"โก๋ คาราบาว" มือกลองประจำวง เสียชีวิต ในวัย 50 ปี

Thu, 5 Sep 2024 21:58:00

วันนี้ (5 ก.ย.2567) เพจเฟซบุ๊ก Carabao Official โพสต์ข้อความ แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "โก๋ คาราบาว" มือกลองประจำวง โดยระบุว่า "ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคุณชวลิต ฉลองพงษ์ หรือ โก๋ คาราบาว ขอให้พี่โก๋เดินทางสู่ภพภูมิที่ดีครับ ด้วยรักและอาลัย" 

ขณะที่มีคนมาคอมเมนต์แสดงความไว้อาลัยจำนวนมาก

สำหรับ โก๋ คาราบาว ชื่อจริง ชวลิต ฉลอมพงษ์ อายุ 50 ปี เป็นชาว จ.อุบลราชธานี โดยโก๋ คาราบาว ได้เข้าร่วมวงคาราบาว ในอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ เมื่อปี 2534 จนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้วงคาราบาว เป็นวงดนตเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดวงหนึ่งของของประเทศไทย มีผลงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 จนถึงปัจจุบัน โดยมี แอ๊ด ยืนยง โอภากุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) พ.ศ.2556 เป็นหัวหน้าวง

อ่านข่าว :

ปิดตำนาน 50 ปี "ต่วย'ตูน" วางแผงเล่มสุดท้าย ก.ย.นี้

อัปเดตสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนกันยายน 2567 เงินเข้าวันไหน

ศาลอุทธรณ์ คุก 8 ปี ไม่รอลงอาญา "ครูไพบูลย์" คดีพรากผู้เยาว์อดีตภรรยา


ศาลอุทธรณ์ คุก 8 ปี ไม่รอลงอาญา "ครูไพบูลย์" คดีพรากผู้เยาว์อดีตภรรยา

Tue, 3 Sep 2024 14:38:00

วันนี้ (3 ก.ย.2567) ความคืบหน้ากรณี "เอ๋" มิรา ชลวิรัลวานิศร์ ยื่นฟ้องอดีตสามีนายไพบูลย์ แสงเดือน หรือ ครูไพบูลย์ ผู้บริหารค่ายเพลงลูกทุ่งในความผิดฐานพรากผู้เยาว์และกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

ล่าสุด นายวิษรุษ มณีรัตน์ ทนายของ มิรา ได้โพสต์ข้อความเผยความคืบหน้า โดยระบุว่า

"พ่อ แม่ เด็กและผู้เยาว์ วันนี้คงอุ่นใจขึ้น ความยุติธรรมของกฎหมายไทย ที่จะเป็นเกราะป้องกันเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จากคนที่จ้องจะทำลายอนาคตของเด็ก คดีพรากผู้เยาว์ มิรา ชลวิรัลวานิศร์ ตัดสินแล้ววันนี้ ศาลอุทธรณ์จำคุก 8 ปี ไม่รอการลงโทษ"

ขณะที่เฟซบุ๊กของ "ครูไพบูลย์" ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด มีเพียงโพสต์ช่องทางการติดต่องาน และโพสต์ภาพเจ้าตัวเองล่าสุด 12 ชม.ที่แล้ว ที่ระบุว่า..."ฉันผ่านมาหมดแล้ว สุข ทุกข์ ผิดหวัง สมหวัง ยากจน มีกิน ขอคุณความดีคุ้มครอง" 

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 พ.ค.65 พนักงานอัยการ จ.หนองบัวลำภู ได้มีคำสั่งฟ้องนายไพบูลย์ ในคดีพรากผู้เยาว์

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ก.พ.66 ศาลชั้นต้นได้พิพากษา นายไพบูลย์ จำคุก 8 ปีไม่รอลงอาญา คดีพรากผู้เยาว์อดีตภรรยา ชดใช้เงิน 350,000 บาท โดยนายไพบูลย์ได้ยื่นอุทธรณ์ และล่าสุด ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินจำคุก 8 ปี ไม่รอการลงโทษ

ที่มาเฟซบุ๊ก ไทยบันเทิง Thai PBS  

 อ่านข่าว : ด่วน! ศาลสั่งจำคุก “ครูไพบูลย์” 8 ปีไม่รอลงอาญา คดีพรากผู้เยาว์  

"สมรักษ์" รายงานตัว-สอบพยานนัดแรกคดีพรากผู้เยาว์

ทนายเปิดโทษ "คดีพรากผู้เยาว์" จำคุกไม่เกิน 10 ปีแม้ยินยอม 

 

 

 


ปิดตำนาน 50 ปี "ต่วย'ตูน" วางแผงเล่มสุดท้าย ก.ย.นี้

Tue, 3 Sep 2024 11:06:30

เป็นอีกเรื่องน่าใจหายในแวดวงนักอ่าน เมื่อเพจ "ต่วย'ตูน พิเศษ" ประกาศ "ยุติการจัดทำ" นิตยสาร ต่วย'ตูน พอกเก็ตแมกาซีน และนิตยสาร ต่วย'ตูน พิเศษ โดยมีฉบับ กันยายน 2567 เป็นฉบับสุดท้าย

พร้อมบอกเหตุผลว่า ภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอีกหลายประการ ส่งผลกระทบต่อสำนักพิมพ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทางสำนักพิมพ์ตั้งใจประคับประคองนิตยสารทั้ง 2 ฉบับ ให้คงอยู่เป็นเพื่อนนักอ่านเสมอมา จนถึงวันนี้ ต่วย'ตูน พิเศษ อายุ 50 ปี ต่วย’ตูน พอกเก็ตแมกาซีน ก็เข้าสู่ปีที่ 54 แล้ว ถึงเวลาอันสมควรที่พวกเราจะหยุดพักและกล่าวคำอำลา

มิตรภาพ ความผูกพัน ความกรุณาของนักอ่าน นักเขียน และบุคลากรทุกสายงานในวงการหนังสือ จะตราตรึงอยู่ในใจพวกเราชาวต่วย’ตูนตลอดไป กราบขออภัยอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถถ่ายทอดสาระและหรรษา สร้างความสุขให้ทุกท่านได้อีกต่อไป"

ทั้งนี้ สำนักพิมพ์จะติดต่อไปยังสมาชิกทุกท่านเพื่อขอคืนค่าสมาชิกนิตยสารที่ยังคงเหลืออยู่

สำหรับ "ต่วย'ตูน" ก่อตั้งโดย "ต่วย วาทิน ปิ่นเฉลียว" เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2514 มีเนื้อหาหลากหลายทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ เรื่องน่ารู้ เรื่องลึกลับ เรื่องแปลก และเรื่องผี เปิดโอกาสให้คนรักงานเขียนส่งบทความมาลงในเล่มได้ด้วย ถือเป็นแรงบันดาลใจและความฝันของหลาย ๆ คน

อ่านข่าว : ปรากฏการณ์ท้องฟ้า เดือนกันยายน 2567 น่าติดตามและห้ามพลาด

เสียชีวิตเพิ่ม 1 รวม 8 คน คลัสเตอร์ "เหล้าเถื่อน" ป่วย 44 คน

รัฐบาลเตรียมปลุกผีโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น


เบื้องหลัง “สืบสันดาน” ซีรีส์ไทย มาตรฐาน NETFLIX

Thu, 29 Aug 2024 09:36:00

ทีวีไทยในยุคดิจิทัลเผชิญความท้าทายทุกมิติ หลายช่องปรับลดละครที่เคยเป็นเนื้อหาที่เรียกเรตติ้ง ขณะที่ละครทีวีเจอโจทย์ใหญ่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ผลงานซีรีส์โดยผู้ผลิตชาวไทยกลับสามารถเป็นกระแสโด่งดังในแพลตฟอร์มสตรีมมิง ผลงานที่โด่งดังในระดับสากลในปีนี้ ชาวไทยคุ้นเคยกับซีรีส์ “สืบสันดาน” เป็นอย่างดี

หากพูดถึง “ทีวีดิจิทัล” ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เวลานี้ออกอากาศในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินมาแล้ว 10 ปี

และอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลภาคเอกชน จะสิ้นสุดในปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2572 กสทช.พร้อมช่องสมาชิกทีวีดิจิทัลประกอบธุรกิจ 15 ช่อง และทีวีดิจิทัลสาธารณะ 5 ช่อง จัดงาน “1 ทศวรรษทีวีดิจิทัล Beyond the Next Step” เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2567 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และมองทิศทางอนาคตช่วงก่อนและหลังใบอนุญาตทีวีดิจิทัลภาคเอกชนจะสิ้นสุดลง

งานช่วงบ่ายมีจัด VISION STAGE หัวข้ออนาคตละคร, ซีรีส์ไทยไปไกลแค่ไหน หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์คือ ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก รองประธานกรรมการบริหารด้านงานสร้างสรรค์ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พูดในหัวข้อ "กรณีศึกษา สืบสันดาน ละครไทย มาตรฐาน NETFLIX"

คุณปิยะรัฐ กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อเสียงตอบรับที่ดีของซีรีส์ “สืบสันดาน” ว่า มาจากการวางแผนที่ดี การทำละคร/ ซีรีส์ โดยเฉพาะทำงานกับระบบและแพลตฟอร์มที่วางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ได้กระแสตอบรับที่ดีตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่ได้ออกฉายด้วยซ้ำ ขณะที่การทำงานก็ทำให้ดีที่สุด ด้วยแนวคิดว่าอยากให้งานออกมาดี

สำหรับการออกแบบเนื้อหาต่าง ๆ ที่หยิบมานำเสนอ มีกระบวนการนำเสนอให้แพลตฟอร์มไปหลายมุม ซึ่งทางแพลตฟอร์มเลือกหยิบประเด็นที่สนใจขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอเรื่องความรัก ครอบครัว ที่ทำงาน ในภาพรวมถือว่าเป็นปัญหาที่มีทุกที่ในโลก

“บางอย่างเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงและอยากมาถ่ายทอดให้ฟัง ในวันนี้สามารถทำได้มากกว่าเดิม นอกกรอบ นำเสนอได้มากขึ้น ซึ่งเป็นลายเซ็นที่ทำกันมาตลอด ถือว่าขอบคุณมาก ดวงยังอยู่ในอาชีพนี้ได้อยู่” ปิยะรัฐ กล่าว

ปิยะรัฐ เล่าถึงผลงานต่อไปว่า เรื่องต่อไปถ่ายเสร็จแล้วแต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ รอติดตามได้จากช่องทางเดิม โดยลักษณะเนื้อหาที่ถนัดอีกอย่างคือผลงาน “อิงประวัติศาสตร์” เล็กน้อย ซึ่งจะเป็นผลงานในอนาคตที่อยากให้รอติดตาม ปิยะรัฐ ใช้คำเรียกผลงานนี้ว่า “แซ่บแน่” รวมถึงพูดถึงแพลตฟอร์มอื่นที่ทีมทำงานด้วย จะมีผลงานให้ติดตามด้วยเช่นกัน

คำถามหนึ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกตกับเนื้อหาในซีรีส์ คือ รายละเอียดแนว “Uncensored” ปิยะรัฐ อธิบายว่า เป็นสิ่งที่กันตนาทำมาตลอด มีความชัดเจน และมีมิติที่ลึกมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่เคยดูผลงานของกันตนา เมื่อได้ดู “สืบสันดาน” ถือว่าได้มารู้จักสิ่งที่กันตนาทำอีกครั้งหนึ่ง

“ทำถึง ทำได้ เหมือนไหม ทำใหม่ ทำเก่า เป็นเรื่องหนึ่ง ทำอย่างไรให้มาตรฐานของการทำคอนเทนต์ทั้งหมดทั้งอุตสาหกรรมมีมาตรฐานค่อนข้างเป็นอันเดียวกันเป็นสิ่งที่คิดอยู่ เพราะเกิดและโตมากับละครวิทยุโทรทัศน์ อยากให้คุณภาพทั้งวงการ ทั้งอุตสาหกรรม ไปด้วยกัน...เราแข่งกับตัวเรา ไปข้างหน้าพร้อมกัน ก็จะดีกว่า” ปิยะรัฐ กล่าว

