พท.โล่งใจ! ศาลฯ ไม่รับคำร้อง ทักษิณ "ล้มล้างการปกครอง"

Fri, 22 Nov 2024 20:01:29

วันนี้ (22 พ.ย.2567) 6 ข้อกล่าวหาในคำร้องที่นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ร่วมกระทำการกัน โดยเฉพาะ 4 ใน 6 ของข้อกล่าวหา เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ศาลฯ ชี้ว่า "ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ" ส่วนอีก 2 คือการบริหารจัดการทางการเมือง

เล่าแบบอย่างง่ายนะ ศาลรัฐธรรมนูญ ออกเอกสารชี้แจงผลการพิจารณา คำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกสร แจ้งว่า "ไม่รับคำร้อง" โดยศาลฯ พิจารณาข้อกล่าวหา เรียงเป็นประเด็นๆ ไป โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 9 ต่อ 0 (เอกฉันท์) ชี้ว่า 

ข้อกล่าวหาที่ 1 นายทักษิณ สั่งการรัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง กรณีพักรักษาอาการป่วยระหว่างถูกคุมขัง ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งข้อสังเกตได้ไหมว่าน้ำหนัก-หลักฐานไม่เพียงพอ และหน่วยงานอื่นก็ทำอยู่ด้วย อย่างเช่น กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ของสภาฯ กสม. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ทำเรื่องนี้ สิ้นเดือนนี้ ป.ป.ช.ก็เตรียมสรุปอยู่ด้วย

ข้อกล่าวหาที่ 3 นายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทยร่วมพรรคประชาชน แก้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 กรณีใช้สิทธิหรือเสรีภาพ-ล้มล้างการปกครอง เมื่อการแก้รัฐธรรมนูญ ยังไม่สำเร็จ ตอนนี้ก็เข็นครกขึ้นภูเขากันอยู่ ร่างแก้กฎหมายประชามติ จะทำเอานโยบายนี่จบเห่

ข้อกล่าวหาที่ 4 นายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทย เจรจาแกนนำพรรคร่วมฯ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนใหม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร ถ้าไม่มีภาพ ไม่มีคลิปเสียงยืนยันว่านายทักษิณ ครอบงำ-ชี้นำ เลือกเฉพาะใครคนหนึ่ง จึงเป็นไปได้ที่ศาลฯ ไม่รับ

ข้อกล่าวหาที่ 5 นายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทย มีมติขับพรรคพลังประชารัฐ พ้นพรรคร่วมรัฐบาล เป็นการจัดการทางการเมือง

ข้อกล่าวหาที่ 6 นายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทย นำวิสัยทัศน์ตัวเอง ไปบรรจุเป็นนโยบายรัฐบาล เป็นการจัดการทางการเมือง

รวม 5 ข้อกล่าวหานี้ ศาลฯ มีคำสั่ง "ไม่รับ" ด้วยเหตุว่า "ไม่มีน้ำหนัก พยานหลักฐานไม่เพียงพอ" และการกระทำ "ไม่ต้องด้วยเกณฑ์-วิธีการและเงื่อนไข" ตามข้อกล่าวหาที่บอกว่าล้มล้างการปกครองจึงไม่รับคำร้อง

ส่วนที่ 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติ "7 : 2" (เสียงข้างมาก) มีคำสั่ง "ไม่รับ"

ด้วยข้อกล่าวหาที่ 2 กรณีนายทักษิณสั่งการรัฐบาลเอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้มีการเจรจาอ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล ข้อสรุปคือ ด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่ก็ทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูฐเสียงแตก 

เกณฑ์วัดคือ ฟ้องตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลฯ พิเคราะห์ตามข้อกล่าวหา ทั้ง 6 พฤติการณ์-พฤติกรรมแล้ว "ไม่เข้าเกณฑ์" ดังนั้นที่จะเข้าข่าย "ล้มล้างการปกครองฯ" ศาลฯ ชี้ว่า

ต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจน-เพียงพอ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายและความประสงค์ ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดผล โดยการกระทำนั้น จะต้องดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

ทีนี้คำว่า ไม่ห่างไกลเกินเหตุ โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่ 2 นี่แหละ เรื่อง "MOU 2544" จึงลงมติออกมาเป็นเสียงข้างมาก "ไม่มีน้ำหนัก พยานหลักฐานที่เพียงพอ" ก็เพราะรัฐบาลยังไม่ได้เริ่ม และเห็นได้ชัดว่า คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค ไทย-กัมพูชา หรือ JTC ยังไม่ได้ตั้ง และไม่รู้ว่า "เจตนา" รัฐบาลจะชี้ชัดไหม ว่ายังไม่ได้ตั้ง จากที่บอกจะตั้งให้เสร็จ ก่อนวันนัดพิเศษของศาลฯ วันนี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี่แหละ เลื่อนออกไปสิ้นเดือน

ศาลรัฐธรรมนูญ ยกผูกพันกับ เรื่องที่ กกต.สอบอยู่ไหม ? เรื่องนี้นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมายตอบว่า ก็ขึ้นอยู่กับประเด็นนั้น ๆ ว่าเป็นประเด็นที่ตรงกันกับที่ กกต. พิจารณาอยู่หรือไม่ และมองว่าเพื่อไทยได้รับความยุติธรรม เพราะตนเองอ่านคำร้องหลายครั้งก็เห็นว่าไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างการปกครอง 

อาจเป็นไปได้ว่าข้อกล่าวหาในทำนองเดียวกันนี้ อาจจะมีมุมมองต่อกันอยู่บ้าง ด้วย กกต.ตั้งเรื่องสอบและรวบรวมพยานหลักฐานอยู่ว่า นายทักษิณ ครอบงำ-ชี้นำ พรรคเพื่อไทย แล้วเรื่องอะไรบ้างละ ที่ กกต.สอบอยู่ แม้ กกต.หรือประธาน กกต.ไม่เคยระบุชัดๆ ว่าเรื่องไหนบ้าง แต่ที่เปรย ๆ และเรียกผู้ร้องเข้าชี้แจงแล้วนั้นคือ 

  1. เรื่องเปิดบ้านจันทร์ส่องหล้า หารือพรรคร่วมฯ
  2. เรื่องวิสัยทัศน์นายทักษิณ เป็นนโยบายรัฐบาล
  3. เรื่องพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเดิมที่มาจับมือกันและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ 

ตามข้อกฎหมาย "ครอบงำ-ชี้นำ" ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.อยู่ด้วย ที่จะรวบรวมพยานหลักฐานและคำฟ้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่การยกคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ถือเป็นการตีตั๋วยาวให้รัฐบาล ให้พรรคเพื่อไทย และนายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกต เพราะวันนี้คำถามหนึ่งที่ถามนายกฯ แพทองธาร ว่านี่คือ ภูมิคุ้มกันทางการเมืองหรือไหม

ซึ่ง น.ส.แพทองธารตอบว่า ทุกคนย่อมมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว สำหรับนายกฯ คนนี้ต้องใช้พลังใจ ใช้หลักธรรมะสูงหน่อย พยายามมีสติตลอดเวลา 

ไม่รู้มั่นใจมากหรือเค้าลางมาก่อนว่าศาลฯ จะไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ์ เพราะเมื่อวาน (22 พ.ย.) ทั้งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและนายทักษิณ ดูจะพูดมีนัยอยู่

นายทักษิณ บอกว่า 25 ปี​ที่ผ่านมา มีทั้งนรกและสวรรค์ ตอนนี้ขออยู่บนพื้นดิน ไม่เอาสวรรค์-ไม่เอานรก รัฐบาลผสมมีพรรคร่วมฯ มีข้อตกลงร่วมกันหลายสิ่ง นายกฯ อาจจะเป็นเวอร์ชันที่ 2 ของผม ขณะที่นายกฯ ยืนยันในเสถียรภาพของรัฐบาล​ มั่นใจรัฐบาลนี้ ​อยู่ครบเทอม มุ่งสร้างรากฐาน กระตุ​้นเศรษฐกิจ รัฐบาลเปลี่ยน-นายกฯ เปลี่ยน นโยบายคงเดิม

อ่านข่าวอื่น :

ปมพิพาท "แพทยสภา-สภาเภสัชกรรม" ชะตากรรมตกที่ "ประชาชน" 

เลือกตั้งท้องถิ่น-อบจ. ทำไมต้อง “บ้านใหญ่”


2 เวทีใหญ่กุมภวาปี พท.-ปชน.โค้งสุดท้ายเลือกนายก อบจ.อุดรธานี

Fri, 22 Nov 2024 15:47:05

วันนี้ (22 พ.ย.2567) บรรยากาศการเปิดเวทีปราศรัยหาเสียงของผู้สมัคร นายก อบจ.อุดรธานี ซึ่งมีผู้สมัคร 3 หมายเลข แต่วันนี้มีผู้สมัครจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่จัดเวทีปราศรัย เรียกได้ว่า "ช้างชนช้าง สะกดคำว่าแพ้ไม่ได้" นั่นก็คือ ผู้สมัครหมายเลข 1 นายคณิศร ขุริรัง จากพรรคประชาชน วันนี้นำทัพหลวง นำโดย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลงพื้นที่ช่วยปราศรัยให้กับผู้สมัคร ซึ่งจัดขึ้นที่สนามด้านหลังที่ว่าการอำเภอ มีการเตรียมเก้าอี้หลายร้อยตัว เพื่อรองรับประชาชนที่จะมาค่วมฟังนโยบายของพรรค

ถัดไปไม่ถึง 500 เมตร คือที่สวนอุทยานวานร นายศราวุธ เพชรพนม ผู้สมัครหมายเลข 2 จากพรรคเพื่อไทย ก็เปิดเวทีปราศรัยเช่นกัน โดยมีแกนนำจากพรรคเพื่อไทยลงพื้นที่หาเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่า ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยจะเปิดเวทีปราศรัย แต่เนื่องจากคู่แข่งจากพรรคประชาชน ประกาศจะเปิดเวทีปราศรัยใน 2 เวที และหาเสียงแบบดาวกระจายล้อมเมืองอุดรธานีใน 20 อำเภอ ก็ทำให้วันนี้ที่อำเภอกุมภวาปี มีการเปิดปราศรัยใหญ่จาก 2 พรรคใหญ่ด้วยกัน หวังที่จะช่วงชิงคะแนนเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย

สำหรับ อ.กุมภวาปี ถือว่าเป็นฐานเสียงของคนเสื้อแดง เพราะการเลือกตั้ง สส.เมื่อปี 66 นายธีระชัย แสนแก้ว จากพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกให้เป็น สส. แต่พรรคประชาชน ก็หวังที่จะเจาะคะแนนเสียงจากเขตนี้ เนื่องจากมีประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเกือบ 100,000 คน ใน 182 หน่วยเลือกตั้ง หากช่วงชิงคะแนนมาได้ ก็อาจจะมีลุ้นเก้าอี้นายก อบจ.สำหรับพรรคสีส้ม

ส่วนผู้สมัครหมายเลข 3 นายดนุช ตันเทอดทิตย์ แม้ไม่มีรายงานว่าจะเปิดเวทีปราศรัยที่ อ.กุมภวาปี ซึ่งเป็นภูมิลำเนา และถือเป็นฐานเสียงที่สำคัญ แต่ก็มีรถแห่ตระเวนหาเสียง ถือเป็นตัวสอดแทรก และหวังคะแนนเสียงจากคนอุดรที่ตัดสินใจเลือกจากนโยบายและความตั้งใจของผู้สมัครหมายเลข 3

อ่านข่าวอื่น :

“ทวี” ยันเห็นเวชระเบียน-ใบรับรองแพทย์ “ทักษิณ” แต่ให้ ป.ป.ช.ไม่ได้

ศาลอนุมัติหมายจับ "เอก สายไหมต้องรอด" ปมพยานเท็จดิไอคอน

ประชาชนเตรียมใช้สิทธิ์! เลือกตั้ง อบจ. 47 จังหวัด 1 ก.พ.2568


“ทวี” ยันเห็นเวชระเบียน-ใบรับรองแพทย์ “ทักษิณ” แต่ให้ ป.ป.ช.ไม่ได้

Fri, 22 Nov 2024 15:12:00

วันนี้ (22 พ.ย.2567) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าชี้แจงคณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ ว่า ทางกรรมาธิการต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีนายทักษิณ ชินวัตร เข้ารับการรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งได้ให้ข้อเท็จจริงตามที่ตนได้รับรู้และเห็นเอกสาร โดยได้ตอบทุกคำถาม

ส่วนในการชี้แจงมีกรรมาธิการด้อยค่าเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์นั้น มองว่า อาจไม่ถึงขั้นนั้น แต่เห็นว่าทุกคน มีเกียรติ เหมือนกัน ดังนั้น ควรต้องให้เกียรติกันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะข้าราชการของกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรม ทุกคน ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

ในทางกลับกันเป็นการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ว่า การดำเนินการอะไร ต้องมีการตรวจสอบ ดังนั้น ในส่วนของตนอะไรที่ให้ความจริงได้ ไม่ผิดกฎหมาย ก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล และยืนยันจากการอ่านข้อมูลเอกสาร เห็นว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ดูแลปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบและวิธีปฏิบัติของระเบียบกรมราชทัณฑ์ แต่หากใครมีความเห็นต่างจากนี้ก็จะต้องมีหลักฐานมาหักล้าง

ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานหรือไม่ว่า ห้องควบคุมพิเศษต่างจากพรีเมียมวอร์ด อย่างไร พ.ต.อ.ทวี ยืนยันว่า เป็นการใช้ห้องควบคุมหรือรักษาพิเศษ เป็นสถานที่ที่โรงพยาบาลจัดให้ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของโรงพยาบาล

