล็กทรอนิกส์นี้ อาจจะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ทำให้ TSMC พุ่งทะยานมากขึ้นกว่าปี 2024 ก็เป็นได้
ที่มา: CNBC
ทักษะ "AI" ไม่พอทำงาน “แรงงานยุคใหม่” ต้องผสาน "Critical Thinking"
"โดรน" ยุทธภัณฑ์สงคราม เทคโนโลยีความมั่นคง "กองทัพไทย"
กองทัพ ความมั่นคงอวกาศ-เศรษฐกิจอวกาศ ไทยไม่ตกเทรนด์โลก
การเกิดขึ้นของ ChatGPT ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ทักษะด้าน "AI" มีความต้องการในตลาดแรงงานเป็นที่สุด จากรายงานของ The Future of Jobs Report 2025 ระบุว่า ตำแหน่งงานแบบเดิม ๆ จะสูญสลายไปมากกว่า 92 ล้านตำแหน่ง โดย 5 อันดับแรก ได้แก่ พนักงานไปรษณีย์, พนักงานคีย์ข้อมูล, พนักงานธนาคาร, แคชเชียร์และพนักงานจำหน่ายตั๋ว และงานธุรการ
สังเกตได้ว่า งานที่กำลังจะล้มหายตายจากไปนั้น มีความเกี่ยวข้องกับหลักวิชาด้าน สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นส่วนใหญ่
รายงานดังกล่าว ระบุอีกว่า ตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 170 ล้านตำแหน่ง เกือบทั้งหมดเกี่ยวพันกับ AI ทั้งสิ้น โดย 5 อันดับแรกของงานที่พุ่งแรงที่สุด ได้แก่ Big Data Specialist, FinTech Engineer, Machine Learning Specialist, Softwar Developer และ Security Manager ตำแหน่งงานเหล่านี้ต้องการผู้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักวิชา "เทคโนโลยีระดับสูงและเฉพาะทาง" เพื่อให้เกิดการจ้างงานในภายภาคหน้า
แม้จะเข้าใจได้ว่าการทำงานต้องใช้ทักษะที่จำเป็น และตอบโจทย์ต่อภาคธุรกิจ แต่แรงงานยุคใหม่มีทักษะ AI อย่างเดียว เพียงพอต่อการอยู่รอดในโลกของการจ้างงานที่แข่งขันกันสูงขึ้นหรือไม่ หรือจริง ๆ แล้วยังต้องประสานพลังกับความรู้ ทักษะด้านสังคมศาสตร์ ที่มีประเด็น "Critical Thinking" หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ถี่ถ้วน รอบคอบ ไม่ตกเป็นเหยื่ออะไรง่าย ๆ
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ไม่ได้แยกขาดจากการเรียนเพื่อรู้อย่างถาวร แต่สามารถที่จะ "Interplay" หรือ สร้างผลสืบเนื่องต่อกันและกันได้ หากมีเพียงองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์เพียงอย่างเดียว ย่อมตกงาน เตะฝุ่น การจ้างงานไม่เกิด แต่หากมีเพียงทักษะวิชาชีพ เช่น AI ความลุ่มลึก การตัดสินคุณค่า และการคิดเชิงวิเคราะห์ย่อมหายไป เหลือเพียงแต่ "Labour Intensive" หรือ แรงงานที่ลงแรงเฉย ๆ ไม่มีชุดวิธีคิดในการตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
การจะเป็นแรงงานที่สมบูรณ์พร้อมในอนาคต จะต้องผสาน "ศาสตร์และศิลป์" หมายถึง ต้องมีทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน และมีองค์ความรู้เชิงนามธรรมที่ลุ่มลึกมากพอในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอว่า แรงงานที่อยากจะอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ หรือกระทั่งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องพัฒนาตนเองให้ "ยกระดับทักษะถ้วนหน้า (Holistic Upskills)" หมายถึง ไม่เพียงแต่เพิ่มขีดความสามารถในทักษะด้านใดด้านหนึ่ง หรือเลือกเฉพาะทักษะที่ตนสนใจ ชื่นชอบ หรือมี Passion มายกระดับเท่านั้น แต่ต้องยกระดับ "ทั้งกระบิ" เพื่อให้ความสามารถของตนนั้นมีมากพอที่จะประกอบอาชีพที่สอดรับกับตลาดแรงงานในโลกอนาคตได้
ทุกวันนี้ ไม่มีแบ่งแยกศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง อักษรศาสตร์ ต้องเข้าใจเทคโนโลยี จึงจะประยุกต์ใช้ ChatGPT ได้ หากเชี่ยวชาญเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ตลาดแรงงานไม่ต้องการ … ทุกวันนี้ AI สามารถ Generate นิยาย หรืองานโฆษณา อาชีพเหล่านี้เหลืออะไร … เราต้องเข้าใจโลกว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด … เราเน้นสร้าง Future Human เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ยังชี้ว่า อุดมศึกษายุคใหม่ต้องผลิตบัณฑิตที่เปี่ยมล้นไปด้วย "Critical Thinking" หมายถึง ต้องมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการกำกับควมคุม AI อีกทอดหนึ่ง ถึงแม้สิ่งนี้จะฉลาดกว่าปัจเจกมาก ทั้งจดจำได้ดีกว่า บรรจุข้อมูลได้มากกว่า และรอบรู้มากกว่าสมองของเรา แต่สติปัญญาของมนุษย์ อย่างไรก็เหนือกว่าในเรื่องของ "การวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ (Analytical and Creative)"