อ่านข่าว : ยกย่อง 12 ศิลปินแห่งชาติ 2566 "โย่ง เชิญยิ้ม-วงจันทร์ ไพโรจน์"

มอง 10 ปีทีวีดิจิทัล อีก 4 ปี ไปต่อหรือจะพอแค่นี้

กกต.ให้เลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานีใหม่ คาด 22 ก.ย.นี้

 

 


ยกย่อง 12 ศิลปินแห่งชาติ 2566 "โย่ง เชิญยิ้ม-วงจันทร์ ไพโรจน์"

Wed, 28 Aug 2024 13:46:00

วันนี้ (28 ส.ค.2567) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แถลงการคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2566 จำนวน 12 คน

สาขาทัศนศิลป์

สาขาวรรณศิลป์

สาขาศิลปะการแสดง

น.ส.สุดาวรรณ กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับสวัสดิการประกอบด้วย ค่าตอบแทนรายเดือน ๆ ละ 25,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่น ให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน

หากเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปีงบประมาณ เงินช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง คนละไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง และในกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพคนละ 20,000 บาท เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นต้น

ทั้งนี้ มีศิลปินแห่งชาติได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ตั้งแต่ 2528-2565 แล้วจำนวน 355 คน และในปี พ.ศ.2566 จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 367 คน ซึ่งมีศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตไปแล้ว 183 คน และยังมีชีวิตอยู่รวม 184 คน


สิ้นนักร้องในตำนาน "ชรินทร์ นันทนาคร" ศิลปินแห่งชาติ

Tue, 20 Aug 2024 10:06:00

วันนี้ (20 ส.ค.2567) "ชรินทร์ นันทนาคร" ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ 02.20 น. ที่โรงพยาบาลตำรวจ สิริอายุ 91 ปี

สำหรับ ชรินทร์ เป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องที่ขับร้องเพลงดังหลายเพลง เช่น เรือนแพ, มนต์รักดอกคำใต้, หยาดเพชร, ท่าฉลอม, นกเขาคูรัก และผู้ชนะสิบทิศ เป็นต้น

ชรินทร์ ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี 2541 และมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงกว่า 1,500 เพลง รวมถึงได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำจากเพลง "อาลัยรัก"

นอกจากนี้ในแวดวงภาพยนตร์ เขายังเป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ โดยได้สร้างผลงานไว้ 19 เรื่อง โดยมีภาพยนตร์เรื่อง "รักข้ามคลอง" ทำรายได้สูงสุด

ด้านชีวิตครอบครัว ชรินทร์ สมรสครั้งแรกในปี 2500 มีบุตรสาว 2 คน ก่อนที่จะเลิกรากันและต่อมาได้สมรสกับ เพชรา เชาวราษฎร์ ในปี 2512 จนถึงปัจจุบัน

อ่านข่าว

"คืนสุดท้ายของนักสร้างสารคดี" เรื่องสั้นชนะเลิศ รางวัลพานแว่นฟ้า 2567

ปฏิทินกันยายน 2567 วันลายังเหลือไหม ? เมื่อไร้วันหยุดนักขัตฤกษ์


วูบศีรษะฟาดฟื้น "มนัส ตั้งสุข" เสียชีวิต-วงการสื่อร่วมอาลัย

Sun, 4 Aug 2024 09:03:00

วันนี้ (4 ส.ค.2567) วงการทีวีร่วมอาลัยกับครอบครัวของ นายมนัส ตั้งสุข พิธีกรข่าว และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ดีเด่นแห่งปี หลังจากเมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) เกิดอาการวูบ และล้มศีรษะฟาดพื้น ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉิน แพทย์ตรวจพบว่ามีเลือดคั่งในสมอง สมองบวม เนื่องจากขณะที่ล้มฟาดศีรษะส่วนก้านสมอง ได้รับความกระทบกระเทือนหนัก โดยรักษาตัวห้อง ICU โรงพยาบาลราชวิถี

ล่าสุดเฟซบุ๊ก  Manat Tungsuk  โพสต์ข้อความระบุว่า

“อั๋น" ดร.มนัส ตั้งสุข ได้จากพวกเราไปแล้วด้วยอาการสงบ ในเวลา 00.02 น. ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 4 ส.ค.นี้ วันพระทางญาติจะแจ้งกำหนดการให้ทราบอีกครั้ง หลับให้สบายนะเพื่อนรัก 

โดยมีเพื่อนๆ พี่น้องในวงการสื่อมวลชน วงการทีวีที่รู้จักนายมนัส ได้เข้ามาแสดงความเสียใจ และให้กำลังใจครอบครัวจำนวนมาก เนื่องจากนายมนัส ถือเป็นพิธีกรมากฝีมือทำงานมานานกว่า 10 ปี และยังเป็นอาจารย์สอนสถาบันการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย ต่างๆ และวิทยากรประจำ กสทช. โดยปัจจุบันเป็นพิธีกรข่าวรายการ "ทอล์คทูเก็ทเตอร์" ทาง ททบ.5

ทั้งนี้นายมนัส เคยได้รับรางวัลด้านการข่าวมากมาย เช่น รางวัลเทพทองรางวัลสุพรรณหงส์ (สีเงิน) รางวัลผู้ประกาศข่าวชายดีเด่นขวัญใจมหาชน ในงาน "มายามหาชน" รางวัลผู้รายงานข่าวชายดีเด่น รางวัลพิฆเนศวร

ล่าสุดมีการแจ้งสำหรับกำหนดสวดพระอภิธรรมที่ศาลา 18 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กทม.โดยมีพิธีรดน้ำศพ วันที่ 5 ส.ค.เวลา 16.00 น. และพิธีสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 5-7 ส.ค. เวลา 18.00 น. ก่อนทำพิธีฌาปนกิจที่เมรุ 2 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในวันที่ 8 ส.ค. เวลา 16.00 น.

อ่านข่าว

อาลัย "เพลิน พรหมแดน" ราชาเพลงพูด เสียชีวิตวัย 85 ปี

 


อาลัย "เพลิน พรหมแดน" ราชาเพลงพูด เสียชีวิตวัย 85 ปี

Sat, 3 Aug 2024 15:37:00

วันนี้ (3 ส.ค.2567) ไทยบันเทิงไทยพีบีเอส รายงานว่า เฟซบุ๊กเพจสมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทย โพสต์แสดงความอาลัยและเสียใจต่อการจากไปของครู "สมส่วน พรหมสว่าง" หรือเพลิน พรหมแดน นักร้องลูกทุ่งเจ้าของฉายา "ราชาเพลงพูด" ที่มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากมายทั้ง ชมทุ่ง, บุญพี่ที่น้องรัก, คนเดินดิน, คนไม่มีดาว, อย่าลืมเมืองไทย, ข่าวสดๆ อาตี๋สักมังกร, ให้พี่รวยเสียก่อน

ก่อนหน้านี้ เพลิน พรหมแดน มีปัญหาสุขภาพมานาน และล่าสุดเสียชีวิตลงแล้วในวัย 85 ปี

สำหรับเพลิน พรหมแดน เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี "เพลิน พรหมแดน" ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) ประจำปี พ.ศ.2555 และเป็นศิลปินเพลงลูกทุ่งชาวไทย ที่ได้รับสมญานามขุนแผนลูกทุ่ง, ราชาเพลงพูด และสุภาพบุรุษลูกทุ่ง


อาลัย "ทองแถม นาถจำนง" นักเขียน นักแปลชื่อดัง

Fri, 2 Aug 2024 10:59:00

วันนี้ (2 ส.ค.2567) วงการนักเขียนสูญเสีย "ทองแถม นาถจำนง" หรือ "โชติช่วง นาดอน" นักเขียน บรรณาธิการ และนักวิชาการชื่อดัง วัย 69 ปี 

ไทยบันเทิง ไทยพีบีเอส รายงานว่า "ทองแถม นาถจำนง" เป็นผู้สร้างผลงานเขียนและคอลัมนิสต์เกี่ยวกับเรื่องจีนไม่ต่ำกว่า 60 เล่ม ครอบคลุมเนื้อหาด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ กวี ปรัชญา ศาสนา ไปถึงเศรษฐกิจ การเมือง

ในวัยเรียนเคยเป็นนายกสโมสรนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และต้องเข้าป่าหลังเกิดเหตุ 6 ตุลา 2519 จากนั้นมีโอกาสไปเรียนวิชาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแพทย์ทหารที่เซี่ยงไฮ้ แล้วเดินทางกลับไทยในปี 2526 โดยเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนจบปริญญาตรี ได้ตีพิมพ์ผลงานครั้งแรกในปี 2527 คือ รวมบทกวี "เงาพระจันทร์ในคมกระบี่" "คมคำคมกวี"

ผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ ชุดหนังสือ อมตะพิชัยสงคราม 7 ฉบับ และมรดกภูมิปัญญาจีน รวมถึงการร่วมก่อตั้งนิตยสารรายเดือน "ทางอีศาน" ได้รับรางวัลบรรณาธิการดีเด่นนิลวรรณปิ่นทอง ปี 2558 จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

รางวัล ม.ร.ว.อายุมงคล โสณกุล นักแปลดีเด่น, รางวัลสุรินทราชา ของสมาคมล่ามและนักแปลแห่งประเทศไทย พ.ศ.2563 และรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.2566 ได้รับการยอมรับในฐานะผู้มีความรอบรู้วรรณกรรมไทย-จีน และเป็นดั่งสะพานเชื่อมวัฒนธรรมสองชาติ
 
สำหรับพิธีรดน้ำศพ มีขึ้นในวันนี้ (2 ส.ค.) เวลา 16.00 น. ที่ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 และฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567

อ่านข่าว : สิ้น นักจัดรายการวิทยุชื่อดัง "วีระ ลิมปะพันธุ์"

"บรรจง" พ่ายนักชกคิวบา ตกรอบ 8 คนสุดท้ายโอลิมปิก 2024

ดิจิทัลวอลเล็ต 18.3 ล้านคน-เตือนแอปปลอมโผล่


สิ้น นักจัดรายการวิทยุชื่อดัง "วีระ ลิมปะพันธุ์"

Fri, 2 Aug 2024 10:27:00

เป็นอีกข่าวเศร้าของคนบันเทิง หลังเพจ "ดาราภาพยนตร์" ออกมาแจ้งข่าว กับการจากไปของนักจัดรายการวิทยุคนดัง "วีระ ลิมปะพันธุ์" อดีตนายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาถึงแก่กรรมด้วยโรคชราภาพ และน้ำในโพรงสมอง อายุรวม 90 ปี

วีระ ลิมปะพันธุ์ ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

วีระ ลิมปะพันธุ์ ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

ประวัติ "วีระ ลิมปะพันธุ์" 

วีระ ลิมปะพันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (2539 - 2543 ) อดีตนายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์โฆษก พิธีกร และ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียงชื่อดัง (พระเอกละครวิทยุ คณะ 213 - เล่านิทานสำหรับคุณหนู) ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของ สมาคมนักวิทยุ และโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

วีระ ลิมปะพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2476 ที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ในปี พ.ศ.2509 : ทำงานอยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด

นอกจากนี้ วีระ ลิมปะพันธุ์ ยังเคยจัดรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 3 กรุงเทพฯ, ช่อง 5 ขอนแก่น, ช่อง 8 ลำปาง, ช่อง 9 สุราษฎร์ฯ ช่อง 10 หาดใหญ่

ปี พ.ศ. 2523 : ผลงานด้านภาพยนตร์ชิ้นแรก สร้างภาพยนตร์ไทย 35 มม. เรื่องอาอี๊

ต่อมาในปี พ.ศ.2533 : ได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวทท.) จนถึงปี 2560 รวม 28 ปี

พ.ศ.2539 วีระ ลิมปะพันธุ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา ถึงปี 2543 และ เป็นประธาน ผู้อำนวยการจัดงานพระราชทานรางวัลเทพทอง

และในปีพ.ศ.2561 ถึงปัจจุบัน วีระ ลิมปะพันธุ์ เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สุดท้ายของชีวิต ถึงแก่กรรมด้วยโรคชราภาพ และน้ำในโพรงสมอง อายุรวม 90 ปี จากไปอย่างสงบ ในวันเสาร์ที่ 27 ก.ค.2567 เวลา 10.39 น.