ผู้สื่อข่าวถามว่า เวชระเบียนไม่สามารถส่งให้ ป.ป.ช. ได้ใช่หรือไม่ พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า เวชระเบียน อยู่ที่โรงพยาบาล และได้สอบถามทางโรงพยาบาลว่า เวชระเบียนตามกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่แข็งมากจะต้องถามผู้ป่วยว่า จะยินยอมให้หรือไม่ แต่ทางโรงพยาบาลยืนยันว่า มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตลอด ซึ่งในนั้นมีรายละเอียดค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ อาจจะดีกว่าเวชระเบียนด้วยซ้ำ เพราะเป็นการยืนยันชัดเจน

เมื่อถามว่า มีเวชระเบียนในการรักษานายทักษิณจริงหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี ยืนยันว่า เวชระเบียนมีจริง ในฐานะที่ตนจะต้องรับรู้เมื่อครบ 120 วัน ซึ่งตนเห็นและมีใบแพทย์รับรองด้วย

อ่านข่าว : มติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง

"ทวี-โรม" ซัดเดือด กมธ. ถกกรณี "ทักษิณ" ไม่นอนคุก รักษาตัวชั้น 14

ประชาชนเตรียมใช้สิทธิ์! เลือกตั้ง อบจ. 47 จังหวัด 1 ก.พ.2568


"ทวี-โรม" ซัดเดือด กมธ. ถกกรณี "ทักษิณ" ไม่นอนคุก รักษาตัวชั้น 14

Fri, 22 Nov 2024 14:41:00

วันนี้ (22 พ.ย.2567) เวลา 11.30 น. การประชุมกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ครั้งที่ 55 เรื่องการพิจารณาระบบความยุติธรรม กรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ที่อาคารรัฐสภา เริ่มต้นขึ้น

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการ ว่า ในช่วงที่ตนเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และเดินเข้ากระทรวงเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2567 กรณีของนายทักษิณ ได้ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก่อนที่ตนจะเป็นคณะรัฐมนตรี และนายทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2567 เอกสารของกรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2566 พบว่า

มีสื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวว่า นายทักษิณจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในวันที่ 10 ส.ค. ซึ่งกรมราชทัณฑ์ หากไม่มีหมายอาญาหรือหมายของศาล จะเข้ากรมราชทัณฑ์ไม่ได้ กรมราชทัณฑ์จึงได้แต่งตั้งคณะขึ้นมาคณะหนึ่ง

ขณะนั้นมองได้ว่า พรรคอนาคตใหม่ จะเป็นรัฐบาลด้วยซ้ำ เพราะยังไม่ได้มีการฟอร์มว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะการเลือกนายกฯ เกิดขึ้นในที่ 22 ส.ค. และตนก็ไม่รู้ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ จึงต้องให้ความเป็นธรรม

พ.ต.อ.ทวีกล่าวต่อว่า เหตุที่ตนต้องมาชี้แจง เหมือนกรรมาธิการชุดนี้ ไปด้อยค่ากรมราชทัณฑ์ ไม่ให้เขาได้มีโอกาสชี้แจง และเลือกถ้อยคำบางประเด็น ตนยืนยันว่า กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งเกรดของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ตามการใช้ศักยภาพ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยที่ต้องรักษา ซึ่งมีการระบุชัดว่า โรงพยาบาลก็ถือว่าเป็นสถานที่คุมขัง ซึ่งหากประชาชน รับไม่ได้ก็ต้องไปแก้ที่กฎหมาย

จากนั้น คณะกรรมาธิการฝั่งพรรคประชาชน ได้สอบถามถึงการส่งตัวผู้ถูกคุมขังไปยังโรงพยาบาลนอกเรือนจำ กรมราชทัณฑ์ได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ควบคุม 2 คน ตามกฎระเบียบไว้หรือไม่ รวมไปถึงมีการจัดห้องแยกให้กับผู้ต้องขังหรือไม่ เนื่องจากกฎกระทรวงนั้น ถือเป็นข้อห้าม และมีการจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมหรือไม่

ภายหลังจากที่มีการซักถามเสร็จสิ้น พ.ต.อ.ทวี ได้บอกประธานกรรมาธิการว่า ให้ระวังเอกสารลับ เรื่องของการรักษาตัว เนื่องจากมีสื่อมวลชนกำลังบันทึกภาพอยู่ และถามย้ำกับช่างภาพว่า ถ่ายภาพติดหรือไม่ เนื่องจากกังวลเรื่องสิทธิ

ก่อนที่จะชี้แจงต่อว่า ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้จัดบุคคลไปควบคุม ยืนยันว่า ไม่ใช่ห้องพิเศษ และนายทักษิณ เคยถูกปองร้ายเคยโดนคาร์บอมบ์ ตนเห็น สส.100 คน มีบทบาทอย่างนี้ได้อย่างไร

เมื่อเรียกร้องให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การดำเนินการใช้ห้องควบคุมพิเศษ ก็เป็นดุลยพินิจของผบ.ตร. โรงพยาบาลตำรวจ และการเข้าเยี่ยม ก็มีรายการการเข้าเยี่ยมทั้งหมด การเอาสิ่งเหล่านี้ที่ท่านพูด ทำร้ายกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรม มีคนนำคำพูดไปยื่นต่อ ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีการสอบอย่างละเอียด พร้อมยืนยันว่า กรรมาธิการไม่ใช่การสอบสวนในทางการเมือง เราต้องไปข้างหน้า อย่ามาด้อยค่ากัน แต่ตนมีหลักฐานยืนยันตามระเบียบทั้งหมด

พร้อมอธิบายห้องพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ถูกมองว่า ไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้ต้องขังอื่น ว่าการพักรักษาตัวของผู้ต้องขัง เดี๋ยวนี้ไม่ได้เอาไปอยู่รวมกัน สามารถดูได้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และยืนยันว่า ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ไม่มีสิทธิ์ใช้ดุลยพินิจ ต้องดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่างตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปี 2566

และเจ้าหน้าที่คุมขัง ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการอยู่ราชทัณฑ์ ต้องมีการเข้าออกตามเวลา เท่าที่รู้ กรรมการผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็เข้าไปดูว่าท่านป่วยจริงไม่ เช่นนั้นรายงานจะออกมาว่า เรื่องนั้นเรื่องนี้ยุติ พอเรื่องนั้นเรื่องนี้เกิดเหตุก็ไปตีข่าวกันมาก ข้าราชการทำงานกันอยู่ เราไม่ได้เลือกปฏิบัติ แต่เราทำตามกฎหมายและระเบียบที่ให้ไว้

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนเข้าใจในเรื่องการตรวจสอบ ที่มีความลำบากใจในหลายอย่าง แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนตั้งคำถาม หากรัฐมนตรีและราชทัณฑ์ให้ข้อมูลครบถ้วนก็จะสิ้นสงสัย

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า การใช้ดุลยพินิจ กฎหมายเขียนไว้ชัดเจน ตนยืนยันว่า คนที่เข้าเรือนจำต้องควบคุม ห้องที่นายทักษิณไปอยู่คือห้องควบคุมพิเศษ ในความหมายของตน ส่วนป้ายที่เขียนว่า ตึกนี้ชั้นนี้ เป็นพรีเมียม ตนไม่ทราบ เพราะเป็นที่รักษาคนทั่วไป ญาติพี่น้องตำรวจคนเดียวใครก็ได้เข้าไปรักษา

คนทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่ากัน คนทั่วไปก็อยู่ได้ อย่างนางอองซาน ซูจี ยังถูกกักขังที่บ้าน ประเด็นตรงนี้เราต้องควบคุม ในลักษณะที่ยังต้องราชทัณฑ์อยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการหลบหนี ไปก่อเหตุร้าย

พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อว่า ส่วนผู้ที่ไปเยี่ยม ตนขออย่าตำหนิกรมราชทัณฑ์ ว่าเปิดให้เยี่ยมน้อย ซึ่งจริง ๆ แล้วใครก็ได้ ที่ต้องการจะเยี่ยมเพราะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่กรมราชทัณฑ์ก็กำหนดเอาไว้ และผู้ที่เข้าไปเยี่ยมทั้งหมด ทั้งคนที่อ้างว่า ไปเข้าพบ ขอตรวจสอบได้ เพราะเรายืนยันว่า มีรายชื่อทั้งหมด ส่วนจะไปทางหนีไฟหรือไม่ ตนก็ไม่รู้ ไม่ยืนยัน ข้าราชการรักษาศักดิ์ศรี และไม่ทำอะไรที่จะต้องมาโดนเช่นนี้ หากจะดูรายชื่อก็สามารถดูได้ แต่ตนขอยืนยันว่า ห้องนี้เป็นห้องควบคุมพิเศษและห้องรักษา และตนก็ไม่เคยเดินทางไปพบนายทักษิณ ขณะที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ท่านทวีช่วยตอบหน่อยได้หรือไม่ว่า คณะกรรมการที่ช่วยนายทักษิณเป็นการใช้อำนาจโดยชอบหรือไม่

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ในฐานะรัฐมนตรี เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นแพทย์ได้ให้ความเห็นว่า เข้าหลักเกณฑ์ผู้สูงอายุทั้งหมด และเหลือโทษไม่มาก การให้คะแนนจึงเป็น 9 คะแนน ซึ่งหมอวินิจฉัยโรคดีกว่าตนวินิจฉัย เป็นผู้วินิจฉัยว่า เข้าหลักเกณฑ์ทั้งหมด มีโรคหลายโรคและไม่มีผู้อื่นเห็นแย้ง

ผู้แทนอัยการสูงสุด กล่าวว่า การพิจารณาเข้าหลักเกณฑ์ผู้สูงอายุ และการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ ถือเป็นการจำคุกถือเป็นส่วนหนึ่งของเรือนจำ และมีผู้แทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพราะฉะนั้นตนคิดว่าหากจะให้ตนวินิจฉัยโรคตนชอบให้หมอวินิจฉัยมากกว่าเพราะถ้าเป็นตนเป็นคนให้ยาท่านประธานคงไม่เอาเหมือนกัน จึงขอยืนยันว่าข้อมูลทั้งหมดอยู่ที่เอกสารส่วนจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นายรังสิมันต์ จึงถามต่อว่า เข้าใจว่า พ.ต.อ.ทวีไม่ใช่หมอ แต่ผลที่ออกมาเหมือนจะเป็นไปตามนั้น เหมือนดูนายทักษิณสุขภาพดี ช่วยเหลือตัวเองได้ ได้มีการตรวจสอบ ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านหรือไม่ ว่าเป็นการใช้อำนาจมิชอบ

พ.ต.อ.ทวีชี้แจงว่า ได้ให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ไปตรวจสอบ และทางผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้ตรวจสอบกรณีนี้ แล้วไม่มีอะไรผิดกฎหมาย และยุตติเรื่องไปแล้ว ทั้งนี้ยืนยันว่า การพิจารณาการพักโทษของแต่ละคน จะพิจารณากันหนักมาก

ทำให้นายประยุทธ์ ศิริพานิช ขอใช้สิทธิ์แสดงความคิดเห็นว่า คำถามบางคำถามและการชี้แจงไม่ใช่หน้าที่ของ พ.ต.อ.ทวี อย่างเช่น ที่จะไปชั้น14 ส่วนกรณีชั้นสี่คุณอยากไปหรือใครอยากไปมันก็ไม่ใช่หน้าที่ของ พ.ต.อ.ทวี บางอย่างไม่ใช่ท่านจะสั่งการได้ เพราะจะมีกระบวนการในการเสนอมา

“ถ้าหากใครยังมีความสงสัยอยู่ ผมขอแนะนำง่ายๆ ถ้าอยากจะใช้บริการของท่านรัฐมนตรีก็ลองไปเป็นนักโทษดู ท่านจะรู้ว่าท่านทักษิณได้ใช้บริการนี้ คุณจะได้ใช้บริการเดียวกันหรือไม่ พูดกันตรง ๆ ในฐานะที่ชีวิตเคยผ่านคุกผ่านตารางมาก่อน” นายประยุทธ์กล่าว

ประเด็นที่จะให้ตนขึ้นไปที่โรงพยาบาลตำรวจก็ได้ เพราะตนมาที่นี่ มีคนห้ามว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตนก็ยังมา เพราะอยากทำความจริงให้ปรากฏ

ส่วนเรื่องการรักษา พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับนายแพทย์ใหญ่ เขาแจงว่าเอกสารที่ส่งให้ ป.ป.ช.เหลือเพียงแค่ตัวเวชทะเบียน เนื่องจากเป็นสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 7

ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาล ส่งให้ ป.ป.ช.ไปแล้ว เพราะว่า จะมีทั้งราคา รายละเอียดการรักษา มีรายงานว่า วันไหน ผ่าตัด วันไหนทำ MRI ซึ่งมันเหนือกว่าเวชระเบียนอยู่แล้ว ส่วนสิทธิ์ของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะออกเงินเองก็ได้ เพราะโรงพยาบาลตำรวจจับมือกับ สป.สช. ซึ่งกรณีของนายทักษิณ ค่ายาหลักสูง แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ออกเอง และไม่มีกฎหมายเขียนห้ามไว้

ด้าน พ.ต.อ.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล เลขานุการประจำคณะ กมธ. ให้ข้อมูลว่า วิวห้องที่นายทักษิณ พักรักษาตัวเป็นวิว sport club เป็นห้องสูท ถ้าดูตามราคาที่ปรากฏทั่วไป คืนละประมาณ 8,500 บาท คูณ 120 วัน ก็ประมาณล้านกว่าบาท ในฐานะที่เป็นตำรวจและเคยใช้บริการจึงได้ส่วนลด แล้วนายทักษิณได้ส่วนลดด้วยหรือไม่ ตนถามไว้เผื่อคนอื่น ในอนาคตผู้ต้องหาคนอื่น อยากทำจะสามารถทำได้หรือไม่