เชื่อมั่นว่า ปัญญาที่ไม่ประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากผู้เรียน เอาชนะ AI ได้ … แม้จะใช้งาน AI แต่ท้ายที่สุด ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเองว่า สิ่งที่ได้มาควรนำไปใช้อย่างไร เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร … เช่น ให้ AI สร้างโฆษณา แบบใดที่ลูกค้าจะชอบ หรือซื้องานเรา เหล่านี้ต้องคิดเอง
บทความวิจัย The Neoliberal University as a Space to Learn/Think/Work in Higher Education เขียนโดย อิเกีย ทรัวย็อง (Igea Troian) และ เคลาเดีย ดัทสัน (Claudia Dutson) เสนอว่า มหาวิทยาลัยทุกวันนี้ไม่ต่างจาก "โรงเลี้ยงแรงงาน" หรือ "Edufactory" ที่ความสำเร็จไม่ได้มาจากการสร้างองค์ความรู้ได้มากเพียงไร แต่มาจากสามารถผลิตแรงงานป้อนเข้าสู่ตลาดและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกได้มากน้อยเพียงไร หากป้อนได้มาก เท่ากับว่า มหาวิทยาลัยก็จะได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาคธุรกิจและภาครัฐมากตามไปด้วย
แต่การเป็นเพียงโรงเลี้ยงแรงงาน ที่ผลิตบัณฑิตออกมาเหมือน ๆ กัน เท่ากับว่า การแข่งขันในตลาดก็จะสูงตามไปด้วย และเมื่อใดก็ตามที่ ตลาดแรงงานเปลี่ยนความต้องการทักษะไปอีกขั้นในอนาคต มหาวิทยาลัยที่ตามไม่ทัน ก็จะผลิตบัณฑิตที่ไร้ความสามารถ ผลักภาระให้นายทุนต้องลงแรง "Upskill และ Reskill" แรงงานใหม่แบบยกเครื่อง
ทางออกที่ง่ายที่สุด คือ ยังต้องคงการเรียนแบบ Critical Thinking เอาไว้ ซึ่งสามารถหาได้จากสาขาวิชาสังคมศาสตร์ อย่างน้อย ๆ ก็เป็น "แต้มต่อ" ให้แก่แรงงานสามารถที่จะคิดอะไรนอกกรอบ แสวงหาทักษะใหม่ ๆ รวมถึงการปรับตัวในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การเอาตัวรอดของสาขาวิชา "ปรัชญา (Philosophy)" ฟิโอนา เยนกินส์ (Fiona Jenkins) เสนอไว้ในบทความวิจัย Gendered Hierarchies of Knowledge and the Prestige Factor: How Philosophy Survives Market Rationality ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องการ "การตัดสินคุณค่า (Value Judge)" ในบางประเด็นที่ยากแก่การตัดสินใจโดยตลอด วิชาปรัชญาก็ไม่มีทางล้มหายตายจากไปไหน แม้จะไม่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากมายอะไร
แก่นของปรัชญา คือ "การถาม" หมายความว่า ต้องเป็นผู้สงสัยในทุกประเด็น ประหนึ่ง "แบบจำลองทางความคิด" ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง ๆ ซึ่งตรงข้ามกับการศึกษาในวิชาชีพหรือการแสวงหาทักษะ ที่เน้นปฏิบัติเลย ไม่ต้องคิดอะไรเกี่ยวกับคุณค่ามากมาย คิดเพียงหลักสมการ การออกแบบโครงสร้าง หรือรูปแบบการจัดวางเป็นพอ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ "การทำแท้ง (Abortion)" หากคิดในแง่มุมผลประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ (Utility) อย่างเดียว การทำแท้งเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะว่าไม่พร้อมจริง ๆ และมนุษย์เราพลาดกันได้ แต่หากมีปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้อง การทำแท้งจะต้องคิดให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น เพราะต้องคำนึงถึง "สิทธิของตัวอ่อนในครรภ์" ที่ไม่สามารถแสดงเจตจำนงตนเองได้
เห็นได้ว่า เมื่อแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์และสร้างสรรค์ หมายความว่า สังคมศาสตร์ นั้น "อยู่ยงคงกระพัน (Never Die)" ยังมีที่ทางบนโลกการทำงานในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไม่ต้องสงสัย และไม่สูญสลายไปง่าย ๆ
หากมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้วยการติดตั้งทักษะ AI เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงว่า การพัฒนาหรือใช้งาน AI ในระดับสูงมากเท่าไร "ทรัพยากรใต้ดิน" หรือ "พลังงาน" จะถูกใช้งานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดสภาวะโลกเดือด หรือการสูญเสียทรัพยากรหายากไปมหาศาล จะกลับกลายเป็นผลเสียที่มากกว่าเพียงประเด็นตลาดแรงงาน