นายกสมาคมฯ คนที่ 4 ของสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ฯ

ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

สำหรับ วีระ ลิมปะพันธุ์ เป็นผู้จัดละครวิทยุ และพระเอกละครวิทยุคณะ 213 มาตั้งแต่ปี 2509  เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์ด้านการแสดงละครวิทยุ และการจัดรายการวิทยุฯ อาทิ

วีระ ลิมปะพันธุ์ ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

วีระ ลิมปะพันธุ์ ภาพจากเพจ : ดาราภาพยนตร์

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

ทั้งนี้ ทางครอบครัวได้ออกมาแจ้งกำหนดสวดพระอภิธรรม ณ ศาลา 9 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชทานเพลิงศพ วันเสาร์ที่ 3 ส.ค. เวลา 16.00 น ณ เมรุ 1 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบางเขน


สิ้น “ปราชญ์เมืองเพชร” อาลัย ศาสตราภิชาน “ล้อม เพ็งแก้ว”

Mon, 29 Jul 2024 19:42:00

วันนี้ (29 ก.ค.2567) มติชนออนไลน์รายงานว่า นายล้อม เพ็งแก้ว (เกตุทัต ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว) ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 12.37 น. วันที่ 29 ก.ค. ณ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี หลังจากป่วยเป็นโรคไตมานานหลายปี ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการฟอกไตสัปดาห์ละ 3 วัน ต่อเนื่องตลอดมา

นายล้อม เพ็งแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2479 ที่ ต.ชะมวง (ปัจจุบันคือ ต.ควนขนุน) อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายหรอด-นางนวล เพ็งแก้ว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 12 คน

นายล้อมเข้าศึกษาจนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนประชาบาลตำบลชะมวง 3 อ.ควนขนุน จบชั้น ม.6 ที่โรงเรียนช่วยมิตร อ.ควนขนุน, ปี 2497 เป็นนักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ ที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไม่ถึง 1 เดือนก็ได้รับเลือกให้ไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร เรียนจบหลักสูตรประโยคครูประถม (ปป.) ในปี 2500

จากนั้นเรียนต่อที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบันคือ มศว ประสานมิตร) สำเร็จหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา ปี 2504 และได้รับตำแหน่งอาจารย์ตรี สอนวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2504

วันที่ 28 พฤษภาคม 2511 นายล้อมได้รับคำสั่งจาก จ.เพชรบุรี ให้ไปช่วยราชการเป็นอาจารย์ผู้สอนและหัวหน้าภาควิชาภาษาไทย ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม จ.มหาสารคาม กระทั่งปี 2516 ย้ายกลับมาที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี

ปี 2518 ปรับเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 7 ปรับเป็นระดับ 8 และต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2529 กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งนายล้อมให้เป็นอาจารย์ระดับ 9 คนแรกของประเทศ และเป็นอาจารย์ระดับ 9 มีอายุน้อยที่สุด

นายล้อมเป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนง เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” หรือ “ปราชญ์เมืองเพชร”

เริ่มเขียนงานลงตีพิมพ์ใน นสพ.สาส์นเพชร ที่มี นายชลอ ช่วยบำรุง เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ และต่อมาได้รู้จักกับ นายปรุง สุนทรวาทะ เจ้าของ นสพ.เพชรภูมิ ซึ่งต่อมานายปรุงก็ได้เชิญนายล้อมให้เขียนบทความให้กับ นสพ.เพชรภูมิ นับแต่นั้นมาจนถึงปี 2565

ปี 2529 นายล้อมได้แสดงความเห็นขัดแย้งกับนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผวจ.เพชรบุรี ในขณะนั้นที่สั่งให้ทุบทำลายปูนปั้นของนายทองร่วง เอมโอษฐ ช่างปูนปั้นเมืองเพชรบุรี (ศิลปินแห่งชาติ) ได้ปั้นล้อเลียนการเมืองไว้ที่บริเวณฐานเสมาของอุโบสถวัดสนามพราหมณ์ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี แต่กรมการฝึกหัดครูสอบสวนข้อเท็จแล้ว เห็นว่านายล้อมไม่มีความผิดจึงไม่ลงโทษ

นายล้อมรับราชการครูอยู่ที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี จนเกษียณอายุราชการในปี 2540 ท่านใช้ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ ด้วยการเขียนผลงานวิชาการ ประวัติศาสตร์ ในวิทยาสาร, วิทยาจารย์, ฟ้าเมืองไทย, ฟ้า, คุรุปริทัศน์, มติชน, ศิลปวัฒนธรรม, เมืองโบราณ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, เพชรภูมิ, เพชรนิวส์ ฯลฯ

อีกทั้งยังมีผลงานรวมเล่มที่พิมพ์เผยแพร่แล้วได้แก่ พระรถนิราศ, วิวาทศิลป์, ว่ายเวิ้งวรรณคดี, ภาษาสยาม, ค้นคำ, ภูมิพื้นภาษาไทย, ดาวประจำเมืองนคร, สนทรภู่ : อาลักษณ์เจ้าจักรวาล, เสน่ห์สำนวนไทย, คู่มือพุทธประวัติ, เพราะได้เห็น จึงได้คิด และผลงานต่าง ๆ อีกมากมาย

ต่อมาในปี 2548 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ยกย่องนายล้อมให้เป็น “เกตุทัต ศาสตราภิชาน” และได้รับการเชิดชูเกียรติต่าง ๆ มากมาย อาทิ ปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เชิดชูเกียรติเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชามานุษยวิทยา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนงอย่างลึกซึ้ง

ปี 2559 ได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2558 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อีกทั้งยังได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์มติชน ให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญจัดทำ “พจนานุกรม ฉบับมติชน” และได้รับการเลือกให้เป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนเพชรบุรี จ.เพชรบุรี คนที่ 2 ต่อจาก นางประโยชน์ สุนทรวาทะ ซึ่งเป็นนายกก่อตั้ง และตำแหน่งอื่นๆ อีกมากมาย

นายล้อมสมรสกับ ผศ.เบ็ญจา เพ็งแก้ว มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 7 คน คือ น.ส.กมลพรรณ (ใหญ่) น.ส.พรรณประไพ (เล็ก) น.ส.นิพัทธ์พร (เอียด) น.ส.ก่องแก้ว (แก้ว) น.ส.กนิษฐา (ก้อย) นายขับพล (ก้อง) และ น.ส.รจน์ (กิ่ง) เพ็งแก้ว

ครอบครัว “เพ็งแก้ว” ได้แจ้งกำหนดการรดน้ำศพ เวลา 16.00 น. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 17.00 น. ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม และกำหนดสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม-5 สิงหาคม เวลา 19.00 น. ณ วัดยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี โดยจะมีพิธีบรรจุศพในคืนสุดท้าย เพื่อรับพระราชทานเพลิงศพในโอกาสต่อไป

ขอบคุณ : มติชนออนไลน์

อ่านข่าว : ปารีสเกมส์ ขอโทษชาวคริสต์ดรามาพิธีเปิด The Last Supper

"สุธาสินี" ตกรอบแรกปารีสเกมรอลุ้นประเภททีม 5 ส.ค.

“บิ๊กโจ๊ก-บิ๊กต่าย” ชี้แจง ก.พ.ค.ตร.ครั้งสุดท้าย 30 ก.ค.ปมอุทธรณ์คำสั่งให้ออกฯ


ลุ้น 27 ก.ค.นี้ ขึ้นทะเบียน "ภูพระบาท" มรดกโลก

Fri, 26 Jul 2024 18:44:00

วันนี้ (26 ก.ค.2567) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยว่า ได้รับทราบรายงานจากคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี อินเดีย ว่า ได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาการรับรองอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นมรดกโลกให้เร็วขึ้น เป็นวันที่ 27 ก.ค.นี้

ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567 คาดว่าจะมีการพิจารณาในลำดับที่ 6 ในช่วงเช้าของการประชุม ขณะที่วันนี้จะมีการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม "สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา" เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลกด้วย

หากอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ผ่านการพิจารณา จะเป็นมรดกโลกแห่งที่ 8 ของไทย และแห่งที่ 2 ของอุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งเมื่อปี 2566 เมืองโบราณศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ขณะที่ น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากศักยภาพของภูพระบาท และการเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์ของคณะทำงานในการนำเสนอ เชื่อมั่นว่าภูพระบาทจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่อย่างแน่นอน

ทางกรมศิลปากรจะถ่ายทอดบรรยากาศส่งตรงรัฐอินเดีย และจัดการแถลงผลการประกาศ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้ได้ร่วมลุ้นไปพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ของกรมศิลปากร

ร่วมส่งกำลังใจช่วยเชียร์ให้ภูพระบาทได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก ทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงและเป็นเกียรติภูมิที่สำคัญบนเวทีโลกต่อไป

อ่านข่าว : ครม. เห็นชอบเสนอ "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก 

ลุ้น "อุทยานฯ ภูพระบาท" ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก 26-29 ก.ค.นี้ 

นาทีประวัติศาสตร์ ประกาศขึ้นทะเบียน "เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลก 


"เบนซ์ ธนธิป" อดีตดาราสมทบ เสียชีวิตแล้ว ในวัย 56 ปี

Fri, 26 Jul 2024 15:48:00

วันนี้ (26 ก.ค.2567) ความคืบหน้ากรณี นายธนธิป รัศมีประเสริฐ หรือ เบนซ์ ธนธิป อดีตนักแสดงสมทบวัย 56 ปี ได้ปีนตกจากเตียงผู้ป่วยจนทำให้ศีรษะกระแทกพื้นอาการสาหัส โดยเหตุเกิดเมื่อ 19 ก.ค. เวลาประมาณ 23.00 น.

ล่าสุด ลูกน้ำ วสุธิดา เพื่อนนักแสดงที่เคยร่วมงานกับ เบนซ์ ธนธิป ได้โพสต์เฟซบุ๊ก แจ้งข่าวเศร้าโดยระบุว่า พี่เบนซ์ จากไปอย่างสงบ วันนี้ 26 ก.ค.67 ที่โรงพยาบาลธัญบุรี

สำหรับกำหนดการ วันที่ 27 ก.ค.67 พี่เพียว พี่เม้ง และน้ำจะไปรับร่างพี่เบนซ์ ที่ รพ.ธัญบุรี เวลา 09.00 น. แล้วนำร่างไปตั้งบำเพ็ญกุศล วัดสระบัว คลอง 11 และรดน้ำศพในเวลา 15.00 น.