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า คนทั่วไปก็อยู่ห้องนั้นได้ ส่วนการรักษาพยาบาล นายทักษิณ ไม่ขอใช้สิทธิ์เป็นการจ่ายเงินเอง ถ้าไม่พอใจว่า ท่านจ่ายเงิน ตนก็ไม่รู้แล้ว และราคาห้องอาจจะมากกว่าที่ท่านว่า เพราะอย่าลืมว่า มีค่าหมอค่ายาอีก และการที่นายทักษิณ อยู่ในห้องโรงพยาบาลตำรวจ ก็เหมือนอยู่ในเรือนจำอยู่แล้ว เพราะไม่ได้ออกไปไหน และการที่ต้องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เพราะศักยภาพของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่เพียงพอ

นายรังสิมันต์ โรม กล่าวว่า มันมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ครั้งที่แล้วกรมราชทัณฑ์ ให้ข้อมูลกับเราว่า พยาบาล 2 ท่านเป็นผู้วินิจฉัย ส่งตัวนานทักษิณชินวัตร ไปที่โรงพยาบาลตำรวจ แต่รัฐมนตรีพึ่งบอกเราว่ามีคุณหมอเป็นผู้วินิจฉัย

ทำให้ พ.ต.อ.ทวี กล่าวชี้แจงว่า คุณหมอมาตรวจตอน 11.00 น แล้วรู้ว่าท่านเป็นโรคเยอะเลย แล้วทีนี้พอกลางคืน พยาบาลเขาก็ส่งตัวตามตามคำแนะนำของแพทย์ในตอนเช้า และ
ตามกฎหมายเขาเขียนให้พยาบาลเป็นผู้ส่งตัว ไม่ได้ให้หมอเป็นผู้ส่งตัว มันไม่มีอะไรที่จะผิดกฎหมาย

อ่านข่าว : "ภูสอยดาว" แจงปมน้ำตกสายทิพย์มีกลิ่น ปัดปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำ

เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.เสียงข้างมากไม่รับคำร้อง "ทักษิณ" ล้มล้างการปกครอง

มติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง


ประชาชนเตรียมใช้สิทธิ์! เลือกตั้ง อบจ. 47 จังหวัด 1 ก.พ.2568

Fri, 22 Nov 2024 13:34:00

ภาพรวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัด โดยมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัดให้เจริญก้าวหน้า

จุดเริ่มต้น สืบเนื่องมาจากการเรียกร้องของประชาชนให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้เกิดการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนากฎหมาย จนนำไปสู่การก่อตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างเป็นทางการ มีการเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.จ. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดของตนเอง

อบจ. มีหน้าที่ในการวางแผนพัฒนาจังหวัดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทั้งจัดสรรงบประมาณ สร้างถนน สร้างโรงเรียน พัฒนาสาธารณูปโภค ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน จัดเก็บขยะ ดูแลรักษาสาธารณสุข ส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆเพื่อร่วมกันพัฒนาจังหวัด

โครงสร้างการบริหารของ อบจ. จะมี นายก อบจ. เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ส.จ.เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ การเลือกตั้ง นายก อบจ. และ ส.จ. จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

วันนี้ (22 พ.ย.2567) มีความเคลื่อนไหวสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.จ.) ใน 47 จังหวัด โดยมีไทม์ไลน์สำคัญดังนี้

ทั้งนี้ ในปี 2567 และก่อนหน้านี้ มีการจัดการเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.จ. ไปแล้วใน 19 จังหวัดก่อนหน้านี้ ซึ่งการเลือกตั้งในรอบปี 2568 จะครอบคลุม 47 จังหวัดที่เหลือ โดยถือเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการบริหารท้องถิ่น และเป็นโอกาสสำคัญที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของจังหวัดตนเอง

ปฏิทินเลือกตั้ง นายก อบจ. แต่ละจังหวัด 

นายก อบจ.ในรายจังหวัดต่อไปนี้ (47 จังหวัด) ยังอยู่ในวาระและไม่มีการประกาศลาออกแต่อย่างใด จึงคาดการณ์ได้ว่าอาจจะอยู่จนครบวาระ และดำเนินการเลือกตั้งได้ในวันที่ 1 ก.พ.2568 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พ.ย.2567)

แต่สำหรับ จ.กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์, สุรินทร์, อุดรธานี, อุบลราชธานี, นครศรีธรรมราช,ตาก และ เพชรบุรี (9 จังหวัด) นายก อบจ.คนปัจจุบันได้ประกาศลาออกและจะจัดการเลือกตั้งใหม่ในช่วงปี 2567 

ภาคกลาง

จ.กำแพงเพชร - 1 ธ.ค.2567
จ.นครนายก - 1 ก.พ.2568
จ.นครปฐม - 1 ก.พ.2568
จ.นนทบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.พิจิตร - 1 ก.พ.2568
จ.เพชรบูรณ์ - 22 ธ.ค.2567
จ.ลพบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.สมุทรปราการ - 1 ก.พ.2568
จ.สมุทรสงคราม - 1 ก.พ.2568
จ.สมุทรสาคร - 1 ก.พ.2568
จ.สระบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.สิงห์บุรี - 1 ก.พ.2568
จ.สุพรรณบุรี - 1 ก.พ.2568

ภาคเหนือ

จ.เชียงราย - 1 ก.พ.2568
จ.เชียงใหม่ - 1 ก.พ.2568
จ.น่าน - 1 ก.พ.2568
จ.แพร่ - 1 ก.พ.2568
จ.แม่ฮ่องสอน - 1 ก.พ.2568
จ.ลำปาง - 1 ก.พ.2568
จ.ลำพูน - 1 ก.พ.2568
จ.อุตรดิตถ์ - 22 ธ.ค.2567

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จ.นครพนม - 1 ก.พ.2568
จ.นครราชสีมา - 1 ก.พ.2568
จ.บึงกาฬ - 1 ก.พ.2568
จ.บุรีรัมย์ - 1 ก.พ.2568
จ.มหาสารคาม - 1 ก.พ.2568
จ.มุกดาหาร - 1 ก.พ.2568
จ.ศรีสะเกษ - 1 ก.พ.2568
จ.สกลนคร - 1 ก.พ.2568
จ.สุรินทร์ - 23 พ.ย.2567
จ.หนองคาย - 1 ก.พ.2568
จ.หนองบัวลำพู - 1 ก.พ.2568
จ.อุดรธานี - 24 พ.ย.2567
จ.อุบลราชธานี - 22 ธ.ค.2567
จ.อำนาจเจริญ - 1 ก.พ.2568

ภาคใต้

จ.กระบี่ - 1 ก.พ.2568
จ.ตรัง - 1 ก.พ.2568
จ.นครศรีธรรมราช - 24 พ.ย.2567
จ.นราธิวาส - 1 ก.พ.2568
จ.ปัตตานี - 1 ก.พ.2568
จ.พังงา - 1 ก.พ.2568
จ.พัทลุง - 1 ก.พ.2568
จ.ภูเก็ต - 1 ก.พ.2568
จ.ยะลา - 1 ก.พ.2568
จ.สงขลา - 1 ก.พ.2568
จ.สตูล - 1 ก.พ.2568
จ.สุราษฎร์ธานี - 1 ก.พ.2568

ภาคตะวันออก

จ.จันทบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.ฉะเชิงเทรา - 1 ก.พ.2568
จ.ชลบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.ตราด - 1 ก.พ.2568
จ.ปราจีนบุรี - 1 ก.พ.2568
จ.ระยอง - 1 ก.พ.2568

ภาคตะวันตก

จ.ตาก - 15 ธ.ค.2567
จ.ประจวบคีรีขันธ์ - 1 ก.พ.2568
จ.เพชรบุรี - 23 พ.ย.2567

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

นายก อบจ. ที่ได้รับการเลือกตั้งแล้วและดำรงวาระอยู่

ภาคกลาง

จ.ชัยนาท เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2567 นายก อบจ.จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา
จ.นครสวรรค์ เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2567 นายก อบจ.พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์
จ.ปทุมธานี เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2567 นายก อบจ.พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
จ.พระนครศรีอยุธยา เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2567 นายก อบจ.สมทรง พันธ์เจริญวรกุล
จ.พิษณุโลก เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2567 นายก อบจ.มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์
จ.สุโขทัย เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2567 นายก อบจ.มนู พุกประเสริฐ
จ.อ่างทอง เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2567 นายก อบจ.สุรเชษ นิ่มกุล
จ.อุทัยธานี เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2567 นายก อบจ.เผด็จ นุ้ยปรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จ.กาฬสินธุ์ เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2565 นายก อบจ.เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล
จ.ขอนแก่น เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2567 นายก อบจ.วัฒนา ช่างเหลา
จ.ชัยภูมิ เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2567 นายก อบจ.สุรีวรรณ นาคาศัย
จ.ยโสธร เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2567 นายก อบจ.วิเชียร สมวงศ์
จ.ร้อยเอ็ด เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2565 นายก อบจ.เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
จ.เลย เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2567 นายก อบจ.ชัยธวัช เนียมศิริ

ภาคใต้

จ.ชุมพร เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2567 นายก อบจ.นพพร อุสิทธิ์
จ.ระนอง เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2567 นายก อบจ.สีหราช สรรพกุล

ภาคตะวันออก

จ.สระแก้ว เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2566 นายก อบจ.ฐานิสร์ เทียนทอง

ภาคตะวันตก

จ.กาญจนบุรี เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2566 นายก อบจ.ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ
จ.ราชบุรี เลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2567 นายก อบจ.วิวัฒน์ นิติกาญจนา

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

อ่านข่าวเพิ่ม :

เปิดคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ.-นายก อบจ.

กกต.หวัง ปชช.ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง นายก อบจ.สุรินทร์ ไม่น้อยกว่า 55 %

ปชน.เปิดตัว 12 ผู้สมัครนายก อบจ. "ณัฐพงษ์" ไม่กังวล "ทักษิณ" ช่วยหาเสียง

 


เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.เสียงข้างมากไม่รับคำร้อง "ทักษิณ" ล้มล้างการปกครอง

Fri, 22 Nov 2024 12:32:00

วันนี้ (22 พ.ย. 2567) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 มีคำสั่งไม่รับคำรับคำร้องกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

อ่านข่าว : ศาลรัฐธรรมนูญมติ 7:2 ไม่รับคำร้องปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง

ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับช้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 เลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม

โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ

  1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
  2. นายปัญญา อุดชาชน
  3. นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
  4. นายวิรุฬห์ แสงเทียน
  5. นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
  6. นายอุดม รัฐอมฤต
  7. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

  1. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ
    นายจิรนิติ หะวานนท์
  2. นายนภดล เทพพิทักษ์

เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิบไดยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้

อ่านข่าว :

ความลับ “ทักษิณ” นอนป่วยชั้น 14 “ยธ.-กมธ.มั่นคงฯ” เล่นแง่สอบ

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง


มติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง

Fri, 22 Nov 2024 12:03:00

วันนี้ (22 พ.ย.2567) ศาลรัฐธรรมนูญ นัดประชุมหารือนัดพิเศษ กรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับช้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 เลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม

ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว เมื่อวันอังคารที่ 22 ต.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งอัยการสูงสุดได้รับหนังสือเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ต.ค.2567

ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 8 พ.ย.2567 และวันจันทร์ที่ 11 พ.ย.2567 สำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญได้รับหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ลับ ด่วนที่สุด ที่ อส 0033.0 /2499980 ลงวันที่ 7 พ.ย.2567 และหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ลับ ด่วนที่สุด ที่ อส 0033.3/191100 ลงวันที่ 11 พ.ย.2567 ส่งเอกสารตามหนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ

ผลการพิจารณา

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าบุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายและความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย 

อ่านข่าว : 

ความลับ “ทักษิณ” นอนป่วยชั้น 14 “ยธ.-กมธ.มั่นคงฯ” เล่นแง่สอบ

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

นายกฯ โยนถาม "ทักษิณ" ปม "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย ปัดดีลรัฐบาล


จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ "รับ-ไม่รับ" คำร้องปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง

Fri, 22 Nov 2024 10:04:49

วันนี้ (22 พ.ย.2567) ศาลรัฐธรรมนูญ นัดประชุมหารือนัดพิเศษ กรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้สั่งนายทักษิณ ชินวัตร ยุติการกระทำและสั่งยุบพรรคเพื่อไทย เหตุกระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญติดภารกิจต่อเนื่อง และรอคำชี้แจงจากอัยการสูงสุด

สำหรับนายธีรยุทธ ไปยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด อ้างอิงรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไปทำลายระบอบการปกครองไม่ได้, ผู้ที่ทราบว่ามีการกระทำดังกล่าวมีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้บุคคลเลิกการกระทำ, การร้องต้องทำผ่านอัยการสูงสุดก่อน หากอัยการสูงสุดปฏิเสธไม่รับดำเนินการหรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องจึงจะมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง, การร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการดังกล่าวในศาลยุติธรรม

ทั้งนี้ นายธีรยุทธ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามความในมาตรา 49 โดยตรง โดยสาระสำคัญกล่าวหา 6 พฤติการณ์-พฤติกรรมของนายทักษิณว่าครอบงำ-ชี้นำพรรคเพื่อไทย แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำหนังสือแจ้งให้ส่งคำชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาคำร้องของนายธีรยุทธ ผ่านกรอบเวลา 15 วัน มีรายงานว่าอัยการฯ เรียกผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เข้าชี้แจงเมื่อวันที่ 5 พ.ย. และสรุปความส่งศาลฯ วันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา

ความโดยสรุปที่อัยการฯ ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ คือ บันทึกสอบถ้อยคำของทั้ง 2 ฝ่าย คือนายธีรยุทธ ผู้ร้อง และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ผู้ถูกร้อง พร้อมอ้างตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า การกระทำตามข้อกล่าวหาในคำร้อง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เป็นเหตุให้อัยการสูงสุด มีคำสั่ง "ไม่รับคำร้อง"