"Green Transition" เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จำเป็นต้องติดตั้งในแรงงานยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้ตระหนักถึง "ความยั่งยืน (Sustainability)" รักษ์โลก เพิ่มพื้นที่สีเขียว อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ หมายความว่า การพัฒนาบุคลากรด้าน AI อย่างไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใด เป็นการทำลายหลักการนี้แบบอ้อม ๆ และอาจจะเป็นผลกระทบในระยะยาว หากดันทุรังจะพัฒนาบุคลากรด้าน AI แบบไม่สนใจความยั่งยืนนี้
สำหรับทางแพร่ง (Dilemma) ดังกล่าว ศ.ดร.วิเลิศ เสนอแบบกว้าง ๆ ว่า เราต้องสร้าง "Sustainable AI" หมายถึง ใช้งานเทคโนโลยีให้ยั่งยืน แม้ในระยะสั้นจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในระยะยาว เมื่อองค์ความรู้ถึงขีดสุด มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ AI บนฐานของการรักษ์โลกได้
"เราต้องสร้างบุคลากรที่สามารถคิดเรื่องการใช้ AI ไปพร้อม ๆ กับ Sustainability … ตรงนี้ เกี่ยวข้องกับ Empathy หรือการทราบว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ เพื่อจะลดผลกระทบต่อสังคมให้น้อยที่สุด … เมื่อมีแต่ผลเชิงลบ ไม่มีเชิงบวก เราอยู่ไม่ได้แน่นอน" อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
บทความวิจัย Three Problems of Interdisciplinarity
บทความวิจัย Gendered Hierarchies of Knowledge and the Prestige Factor: How Philosophy Survives Market Rationality
https://www.chula.ac.th/news/210213/
วันนี้ (4 ม.ค.2568) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โพสต์ข้อความระบุว่า วันนี้ เป็นวันที่ โลกใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี มีระยะห่างประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีและดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางวงรีพอดี ดังนั้นมี 2 ตำแหน่งที่โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบ 1 ปี จุดที่ใกล้ที่สุด เรียกว่า Perihelion และจุดที่ไกลที่สุด เรียกว่า Aphelion
ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตอนเวลา 06.42 น. และตกเวลา 18.03 น. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จุดนี้หลายคนในเมืองไทยมักสับสนและเข้าใจผิดว่าฤดูหนาวเป็นเพราะโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ แต่ที่จริงแล้วตรงกันข้าม ฤดูหนาวของประเทศไทยโลกจะอยู่ในจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่มากสุด
ดังนั้น ฤดูหนาวไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด และฤดูร้อนไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับระนาบตั้งฉากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณต่างกัน ทำให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก
อ่านข่าว :
รวมไว้แล้วห้ามพลาด ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 10 เรื่อง ที่น่าติดตามในปี 2568
"นาซา" ส่งยานสำรวจ บินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
วันนี้ (3 ม.ค.2568) นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่า หลังเที่ยงคืนของวันที่ 3 ม.ค.2568 ตั้งแต่เวลา 02.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 4 ม.ค.จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bo?tes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco)
เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมงและไร้แสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์ โดยสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ พร้อมแนะนำให้ชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน
ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงวันที่ 28 ธ.ค. - 12 ม.ค.ของทุกปี และมักมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 3-4 มก.ค. สาเหตุเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดเข้ากับสายธารเศษอนุภาคที่ดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 เหลือทิ้งไว้ขณะเดินทางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในทุก 5.5 ปี เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก เกิดเป็นลำแสงวาบที่คนบนโลกเรียก “ดาวตก”
ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นกลุ่มดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ
สำหรับชื่อของฝนดาวตกควอดรานติดส์ ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือกลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ เป็นกลุ่มดาวที่ปรากฏในแผนที่ดาวในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว หากเทียบกับแผนที่ดาวปัจจุบันจะอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์และกลุ่มดาวมังกร
อ่านข่าว
ฝุ่น PM 2.5 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 61 พื้นที่ มากสุด "หนองแขม"
กรมธนารักษ์เปิดจองเหรียญฯที่ระลึก150 ปี รัชกาลที่ 5 เริ่ม 6 ม.ค.นี้
สิ้น "อักเนส เคเลติ" นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกอายุมากสุด 103 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิด 10 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าติดตามในปี 2568 มีอะไรที่น่าสนใจและห้ามพลาดบ้างไปดูกัน
เปิดศักราชมาด้วย 2 ปรากฏการณ์เกี่ยวกับ ดาวอังคาร ในคืนวันที่ 12 มกราคม 2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตการณ์ดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ปรากฏสว่างเป็นสีส้มแดงบนฟ้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคารได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทุก ๆ ประมาณ 26 เดือน
ภาพจาก สดร. - ดาวอังคารใกล้โลก และ ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์
เกิดขึ้น 2 ครั้งในรอบปีนี้ ครั้งแรกช่วงหัวค่ำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ทางทิศตะวันตก และช่วงรุ่งเช้า วันที่ 24 เมษายน 2568 ทางทิศตะวันออก
ภาพจาก สดร. - ดาวศุกร์สว่างที่สุด
ช่วงวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2568 ดาวเสาร์จะปรากฏเสมือนไร้วงแหวน เป็นมุมมองจากโลกที่จะเห็นลักษณะนี้ทุก ๆ 15 ปี แต่ช่วงวันดังกล่าวดาวเสาร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงขึ้นและตกในเวลากลางวัน ส่งผลให้สังเกตการณ์ได้ยาก ผู้สนใจแนะนำชมช่วงดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปีวันที่ 21 กันยายน 2568
ภาพจาก สดร. - ดาวเสาร์เสมือนไร้วงแหวน
วันที่ 21 กันยายน 2568 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) จึงมีระยะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,279 ล้านกิโลเมตร สังเกตการณ์ได้ตลอดทั้งคืน และแม้ว่าช่วงดังกล่าวจะไม่ปรากฏเสมือนไร้วงแหวน แต่ระนาบวงแหวนยังคงมีมุมเอียงที่น้อย จึงจะเห็นเป็นดาวเสาร์พร้อมวงแหวนบาง ๆ
ภาพจาก สดร. - ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ไฮไลต์เด่นที่น่าจับตาที่สุดในปีนี้ เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงในไทยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบสามปี (ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2565) เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 - เช้ามืด 8 กันยายน 2568 เวลาประมาณ 22:29 น. ถึง 03:55 น. (ตามเวลาประเทศไทย) คราสเต็มดวงเวลาประมาณ 00:31 ถึง 01:53 น. ช่วงดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ นาน 1 ชั่วโมง 22 นาที ประเทศไทยมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าตลอดปรากฏการณ์
ภาพจาก สดร. - จันทรุปราคาเต็มดวง
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2568 ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กว่าปกติเล็กน้อย และปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2568 ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