สำหรับ เบนซ์ ธนธิป ได้ประสบอุบัติเหตุผ่าตัดสมอง และอยู่คนเดียว ไร้งานแสดง จนเริ่มมีอาการป่วย นอนอยู่บนกองขยะ และที่พักอาศัยก็เต็มไปด้วยขยะและยังถูกตัดน้ำ ตัดไฟ เจ้าหน้าที่ได้ให้การช่วยเหลือส่งตัวเบนซ์ ธนธิป ไปรักษาที่โรงพยาบาลธัญบุรี จ.ปทุมธานี

อ่านข่าว :

อัปเดต 2567 วงเงิน "ค่ารักษาพยาบาล" ที่ "ลูกจ้าง" ต้องรู้

ตร.ยึดทรัพย์ 190 ล้านเว็บพนันใช้โปรไฟล์การ์ตูนลวงเด็ก


"ละครทีวี" สุดหืด-สุดโหด การต่อสู้ท่ามกลางสมรภูมิ "สตรีมมิ่ง"

Thu, 25 Jul 2024 09:57:00

ละครไทย จากยุค ละคร 1.0 – สู่ละคร ไทย 5.0

ยืนยันว่า จนถึงอีกในอีก 10-20 ปีข้างหน้า คนก็จะยังดูละคร แต่จะเปลี่ยนรูปแบบเพราะมันคือความบันเทิง (Entertainments) อาจจะเปลี่ยนชื่อเรียก ไม่เรียกละครแล้วแต่อาจเรียกซีรีส์ และเนื้อเรื่องอาจเปลี่ยนเป็นตอบโจทย์ยุคสมัยมากขึ้น

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอง “วิกฤตละครทีวีไทย” ที่ยังช่วยให้ทั้งผู้ผลิตละคร และแฟนละครไทยได้เบาใจ เพราะเชื่อว่า ความบันเทิงยังคงเป็นสิ่งที่ขายได้

หากเทียบกระบวนการผลิตละครให้สอดคล้องกับยุคสมัย ทำให้เห็นภาพว่า เพราะอะไรละครไทย อาจจะอยู่ยากขึ้นหากไม่พัฒนา หากเทียบละครไทย เป็นผลิตภัณฑ์กับการตลาด แบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้

1.ละครไทย ยุค 1.0 คือ ยุคเริ่มต้นที่สินค้าในตลาดยังมีจำนวนไม่มาก โดยมีสถานีโทรทัศน์เพียงไม่กี่ช่อง ขณะที่ผู้ชมหรือผู้บริโภคละคร มีจำนวนมากหรือเท่ากับจำนวนประชากรของประเทศ เมื่อผลิตละครออกมาโดยมีช่องทางรับชมคือโทรทัศน์ ก็สามารถตอบโจทย์ผู้ชมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ เช่น ทำละครออกมา 5 แบบก็ได้ผู้ชม 5 กลุ่ม กรณีที่ทำละครคล้ายกันก็อาจจะต้องสู้กันเล็กน้อย

2.ละครไทย ยุค 2.0 ยุคนี้ ผู้ผลิตหรือช่อง เริ่มผลิตละครได้มากขึ้น คู่แข่งมากขึ้นจึงเริ่มใช้กระบวนการขาย เพื่อขายให้ลูกค้าและแสดงจุดเด่นออกมาจูงใจผู้ชมมากขึ้น เช่น การซื้อบทละครจากผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียง นักแสดงแม่เหล็ก

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3.ละครไทยยุค 3.0 ยุคนี้ ยุคเริ่มเข้าสู่ทีวีดิจิทัล ผู้ผลิตละครจะเยอะมากขึ้น ขณะที่ฐานผู้ชมเท่าเดิมหรืออาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงทำให้ผู้ผลิตละครมีจำนวนมากและช่องทีวีมากขึ้นแต่ละช่องจึงต้องเริ่มมองหากลุ่มผู้ชมของตนเองและผลิตให้ตอบโจทย์บ้างแล้ว

4.ละครไทยยุค 4.0-5.0 ยุคนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และใกล้เคียงกัน เป็นยุคที่สตรีมมิงเริ่มเข้ามา และมีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถรับชมความบันเทิงได้หลากหลาย ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้ชมมีจำนวนมากขึ้น และหลากหลายมากขึ้น และเข้าถึงผู้ชมได้ทั่วโลก

อ่านข่าว : "ละครโทรทัศน์" จากร่วงหล่น สู่ทางแยก "โรยรา" หรือ "รุ่งเรือง"

ปรับตัววิจัยการตลาดเชิงลึก ใช้กลยุทธ์ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ

ดร.ลลิตา ยังเสนอแนะผู้จัดละครว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดในยุคนี้ ว่า กลยุทธ์การตลาดเป็นสิ่งสำคัญ คือ จุดสำคัญประการแรกคือ ช่องหรือผู้จัดละครจะต้องรู้จักกลุ่มผู้ชมของตัวเอง และต้องดึงผู้ชมให้เป็น FC (Fanclub) ให้ได้

ไม่ใช่เพียงสร้างความโดดเด่นของละครเท่านั้น แต่ต้องมี “Engagement” หรือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ สร้างการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้ชมกับช่องหรือดาราเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน เช่น การจัดกิจกรรมพบปะแฟนละคร (Fan meeting) โดยทั้งนักแสดง นักเขียน ผู้กำกับ ต้องเริ่มออกมาพบปะพูดคุยกับแฟนละครมากขึ้น รวมถึงการทำการตลาดทั้งแต่ก่อนการออนแอร์ เพื่อแจ้งให้ผู้ชมที่เป็นฐานละครรับรู้ว่า กำลังจะมีละครเรื่องนี้

ละครหรือซีรีส์บางเรื่อง หรือ บางประเทศ จะโปรโมตตั้งแต่การเลือกนักแสดง ปล่อยภาพในระหว่างการถ่ายทำ ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นกระบวนการสร้างแบรนด์ ว่า นักแสดงหรือศิลปินที่ชอบ ไปถ่ายทำอยู่ เห็นการถ่ายทำเป็นระยะเวลาแรมปีแรมเดือน จนสร้างให้เกิดความรู้สึกร่วม อยากดูละครทั้งหมดนี้เป็นการสร้างความผูกพันว่า เห็นตั้งแต่เป็นนิยาย การเลือกนักแสดง การถ่ายทำ จนละครออนแอร์จริง

ทั้งนี้ หากมองในมุมสถานีโทรทัศน์หรือผู้จัดละคร ผู้กำกับละคร นอกเหนือจากหาฐานผู้ชมให้เจอว่าชอบให้เราจัดคาแรกเตอร์แบบใด มีลายเซ็นของผู้จัด ของช่อง ซึ่งฐานผู้ชมกลุ่มนี้จะยังคงติดตามอยู่ แต่ที่ต้องเพิ่มคือการรีเช็ก พฤติกรรมหรือความต้องการที่เปลี่ยนไปก็ต้องปรับตัว รวมถึงดูคู่แข่งว่าเขาปรับตัวอย่างไร ก็ปรับตัวให้สอดคล้องกัน

ละครยุคนี้ต้อง “สมจริง”

สิ่งที่เป็น King ก็คือ บทละคร ส่วนนักแสดงหากมีชื่อเสียง ก็เป็นส่วนเสริมให้แฟนละครตามดูละครเรื่องนั้น

ดร.ลลิตา ย้ำว่า บทละครต้องแข็งแรง และเหมาะกับยุคสมัย หรือในภาพรวมคือ ความสมจริงและสมเหตุสมผล แม้ว่าบางช่องจะมีนักแสดงระดับแม่เหล็ก ทางช่องอาจจัดหาบทละครที่เหมาะสม ซึ่งกลุ่มแฟนละครที่มีแบรนด์รอยัลตี้ ก็พร้อมสนับสนุน แต่จุดสำคัญ นักแสดงยุคนี้ ต้องเข้าถึงบทบาทและสมจริง เช่น ละครในอดีตนางเอกต้องแต่งหน้าเข้มเมื่อเข้านอนแต่ยุคนี้ต้องหน้าสด ก็ต้องมีการปรับตัว

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุดต่อมาบทต้องดีและสมจริง แม้นักแสดงจะมีชื่อเสียง แต่บทไม่สมจริง ไม่สมเหตุสมผลก็ไม่สามารถดันให้ประสบความสำเร็จได้ หรือกรณีการนำ influencer (ผู้มีอิทธิพล) ในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว แต่หากนำเข้ามาแสดงและบทไม่ส่งเสริม ตัวละครหรือซีรีส์ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ 100 % จึงจะเป็น “จิ๊กซอว์” ที่ต่อกันพอดี

หากบทดี หรือ influencer ดัง แต่บทนั้นไม่เหมาะกับ influencer คนนี้ FC ก็อาจจะบอกว่า เอา Influencer ฉันมาปู้ยี่ปู้ยำทำไม ก็จะเป็นผลลบด้วยซ้ำ

ดร.ลลิตา ยังระบุว่า ยุคนี้ทุกอย่างมันต้อง Real ต้องสมเหตุสมผล Reasonable คือ ต้องมี 2 คำ Real คือ และสมเหตุสมผล ตั้งแต่บท เสื้อผ้า นักแสดง การเมกอัพ ฉาก ซีจี การตัดต่อ การนำเสนอ เพลง ทุกอย่างที่นำเสนอ มันต้อง Real และสมเหตุสมผล ทั้งหมด

รวมถึงต้องไม่ลืมว่า การสื่อสารการตลาดที่ทำให้ผู้ชมรับรู้ว่าจะมีการออนแอร์เฉย ๆ จะต้องมีการโปรโมต และการสร้าง Relationship และ Engagement ระหว่างละครหรือซีรีส์กับกลุ่มผู้ชมจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะยุคนี้เป็นยุคที่แค่ขายของแล้วจบเลยไม่ได้นะ ต้องสร้างให้เขาเกิดความผูกพัน แล้วอยู่กับเราเป็นครอบครัว ผู้ชมก็จะสนับสนุนเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

“สตรีมมิง” คือ “โอกาส” มากกว่า “อุปสรรค”

อย่างไรก็ตามแม้ละครโทรทัศน์จะดูเหมือนซบเซา ผู้ชมอาจไม่ได้ดูหน้าจอหลักทางโทรทัศน์แล้ว แต่การรับชมผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆหรือ ระบบสตรีมมิง ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ถึงแม้จะไม่มีสตรีมมิง แต่ก็จะมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ มาตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค ทุกอย่างต้องเปลี่ยนตามพฤติกรรม

หากมองสตรีมมิง เป็นโอกาส มันคือโอกาส สิ่งที่ผู้จัดละครควรทำคือ เรียนรู้และปรับตัวให้ไว อย่ามองว่าการเข้ามาของแพลตฟอร์ใหม่คือสิ่งน่ากลัว แต่ให้สนุกกับมัน และเรียนรู้ที่จะศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้แล้วปรับตัวให้ไว และใครที่ปรับตัวได้ไวก็ไปต่อได้แน่นอน

ปัจจุบันละครไทย ก็ปรับตัวโดยเผยแพร่ทางละครทีวี สตรีมมิง และรวมถึงแพลตฟอร์มของตัวเอง ก็จะเป็นวิธีที่กระจายกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น บางผู้จัดอาจนำนิยายหรือนวนิยายที่โด่งดังในออนไลน์ ซึ่งมีฐานผู้อ่านอยู่แล้วนำมาปรับเป็นซีรีส์ ก็จะเป็นการดึงคนออนไลน์กลับมาเข้าควบคู่กับสตรีมมิง

รวมถึงรายได้ในยุคนี้ ซึ่งไม่ได้มาจากการขายโฆษณาอย่างเดียว เหมือนเมื่อก่อน แต่มาจากการขายสตรีมมิงด้วย ซึ่งหลายคนก็พร้อมจะขายผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้

พัฒนาทั้งระบบรองรับ “ซอฟต์ พาวเวอร์”

ดร.ลลิตาย้ำว่า ละครไทยเป็นของดี และถือเป็นระดับท็อปของเอเชียเช่นกัน และมีละครไทยหลายเรื่องโด่งดังในต่างประเทศ และถือเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ของไทย เช่นกัน

คำถามคือจะทำอย่างไรให้ “ซอฟต์พาวเวอร์ไทย” เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งความเชื่อ ความบันเทิง และการเยียวยาจิตใจ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งปัจจุบันละครไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์อยู่แล้ว

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แต่เรื่องการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การช่วยโปรโมต หาช่องทางให้กลุ่มผู้จัดเผยแพร่เนื้อหาละครต่าง ๆ ออกไปหลายประเทศได้ เป็นหน้าที่หลักของรัฐคือเป็นผู้สนับสนุนเอกชน