เท่ากับว่าอัยการสูงสุด จะมีมติไม่รับคำร้อง หมดหน้าที่ตามวรรค 2 ในมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ด้วยบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อยู่ในวรรคท้ายของมาตรานี้ ดังนั้นจะ "รับ..หรือไม่รับ" คำร้องนายธีรยุทธ ขึ้นอยู่กับการพิจารณา-วินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายธีรยุทธ ยอมรับว่า ขณะที่เขียนคำร้อง ก็เชื่อว่าอัยการสูงสุดจะไม่รับคำร้องเหมือนกับตอนที่เคยยื่นคำร้องยุบพรรคก้าวไกล ดังนั้นการที่อัยการสูงสุดไม่รับคำร้องครั้งนี้ ก็เป็นความปกติ จากนี้ก็มั่นใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้ โดยเฉพาะ 1 ใน 6 ข้อกล่าว บ่งชี้ได้ว่าเป็นอำนาจของศาลฯ โดยตรง

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในวันนี้ ศาลฯ จะมีคำสั่งออกมา 3 แนวทาง คือ ไม่รับคำร้อง, รับคำร้อง แต่มีเงื่อนไขว่ารับเฉพาะประเด็นที่อยู่ในขอบข่ายหน้าที่, ไม่รับคำร้อง

ขณะที่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ชี้ว่า หากความเห็นของอัยการสูงสุดเป็นจริง ก็ไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาตามคำร้องได้ และไม่ได้ผูกพันกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ มีความอิสระต่ออัยการสูงสุด โดยคาดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะลงมติรับคำร้อง 9 ต่อ 0

ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมายรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมาย

วิเคราะห์โดย : เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์ บรรณาธิการข่าวการเมือง ไทยพีบีเอส

อ่านข่าว : "ทักษิณ" ตอบปม 6 พรรคร่วมเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า-ไม่กังวลถูกยื่นยุบเพื่อไทย 

ขีดเส้น 15 วัน ศาล รธน.แจ้ง อสส.แจงปมธีรยุทธร้อง "ทักษิณ-เพื่อไทย" 

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง 


ความลับ “ทักษิณ” นอนป่วยชั้น 14 “ยธ.-กมธ.มั่นคงฯ” เล่นแง่สอบ

Thu, 21 Nov 2024 17:52:00

ยังไม่ชัดเจน วันพรุ่งนี้ (22 พ.ย.2567) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายรังสิมันต์ โรม เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ เพื่อชี้แจงกรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจหรือไม่

แต่ที่แน่ ๆ วันนี้ (21 พ.ย.2567) พ.ต.อ.ทวี มอบหมายให้ “นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมตัวแทนของกรมราชทัณฑ์ มาแถลงว่า กรมราชทัณฑ์ เคยส่งผู้แทนไปชี้แจงมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา และยังส่งหนังสือขอให้ รมว.ยุติธรรมและอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เข้าไปให้ข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวอีก

ดังนั้น กรมราชทัณฑ์จึงมีความเห็นและทำหนังสือส่งถึงนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2567 เนื่องจาก รมว.ยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์ไม่สบายใจในข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1.ตามข้อบังคับมีกำหนดชัดว่า กมธ.มั่นคงฯ มีภารกิจเรื่อง เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่งคง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 109 วรรค 2 ระบุ คณะกรรมาธิการฯ ต้องทำตามกรอบในหน้าที่และอำนาจที่ระบุไว้ เมื่อข้อบังคับของสภาผู้แทน มาตรา 90 (9) ระบุชัด ดังนั้นกรมราชทัณฑ์เห็นว่าไม่อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของ กมธ.มั่นคงฯ

2. การดำเนินการเรื่องดังกล่าว เป็นการเรียกซ้ำซ้อนกับคณะกรรมาธิการตำรวจฯ ที่เคยเรียกชี้แจงตรวจสอบและมีผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ไปชี้แจงแล้วตั้งแต่ ธ.ค.2566 ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 129 วรรค 2 ระบุว่า ในการทำกิจการของสภาฯ ต้องไม่เป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับเรื่องอื่นใด ดังนั้น การจะเรียกสอบโดย กมธ.อีกชุดจึงอาจเป็นการตรวจสอบซ้ำซ้อน หากเห็นว่าอยู่ในอำนาจทำได้ก็ต้องรวมพิจารณาของ กมธ.ทั้ง 2 ชุดก่อน

3.ปัจจุบันมีองค์กรอิสระเช่น ป.ป.ช. อยู่ระหว่าง ไต่สวนเรื่องนี้ มีการตรวจสอบอย่างละเอียดอยู่แล้ว และมีการเชิญเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ มีการขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง และที่ผ่านมา มีหลายองค์กรก็ได้ตรวจสอบเรื่องนี้ ทั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) การตรวจสอบจากองค์กรอิสระ ซึ่งสามารถให้คุณให้โทษได้

หากพิจารณา เรื่องการให้ประธานสภาเป็นผู้ชี้ขาด ในอำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมาธิการมั่นคงฯ เพื่อหวังจะยื้อการให้คำตอบเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ ขณะเดียวกันปฏิเสธไม่ได้ว่า นายวันมูหะมัดนอร์ เป็นอดีตหัวหน้าพรรคประชาชาติ และ พ.ต.อ.ทวี คือ หัวหน้าพรรคประชาชาติคนปัจจุบัน และเป็นพรรคประชาชาติที่ถูกจับต้องมาตลอดว่า เป็นสาขาย่อยของพรรคเพื่อไทย 

“หลายคนโทรมาถามว่า รมว.ยุติธรรม จะเดินทางเข้าให้ปากคำกับคณะกรรมาธิการฯชุดนี้หรือไม่ ต้องบอกว่า เขาให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน และผมทราบความกังวลของ พ.ต.อ.ทวี เหมือนที่กรมราชทัณฑ์กังวล ว่าขณะนี้ กมธ.ความมั่นคงฯ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับและระเบียบหรือไม่ ...พรุ่งนี้ (22 พ.ย.) รมว.ยุติธรรมจะไปชี้แจงกับคณะกรรมาธิการชุดนี้หรือไม่ ยังไม่ได้ให้คำตอบ และยังไม่ได้ข้อยุติเพราะยังไม่ได้ถามอย่างเป็นทางการ” ที่ปรึกษาของ พ.ต.อ.ทวี กล่าว

ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม บอกว่า หากประธานสภาฯ ชี้อย่างไร มีการยืนยันในกรอบอำนาจหน้าที่ ก็ต้องไป และคงปฏิเสธไม่ได้ ยอมรับว่าการทำหนังสือถึงประธานสภาฯ อาจกระชั้นชิดเพราะเรียกเข้าพบพรุ่งนี้ (22 พ.ย.) แต่หนังสือ กมธ.มั่นคงฯ ที่เชิญมา เพิ่งถึง รมว.ยุติธรรมเมื่อวันที่ 15 พ.ย. และมีขั้นตอนในการจัดทำความเห็นไป

“ขึ้นกับดุลยพินิจส่วนบุคคล ว่าจะไปหรือไม่ไป เป็นสิทธิของคนเชิญ ...แต่กรมราชทัณฑ์มาพิจารณาว่าอยู่ในกรอบอำนาจหรือไม่ แต่เห็นเบื้องต้นว่าไม่อยู่ในอำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมาธิการชุดนี้”

เมื่อถูกถามว่า หากไม่ไปพบ กมธ.พรุ่งนี้จะถูกมองว่ากลัวนายรังสิมันต์ โรม หรือไม่ นายสมบูรณ์ บอกด้วยน้ำเสียงกลั้วหัวเราะว่า ก็คงกลัวเนอะ ในฐานะผู้ถูกตรวจสอบ ใครจะบอกไม่กลัว คงไม่ได้ แต่ความกลัวหรืออะไรก็ตาม ขจัดหน้าที่รับผิดชอบไม่ได้ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อทำแล้วก็ต้องรับผิดชอบและชี้แจงให้ได้ ...เรื่องเอื้อประโยชน์ให้ นายทักษิณ เหตุจบไปแล้ว ตอนนี้เป็นการตรวจสอบ ไม่ได้เอื้ออะไร” ที่ปรึกษา พ.ต.อ.ทวี ระบุ

แม้ นายสมบูรณ์ จะปฏิเสธว่า การเรียกสอบข้อมูลของ “นายทักษิณ” ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ตำรวจ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของกรรมาธิการความมั่นคงฯ และไม่ได้ใช้แง่มุมกฎหมาย

แต่สาเหตุที่ไม่มีใครอยากไปชี้แจง รวมทั้ง พ.ต.อ.ทวี ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์โดยตรง คงยากที่จะตอบข้อซักค้านของคณะกรรมาธิการฯ ในหลายประเด็นที่สังคมยังคาใจมากกว่า

ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้านี้ นายรังสิมันต์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ จะได้เรียกเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์และแพทย์โรงพยาบาลตำรวจไปชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้วก็ตาม และยังมีการสอบถามเรื่องเวชระเบียนของผู้ป่วย แต่ไม่ได้รับคำตอบที่กระจ่างชัด หากกลับมีการอ้างกฎหมาย PDPA ซึ่งระบุไว้ชัดว่า ไม่รวมถึงการทำหน้าที่ของสภาและกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายกับมีพิรุธ ทั้งที่การให้ข้อมูลกับกรรมาธิการฯ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้

ประเด็นนี้ จึงเป็นที่มาให้คณะกรรมาธิการฯชุดดังกล่าว อยากเชิญให้ “ทักษิณ” เข้าให้ปากคำด้วยตนเอง แต่อาจเป็นไปได้ยาก หรือแทบจะเป็นไปได้ไม่เลย หวยจึงออกไปที่ “พ.ต.อ.ทวี” และ นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป้าหมายสำคัญที่ นายรังสิมันต์ ต้องการคำชี้แจง

“ถามชื่อหมอ พยาบาล ยังไม่ได้รับคำตอบเลย ข้อมูลหลายส่วน เป็นข้อมูลที่เป็นการพูดภาพรวม เป็นการพูดกว้าง ๆ เป็นการพูดหลักการทั่วไป แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดที่ทำให้ข้อมูลให้กรรมาธิการเข้าใจ... ทำไมถึงต้องเชิญคุณทักษิณเมื่อถามหมอ ถามคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้รับคำตอบ ก็คงต้องถามคนป่วย คนที่เขาบอกว่า เขาป่วยดู ซึ่งถ้าเราได้คำตอบที่ชัดเจน ผมคิดว่ามันก็จบ” นายรังสิมันต์ บอกครั้งนั้น

ขณะที่ นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ออกมาตอบโต้ เรื่องการที่กระทรวงยุติธรรมระบุว่า กมธ.มั่นคง ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และขอให้ประธานรัฐสภา ชี้ขาดเรื่องการเชิญบุคคลเข้าให้ข้อมูล ซึ่งการทำงานของ กมธ.ครอบคลุมเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐและการปฏิรูปประเทศ แค่คำว่าปฏิรูปประเทศอย่างเดียว ก็สามารถทำได้หลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปตำรวจ ตำรวจก็เป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม

“แล้วทำไมกรมราชทัณฑ์จะไม่ใช่หนึ่งในกระบวนการยุติธรรมที่เราปฏิรูปไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเราจะปฏิรูปถ้าเราไม่แสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วเราจะปฏิรูปได้อย่างไร”

นายปิยรัฐ บอกว่า อยากให้กระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะอธิบดีและรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ทำหนังสือมาถึงและอ้างว่าเราทำหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 129 วรรค 2 ว่า เราทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับ กมธ. อื่นนั้น มีอำนาจอะไรมาวินิจฉัย ทั้งที่เราทำหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาด้วยซ้ำไป ขอให้โต้แย้งมาว่าเราไม่ได้ประชุมเรื่องการปฏิรูปอย่างไร

น กมธ.ก็มีทั้ง สส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลนั่งอยู่ด้วย ดังนั้น การจะเชิญหน่วยงานใดมาก็ต้องขอมติจาก กมธ.ทุกคน จึงอยากให้เข้าใจว่าเราไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้าน แต่เราทำหน้าที่ในฐานะ กมธ.ของสภาผู้แทนราษฎร และหากประธานสภาฯ วินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร เราก็ไม่ขัดข้อง ขอให้เป็นไปตามนั้น

ส่วน นายรังสิมันต์ บอกเพียงว่า สุดท้ายไม่ว่าใครจะมาหรือไม่มา แต่ข้อวิจารณ์ของสังคมได้เกิดขึ้นแล้ว และอยากให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่ถูกเชิญพิจารณาด้วยข้อเท็จจริงว่า การไม่มาหมายความว่า คุณไม่มีโอกาสในการชี้แจง แต่หากมา แสดงว่ามั่นใจว่า สิ่งที่ทำเป็นการกระทำที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำที่อยู่บนวิสัยที่ไม่ได้มีมาตรฐานพิเศษเหนือกว่าใคร

“กรณีของนายทักษิณป่วยจริงหรือไม่ การมาชี้แจงถือเป็นโอกาส จะได้ลบข้อครหา ข้อวิจารณ์ต่างๆ คำถามทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และพื้นฐานหลักกฎหมาย และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกังวลเลยว่า กรรมาธิการจะเล่นการเมืองหรือไม่ กลั่นแกล้งกันหรือไม่ ..ต่อให้เชื่อแบบนั้น ถ้าตอบคำถามได้ ผู้ที่ต้องการกลั่นแกล้งคุณก็จะถูกสะท้อนกลับไปที่ตัวเขาเอง”

ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ ความมั่นคง ชี้ว่า สุดท้ายสังคมก็จะเชื่อในข้อเท็จจริงที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามอธิบาย มันก็จะจบอยู่ตรงนั้น จึงอยากให้มองเป็นโอกาส และถ้าสุดท้ายหากผู้ถูกเชิญไม่มา ข้อวิจารณ์ต่าง ๆ ของสังคม ก็เหมือนกับว่าสังคมจะได้รับคำตอบแล้วว่าเรื่องชั้น 14 ความจริงคืออะไร