ภาพจาก สดร. - ดวงจันทร์เต็มดวง ใกล้-ไกลโลกที่สุดในรอบปี
ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เกิดจากโลกโคจรเข้าตัดผ่านสายธารเศษหินและฝุ่นในอวกาศที่ดาวเคราะน้อยและดาวหางทิ้งไว้ ไฮไลต์เด่นของฝนดาวตกในปี 2568 คือ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” (อัตราการตก 150 ดวงต่อชั่วโมง) คืนวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2568 ปีนีี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน
ภาพจาก สดร. - ฝนดาวตกน่าติดตาม
ในปี 2568 มีปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน และดาวเคราะห์ชุมนุมให้ชมตลอดทั้งปี ได้แก่ 4 ม.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 18 ม.ค. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์ / 1 ก.พ. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 11 เม.ย. 68 ดาวพุธเคียงดาวเสาร์ / 25 เม.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์และดาวเสาร์ / 26 เม.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวพุธ / 29 เม.ย. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวเสาร์ / 2 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวพอลลักซ์และคาสเตอร์ (ปรากฏคล้ายพระจันทร์ยิ้ม) / 23 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวเสาร์ / 24 พ.ค. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวศุกร์ / 1 มิ.ย. 68 ดวงจันทร์เคียงดาวอังคาร / 12 ส.ค. 68 ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี
ภาพจาก สดร. - ดาวเคียงเดือน และ ดาวเคราะห์ชุมนุม
ประเทศไทยมีช่วงที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะ 2 ครั้งในรอบปี ครั้งแรกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เริ่มจากภาคใต้ไล่ขึ้นไปเรื่อย ๆ กรุงเทพฯ ตรงกับวันที่ 27 เมษายน 2568 และจบที่ภาคเหนือในเดือนพฤษภาคม ส่วนครั้งที่สองอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน โดยเริ่มจากภาคเหนือปลายเดือนกรกฎาคม ไล่ลงไปจนถึงกรุงเทพฯ ตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2568 และจบที่ภาคใต้ในช่วงเดือนกันยายน ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะ (ตั้งฉากกับประเทศไทย) จะแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ สังเกตได้จากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดีเสมือนไร้เงา
ภาพจาก สดร. - ดวงอาทิตย์ตั้งฉากประเทศไทย
วันที่กำหนดฤดูกาลต่าง ๆ ของโลกในปี 2568 มีดังนี้
ภาพจาก สดร. - ฤดูกาลทางดาราศาสตร์
อ่านข่าว : เผยภาพถ่ายดาวเทียมที่เกิดเหตุ ""Jeju Air" ไถลรันเวย์
ปีใหม่ 2568 ลอกคราบเหมือนงู! เริ่มต้นชีวิตใหม่ "เปลี่ยนแปลง-เติบโต"
10 บทสวดมนต์ข้ามปี ชวนเติมพลังใจเริ่มต้นปีใหม่ 2568
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เปิดเผยว่า ยานสำรวจพาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe - PSP) ปลอดภัยดีและทำงานได้ตามปกติ หลังทำภารกิจบินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์สำเร็จ จนกลายเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ได้เฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยานลำนี้บินเข้าใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์ในระยะ 6.1 ล้านกิโลเมตร เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยบินผ่านบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า "โคโรนา" เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดดวงนี้
ยานสำรวจลำนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 692,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทนความร้อนได้สูงถึง 982 องศาเซลเซียส ตัวยานขึ้นสู่อวกาศในตั้งแต่ปี 2018 และค่อย ๆ โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงจากดาวศุกร์ ช่วยดึงวงโคจรให้แคบลง และคาดว่าจะบินเฉียดดวงอาทิตย์อีกหลายครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลปรากฏการณ์พิเศษต่าง ๆ เพิ่มเติม
อ่านข่าว : หยุดปีใหม่ นักท่องเที่ยวไหว้พระขอพร-ชมความงามวัดพระแก้ว