หน้าที่หลักของรัฐ คือ เป็นผู้สนับสนุนเอกชน รัฐเป็นผู้ทำโครงสร้าง ออกข้อระเบียบ ออกกฎข้อบังคับที่ส่งเสริมสนับสนุนต่าง ๆ ที่สามารถผลิตให้เติบได้ หากรัฐส่งเสริมได้จำนวนมากก็เป็นกำลังใจให้ผู้ผลิตสามารถผลิตละครหลากหลายรูปแบบ

การทำให้ซอฟต์พาวเวอร์เกิด อาจยากในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรับคว้าโอกาสนี้ไว้ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้อย่างถูกเวลาและยั่งยืน เช่น การพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับการผลิต เช่น กรณีสิ่งที่อยู่ในฉากละครดังขึ้นมาจากพลังซอฟต์พาวเวอร์ แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตได้ทัน หรือผลิตคุมมาตรฐานไม่ได้ เพราะผู้ซื้อก็ต้องการคุณภาพ รัฐต้องเข้าไปช่วยในจุดนี้

ซอฟต์พาวเวอร์จะทำให้เกิดเป็นพลุ แต่การจะทำให้พลุกลายเป็นดาวค้างฟ้าอยู่อย่างยั่งยืนคือการเตรียมความพร้อมของธุรกิจต้องไปคู่กันด้วย

เช่น กรณีละครบุพเพสันนิวาสทำให้ก่อความรู้สึกให้ผู้ชมละครอยากไปตามรอยละครโบราณที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเดินทางมาเที่ยวและรู้สึกสะดวก ปลอดภัย ประทับใจ ก็อยากกลับมาอีก

หรือการเตรียมพร้อมทั้ง ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) ด้วยการเตรียมพร้อมสินค้าให้ดี มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม มีบริการที่ดี เพื่อให้ซอฟต์พาวเวอร์ยั่งยืน นี่คือการเชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์กับเศรษฐกิจของประเทศไปด้วยกัน

อ่านข่าว : 

ละครไทยไม่สูญพันธุ์ “สถาพร” แนะคิดต่าง-สร้างงานพรีเมียม

“ดาราวิดีโอ” ยุค 2024 “สยาม สังวริบุตร” ปรับตัวเป็น “คอนเทนโพรวายเดอร์”

“ละครไทย” ในมุม “แอน” รู้ให้ทัน-ปรับตัวให้ได้-ลับคมเสมอ-จะอยู่รอดใน “ยุคดิจิทัล”

“ปราณประมูล” เบื้องหลังคนสำคัญ “ละคร” ถูกบีบรอบตัว ต้องทำ “พรีเมียม” ให้คนคืนจอ

ปรับตัวเพื่อเดินต่อ "บุญธร" มองสตรีมมิงเป็นโอกาสคนทำละคร 


ดรามา! พี่จองคัลแลนเกาะปันหยี-ยอมรับผิดพลาดขอโทษผ่านสื่อ

Wed, 24 Jul 2024 10:06:00

กรณีปมดรามา#เกาะปันหยี #พี่จองคัลแลน หลังจากทั้งยูทูบเบอร์ และโลกออนไลน์วิจารณ์ร้อนแรง และตั้งคำถามหลังจากคลิปรายการท่องเที่ยว ช่อง Cullen Hateberry ตอนล่าสุดกระบี่ EP2 เมื่อพี่จองและคัลแลน ไปเที่ยวที่เกาะปันหยี จ.พังงา 

จากคลิปในรายการที่เผยแพร่ถูกวิจารณ์ตั้งแต่ค่าเรืออยู่ที่ 1,000 บาทเฉลี่ยคนละ 500 บาทส่วนของฝากที่ซื้อ เป็นหอยมุก 500 บาท สร้อยข้อมือ 300 บาท เป็น 800 บาท แต่ในรายการพบว่าพี่จองขอให้เจ้าของร้านค้า ที่ขายช่วยลดราคาให้กลับบอกว่า แถมสร้อยให้อีกเส้นเป็นเงิน 1,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ในคลิปยังมีมุมน่ารักๆ ของพี่จองและคัลแลน ที่ได้เล่นฟุตบอลบนสนามฟุตบอลลอยน้ำ ที่ถือเป็นอันซีนไทยแลนด์ ที่รู้จักและโด่งดังทั่วโลก เพราะเป็นหมู่บ้านลอยน้ำ ได้เล่นน้ำ และพูดคุยกับเด็ก ๆ บนเกาะอย่างเป็นกันเอง 

นายประสิทธิ์ เหมมินทร์ รองนายก อบต.เกาะปันหยี จ.พังงา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ว่า ยอมรับว่าไม่สบายใจกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์และกังวลว่าจะกระกับการท่องเที่ยวบนเกาะปันหยี

โดยช่วงเที่ยงวันนี้ ทางนายก อบต.เกาะปันหยี นายอำเภอ และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว จะตั้งโต๊ะแถลงปมดรามา และลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับร้านค้า ชุมชนและนักท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวในพื้นที่ไม่มีปัญหา แต่ผิดพลาดแค่คนเดียว มีการดูคลิปแล้วยอมรับว่าป้าที่ขายของที่ระลึกสื่อสารคลาดเคลื่อนจริงจากที่บอกว่าจะแถม แต่กลับคิดเงินเพิ่ม วันนี้ป้าจะเป็นตัวแทนขอโทษในสิ่งที่ผิดพลาด

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับประเด็นเรื่องค่าเรือ 1,000 บาทเป็นราคากลางที่ตั้งไว้ เพราะเป็นการเช่าเหมาลำ ส่วนราคาคนเข้าเกาะเฉลี่ย 50-100 บาทนั้นก็ต้องรอให้คนครบ 10 คน ส่วนการท่องเที่ยวรอบเกาะปันหยี เขาตาปูและรอบอ่าวในเวลา 5 ชั่วโมงราคา 2,500 บาท เช่นเดียวกับร้านของของที่ระลึกที่มีราว 100 แห่งและร้านอาหารทั้ง 7 แห่งมีการตั้งราคากลางไว้ เพื่อไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยว  

เกาะปันหยีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งยุโรป จีน อินเดีย และคนไทยเดินทางเข้ามาเที่ยวแบบวันเดย์ทริปเฉลี่ยวันละ 2,000 คน โดยจะใช้เวลาบนเกาะปันหยีตั้งแต่เวลา 12.00-16.00 น.เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ต้องยอมรับผิดและแก้ไข

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูล พบว่าเกาะปันหยี อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แต่มีการเปิดร้านอาหาร และขายของฝากตามที่กล่าวตามคลิป แต่มีการขายของที่ระลึกในลักษณะเดียวกัน มีร้านอาหาร และในเส้นทางท่องเที่ยวจะต้องแวะที่เกาะปันหยี เขาพิงกัน เขาตาปู เกาะทะลุนอก เป็นต้น 

โดยพื้นที่ของเกาะการดูแลรับผิดชอบโดย อบต.เกาะปันหยี ซึ่งตอนนี้มีรายงานว่า นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาตรวจสอบหาข้อเท็จจริง และจะได้พูดคุยกับชุมชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่อไป 

 


ปรับตัวเพื่อเดินต่อ "บุญธร" มองสตรีมมิงเป็นโอกาสคนทำละคร

Wed, 24 Jul 2024 09:48:00

หนึ่งในมุมมองจากการสนทนากับ “พี่ชู” หรือ “บุญธร กิติพัฒฑากรณ์” ผู้กำกับละครในวัย 50 ปี

ไตรมาส 1 /2567 ประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ประมาณ 65.9 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 59.0 ล้านคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.9 ล้านคน ซึ่งเป็นข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต ระหว่างปี 2566 (ไตรมาส 1) – 2567 (ไตรมาส 1) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87.6 ในปี 2566 (ไตรมาส 1) เป็นร้อยละ 89.5 ในปี 2567 (ไตรมาส 1)

ทั้งนี้กลุ่มอายุ 15 -24 ปี ใช้อินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 99.1) ใช้โทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 99.2) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ

แนวโน้มประชาชนใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์มากขึ้น สะท้อนถึงยุคที่เปิดกว้างเข้าถึงคอนเทนต์ เข้าถึงแพลตฟอร์มหลากหลาย ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ง่าย และรวดเร็ว เพียงผ่านทางโทรศัพท์ในมือ 

นำมาสู่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากหน้าจอทีวี สู่หน้าจอโทรศัพท์ คนผลิตคอนเทนต์ ละคร จำต้องปรับตัวตาม และผลิตสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบโจทย์

“พี่ชู” คือหนึ่งในบุคคลวงการละครที่ต้องยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยใจรัก มุ่งมั่นในอาชีพ เริ่มต้นเส้นทางละครจากการเป็นผู้ช่วยผู้กำกับละครเวที ก่อนขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับและผู้จัดละครฝีมือดี

วันนี้เรามาฟังมุมมองและแง่คิดของ “พี่ชู” ถึงการเปลี่ยนแปลงของละครไทยในยุคดิจิทัล  

อ่านข่าว : "ละครโทรทัศน์" จากร่วงหล่น สู่ทางแยก "โรยรา" หรือ "รุ่งเรือง"

บุญธร กิติพัฒฑากรณ์ ผู้กำกับละคร

บุญธร กิติพัฒฑากรณ์ ผู้กำกับละคร

1 ทศวรรษ กับละครไทยที่เปลี่ยนไป

วงการละครทีวีเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่อง เริ่มต้นที่ด้านเนื้อหา จากเดิมเป็นละครคู่รัก ตบตี ครอบครัว เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการพูดถึงปัญหาสังคม รวมถึงพูดถึงคอนเทนต์ใหม่ๆ มากขึ้น

ในเรื่องการถ่ายทำ จากเดิมต้องใช้ 3 กล้อง ใช้รถโอบี Switcher โดยสี หรือ Quality ของภาพ จะถูกกำหนดโดยคนคนหนึ่งบนโอบี ผ่านฝ่ายตัวต่อ และสถานีก่อนส่งออกอากาศ ความเป็นมาตรฐานหรือการรักษาคุณภาพ Mood & Tone ก็จะหายไปบางส่วน การถ่ายทำบางจังหวะที่ตัวละครเล่นถึงบทบทหนึ่ง ตัวละครอีกคนต้องหยุด เพื่อรอให้กล้องสลับมารับหน้าตัวละคร ความเป็นธรรมชาติ และความสมจริงก็จะหายไป ต่อมาเมื่อกล้องเริ่มมีอิสระมากขึ้น ไม่มีสาย ใช้ Wireless ซึ่งส่งผลต่อเรื่องของภาพ การถ่ายทำจะเรียลมากขึ้น เพราะมีกล้องเรกคอร์ดตลอดเวลา ความเรียลที่หมายถึงความเป็นธรรมชาติ

เรื่องของสี ปัจจุบันมีการทำสี 2 แบบ คือ การทำสีในกอง และทำสีในห้องทำสี ซึ่งรายละเอียดก็จะทำได้เยอะขึ้น เลือกสีได้มากขึ้น Mood & Tone ก็ได้อารมณ์มากขึ้น

อดีตจะสังเกตได้ว่าละครไทยหลายๆ เรื่อง เมื่อฉากตัวละครตกใจ ดีใจ เสียใจ Soundtrack ก็จะคล้ายๆ กัน แต่ปัจจุบันจะมีการผสมผสานใหม่ จะทำให้เสียงเริ่มหลากหลายมากขึ้น

ถึงตอนนี้เมื่อ “ซีรีย์” เริ่มเข้ามา มีการพัฒนาสีของภาพ เสียง องค์ประกอบอื่นๆ แม้แต่วิธีการกำกับการแสดง วิธีการแสดง เทคโนโลยีมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ช่องทางออนไลน์ทำให้คนเห็นอะไรได้กว้างขึ้นตามยุคตามสมัย

“ละครไทย” เข้าใจ “คนไทย”