อ่านข่าว :

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

นายกฯ โยนถาม "ทักษิณ" ปม "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย ปัดดีลรัฐบาล

ประกาศชนะคว้า 200 สส. นัยความสำคัญของ "ทักษิณ"


"ขยะ" โจทย์ใหญ่ ปัญหาวัดฝีมือ นายก อบจ.นครศรีฯ คนใหม่

Thu, 21 Nov 2024 15:40:44

ถ้าเป็นช่วงปกติ ท่อซีเมนต์ที่ถูกต่อทับขึ้นไปหลายชั้นใกล้เมรุเผาศพ ของวัดใหม่ไทยเจริญ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เพียงพอที่จะใช้เผาขยะทุกวันจากวัด และโรงเรียนอนุบาลวัดใหม่ไทยเจริญ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

แต่วันนี้ขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติก ขวดแก้ว และเศษอาหาร จากบ้านเรือนในชุมชนละแวกใกล้เคียง เริ่มเกลื่อนกลาดรอบพื้นที่หลังเมรุเผาศพ เพราะตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

ทาง อบต.นบพิตำ ได้ทำหนังสือไปยังเจ้าบ้านทุกหลัง ว่า อบต.ไม่สามารถจัดเก็บขยะทั้ง 9 หมู่บ้าน ในตำบลได้ หลังได้รับแจ้งจากทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชว่า ไม่อนุญาตให้นำขยะไปทิ้งในบ่อขยะของทางเทศบาลตามคำสั่งศาลปกครองนครศรีธรรมราช ทำให้ชาวบ้านในชุมชนไม่มีที่ทิ้ง และนำมาทิ้งบริเวณนี้แทน

ครูบางคนระบุว่า กังวลใจ หากปัญหานี้ยังไม่มีทางออก ทำให้ขยะถูกนำมาทิ้งบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งโรงเรียนก็พยายามปลูกฝังจิตสำนึก ในการลดขยะที่ต้นทางให้กับเด็ก ๆ ทั้งการขอให้นำกระป๋องน้ำที่นำกลับมาใช้ได้อีก เพื่อลดแก้วพลาสติก รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่มาขายอาหารในโรงเรียน เพราะกลัวว่า ขยะจะเพิ่มขึ้น ในพื้นที่หลังเมรุเผาศพ

ตอนนี้โรงเรียนพยายามปลูกฝังเด็ก ๆ ซึ่งโรงเรียนมีขยะอยู่แล้ว แต่เราก็พยายามแปรสภาพจากขวดน้ำพลาสติก จากเดิมจะทิ้ง เราก็บอกเด็ก ๆ ให้แต่ละห้องเก็บและเอามาขายให้ครู ครูจะติดต่อให้คนรับซื้อของเก่ามารับซื้ออีกทอดหนึ่ง

จากนั้นครูจะนำเงินไปให้เด็ก ๆ บางคนบอกว่า จะเอาเงินไปกินเลี้ยงปีใหม่ บางคนมาถามครูว่า จะเอาขวดน้ำจากบ้านมาขายด้วยได้ไหม ครูก็ยินดี

ขยะที่ถูกนำมากองไว้ริมถนน เพราะไม่มีที่ทิ้งมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว บางส่วนถูกลักลอบนำมาทิ้งในที่สาธารณะ ขณะที่บ้านบางหลังที่พอมีพื้นที่หรืออยู่ห่างไกลชุมชน ก็ใช้วิธีเผาเอง แต่บ้านที่อยู่ในเขตชุมชนเกิดปัญหาอย่างหนักเพราะไม่มีที่ทิ้ง

บ่อขยะของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีขยะสะสมมากกว่า 2 ล้านตัน และถูกดำเนินคดีฟ้องร้องจนต้องปิดบ่อขยะ และงดรับขยะจากพื้นที่นอกเทศบาลจาก อปท.ต่าง ๆ 50 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ทำให้ขยะในทุก อบต.ตกค้างในชุมชน

ซึ่งแม้ปัญหาขยะในจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเป็นปัญหาใหญ่ และลุกลามจนนำไปสู่การต่อสู้ในศาลแล้ว แต่หากย้อนมองนโยบายของท้องถิ่น ผ่านการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การเสนอตัวเข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังก็ยังมีน้อยมาก

ตรงกับความเห็นของนักวิชาการ บางคน เห็นว่า ในการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ อบจ. แม้หลายทีมที่เสนอตัว จะเขียนนโยบายต่าง ๆ แต่ในทางปฏิบัติจริง กลับพบว่า ระหว่างการหาเสียง จะอาศัยความเป็นเครือข่าย เพื่อดึงคะแนนเสียงมากกว่า จะใช้นโยบายเพื่อดึงดูด

รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า การเมืองในระดับท้องถิ่น แม้ผู้สมัครจะประกาศนโยบายว่า จะพัฒนาด้านต่าง ๆ แต่มันก็แตกต่างกับการเมืองระดับชาติ ซึ่งเมื่อประกาศนโยบายแล้วคนก็จะจับตามอง ทวงถาม มันจึงยังเป็นเรื่องยากที่คนจะมองเห็นนโยบาย หรือขานรับนโยบายได้ชัดในการเมืองท้องถิ่น พูดง่ายๆ คือ พอมาเป็นการเมืองท้องถิ่น ตัวนโยบายมักจะมาเป็นรอง ตัวเครือข่าย หรือเครือญาติ ที่จะมาเป็นปัจจัยสำคัญ หรือ ตัวแปรที่ทำให้เรียกคะแนนเสียงแทน

การแข่งขันที่ดุเดือดของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช ทั้ง 4 คน ก็ใช่ว่า จะไม่มีนโยบายเกี่ยวกับปัญหาขยะเสียทีเดียว เพราะมีผู้สมัครหลายคน ชูนโยบายแก้ปัญหาขยะเป็นนโยบายหลักๆ เช่น การจัดการขยะค้างเก่า ให้เหลือประมาณร้อยละ 20 การลดขยะที่ต้นทาง หรือการสร้างเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า หรือการแก้ปัญหาขยะแบบครบวงจร

หลังวันที่ 24 พ.ย.ที่การเลือกตั้งนายก อบจ.เสร็จสิ้น ก็จะเป็นการพิสูจน์ว่า นโยบายเหล่านี้ถูกนำมาทำจริงหรือไม่

เรียบเรียง : ติชิลา พุทธสาระพันธ์ ไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคใต้

อ่านข่าว :

 


"สนธิ" ชงสอบมรรยาท "ทนายตั้ม-เดชา" ยัน "เจ๊อ้อย" เดินหน้าคดีไม่เจรจา

Thu, 21 Nov 2024 15:13:00

วันนี้ (21 พ.ย.2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล สื่อมวลชนอาวุโส พร้อม นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สื่อมวลชน และ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกสภาทนายความฯ เพื่อให้สอบพฤติกรรมของนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม และนายเดชา กิตติวิทยานันท์ หรือ ทนายเดชา ว่าทำผิดมรรยาททนายความหรือไม่

สนธิ ลิ้มทองกุล , ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

สนธิ ลิ้มทองกุล , ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

นายสนธิ เปิดเผยว่า วันนี้ ตัวเองเดินทางมาที่สภาทนายความใน 2 เรื่อง เรื่องแรก คือมากล่าวโทษกล่าวหาการกระทำของนายษิทรา ว่า เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณของทนายความหรือไม่ และขอให้คณะกรรมการมรรยาททนายความพิจารณาดำเนินการ พักใบอนุญาตทนายความหรือถอดถอนใบอนุญาตทนายความ

ส่วนเรื่องที่ 2 คือตัวเองมายื่นหนังสือกล่าวหานายเดชา ว่าทำผิดจรรยาบรรณ เนื่องจากมากล่าวหาตัวเอง ว่าฉ้อโกง โกงเงินธนาคาร เรียกรับเงินจากบริษัทเอกชน โดยไม่มีหลักฐาน ส่วนตัวเชื่อว่าการเข้ายื่นเรื่องในวันนี้ตัวเองจะได้รับความเป็นธรรม

ขณะเดียวกันนายสนธิ ยังระบุว่า ภายในเดือน ธ.ค.นี้ตัวเองจะนำหลักฐานไปยื่นให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษีของนายษิทราว่ามีการเสียภาษีกรณีการรับเงินจาก น.ส.จตุพร หรือ เจ๊อ้อย ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินค่าว่าจ้างไม่ใช่การให้โดยเสน่หา ซึ่งขณะนี้ น.ส.จตุพร ได้ทำเอกสารมอบอำนาจทางกฎหมายให้ตัวเอง ดูแลเรื่องคดี และตัดสินใจในการดำเนินคดีทั้งหมด จากการพูดคุยครั้งสุดท้ายยืนยันว่าจะไม่มีการเจรจาและจะเดินหน้าอย่างเต็มที่

ด้านนายปานเทพ เปิดเผยว่า วันนี้ตัวเองเดินทางมาให้ข้อมูล กับสภาทนายความและสื่อมวลชน ในประเด็นเกี่ยวกับพฤติการณ์ของทนายตั้ม ที่มีการทำสัญญาในลักษณะที่เปิดให้มีการปลอมแปลง หรือเปิดให้มีการดัดแปลงเนื้อหาในภายหลังได้

นอกจากนี้ ยังเตรียมยื่นหลักฐาน ให้ตำรวจพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกี่ยวกับข้อหาอั้งยี่ซ่องโจร เนื่องจากพบว่ากลุ่มของทนายตั้ม มีการร่วมกันก่อเหตุมากกว่า 5 คน ซึ่งมีพฤติกรรมเป็นการตั้งกลุ่ม เพื่อฉ้อโกงและกระทำความผิด ตัวเองจึงอยากให้ตำรวจสอบสวนกลางพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม

อ่านข่าว :

สอบปากคำเพิ่ม "เจ๊อ้อย" เร่งทำสำนวนคดีทนายตั้มให้อัยการ

ให้ปากคำ 12 ชม ."เจ้อ้อย" ยืนยันดำเนินคดี "ทนายตั้ม" จนถึงที่สุด

"ปานเทพ" ให้ปากคำคดี "ทนายตั้ม" เส้นทางแบ่งเงิน 39 ล้าน


“ยิ่งลักษณ์” เลือกได้ กลับบ้านสงกรานต์ 68

Thu, 21 Nov 2024 08:24:00

ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำเลยในคดีทุจริตจำนำข้าว ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา เมื่อปลายเดือนกันยายน 60 จะกลับประเทศไทย

เพราะเป็นที่เชื่อโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และพี่ชาย ที่เดินทางกลับประเทศเมื่อเดือน ส.ค.2566 ด้วยเหตุผลจะกลับมารับโทษ และอยากเลี้ยงหลานนั้น ยังมีเป้าหมายพาน้องสาว “กลับบ้าน” รวมอยู่ด้วย

ก่อนหน้านี้ เคยมีข่าวหลายครั้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะกลับไทยช่วงปลายปีนี้ คือปี 2567 แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองพลิกผัน นายเศรษฐาถูกสอยจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และ สว.ค่อนสภา ถูกมองว่า เชื่อมโยงกับพรรคูมิใจไทย

ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีงานแทรกต้องประสานเจรจาหารือ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ แต่ยังไม่ลงตัวเสียทีเดียว แม้จะปรากฏข่าว “ครูใหญ่” เข้าจันทร์ส่องหล้าพบ “นายใหญ่” แล้วก็ตาม

น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ทำให้การเดินทางกลับประเทศ ต้องเลื่อนออกไปเป็นสงกรานต์ ซึ่งนายนายทักษิณ ได้เคยพูดก่อนหน้านี้เช่นกันว่า สงกรานต์ปีหน้า (2568) น.ส.ยิ่งลักษณ์จะกลับมาฉลองสงกรานต์ที่ประเทศไทยด้วย

ขณะที่สงกรานต์ ถือเป็นเทศกาลที่ดีสำหรับคนไทย เพราะเป็นช่วงขึ้นปีใหม่ไทยของไทยโบราณ มีประเพณีรดน้ำดำหัว การพบปะพร้อมหน้าพร้อมตาของสมาชิกในครอบครัว จึงถูกยกเป็นวันครอบครัว เป็นวันรื่นเริงเถลิงศกใหม่

การกลับมาในช่วงนั้น จะดีต่อความรู้สึกของทั้งอดีตนายกฯ หญิงคนแรก และแฟนคลับพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะมวลชนคนเสื้อแดง ที่นายทักษิณหวลกลับไปหาอีกครั้ง

ด้านหนึ่ง มั่นใจว่า สามารถคุมสถานการณ์ทางการเมืองได้ในระดับหนึ่ง ประกอบกับสมมุติฐาน หากมีอะไรเกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทย และนายทักษิณ แล้วจะมีใคร หรือพรรคไหน สามารถสกัดทัดทานพรรคประชาชน ไม่ให้เข้าสู่ศูนย์กลางของอำนาจ เป็นรัฐบาลบริหารประเทศได้ ซึ่งจะกระทบต่อกลุ่มอำนาจเก่า และเครือข่ายที่ได้ประโยชน์มายาวนาน

ข่าวการเตรียมกลับประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังมีเสียงขานรับจากคนในรัฐบาล รวมทั้งพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม จากพรรคประชาชาติ ที่ก่อนหน้านี้ ถูกวิพากษ์ว่า ทำหน้าที่ปกป้องนายทักษิณมาตลอด โดยเฉพาะเรื่องรักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายและประกาศกรมราชทัณฑ์ทุกประการ

ครั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี พูดตอกย้ำว่า ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ต้องเริ่มที่ศาลออกหมายขังก่อน เมื่อรับหมายแล้ว กรมราชทัณฑ์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มี “ทักษิณโมเดล” แต่ไม่วายทำให้ฝ่าย “ไม่เอาทักษิณ” ไม่มั่นใจเกรงจะออกมาแบบ “โมเดลทักษิณ” อีก