พิกัดสถานที่ "เคานต์ดาวน์" ร่วมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568
"ยายแบงค์" รับมอบเงินจาก "เอ็ม เอกชาติ" ปิดหนี้บ้าน 2.8 แสน
วันนี้ (28 ธ.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โพสต์ข้อความว่า ร่วมลุ้นชมดาวหางดวงใหม่ ขณะนี้กำลังโคจรเข้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน และกำลังมีความสว่างปรากฏเพิ่มมากขึ้น
โดยในช่วงต้นเดือน ม.ค.2568 อาจมีความสว่างใกล้เคียงเทียบเท่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ที่เพิ่งจะปรากฏโดดเด่นบนท้องฟ้าในช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า “ดาวหางแอตลัส G3” หรือชื่อทางการคือ “Comet C/2024 G3 (ATLAS)” ค้นพบเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2567 โดยเครือข่ายกล้อง โทรทรรศน์ ATLAS ในขณะนั้นดาวหางมีค่าแมกนิจูดปรากฏ 19 (ริบหรี่กว่าดาวพลูโตที่มีค่าแมกนิจูดปรากฏเฉลี่ยที่ 15.1) และอยู่ห่างจากโลก 4.4 หน่วยดาราศาสตร์
ล่าสุดข้อมูลจากการสังเกตการณ์ ณ วันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า ดาวหางแอตลัส G3 มีความสว่างเพิ่มมากขึ้น มีแมกนิจูดปรากฏประมาณ 8.1 (ประมาณความสว่างของดาวเนปจูน) ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง
โดยดาวหางจะสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กำลังมุ่งหน้าสู่ระบบสุริยะชั้นใน และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 13 ม.ค.2568 ที่ระยะห่าง 13.5 ล้านกิโลเมตร (ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าระยะห่างเฉลี่ยของดาวพุธจากดวงอาทิตย์ถึง 4 เท่า) ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ดาวหางมีความสว่างมากที่สุด
นอกจากนี้ หากดาวหางแอตลัส G3 สามารถฝ่าความร้อนจากดวงอาทิตย์ในช่วงที่เฉียดเข้าใกล้มากที่สุด โดยไม่แตกหรือสลายตัวเสียก่อน ดาวหางดวงนี้อาจสว่างได้มากถึงระดับแมกนิจูดปรากฏราว-3 (สว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) ไปจนถึง -4.5 (ประมาณความสว่างดาวศุกร์)
ซึ่งความสว่างของดาวหางจะเพิ่มขึ้น จากปริมาณฝุ่นและแก๊สที่ฟุ้งกระจายมากยิ่งขึ้น ร่วมกับการกระเจิงแสงอาทิตย์ผ่านหางที่ทอดยาว และบรรยากาศชั้นโคมา ที่ฟุ้งบริเวณหัวดาวหาง เช่นเดียวกับกรณีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
แต่เนื่องจากในช่วงที่ดาวหางเฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีตำแหน่งปรากฏอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก (ประมาณ 5 องศา) ทำให้การตามดูดาวหางในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำได้ยาก เนื่องจากมีแสงของดวงอาทิตย์รบกวน
ดังนั้นภาพถ่ายจากยานโซโห ที่เฝ้าติดตามและถ่ายภาพห้วงอวกาศรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ดีในการติดตามภาพถ่ายของดาวหางดวงนี้ โดยดาวหางแอตลัส G3 จะปรากฏอยู่ในมุมมองกล้องถ่ายภาพโคโรนาของยานโซโหในช่วงวันที่ 11-14 ม.ค.2568
หลังจากนั้น เนื่องจากดาวหางมีการโคจรขาออกมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ทำให้มุมเงยของดาวหางในช่วงหัวค่ำ เหนือขอบฟ้าทางตะวันตกเฉียงใต้ ค่อนข้างต่ำมาก (ในบริเวณแสงสนธยาเหนือขอบฟ้า) จึงอาจสังเกตได้ยากมาก ยิ่งกว่ากรณีดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (ที่มีการโคจรขาออกมุ่งหน้าไปทางเหนือ)
การคำนวณวงโคจรของดาวหางแอตลัสในช่วงแรกบ่งชี้ว่า ดาวหางดวงนี้โคจรเข้ามาจาก “เมฆออร์ต” ในบริเวณขอบนอกสุดของระบบสุริยะ ซึ่งมีวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากและเป็นแหล่งก่อกำเนิดดาวหางคาบยาวหลายดวง
เบื้องต้นนักดาราศาสตร์คาดว่า อาจเป็นครั้งแรกที่ดาวหางแอตลัส G3 โคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน แต่ในที่สุดการสังเกตการณ์ดาวหางแอตลัสเพิ่มเติมในเวลาต่อมา บ่งชี้ว่าดาวหางแอตลัส G3 อาจเคยโคจรเข้ามาระบบสุริยะชั้นในแล้วเมื่อประมาณ 135,000-160,000 ปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://skyandtelescope.org/.../comet-atlas-c-2024-g3...