“ละครไทย เข้าใจคนไทยที่สุด รสชาติถูกปากคนไทย ไม่ว่าจะอดีต หรือ ปัจจุบัน  ยังเป็นเนื้อหา เป็นเรื่องราวในบ้านเมือง เรื่องใกล้ตัว ที่สัมผัสได้ถูกปรุงแต่งด้วยวิธีการถ่ายทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี ซาวน์ รูปแบบ รวมถึงการเล่าเรื่อง”

ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนคนไทยมักปรับตัวกับทุกสถานการณ์ได้ดี คนไทยยังชอบละครแนวคุณธรรม ละครตลก มองโลกในแง่ดี เรื่องผี ความเชื่อ

เมื่อมาถึงยุคนี้แม้แต่แพลตฟอร์มสตรีมมิง เช่น Netflix เองก็จะเลือกเนื้อหา ให้ตรงความต้องการของคนไทย และคนเอเชีย อย่างเรื่องหลานม่า ฉายที่อินโดนีเซียได้ 400 ล้านบาท ประเทศไทย 300 ล้านบาท รวมแถบเอเชียแล้วกว่า 1 พันล้านบาท จนสื่อต่างชาติพูดถึง

- รอยรักรอยบาป ละครพีเรียด ช่อง 7 ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของรายการทีวีอันดับสูงสุดในไทยบน Netflix (ข้อมูล ณ 30 พ.ค.2567)

- หลังคาใบบัว ละครแนวดรามา เรื่องราวของหญิงชายซึ่งมีความต่างทางฐานะ ออนแอร์ช่องอมรินทร์ TOP 5 ซีรีส์ยอดนิยมใน VIU 14 สัปดาห์

- เช่นเดียวกับ ผู้ใหญ่ลี ศรีบานเย็น ทางช่องเวิร์คพอยท์ ได้รับรางวัลละคร LGBTQ+ ยอดนิยมแห่งปี 2566 งานประกาศรางวัลกินรีทองมหาชนครั้งที่ 9 รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทละครเย็น และ พี่ชู ก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลนาฏราชครั้งที่ 15 ทั้งนี้ “ละคร ผู้ใหญ่ลี ศรีบานเย็น” และติดอันดับ TOP 5 ใน Netflix 11 สัปดาห์

อ่านข่าว : ละครไทยไม่สูญพันธุ์ “สถาพร” แนะคิดต่าง-สร้างงานพรีเมียม

ความแตกต่าง “ละคร-ซีรีย์”

ละครเป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเรื่อง และมักจะมีจุดเริ่มต้นและสรุปเรื่องราวที่ชัดเจน ระยะเวลาการนำเสนอที่เกิน 1 ชั่วโมงต่อตอน ซึ่งละครทีวีคนดูสามารถทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สามารถกลับมาดูอย่างเข้าใจเนื้อเรื่องได้ และละครในแต่ละช่องจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป ผู้ผลิตละครเองต้องทำการบ้านเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละช่อง

ช่อง 7 เน้นละครชาวบ้าน ดูง่าย ไม่ซับซ้อน คนส่วนใหญ่ทำอะไรไปด้วยดูไปด้วย จึงทำให้ละครเข้าถึงคนต่างจังหวัด จะมีประมาณ 30 ตอน และจะออกอากาศตอนละ 2 ชั่วโมง

ช่องวัน แต่เดิมเป็นละครเมือง แต่ ณ ปัจจุบันเริ่มลงถึงชาวบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะละครเย็น ดูง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจะโดดเด่นเรื่องที่มีความซับซ้อน จะมีประมาณ 24 ตอน ซึ่งจะออกอากาศตอนละ 1 ชั่วโมง เช่นเดียวกับ ช่อง 3 จะมีประมาณ 24 ตอน ออกอากาศตอนละ 1 ชั่วโมง และเป็นละครจะใกล้เคียงกับซีรีย์เกาหลีที่สุด เนื้อหาถูกปรุงแต่งเติม

เมื่อครั้งละครต่างประเทศทั้งเกาหลี จีน เข้ามามากขึ้น คำว่า “ซีรีย์” จึงเกิดขึ้น ซึ่งซีรีส์มีรูปแบบที่แบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ อาจมีเนื้อหาที่แยกกัน แต่มีความเชื่อมโยงสู่เรื่องราวหลัก ซีรีส์มักมีระยะเวลาการนำเสนอที่สั้นกว่า 1 ชั่วโมงต่อตอน ซึ่งซีรีย์บางเรื่องจะมี 6 ตอน , 8 ตอน และ 12 ตอน

ซีรีย์เนื้อหากระชับ การดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ประจวบกับวิถีคนที่เปลี่ยนไป เจนเนอเรชันคนดูละครทีวีเริ่มน้อยลง เจนเนอเรชันใหม่ที่เวลาส่วนใหญ่อยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน ทำให้ละครที่ยาวๆ เริ่มไม่ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรม ดังนั้นไม่ว่าละครหรือซีรีย์ จำนวนตอนจะใกล้เคียงกัน เนื้อหากระชับขึ้น

ละคร กับ ซีรีย์ คือศิลปะแขนงหนึ่งโดยเนื้อหาแล้วไม่ได้ต่างกัน

คนทำละครต้องปรับตัว

พี่ชู เล่าว่าละครเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อไม่นานมานี้ เกิดการช็อกน้ำ เมื่อละครมีการผลิตน้อยลง สาเหตุหนึ่งเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจที่ทำให้สถานีขายสปอนเซอร์ได้ลดลง ท่ามกลางวัฏจักรเร็ตติ้งที่เป็นตัวชี้วัด และการรุกคืบของแพลตฟอร์มสตรีมมิง

แม้ส่วนตัวมองว่าเรตติ้งไม่ได้มีผลวัดถึงผลงานดีหรือไม่ดี แต่ในยุคปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เพราะละครที่มีคนดูเยอะ หรือถูกพูดถึงในช่องทางต่างๆ จนทำให้เกิดความเชื่อได้ว่านั่นคือเรตติ้ง ที่สะท้อนว่าละครนั้นสำเร็จหรือไม่

การเข้ามาของซีรีย์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลายคนอาจมองว่า การผลิตละครน้อยลง แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกอย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากเมื่อในอดีตจากสิ่งพิมพ์ วิทยุ กลายเป็นมาเป็นทีวี และทุกวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงจากจอทีวี สู่จอหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต

สำหรับ บุญนำโปรดักชั่น เป็น Content Provider เป็นผู้รับจ้างผลิต เป็นนักเล่าเรื่อง พี่ชูบอกว่าตราบใดที่ยังมีเรื่องที่น่าสนใจที่จะเล่า ก็ต้องมีคอนเทนต์ เมื่อมีคอนเทนต์ ต้องหาโอกาสใหม่ให้เจอ แล้วลงมือทำ

แพลตฟอร์มสตรีมมิง Netflix , VIU Original หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ถือเป็นโอกาสที่ทุกคนจะต้องปรับตัว ปรับการทำงาน การผลิตละครในปีหนึ่งๆ ประมาณ 4 เรื่อง เมื่อปรับมาเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงจะเหลือเพียงแค่ 1-2 เรื่อง บนฐานงบประมาณที่แตกต่างกัน

ต้องแข่งขันหรือเปล่าไม่รู้ แต่ต้องการ Quality มากขึ้น เราอาจจะไม่ต้องเก่งที่สุด แต่ต้องมีอะไรที่ทำให้คนดูอยากมาดู

ณ ห้วงเวลาหนึ่งที่หนัง หรือ ภาพยนตร์ ลดลง คนทำหนังหันมาทำละครเพิ่มขึ้น ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานละคร
เช่นเดียวกันในช่วงเวลาที่ละครกำลังจะหดหาย กลายเป็นซีรีย์ กลุ่มคนที่เป็นนักเล่าเรื่อง ต้องปรับตัว พี่ชู ยังมองว่าที่สำคัญผู้ผลิตต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาสกิลตลอดเวลา เพื่องานที่มีคุณภาพ

ละครไทยพล็อตเรื่องซ้ำๆ 

พี่ชูมองว่าการตรวจสอบของละครไทยบางครั้งถูกจำกัดวิธีการนำเสนอ เช่น ฉากบีบคอ แม้จะไม่เห็นมือในลักษณะที่ก่อความรุนแรง หรือ ลักษณะปืนจ่อศีรษะ แต่สีหน้าของตัวละครแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ถูกทำร้าย แต่ฉากนั้นกลับถูกเซ็นเซอร์ ด้วยเหตุผลที่ว่า ทำให้คนดูรู้สึกร่วมกับความรุนแรงนั้น ซึ่งสำหรับฐานะคนผลิตละครนั่นหมายความว่าไม่สามารถทำให้คนดูอินได้

การนำเสนอละครไทยจะมีแบบ รักใคร่ แก้แค้น จนกลายเป็นคำพูดติดปากว่าละครไทยทำได้แค่นี้? ทำไมไม่ทำแบบหนังเกาหลี? ซึ่งส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับที่วิธีการตรวจสอบ ต้องขานรับกัน คนที่มีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาจะต้องเข้าใจ เท่าทันโลก และต้องเป็นทีม

ทั้ง กบว. หรือ กสทช. รวมทั้งคนดูละครเองที่ ทุกฝ่ายต้องขานรับกัน ให้ซีรีย์ หรือละครไทย พัฒนาไปข้างหน้า

สำหรับเนื้อหาละครไทยนั้น พี่ชูมองว่า ที่ผ่านมาวิจารณ์สังคมได้ตลอด แต่ต้องใช้ความระวังสูงมาก พร้อมทั้งเชื่อว่าคนเขียนบท ยังมีข้อคิดดีๆ ที่จะเล่า แต่ไม่สามารถนำเสนอออกมาได้ ซึ่งเป็นเรื่องของข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ในหลายๆ อย่าง

ความคาดหวัง “ละครไทย” เป็นซอฟต์พาวเวอร์

“ซอฟต์พาวเวอร์” คืออะไรนั้น พี่ชูอาจตอบไม่ได้ชัดเจน เพราะมองว่าละครไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์มานานแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้

ประเทศไทยมีทุนวัฒนธรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ คอนเทนต์ ที่ละครหลายๆ เรื่องที่สร้างสรรค์สอดแทรกทุนวัฒนธรรมเข้าไปในละคร

ความลำบากที่คนทำละครต้องเผชิญ

พี่ชู เล่าว่า ครึ่งปีนี้โดนชะลอ ยกเลิกละครไปถึง 3 เรื่อง ส่วนหนึ่งคงมาจากสภาวะเศรษฐกิจ เพราะแต่ละช่องทำละครน้อยลง แม้แต่ตัวสถานีเองก็ขายสปอนเซอร์ได้ลดลง

ละครหายที่ไปเรื่องหนึ่ง แต่กลับสะเทือนไปถึงทีมงานนับร้อยคน ทีมงานจำนวนมหาศาล บางส่วนก็ต้องไปประกอบอาชีพอื่น เหลือแต่คนที่ “อดทน” และ “ทนได้” รักในอาชีพนี้จริงๆ จะเห็นว่ามีอาชีพอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายในสังคม ทั้งตัวนักแสดงเองที่หันไปทำธุรกิจควบคู่กับงานแสดง

ทุกอย่างถูกคัดกรองโดยความรอด ไม่รอด

เปรียบเสมือนสึนามิ การผิดรูปผิดรอยมากๆ ธรรมชาติก็ซัดสาด เพื่อจัดระเบียบใหม่ มีคนเจ็บคนล้ม แต่ล้มยังไงก็ต้องลุกเพื่ออยู่ต่อให้ได้ ยึดอาชีพอื่นๆ หรือจะยืนอยู่จุดเดิมในท่าใหม่

ทุกคนต้องอดทนรอทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทางของมันเอง

ประเทศไทยได้เดินทางมาถึงรอยต่อที่คนอยากค้นหาความเป็นตัวเอง ความชัดเจน ด้วยโลกกว้างขึ้น รับรู้ข่าวสารได้เร็วขึ้น ถึงเวลาที่คนผลิต จะทำละคร ซีรีย์ ภาพยนตร์ ให้ประสบความสำเร็จ เนื้อหาสำคัญที่สุด และเนื้อหาต้องแมส แมสในยุคนี้ที่ไม่ใช่โปะ เปลือย แต่หมายถึงทำให้คนดูอินและรู้สึกร่วมไปกับเนื้อหา ซึ่งเป็นแฟชั่นที่ยุคนี้ที่คนละครต้องคำนึงถึงมากที่สุด

ยุคปัจจุบันจะไม่ใช่แค่ช่อง 3 5 7 9 แต่ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ รวมถึงพื้นที่เล็กๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งแต่ละพื้นที่ต่างมีคอนเซ็ปต์ของตัวเอง เป็นทางเลือกของคนดูที่เลือกเสพได้เยอะขึ้นตามความต้องการ และอีกทางหนึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในเรื่องความชัดเจนในตัวเอง ได้ทำในสิ่งที่รัก ที่ชอบ และท้ายที่สุดแล้วจะกลายเป็นตัวจริง ตัวจริงในการยึดมั่นในอาชีพ ตัวจริงในการปรับตัว และพัฒนาสกิลจนเป็นที่ยอมรับ และไม่ใช่แค่ละคร ทุกเรื่องบนโลกต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ตัวจริง

คำว่าตัวจริงจะดูเหนื่อย แต่คือการมีความสุขและชอบที่จะทำอะไรสักอย่าง และทำได้โดยที่ไม่ท้อไม่เหนื่อย นั่นคือตัวจริง...ที่แท้จริง

อ่านข่าว : 

ละครไทยไม่สูญพันธุ์ “สถาพร” แนะคิดต่าง-สร้างงานพรีเมียม

“ดาราวิดีโอ” ยุค 2024 “สยาม สังวริบุตร” ปรับตัวเป็น “คอนเทนโพรวายเดอร์”

“ปราณประมูล” เบื้องหลังคนสำคัญ “ละคร” ถูกบีบรอบตัว ต้องทำ “พรีเมียม” ให้คนคืนจอ


สิ้น "ประชา พงศ์สุพัฒน์" เจ้าของเพลงดัง มดตัวน้อยตัวนิด

Fri, 19 Jul 2024 16:05:00

วันนี้ (19 ก.ค.2567) วงการเพลงสูญเสีย "ประชา พงศ์สุพัฒน์" นักแต่งเพลงอาวุโส ผู้สวมบทบาท "นายแห้ว" ในรายการ "สโมสรผึ้งน้อย" ได้จากไปแล้วอย่างสงบ ในวัย 70 ปี

ไทยบันเทิง Thai PBS ให้ข้อมูลว่า "ประชา พงศ์สุพัฒน์" เป็นนักแต่งเพลงสำหรับเด็กและเพลงของศิลปินดังมากมาย ตั้งแต่ยุค 80-90 ทั้ง เพลง "มด" (มดตัวน้อยตัวนิด), "สบายดีหรือเปล่า" (เอ็กซ์วายแซด) , "คอนเสิร์ตคนจน" (นกแล) , โอ๊ะ...โอ๊ย " (ทาทา ยัง) 

นอกจากนี้ ยังมีผลงาน "กินจุ๊บจิ๊บ" (พรชิตา ณ สงขลา) รวมไปถึงเพลงประกอบการ์ตูนชินจังและมารุโกะ เวอร์ชั่นภาษาไทย จนทำให้ชื่อของ "ประชา พงศ์สุพัฒน์" กลายเป็นชื่อที่คุ้นชินในวงการเรียกขานกันว่า "น้าประชา"

ภาพจากเพจ : ตามหา สโมสรผึ้งน้อย

ภาพจากเพจ : ตามหา สโมสรผึ้งน้อย

ขณะที่ เพจ "ตามหา สโมสรผึ้งน้อย" ได้โพสต์แจงข่าวเศร้า โดยระบุ ความทรงจำ กับ "น้าประชา" 

พ.ศ.2524 ได้รู้จักกันที่สโมสรผึ้งน้อย ช่อง 5 สนามเป้า

พ.ศ.2525 ทำงานร่วมกัน น้าประชาให้โอกาสเป็นนักร้อง นักแสดง พิธีกร ในรายการ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลงอัลบั้มผึ้งน้อยโบยบิน เพลงโฆษณา ต่าง ๆ 

พ.ศ.2526 เดินทางไปถ่ายทำสารคดีท่องเที่ยวที่ประเทศโปแลนด์ด้วยกัน และได้ถ่ายรูปร่วมกันเป็นใบแรก

พ.ศ.2531 ลงเสียงร้องไกด์ให้กับวงนกแล ในอัลบั้ม "ช้าง" ลงเสียงเพลงประกอบภาพยนต์ "หวานมันส์ ฉันคือเธอ ภาค 2"

ภาพจากเพจ : ตามหา สโมสรผึ้งน้อย

ภาพจากเพจ : ตามหา สโมสรผึ้งน้อย

พ.ศ.2532 ร้องเพลง school program ให้กับแบรนด์ยาสีฟัน 

พ.ศ.2561 ได้ถ่ายรูปใบที่ 2 ด้วยกันในวันที่ไปขออนุญาตน้า เอาผลงานมาเผยแพร่ ในเพจ ตามหา สโมสรผึ้งน้อย และเตรียมจัดคอนเสิร์ต ผึ้งน้อยคืนรัง

พ.ศ.2562 ได้เจอน้าตุ๊ก น้าประชา พร้อมกัน เลยได้ถ่ายรูปร่วมกันอีกครั้ง ถือโอกาสให้น้าเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในรายการสโมสรผึ้งน้อยแต่ละยุคสมัยให้ฟัง พร้อมขออนุญาตใช้เพลงที่น้าแต่ง ขึ้นร้องบนเวทีคอนเสิร์ต "ผึ้งน้อย คืนรัง" จำหน่ายบัตรนำรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับ บ้านแม่นก

มี.ค. 2567 ได้ข่าวน้าไม่สบาย เลยขอไปเยี่ยม เป็นนัดทานกาแฟ คุยเล่นถามไถ่อาการ น้าขับรถมาได้ด้วยตัวเอง ดูจากภายนอก แข็งแรง ร่าเริง แจ่มใส เหมือนเคย

18 ก.ค.2567 ได้ข่าวแต่เช้าว่าน้าประชาสิ้นลมหายใจ รอจนดึกจึงได้รับการยืนยันจาก น้าตุ๊ก ภรรยา ว่าน้าประชาจากพวกเราไปแล้ว อยู่ในอ้อมกอดของพระเจ้าอย่างที่น้าตั้งใจ ในวัย 70 ปี

พร้อมทิ้งท้ายข้อความ จากนี้น้าจะไม่เจ็บ ไม่ปวด อีกแล้ว และจะได้รับการระลึก นึกถึง จากเด็ก ๆ สโมสรผึ้งน้อยรุ่นต่อรุ่นอยู่เสมอ เพลงทุกเพลงของน้าที่ฝากไว้ในรายการ จะถูกบันทึกไว้ในเพจ ตามที่น้าอุตส่าห์อนุญาตอย่างเป็นทางการให้ได้เผยแพร่สืบต่อไป

อ่านข่าว : ทอท.แจ้งผู้โดยสารเผื่อเวลาเดินทาง หลังระบบ "เช็กอิน" มีปัญหา

เทียนเล่มเล็กมัดรวมเป็นต้น จนก้าวสู่ "ประเพณี" แห่เทียนพรรษา

ไม่แผ่ว! แก๊งลอบตัด "ไม้พะยูง" ป่าเขาใหญ่-ทับลาน


"ละครโทรทัศน์" จากร่วงหล่น สู่ทางแยก "โรยรา" หรือ "รุ่งเรือง"

Thu, 18 Jul 2024 10:10:00

ความบันเทิงบนหน้าจอโทรทัศน์ หากเอ่ยถึงอดีตในช่วง 20-30 ปี ก่อนหน้านี้ "ละครโทรทัศน์" ถือเป็นความบันเทิงที่เข้าถึงทุกครัวเรือนในประเทศไทยได้รับชม ซึมซับอรรถรสของเนื้อหาของบทละคร การแสดง ที่มีทั้งสุข เศร้า เหงา ซึ้ง ไปจนถึงตลกโปกฮา ความบันเทิงต้นทุนต่ำที่ให้คนทั่วไปสามารถดูได้โดยไม่เสียเงิน จึงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน

จนเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน จากยุค "แอนาล็อก" แปรเปลี่ยนเป็น "ดิจิทัล" ทำให้สถานีโทรทัศน์เพิ่มจำนวนมากขึ้น จากจำนวนช่องที่นับนิ้วได้ไม่เกิน 10 ช่อง ทั้ง 3 5 7 9 11 และ ไอทีวี และ เพิ่มสูงขึ้น 4 เท่าตัว หรือกว่า 24 ช่อง เมื่อ กสทช.เปิดประมูลทีวีดิจิทัล

ทั้งคนในแวดวงอุตสาหกรรมบันเทิง ตั้งแต่ต้นน้ำเช่นบรรดานักลงทุน ไปจนถึงปลายน้ำต่างก็กระโดดเข้าร่วมประมูลเป็นเจ้าของทีวีดิจิทัล สร้างความคึกคักให้กับจอโทรทัศน์เมืองไทยอย่างมาก

ทั้งวงการข่าวที่คึกคักซื้อตัวกันอย่างรุนแรง มาจนถึงวงการละครโทรทัศน์ที่บรรดาคนในแวดวงต่างก็เชื่อว่า นี่คือโอกาสของอุตสาหกรรมบันเทิงจอแก้วของไทย

อ่านข่าว : “ดาราวิดีโอ” ยุค 2024 “สยาม สังวริบุตร” ปรับตัวเป็น “คอนเทนโพรวายเดอร์”

ฟองสบู่ละครไทยแตก

ไม่นานนักภาพอนาคตที่หลายฝ่ายมุ่งหวัง ก็พังครืน "ฟองสบู่จอแก้ว" แตกลง เพราะแม้ไม่อ้างอิงตัวเลขที่ละเอียดมากนัก แต่จากคำบอกเล่า จากความรู้สึกแท้จริงของคนในแวดวงนี้ก็ชี้ชัดว่า สิ่งที่คิดไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เพราะ เค้กยังคงมีก้อนเดียว ขณะที่ผู้ที่จะเข้ามาแบ่งเค้กจากเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มกว่า 4 เท่าตัว

สำหรับแรก ๆ เมื่อตอนมีทีวีดิจิทัลก็เริ่มเห่อกัน แต่สุดท้ายแล้วเป็นการบูมแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง สุดท้ายเหมือนฟองสบู่แตกเหมือนยุค 2540 ที่ผ่านมา และเปิดละครกันเยอะมาก เปรียบเทียบเหมือนเค้กมีอยู่ก้อนเดียว แต่กลับถูกแบ่งสัดส่วนออกไปเยอะมาก สุดท้ายแล้วก็ไม่รอด ทุกอย่างถูกคัดกรองด้วยเวลา

"พี่ถา" สถาพร นาควิไลโรจน์ นักแสดงและผู้กำกับที่คลุกคลีในวงการบันเทิงมากว่า 30 ปี มองว่า เริ่มต้นจากเค้กก้อนเดียวที่ต้องแบ่ง ทีวีเพิ่มขึ้นหลายช่อง ยุคสมัยเปลี่ยน มีสตรีมมิ่งเข้ามา ละครแต่ละเรื่องจะเป็นแนวของแต่ละช่องไป ผู้ชมก็ไปเสพเรื่องเฉพาะทางที่ถูกใจ