ก่อนหน้านี้ นายวิษณุ เครืองาม มือกฎหมายชั้นเซียน และเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ นายเศรษฐา เคยตอบคำถามสื่อ กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะขอพระราชทานอภัยโทษเหมือนกับนายทักษิณ ได้หรือไม่ว่า

การขอพระราชทานอภัยโทษมีลำดับคือ 1.ต้องกลับเข้ามาประเทศ 2.ต้องมามอบตัวเป็นนักโทษ แล้วจึงจะถวายฎีกาได้ หากยังไม่ได้รับโทษ ก็ยังถวายฎีกาไม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเหมือนนายทักษิณ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าตนไม่ทราบ

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งก็ได้เห็นการขยับอย่างมีจังหวะ เป็นขั้นตอนเป็นตอนต่อเนื่อง สำหรับกฎเกณฑ์รับโทษ และการลดโทษของนักการเมืองระดับวีไอพี ตั้งแต่ก่อนหน้าที่นายทักษิณจะกลับประเทศด้วยซ้ำ

ไม่ว่าจะในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รมว.ยุติธรรม ซึ่งมีการออก พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560 และกฎกระทรวง ปี 2563 ว่าด้วยการคุมขังนักโทษนอกเรือนจำ และในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีพาณิชย์ ได้สร้างความฮือฮาเปิดประเด็นข้าวเก่า 10 ปี ในโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เน่าเสีย และสามารถประมูลนำเงินเข้ารัฐบาลได้อีกต่างหาก

การเปิดประเด็น น.ส.ยิ่งลักษณ์เตรียมกลับบ้าน จึงไม่ใช่เรื่องที่จู่ ๆ จะพูดขึ้นมาเฉยๆ เพราะในเชิงการเมือง ย่อมมีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้า อยู่ที่ว่าจะลุ้นแบบ “ทักษิณโมเดล” หรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ อย่างที่ พ.ต.อ.ทวี อ้างถึง หรืออาจใช้โมเดลใหม่ ขอพระราชทานอภัยโทษผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ หรือโมเดลอื่น ๆ

ที่สำคัญ ภารกิจสำคัญของนายใหญ่ อาจกำลังจะเป็นจริงอีกครั้งก็ได้ ในอีกไม่นานเกินรอ

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส

อ่านข่าว : สวยสง่า "โอปอล สุชาตา" รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส กลับไทย เปิดใจครั้งแรก

เกิดเหตุลอบวางระเบิด 4 ลูก จ.นราธิวาส - ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ

ปปง.เปิดยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สิน "ผู้เสียหายดิไอคอน" ถึง 17 ก.พ.68


มติ ก.ตร.แต่งตั้ง 41 นายพลตำรวจ "สยาม" ผบช.น. "ภาณุมาศ" ผบช.สตม.

Wed, 20 Nov 2024 20:26:00

วันนี้ (20 พ.ย.2567) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือ การพิจารณาบัญชีรายชื่อแต่งตั้งตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) และจเรตำรวจแห่งชาติ ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) ยศ พล.ต.อ.-พล.ต.ท. วาระประจำปี 2567

โดยภายหลังที่ประชุมใช้เวลาพิจารณาร่วมกันนานกว่า 4 ชั่วโมง ในการพิจารณา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินลงจากชั้น 2 โดยนายกรัฐมนตรีปฏิเสธตอบคำถามต่อสื่อมวลชนถามว่าการแต่งตั้งวันนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่นดีหรือไม่ และเมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่ายากหรือไม่ ในการพิจารณา นายกรัฐมนตรีตอบว่า "เป็นประสบการณ์ใหม่" ก่อนจะขึ้นรถเดินทางกลับ

และเมื่อผู้สื่อข่าว ถาม พล ต.อ.กิตติ์รัฐ ว่าการแต่งตั้งวันนี้เรียบร้อยหรือไม่ พล ต.อ.กิตติ์รัฐ ไม่ตอบคำถามแต่ยกมือสวัสดีพร้อมทำท่าเซ็น ก่อนชูนิ้วโป้งให้กับผู้สื่อข่าว

สำหรับการพิจารณาบัญชีรายชื่อแต่งตั้งตำรวจระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) และจเรตำรวจแห่งชาติ ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) ยศ พล.ต.อ.-พล.ต.ท. วาระประจำปี 2567 มีตำแหน่งสำคัญที่ว่างลงประกอบด้วย รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 4 ตำแหน่ง , ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 7 ตำแหน่ง และระดับผู้บัญชาการ 14 ตำแหน่ง

ระดับรอง ผบ.ตร.พิจารณาแต่งตั้งตามลำดับอาวุโส

1.พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข 
2.พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี
3.พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง
4.พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

รายชื่อ ผบช.ที่จะเลื่อนขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.

1.พล.ต.ท.ธนพล ศรีโสภา จตร. (หน.จต.)
2.พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.
3.พล.ต.ท.อภิชาติ เพชรประสิทธิ์ ผบช.ส.
4.พล.ต.ท.กฤษฎา สุรเชษฐพงษ์ ผบช.สกบ.
5.พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม.
6.พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ. 2
7.พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ภ. 4

ทั้งนี้ในที่ประชุมมีมติแต่งตั้งผู้บัญชาการ ซึ่งในตำแหน่งหลัก ได้แก่

-พล.ต.ท.สยาม บุญสม จาก จเรตำรวจ เป็น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
-พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ จาก รอง ผบช.สตม. เป็น ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
-พล.ต.ท.สันติ ชัยนิรามัย เป็น ผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด 
-พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ จาก ผบช.สพฐ.ตร. เป็น ผบช.สอท.

 

อ่านข่าว :

เปิดโผโยกย้ายตำรวจ 2567 ระดับ รอง ผบ.ตร.-ผู้บัญชาการ

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง


จับกระแสการเมือง : วันที่ 20 พ.ย.2567 รัฐเปย์หนักแจกผู้สูงอายุ-ช่วยชาวนา ทร.-ทอ.เดินหน้าจัดหาเรือฟริเกต-ตั้งกองทัพอวกาศ

Wed, 20 Nov 2024 18:22:16

รัฐบาลเปย์หนักรักทุกคน ควักงบประมาณแจกเงินหมื่น-จ่ายเงินพัน โดยเงินหมื่น ซึ่งขณะนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จ่ายล็อตแรกให้กับกลุ่มเปราะบางและผู้พิการไปแล้ว ล็อตต่อไปจะแจกให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คาดมีจำนวน 3,000,000 คน

โดยจะมีประกาศชื่อผู้ผ่านเกณฑ์ ภายในเดือน ธ.ค.2567 และอาจโอนเงินได้เร็วก่อนสิ้นปี "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" รมว.คลัง ระบุผู้ที่เข้าข่ายได้สิทธิ์ต้องมีเงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท และเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท

"ระหว่างนี้ ขอให้ผู้มีอายุ 60 ปี ที่ลงทะเบียน "ทางรัฐ" ดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์ กับหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ดำเนินการได้ ที่สถาบันการเงิน หรือ ตู้เอทีเอ็ม ที่มีระบบยืนยันตัวตน ได้ทั่วประเทศ หากประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติแล้ว พบข้อมูลไม่ถูกต้องสามารถอุทธรณ์สิทธิ์ได้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้ได้รับเงิน 10,000 รอบผู้สูงอายุ เฟส 2 จะเป็นการแจกเงินสด รอบสุดท้าย"

ส่วนกระทรวงเกษตรฯ ไม่น้อยหน้า "เอกภาพ พลซื่อ" โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ในวันจันทร์ที่ 25 พ.ย.67 นี้ คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิต จะเสนอการช่วยเหลือชาวนาในโครงการช่วยสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวข้าวเป็น 1,000 บาท/ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่

เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ เห็นว่า หากช่วยเหลือ 1,000 บาท/ไร่ ตามเดิม เกษตรกรรายย่อยที่มีที่นาเพียง 5 ไร่ ก็ยังจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/ครัวเรือน แต่หากปรับมาเหลือ 500 บาท/ไร่ จะได้รับการช่วยเหลือเพียง 2,500 บาท/ครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ และกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย 

มติล่าสุด คือ เสนอเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ วงเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท

มาต่อที่กองทัพเรือ ซึ่งกำหนดให้ปีหน้าเป็นปี Safety Navy 2025 "บิ๊กแมว" พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือบอกในงาน ทร. ครบรอบ 118 ปี ว่าจะเน้นเรื่องการทบทวนองค์ความรู้ของแต่ละหน้าที่ทั้งการฝึกทบทวนของหน่วยทางบก จนระดับกองเรือเพื่อให้เกิดความพร้อม ของหน่วยกำลังรบหลัก เนื่องจากเรือขนาดใหญ่มีอายุค่อนข้างมาก หน่วยที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงจึงต้องมาดูอุปกรณ์ เครื่องมือและความพร้อมของเรือ

ส่วนการเดินหน้าโครงการจัดหาเรือฟริเกต 2 ลำ ในงบประมาณปี 2569 เป็นความจำเป็นที่ต้องจัดหา โดยได้ให้ทีมงานไปทบทวนกำลังรบของกองทัพเรือทั้งหมด ในปัจจุบันมีเรือฟริเกตหลัก และสมรรถนะเทียบเท่ารวม 4 ลำ ซึ่งมีเรือหลวงภูมิพลลำเดียวที่อายุน้อยกว่า 10 ปี จึงจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อให้มีกำลังรบพอเพียงในอนาคตข้างหน้า

ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่จะได้รับด้วย เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง จึงต้องทยอยจัดซื้อ คาดว่าในระยะที่ 1 จะจัดหาครั้งละ 2 หรือ 3 ลำ และพักไปอีกระยะหนึ่งจึงค่อยจัดหาเพิ่มเติมใหม่อีก 2-3 ลำ

"เรื่องเรือฟริเกต ก็ต้องบอกกับรัฐบาลว่า เรามีความจำเป็นต้องจัดหา ความต้องการของกองทัพเรืออย่างน้อย 2 ลำ ถ้าได้ 3 ลำ ก็จะดี แต่อยู่ที่รัฐบาลจะเห็นใจแค่ไหน และมีกรอบงบประมาณเพียงพอหรือไม่" ผบ.ทร.กล่าว

ขณะที่กองทัพฟ้า เตรียมพร้อม ในการจัดตั้งกองทัพอวกาศ เพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยจะเปลี่ยนชื่อจาก กองทัพอากาศ (Royal Thai AirForce) เป็นกองทัพอากาศและอวกาศ ( Royal Thai Air and Space Forces)

เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2567 พล.อ.ท.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แถลงหลังประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2568 ถึงการปรับโครงสร้างกองทัพอากาศ ตามที่ "บิ๊กอ็อบ" พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้สั่งการ พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ถึงแนวนโยบายปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางอวกาศกว่า 29,000 ล้านบาท/ปี ที่มีการสื่อสารและถ่ายทอดสัญญาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 35,600 กิจการ มีการจ้างงาน 1.6 ล้านคน

โดยกองทัพอากาศ เตรียมจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ ให้เป็นหน่วยขึ้นตรงของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (ศปก.ทอ.) ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้บัญชาการทหารอากาศ ตั้งแต่ 1 เม.ย.2568 โดยมีเสนาธิการทหารอากาศเป็นผู้กำกับดูแล เพื่อให้เป็นหน่วยประสานงานทั้งภายในและนอก ทอ. สำหรับการปรับโครงสร้างที่ต้องทำควบคู่ในปี 2568 คือ

  1. จัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อเปลี่ยนชื่อ "กองทัพอากาศ" เป็น "กองทัพอากาศและอวกาศ" โดยเมื่อสภากลาโหมเห็นชอบแล้วจะนำร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป
  2. กองทัพอากาศ พิจารณาจัดทำร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ เพื่อจัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ" แบบ ศร.ชล. ของกองทัพเรือ เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น

โดยร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ จะจัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2568 เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาฯ และการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ขัด รธน. ภายในปี 2569 จากนั้นเป็นขั้นตอนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะใช้ระยะเวลา 3 ปี หรือราวปี 2571

อ่านข่าว :

รถกระบะขนแรงงานเมียนมาชนเสาไฟฟ้า เสียชีวิต 7 คน

รู้จัก "ผู้ช่วยหาเสียง" ตัวช่วยสำคัญของพรรคการเมือง


รู้จัก "ผู้ช่วยหาเสียง" ตัวช่วยสำคัญของพรรคการเมือง

Wed, 20 Nov 2024 17:40:00

ผู้ช่วยหาเสียงคือใคร ?

ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ระบุว่า

"ผู้ช่วยหาเสียง" หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ให้เข้าร่วมกิจกรรมในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาหรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเป็นบุคคลที่ได้แจ้งรายละเอียด หน้าที่และค่าตอบแทนต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

ในหมวด 3 "ผู้ช่วยหาเสียง" 

ข้อ 14 ระบุไว้ว่า ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่ประสงค์จะมีผู้ช่วยหาเสียงในการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียง หน้าที่และค่าตอบแทนผู้ช่วยหาเสียง รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบก่อนวันดำเนินการ ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวบรวมเอกสารที่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแจ้งมานั้นรายงานต่อคณะกรรมการทราบด้วย 

การยื่นเอกสารของพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นเอกสารต่อเลขาธิการ

การหาเสียงเลือกตั้งของผู้ช่วยหาเสียงตามวรรคหนึ่ง ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองสามารถจัดหา เสื้อผ้า สิ่งของ เลี้ยงอาหารหรือเครื่องดื่ม สำหรับผู้ช่วยหาเสียง และให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยหาเสียงที่ได้ช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้งตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

ในกรณีผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียง หน้าที่และค่าตอบแทนผู้ช่วยหาเสียง จะดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการนี้มิได้ 

กรณีการแจ้งเปลี่ยนตัวผู้ช่วยหาเสียงในการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองดำเนินการแจ้งไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งนั้น

ข้อ 15 ให้ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีผู้ช่วยหาเสียงในเขตเลือกตั้งจำนวนไม่เกิน 20 คน ต่อเขตเลือกตั้ง

ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อมีผู้ช่วยหาเสียงได้ไม่เกินสิบเท่าของจำนวนเขตเลือกตั้งที่พรรคการเมืองนั้นส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ข้อ 16 ในกรณีบุคคลใดซึ่งมิใช่ผู้ช่วยหาเสียงของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองตามหมวดนี้ เข้าช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแจ้งเหตุการณ์นั้น ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบโดยเร็ว

ในกรณีที่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่แจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแจ้งให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองดำเนินการชี้แจงภายในระยะเวลา 5 วันนับแต่วันที่มีการแจ้ง

"ผู้ช่วยหาเสียง" ทำหน้าที่อะไร ?