http://www.aerith.net/comet/catalog/2024G3/2024G3.html
วันนี้ (22 ธ.ค.2567) เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยจากกรณีมีผู้พบเห็นแสงปริศนาเหนือฟ้าเมืองไทย ลักษณะเป็นแสงสีขาว มีจุดสว่างหนึ่งจุด พร้อมฝ้าลักษณะฟุ้งออกไปรอบ ๆ เริ่มปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตกใกล้กับตำแหน่งของดาวศุกร์ จากนั้นเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนจะหายลับไป มีผู้พบเห็นในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา
จากการตรวจสอบ พบว่าเมื่อเวลา 18.34 น.ตามเวลาของประเทศไทย SpaceX บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ ได้ปล่อยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานปล่อยจรวดในฐานทัพอวกาศฟานเด็นเบร็ค (Vandenberg Space Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จากช่วงเวลาที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนา ประกอบกับลักษณะของแสงกล่าว คาดว่าจะเป็นแสงที่ไอพ่นจรวดสะท้อนแสงอาทิตย์เมื่อจรวดอยู่ในอวกาศ เช่นเดียวกันกับกรณีที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ที่ผ่านมา
สำหรับเที่ยวบินของ SpaceX ครั้งนี้มีชื่อว่า Bandwagon-2 บรรทุกดาวเทียมจำนวนมากจากลูกค้าที่เป็นหน่วยงานหรือบริษัทจากชาติต่าง ๆ เข้าสู่วงโคจรระดับต่ำรอบโลก (LEO) ตัวอย่างของดาวเทียมเหล่านี้ ได้แก่
- 425 Project SAR Sat 2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์ทางทหาร ของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้
- LizzieSat-2 และ LizzieSat-3 : ดาวเทียมด้านอินเตอร์เนต ของ Sidus Space บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ
- ICEYE-X2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์การณ์โลกด้วยระบบเรดาร์ ของ ICEYE บริษัทด้านการสังเกตการณ์โลก รวมถึงการผลิตและจัดการดาวเทียมขนาดเล็ก ในฟินแลนด์
- Hawk 11A,11B,11C : ดาวเทียมด้านข่าวกรองทางสัญญาณ จาก HawkEye 360 บริษัทเอกชนสหรัฐฯ ด้านการเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาตำแหน่งด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ โดยใช้เครือข่ายดาวเทียม
- Crocube : ดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับสังเกตการณ์โลกดวงแรก ของประเทศโครเอเชีย
- LASARSat : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสาธิตเทคโนโลยี ของประเทศเช็กเกีย
- XCUBE-1 : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสังเกตการณ์โลก ของ Xplore บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ
จะเห็นได้ว่ามีโอกาสพบเห็นแสงในลักษณะนี้ได้บ่อยยิ่งขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีอวกาศกำลังก้าวหน้า ถือเป็นเรื่องปกติ และไม่ต้องตื่นตระหนก
อ่านข่าว :
22 ธ.ค.67 "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ส่งชุดตรวจคัดกรอง "โรคไต" ฝีมือคนไทยแจกในร้านขายยา สปสช.