  1. สื่อสารนโยบายพรรค
    โดยผู้ช่วยหาเสียงจะช่วยอธิบายหรือเผยแพร่นโยบายของพรรคไปยังประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเน้นสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในตัวผู้สมัครของพรรค
  2. สร้างการรับรู้ในพื้นที่
    ด้วยความที่ผู้ช่วยหาเสียงมักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือได้รับความไว้วางใจในท้องถิ่น จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างการยอมรับและเพิ่มโอกาสที่ผู้คนในพื้นที่นั้นจะสนับสนุนพรรค
  3. เชื่อมโยงพรรคกับประชาชน
    การมีผู้ช่วยหาเสียงช่วยให้พรรคสามารถเชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

ในกรณีของพรรคการเมืองใหญ่ ที่แต่งตั้งนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ช่วยหาเสียงให้กับพรรคในการเลือกตั้งท้องถิ่น การปรากฏตัวของเขาเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สร้างความสนใจในวงกว้าง แต่ยังเป็นการย้ำถึงจุดยืนและความมุ่งมั่นของพรรคในการทำงานร่วมกับบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชื่อมโยงกับประชาชน

บทบาทของผู้ช่วยหาเสียงไม่ได้เป็นตำแหน่งทางการเมืองโดยตรง จึงไม่ได้ถูกควบคุมโดยกฎหมายการเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น ไม่แสดงพฤติกรรมที่เข้าข่ายทุจริตหรือชี้นำประชาชนในลักษณะผิดกฎหมาย ผู้ช่วยหาเสียงจึงไม่ใช่แค่การช่วยโปรโมตพรรค แต่ยังสะท้อนถึงกลยุทธ์และแนวทางของพรรคในการสร้างความใกล้ชิดและเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง

อ่านข่าวอื่น :

"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

รีบผูกพร้อมเพย์! แจกเงิน 1 หมื่นเฟส 2 ประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์ ธ.ค.นี้


"ชูศักดิ์" มั่นใจ "ทักษิณ-เพื่อไทย" ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

Wed, 20 Nov 2024 15:44:18

วันนี้ (20 พ.ย.2567) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนัดพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ โดยคำร้องดังกล่าวมีเนื้อหาให้ศาลพิจารณาว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ พรรคเพื่อไทย กระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่

นายชูศักดิ์ ระบุว่า เป็นดุลยพินิจของศาลในการพิจารณาว่า คำร้องดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ โดยยืนยันว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้น ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง พร้อมชี้แจงว่ากิจกรรมทางการเมือง เช่น การหารือเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ไม่ใช่การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองแต่อย่างใด อีกทั้งยังระบุว่าทางอัยการสูงสุดได้ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ถูกกล่าวหาไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมาย

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะฟ้องกลับนายธีรยุทธ หากศาลมีคำวินิจฉัยไม่รับคำร้อง นายชูศักดิ์ตอบว่าต้องพิจารณาเหตุผลของศาลก่อน แต่ส่วนตัวไม่ต้องการให้เกิด "นิติสงคราม" ที่จะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องไปมา พร้อมแสดงความเห็นว่าควรมุ่งเน้นให้ประเทศเดินหน้า

ยัน "ทักษิณ" ถือสัญชาติไทย

นอกจากนี้ นายชูศักดิ์ยังกล่าวถึงกรณีที่มีบุคคลเตรียมยื่นร้อง เรื่องการถือสัญชาติอื่นของนายทักษิณ หลังจากที่นายทักษิณขึ้นเวทีปราศรัยที่ จ.อุดรธานี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคเพื่อไทย โดยยืนยันว่านายทักษิณเป็นผู้มีสัญชาติไทยอย่างแน่นอนตามหลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดน

นายชูศักดิ์ยังชี้แจงว่า ประเทศไทยไม่มีข้อห้ามในการถือสัญชาติอื่นเพิ่มเติม และย้ำว่าในแง่ของกฎหมาย ประเด็นดังกล่าวไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ พร้อมระบุว่าการร้องเรียนเรื่องนี้ไม่มีมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมาย

อ่านข่าวอื่น :

ปิดตำนานนาดาล! แขวนแร็กเก็ตหลังพ่ายเนเธอร์แลนด์ศึกเดวิสคัพ

DSI เข้าเรือนจำ สอบปากคำ 11 บอสชายดิไอคอน


"ยิ่งลักษณ์" เหลือคดีเดียวคุก 5 ปี ย้อนเส้นทางก่อนหนีคดี

Tue, 19 Nov 2024 19:39:00

"ยิ่งลักษณ์" เหลือคดีเดียวคุก 5 ปี ย้อนเส้นทางก่อนหนีคดีถึงจังหวะนี้เรียกว่า "เหมาะสม" ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเดินทางกลับไทย ตามที่นายทักษิณ ชินวัตร อ้างอิงไหม และตามกระบวนการ ช่องทางไหน ที่จะทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลุดพ้นจากโทษทางอาญา ในคดีทุจริตรับจำนำข้าว 5 ปี ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาไว้

ทางที่ 1 ทักษิณโมเดล และทางที่ 2 นิรโทษกรรม แต่ทั้ง 2 ทาง ไม่ใช่เรื่องง่าย จะสังคมไทย หรือการเมืองไทย เรียนรู้ การไม่ถูกจำคุกแม้แต่วันเดียว มาจากคุณทักษิณ ชินวัตรแล้ว

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จากนี้ไป การดำเนินการกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ย่อมต้องตอบคำถามและชี้แจงได้ และอย่างมีเหตุผลมากกว่ากรณีของทักษิณ ชั้น 14 โรงพยาบาลาตำรวจด้วย แม้ตอนนี้ อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ จะหลงเหลือคดีความ เพียงคดีเดียว ที่พิพากษาจำคุก 5 ปี

แต่คดีนี้ จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่น่าจะเกินความสามารถของรัฐบาลเพื่อไทย เพราะคดีที่เราเรียกกันว่า "ทุจริตรับจำนำข้าว" ตอนนี้กลับถูกเรียกว่า "ปล่อยปละละเลย" นี่จึงเป็นเหตุผลให้ต้องย้อนกลับไปดู คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกนักการเมือง

คดีปล่อยปละละเลย ให้เกิดการทุจริต ในโครงการรับจำนำข้าว เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2560 ศาลฯ อ่านคำพากษาจำคุก 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ข้อความสำคัญ นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ควบคุม-ตรวจสอบ กำกับ-ดูแล ระงับ-ยับยั้ง หรือแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการทุจริตในการระบายข้าว

แต่จำเลยกลับมีพฤติการณ์ในการละเว้นหน้าที่ ส่อแสดง-เจตนาออกโดยแจ้งชัด อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กับพวก แสวงผลประโยชน์ แอบอ้าง ทุจริต ก่อให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น การกระทำของจำเลย จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยทุจริต

ในขณะเดียวกัน รองนายกฯ ภูมิธรรม เวชยชัย ขายข้าว 10 ปีในโกดังรับจำนำข้าวได้แล้ว ท่ามกลางกระแส "ฟอกขาว-ยิ่งลักษณ์" และย้ำว่า คดีของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ คือ "ปล่อยปละละเลย" นี่อาจเป็นการสื่อสารที่รัฐบาลพยายามทำในความยาก ที่ว่านี้ เป็นเรื่อง "ง่าย" ไหม

การสื่อสารที่ว่านี้ มาพร้อมกับ คำพิพากษา-คำวินิจฉัย คดีความอื่นๆ ที่ดูจะตีความได้เป็นประโยชน์กับอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะคดีที่เคยเป็นคดีร้อนทางการเมือง สำหรับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ นั่นก็คือ การแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. หรือแม้แต่คดีโรดโชว์ ก็ดูจะสบช่อง ให้ตีความด้านบวก

อย่างล่าสุด ศาลฎีกานักการเมือง ยกฟ้องคดีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ ด้วยเห็นว่า ข้อเท็จจริง ได้วินิจฉัยแล้ว "ยังไม่อาจฟังได้ว่า..จำเลยมีเจตนาพิเศษ" เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่นายถวิล เปลี่ยนศรี" กรณีโอนย้ายจากเลขาธิการ สมช. ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ เมื่อเดือน ก.ย.2554 พร้อม "ถอนหมายจับ"

หรืออย่าง คดีจัดอีเวนต์โรดโชว์ 240 ล้านบาท ศาลฎีกานักการเมือง ก็ยกฟ้อง ด้วยวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ไม่พบมีเจตนาเอื้อประโยชน์ในการจัดซื้อจัดจ้าง และมีคำสั่งให้ "เพิกถอนหมายจับ" แล้วด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ คอการเมืองแทบจะฟันธงตรงกันว่า 2 คดีนี้ "หินมาก" สำหรับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่จะกลับไทย

แล้วไม่ธรรมดา คดีความอีกหลายคดี และคำร้องในชั้น ป.ป.ช. อีกหลายคำร้องก็ "ยกฟ้อง-ยุติสอบ" ไปหลายเรื่องแล้วด้วย "พ.ร.ก.กู้เงิน-เพื่อวางระบบและสร้างอนาคตประเทศ" ครม.ยิ่งลักษณ์ อนุมัติงบฯ เยียวยาการชุมนุม นปช.มิชอบ ที่ยุติสอบแล้ว คำสั่งทางปกครองให้อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ 35,000 ล้าน กรณีระบายข้าว (จีทูจี) ก็ยกคำร้องไปแล้วและที่ฮือฮา..กันเยอะสุดช่วงนั้น คือแผนบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้าน ที่กล่าวหา อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ กระทำมิชอบ ก็ยุติสอบแล้วเช่นกัน

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ให้สัมภาษณ์กรณีถ้าอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ กลับมา ต้องเริ่มต้นที่ศาลฯ นั่นก็หมายความว่า ไปปรากฏ ตัว-ฟังคำพิพากษา จำคุก 5 ปี แล้วเข้าสู่กระบวนการรับโทษ

และจะสบช่องอย่างไร ถ้าตีความตามการสื่อสารของรัฐบาล คดีรับจำนำข้าวของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ซึ่งก็ยอมรับในการจำคุก 5 ปี ตามโทษ หนึ่งเข้ารับโทษตามกฎหมายราชทัณฑ์ ถ้าถามว่าฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไหม? ก็มีโอกาส บุคคลในรัฐบาลเคยพูดไว้ โดยเฉพาะนายพิชิต ชื่นบาน อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ก็จะมาแนวเดียวกับอดีตนายกฯทักษิณ

สอง ตอนนี้ "ครม.แพทองธาร" กำลังเร่งมือร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทางการเมือง ก็เป็นไปได้ที่จะใช้ช่องทางที่ 2 นี้ด้วย

ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่า จะใช้กฎกระทรวง กรณีประกาศใช้สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เป็นสถานที่คุมขัง ยังหาเหตุไม่ได้ ไม่ได้ชราภาพ และไม่ได้ป่วยวิกฤต จะขอให้สิทธิ์พักรักษาตัว ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ก็ไม่เข้าเกณฑ์ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเดินตามรอย "ทักษิณโมเดล"

แต่ถามว่ากรณีทักษิณได้ลั่นวาจาไว้ จริงจังแค่ไหน ตรวจสอบข้อมูลจากคนในพรรคเพื่อไทย คนในรัฐบาลหรือแม้แต่กรรมาธิการฯ ที่ทำเรื่องนิรโทษกรรมอยู่ ก็เชื่อตรงกันว่า ทักษิณ จริงจังที่จะพูดเรื่องนี้ เพื่อสื่อสารและส่งสัญญาณ โดยเฉพาะข้อความที่ว่า "ผมไม่เห็นว่า จะมีปัญหาอะไรที่ขัดขวางเธอ ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ที่เหมาะสม" ก็กลับบ้านได้

ย้อนเส้นทาง "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ก่อนหนีคดี 

7 ปี ที่อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หลบหนีคดีในต่างประเทศ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เป็น นายกรัฐมนตรี เส้นทางของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะคดีทางการเมือง 

ครั้งนั้นการทำบุญครบรอบ 50 ปี ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นการทำบุญในไทยครั้งสุดท้าย ก่อนหลบหนีคดีในปีนั้น

เส้นทางของ นายกฯ หญิงคนแรก เต็มไปด้วยวิบากกรรม ตั้งแต่รับตำแหน่ง เมื่อปี 2554 ที่ต้องรับมือกับน้ำท่วมใหญ่

ซึ่งเวลานั้นมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ก่อนจะเป็นผู้นำคณะรัฐประหารในเวลาต่อมา

ก่อนการรัฐประหาร จุดเปลี่ยนสำคัญของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. และรัฐบาลยุบสภาฯ ในเดือน ธ.ค.2556

มิหนำซ้ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังถูกตอกหมุด ด้วยคดีแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ในปี 2557 ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามมาด้วยการรัฐประหารในเวลาต่อมา

วิบากกรรมหนักของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือคดีจำนำข้าว คดีติดเครื่องหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นตำแหน่งตั้งแต่การไต่สวนในชั้น ป.ป.ช.ตามภาพที่ปรากฏบนหน้าสื่อ

ปี 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟ้อง กว่า 2 ปี ของการพิจารณาคดี ก่อนศาลจะมีคำตัดสิน

ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการพิพากษาคดีจำนำข้าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังปรากฏตัวผ่านสื่อ โดยเฉพาะการเดินสายทำบุญ กระทั่งเช้าวันที่ 25 ส.ค.2560 วันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มาฟังคำตัดสิน ศาลสั่งจำคุก 5 ปี และออกหมายจับ รัฐบาล คสช. ขณะนั้น แจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

และปรากฏภาพ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายที่ปักกิ่ง ในเดือน ก.พ. ปีต่อมา ระหว่างนั้นยังปรากฏภาพของทั้งคู่บ่อยครั้ง รวมถึงช่วงที่ นายทักษิณ เตรียมกลับไทย ปรากฏภาพ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่งนายทักษิณ ที่สนามบินประเทศสิงคโปร์ ท่ามกลางการจับตา ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเป็นคิวต่อไปที่จะได้กลับไทยหรือไม่

อ่านข่าว :

นายกฯ โยนถาม "ทักษิณ" ปม "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย ปัดดีลรัฐบาล

“ทวี” ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทยต้องทำตามกฎหมาย


เปิดโผโยกย้ายตำรวจ 2567 ระดับ รอง ผบ.ตร.-ผู้บัญชาการ

Tue, 19 Nov 2024 18:18:00

วันนี้ (19 พ.ย.2567) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประชุมคณะกรรมการพิจารณาการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับ ตร. (บอร์ดกลั่นกรอง) เพื่อพิจารณาคุณสมบัติตำรวจระดับ รอง ผบ.ตร.และจเรตำรวจแห่งชาติ ถึง ผบช. ที่จะเสนอบัญชีรายชื่อให้ ก.ตร.พิจารณาในวันพรุ่งนี้ (20 พ.ย.) 

โดยมีตำแหน่งสำคัญที่ว่างลงประกอบด้วย รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 4 ตำแหน่ง , ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 7 ตำแหน่ง และระดับผู้บัญชาการ 14 ตำแหน่ง

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ส่วนรายชื่อที่คาดว่าจะถูกเสนอชื่อแต่งตั้งขึ้นเป็น รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกอบไปด้วย 

1.พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข (ปัจจุบัน รักษาการ รองผบ.ตร.)
2.พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี
3.พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง
4.พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร

โดย พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งคุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวาระนี้ก็จะถูก ขยับขึ้นไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำให้ ต้องจับตาว่า ใครจะมานั่งคุมเมืองหลวงแทน มีหนึ่งในตัวเต็ง ที่ถูกเสนอชื่อคือ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เพราะที่ผ่านมาสร้างผลงานการสืบสวนในคดีสำคัญและปิดคดีได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องลุ้นว่า การดำรงตำแหน่งไม่ถึง 3 ปี จะมีปัญหาด้านระเบียบหลักเกณฑ์หรือไม่

รายชื่อ ผบช.ที่จะเลื่อนขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.

1.พล.ต.ท.ธนพล ศรีโสภา จตร. (หน.จต.)
2.พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.
3.พล.ต.ท.อภิชาติ เพชรประสิทธิ์ ผบช.ส.
4.พล.ต.ท.กฤษฎา สุรเชษฐพงษ์ ผบช.สกบ.
5.พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม.
6.พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ. 2
7.พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ภ. 4

สำหรับตำแหน่งที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ประกอบด้วย ผบช.น. คาดว่าเป็น พล.ต.ท.สันติ ชัยนิรามัย จาก จตช.(สบ.8) นรต.รุ่น 48

-พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผบช.สกพ. (นรต.41) โยกมา ผบช.ภ.1
-พล.ต.ท.สุรพล เปรมบุตร ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. (นรต.41) โยกมา ผบช.ภ.2
-พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ ปิ่นทอง รอง ผบช.ภ.6 (นรต.43) เลื่อนขึ้นเป็น ผบช.ภ.3
-พล.ต.ต.ฉัตรชัย สุรเชษฐพงษ์ รองผบช.ภ.2 (นรต.42) เลื่อนขึ้นเป็น ผบช.ภ.4
-พล.ต.ท.กฤตธาพล ยี่สาคร ผบช.ภ.5 (ที่เดิม)
-พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผบช.ภ.6 (ที่เดิม)
-พล.ต.ท.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผบช.ภ.7 (ที่เดิม)
-พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผบช.ภ.8 (ที่เดิม)
-พล.ต.ท.ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผบช.ภ.9 (ที่เดิม)

ส่วนตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่

-พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สตม.(จต) (นรต.41) เลื่อนขึ้นเป็น ผบช.สตม.
-พล.ต.ต.วีรชน บุญทวี รองผบช.ภ.5 เลื่อนขึ้นเป็น ผบช.ตชด. -พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ. โยกมาเป็น ผบช.ปส. -พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จีน ผบช.ศ. (นรต.40) โยกมาเป็น ผบช.สพฐ.,พล.ต.ท.เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผบช.รร.นรต. โยกมาเป็น ผบช.ศ.
-พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผบช.สง.ผบ.ตร. (นรต.47) โยกมาเป็น ผบช.รร.นรต.,พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง ผบช.ประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี (นรต.46) โยกมาเป็น ผบช.สกพ.
-พล.ต.ต.มณฑล บัวจีบ รองผช.ส.3 (นรต.43) โยกมาเป็น ผบช.สอท.
-พล.ต.ต.บัณฑิต ตุงคะเศรณี รอง ผบช.ภ.6 (นรต.41) เลื่อนขึ้นเป็น ผบช.ส.,พล.ต.ท. ศักย์ศิรา เผือกอ่ำ ผบช.ทท. (ที่เดิม)

สำหรับการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ที่จะมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการประชุม พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับนายพลประจำปี 2567 มีรายงานว่า การแต่งตั้งโยกย้ายจะแบ่งเป็น 2 ล็อต

ล็อตแรกการประชุม ก.ตร. วันที่ 20 พ.ย. จะเป็นการแต่งตั้งระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , ระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และระดับผู้บัญชาการ

ส่วนล็อตที่สอง ก.ตร.จะประชุมวันที่ 15 ธ.ค. เป็นการแต่งตั้ง นายพลระดับต่ำกว่าผู้บัญชาการลงไป ระดับผู้บังคับการ และรองผู้บังคับการ

สำหรับการเลื่อนตำแหน่งตั้งแต่ รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หากยึดตามหลักเกณฑ์ให้พิจารณาตามลำดับอาวุโสตามมาตรา 82 (1) และตำแหน่งผู้บัญชาการถึงผู้บังคับการ ให้พิจารณาตามรายชื่อจัดเรียงผู้มีอาวุโสไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ตามมาตรา 82 (2) ส่วนตำแหน่งที่ว่างที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้พิจารณาคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน

อ่านข่าว :

จับกระแสการเมือง : วันที่ 18 พ.ย.2567 ผบช.น.คนใหม่ ใคร WIN ดีด “ฟิล์ม รัฐภูมิ” พ้นอก พปชร.

ราษฎรคัดค้าน! กรมที่ดินยันทำตามคำสั่งศาลปมรังวัดเขากระโดง


ราษฎรคัดค้าน! กรมที่ดินยันทำตามคำสั่งศาลปมรังวัดเขากระโดง

Tue, 19 Nov 2024 15:40:33

วันนี้ (19 พ.ย.2567) ตามที่ ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา ตามคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ให้อธิบดีกรมที่ดิน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ

อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งที่ 1195 - 1196/2566 ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง และได้รายงานสรุปผลการรังวัดนำชี้แนวเขตของคณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการรังวัดตรวจสอบตำแหน่งขอบเขตโดยรอบและจัดทำแผนที่ทางกายภาพเพื่อประกอบการพิจารณา

แผนที่ซึ่งได้จากการรังวัดของคณะทำงานร่วม ระหว่างสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟฯ เป็นการรังวัดตามการนำชี้ของผู้แทนการรถไฟฯ โดยไม่มีเอกสารหลักฐานทางกฎหมายอ้างสิทธิใด ๆ ที่ระบุได้ว่าเป็นแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟฯ พ.ศ.2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ เพื่อสร้างทางรถไฟ พ.ศ.2464 เพื่อประกอบการนำชี้

ในขณะทำการรังวัดได้มีราษฎรในพื้นที่และส่วนราชการคัดค้านไม่ยอมรับการนำชี้ของผู้แทนการรถไฟฯ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานที่การรถไฟฯ อ้างสิทธิตามกฎหมาย เมื่อคณะทำงานร่วมฯ ดำเนินการจัดทำแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการส่งข้อมูลการรังวัดพร้อมหลักฐานการคัดค้านของราษฎรและส่วนราชการต่าง ๆ ที่คัดค้านให้คณะกรรมการสอบสวนฯ ตาม ม.61 ใช้ประกอบในการพิจารณา และได้รายงานกรมที่ดินทราบ

กรมที่ดิน ขอยืนยันว่าในการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 ได้ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องตามคำพิพากษาศาลปกครอง และทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามกฎหมายและคำพิพากษาศาลปกครองกลางทุกขั้นตอนแล้ว

โดยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 มีดังนี้

  1. ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานให้ได้ความว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
  2. มีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรบรองการทำประโยชน์หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา กรณีไม่อาจเรียกเอกสารให้บันทึกเหตุผลไว้ กรณีได้รับเอกสารให้ออกใบรับ (ท.ด.53) ไว้เป็นหลักฐาน
  3. แจ้งผู้มีส่วนได้เสียทราบเพื่อให้โอกาสคัดค้านการเพิกถอนหรือแก้ไข
  4. รายงานผลการสอบสวนต่ออธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในกำหนดระยะเวลา
  5. ขอขยายระยะเวลาการสอบสวน กรณีคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา โดยจะสั่งให้ขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ตามความจำเป็น
  6. ขอเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสวนฯ กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน

อ่านข่าว : 

"สุริยะ" ย้ำที่เขากระโดง ของ "รฟท."

"อนุทิน" ยืนยันไม่มีฟอกขาว "คดีเขากระโดง"

"อนุทิน" ปัดชนวนเขากระโดงรอยร้าว เพื่อไทย-ภูมิใจไทย


นายกฯ โยนถาม "ทักษิณ" ปม "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย ปัดดีลรัฐบาล

Tue, 19 Nov 2024 15:38:00

วันนี้ (19 พ.ย.2567) น.ส.แพทอง​ธาร​ ชิน​วัตร​ นายก​รัฐมนตรี​ กล่าวถึงกรณี​ นายทักษิณ​ ชินวัตร​ อดีตนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์​ ชินวัตร จะกลับมาเล่นสงกรานต์ที่เมืองไทยในปีหน้า​ โดยนายกฯถอนหายใจและยิ้ม​ ก่อนจะกล่าวว่า "อย่างที่บอกว่าท่านทักษิณ​ กลับมาแล้ว​ เชิญสัมภาษณ์ท่านทักษิณได้เลย"

เมื่อถามว่าในขณะที่เป็นรัฐบาลได้รับการติดต่อจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่​ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า​ ท่านยิ่งลักษณ์ไม่ได้มีการประสานมายังรัฐบาลเลย​ ถ้ามีคือโทรหาหลาน​

ส่วนกรณีที่มีบุคคลไปร้องเรียนนายทักษิณ​ ถือ 2 สัญชาติคือสัญชาติไทยและสัญชาติมอนเตเนโกร การขึ้นเวทีปราศรัยอาจผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น​ นายกรัฐมนตรี​ ระบุว่าให้ไปถามทักษิณ

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี โดยมีการพาดพิงถึงการเมือง​ ซึ่งอาจทำให้การเมืองนั้นกระเพื่อม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ​ โดยนายกรัฐมนตรีย้อนถามกลับสื่อมวลชนว่า ท่านทักษิณ​ ออกมาเศรษฐกิจไม่บวก

สำหรับกรณีที่ใช้ถ้อยคำปราศรัยกระทบกระทั่งอาจทำให้การเมืองกระเพื่อม​ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการหาเสียงเอานโยบายมาเล่าเป็นภาษาง่ายๆ ให้ประชาชนเข้าใจว่าแต่ละพรรคการเมือง ต้องการทำอะไรเพื่อประชาชนและประเทศชาติ ไม่ว่าการเมืองท้องถิ่นหรือระดับประเทศ นอกจากนั้นคำพูดต่างๆ ก็เป็นสีสันที่ทำให้การพูดคุยสนุกสนาน เพิ่มมากขึ้นในรูปแบบเวทีปราศรัย  

แพทอง​ธาร​ ชิน​วัตร​ นายก​รัฐมนตรี​

แพทอง​ธาร​ ชิน​วัตร​ นายก​รัฐมนตรี​

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงกรณีอัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการ นายทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ในคดีล้มล้างการปกครอง และได้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้รับรายงานเรื่องนี้แล้วหรือไม่ ว่า ถ้าเรื่องแบบนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามกระบวนการกฎหมายทั้งหมดเพราะฉะนั้นเราก็ไม่ได้เข้าไปตรงนี้อยู่แล้ว

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หลังมีกระแสข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ขณะที่นายกิตติรัตน์ เคยดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า เป็นตำแหน่งทางการเมือง และยังออกจากตำแหน่งไม่เกิน 1 ปี จะเสี่ยงขัดกับกฎหมายหรือไม่ ว่าให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหา เพราะคณะกรรมการดังกล่าวถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ขอปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ

อ่านข่าว :

“อนุทิน” ระบุให้ ผวจ.เป็นกลางเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ

“ทวี” ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทยต้องทำตามกฎหมาย