 สถาพร นาควิไลโรจน์ นักแสดงและผู้กำกับที่คลุกคลีในวงการบันเทิงมากว่า 30 ปี

สถาพร นาควิไลโรจน์ นักแสดงและผู้กำกับที่คลุกคลีในวงการบันเทิงมากว่า 30 ปี

แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง ที่ผู้จัดละครหรือผู้กำกับถูกยกเลิกงาน แม้ว่าจะมีการลงนามสัญญากันแล้ว ซึ่งอีกด้านหนึ่งถ้ามองในเชิงธุรกิจ หรือในเชิงผู้ประกอบการก็เข้าใจว่า ละครเรื่องหนึ่งต้องลงทุนไปเป็นเงินหลักหลายสิบล้านต่อเรื่องท้ายที่สุดแล้วได้ไม่คุ้มเสียในด้านธุรกิจก็ไปต่อได้ยาก ไม่มีใครอยากเจ็บตัว เพราะได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งไม่อาจฟันธงได้ว่าใครผิด-ใครถูก

คนในแวดวง มีอะไรต้องช่วยกัน ไม่ทิ้งกัน ชีวิตในวงการทีวี ช่วงแรก ๆ ที่มีทีวีเกิดขึ้นหลายช่อง ละครออกมามากขึ้น คนทำละครทุกคนยังมีความหวัง มองเป็นโอกาส แต่สุดท้ายไม่รู้เกิดอะไรขึ้น

เมื่อช่วงเวลาผ่านมาแล้วจะให้กลับไปอยู่จุดเดิมนั้นคงไม่ได้แล้ว ไม่มีทางแล้ว แต่ทุกคนยังมีความหวัง อยากได้สิ่งที่นั้นกลับมา หลายคนกลับไปต่างจังหวัด เปลี่ยนอาชีพ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย 

ขณะที่ในมุมของ "พี่ชู" หรือ บุญธร กิติพัฒฑากรณ์ ผู้กำกับการแสดง และรับจ้างผลิตละคร ที่นิยามตัวเขาว่า คอนเทนต์ โพรไวเดอร์ (Content Provider) ก็เห็นคล้ายคลึงกันถึงความเปลี่ยนแปลงที่มาอย่างรวดเร็ว ว่า

ผิดรูปผิดรอยมาก ๆ ผิดธรรมชาติ เปรียบเทียบก็เหมือนกับสึนามิ ที่สาดมาเพื่อจัดระเบียบใหม่ ก็มีคนเจ็บ คนล้ม แต่ล้มยังไงก็ต้องอยู่ให้ได้ ไปยึดอาชีพอื่นหรือถ้ามีอาชีพอื่นก็ไม่ได้ ก็จะอยู่ตรงนี้ในทางใหม่ของเขา

"บุญธร" ยังอธิบายว่า ปัจจุบันละครมีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เกิดการช็อกน้ำ ละครมีการผลิตน้อยลง เนื่องจากสถานีขายสปอนเซอร์ไม่ได้

อ่านข่าว : ละครไทยไม่สูญพันธุ์ “สถาพร” แนะคิดต่าง-สร้างงานพรีเมียม

"ละคร" ต้องปรับตัวด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด

ดังนั้น ในมุมของนักการตลาด อย่าง ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า การทำละครในยุคนี้ต้องวิเคราะห์ตลาดมากขึ้น หรือเรียกว่า "marketing insight"

อันดับแรก ผู้ผลิตต้องรู้ความต้องการลูกค้า 2.พัฒนาโปรดักส์หรือซีรีย์ให้ตอบโจทย์ 3.การสื่อสารการตลาด ต้องโปรโมตมาก่อน เพราะคนดูไม่รอช่องเราช่องเดียวแล้วมีตัวเลือกอื่น ๆ อีกมากมาย

การปรับการทำงานในสอดรับกับยุคสมัย ผู้ผลิตหลายคนมีรูปแบบการทำงานที่ดูเหมือนจะมาก่อนกาล เพราะได้ปรับตัวเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วฉับไวแล้ว

สยาม สังวริบุตร ผู้กำกับการแสดงและควบคุมการผลิตละครโทรทัศน์ของบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด

สยาม สังวริบุตร ผู้กำกับการแสดงและควบคุมการผลิตละครโทรทัศน์ของบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด

โดยเฉพาะ "พี่หลุยส์" สยาม สังวริบุตร ผู้กำกับการแสดงและควบคุมการผลิตละครโทรทัศน์ของบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด ก็ฉายภาพอดีตและย้ำว่า ทางดาราวิดีโอ ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ก่อนจะเป็นยุค "ดิจิทัลดิสรัปชัน"

ก่อนหน้านี้ของเราจะถ่ายปั๊บ ก็ออกอากาศเลย ตรงนั้นคุณภาพของงานอาจจะไม่ดีมาก ในสายตาคนดูอาจจะด้อย แต่จริง ๆ แล้วมันได้ผล เพราะสามารถจะปรับได้ เช่น สมมติว่าเราดูวันนี้ แล้วคนดูชอบตัวละครตัวนี้ เราเขียนบทปรับมา ให้เพิ่มตัวละครตัวนี้อีกหน่อย อะไรที่คนดูไม่ชอบเราก็ตัดออก ตามเทรนด์ ตามกระแสได้ตลอด ซึ่งก็ถูกใจคน เรารับทราบข้อนี้มาตลอดแต่เราเลือกที่จะไปอย่างนั้น เพราะคนดู ดูเยอะจริง ๆ ดูแล้วทันใจเขา

แต่เมื่อมาถึงจุดนี้เมื่อมีการปรับมาเป็นละครน้อยลง จากที่เคยทำละครสูงสุดเกือบเดือนละเรื่อง ถ่ายทำพร้อม ๆ กับการไปออกอากาศไป 1 ปี ถ่ายไปเกือบ 12 เรื่อง ในขณะนี้ก็กลายเป็นว่า คุณภาพทางด้านภาพ และแสงเสียงดีขึ้น มีระยะเวลามากขึ้นมีความละเอียดมากขึ้น การผลิตเหมือนกับงานโฆษณากับงานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ในการออกฉาย และใช้เวลาถ่ายหลายเดือน เทียบกับอดีตที่ละครของเราแต่ก่อนคือ 1 ตอนออกอากาศ 2 ชั่วโมง อาจใช้เวลาถ่ายทำเพียง 1 วัน 

บุญธร กิติพัฒฑากรณ์ ผู้กำกับการแสดง และรับจ้างผลิตละคร ที่นิยามตัวเขาว่า คอนเทนต์ โพรไวเดอร์ (Content Provider)

บุญธร กิติพัฒฑากรณ์ ผู้กำกับการแสดง และรับจ้างผลิตละคร ที่นิยามตัวเขาว่า คอนเทนต์ โพรไวเดอร์ (Content Provider)

ในมุมนี้ "บุญธร" ซึ่งเป็นอีกคนที่มองการเปลี่ยนแปลงของแวดวงละครและปรับตัว โดยระบุว่า ในยุคสมัยเปลี่ยนไป ทุกอย่างรวดเร็ว กระชับ โดยซีรีย์จะเข้าเรื่องทันที จำนวนตอนจะลดน้อยลง ละครยาวอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงไพรม์ไทม์ที่วิถีคนก็เปลี่ยนไป ช่วงวัยของคนที่นิยมดูละครลดลง ขณะที่คนรุ่นใหม่จะอยู่กับโทรศัพท์มือถือจึงทำให้ละครที่มีความยาว เริ่มขายไม่ดี

ถ้าเป็นยุคใหม่ไม่ว่าละครหรือซีรีย์ จะขยับตอนให้สั้นหมด จำนวนตอนจะใกล้เคียงกับซีรีย์ ที่ต้องหายไปคือช่วงเอื้อนเอ่ย ช่วงน้ำๆ แต่มองว่าละคร กับซีรีย์ ไม่ต่างกัน ละครเป็นหมวดหนึ่งในรูปแบบของซีรีย์

ขณะที่ "แอน ทองประสม" นักแสดงชื่อดัง ที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดละคร ก็มองว่า หากเปรียบการทำละครกับการทำแกงเขียวหวานที่เคยถูกปากคนไทย แต่ขณะนี้อาจไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

สมมติว่า เราทำแกงเขียวหวาน ทั้งที่รู้ว่าตลาดแกงเขียวหวานมีคนขายเต็มไปหมด และเราก็ทำขาย เราก็คิดว่ายังไงคนไทยก็กินแกงเขียวหวาน แต่ปรากฏว่า ตอนนี้คนไทยไม่เอาแล้วแกงเขียวหวาน แอนก็อ้าว วืดไปเหมือนกัน

ดังนั้น ในการเป็นผู้จัดเลยทำให้แอนต้องรีบปรับตัว หาความรู้ตัวเติมเต็มตัวเอง เพื่อที่จะเดินตามโลกให้ทัน รวมถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนแค่รสนิยม (Taste) หรือ รสชาติในการกิน ในการบริโภค

แอน ทองประสม นักแสดงชื่อดัง ที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดละคร

แอน ทองประสม นักแสดงชื่อดัง ที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดละคร

แต่เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคนิคต่าง ๆ ในการผลิตมันเปลี่ยนไปอย่างเร็ว ซึ่งการที่เราเป็นเหมือนคน 1990 ถ้าไม่เร่งปรับตัวย่อมไม่ได้ มาถึงตรงนี้ก็ต้องปรับตัวเองมาอยู่ในเจนเนอเรชันนี้เพื่อให้ทันเด็กเหมือนกัน

ดังนั้นจึงทำให้แอนเปลี่ยนความคิดว่า เด็กไทยกินแกงเขียวหวานจริง แต่ไม่ใช่เป็นแบบนี้แล้ว คุณต้องผสมใหม่ แอนถึงรู้วา อ๋อใช้กะทิสดไม่ได้ เขาไม่ชอบ เขาไม่ชอบใส่มะเขือเปราะ เขาไม่รู้จักมะเขือเปราะ มันขม ถ้าเราถูกฝึกให้กินมะเขือเปราะมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่รุ่นนี้เขากินมะเขือยาวแทน หรือแครอทใส่เข้าไป เขากินได้ 

ทางรอดละครไทยต้อง "พรีเมียม-สมจริง"

อย่างไรก็ตาม "บุญธร" เริ่มขยับขยายหา "โอกาส" ในการผลิตละคร โดยขณะนี้ได้เริ่มผลิตละครส่งช่องทางสตรีมมิง ต่าง ๆ ทั้ง เน็ตฟลิกซ์ VIU ออริจินัล แม้ว่าโอกาสในการทำงานอาจจะไม่ถี่หรือมากเท่ากับละครที่ละครระยะเวลา 1 ปี อาจจะอยู่ที่ 4 เรื่องแต่ การผลิตผลงานลง สตรีมมิ่งอาจจะเหลือปีละ 1-2 เรื่อง

งบประมาณก็จะแตกต่างกัน ความคุ้มค่าในการทำงานก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งยุคนี้ต้องการคุณภาพมากขึ้น ต้องแข่งขันหรือไม่แข่งขันไม่รู้ แต่ต้องการคุณภาพมากขึ้น เราอาจจะไม่ต้องเก่งที่สุด แต่ต้องมีอะไรที่ทำให้คนดูอยากมาดู

ด้วยเหตุที่ จำนวนการผลิตน้อยลง คุณภาพจะต้องมากขึ้น แปลว่า วิธีการทำงานของทีมต้องปรับเปลี่ยน เช่น ช่วงที่ยังไม่ออกกอง หรืองานยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาสิ่งที่ต้องทำคือจากทำการบ้านอย่างหนังมากขึ้น เช่น กรณีคนเขียนบท หากจะเขียนเรื่องช่างทำรองเท้า ก็ต้องพาตัวเองไปลองฝึกทำรองเท้าเพื่อนำข้อมูลมาเขียนเป็นบท

สอดคล้องกับ "พี่ถา" ที่มองว่า ในปัจจุบันผู้ที่มีผลงานพรีเมียมเท่านั้นจะอยู่รอด โดยจะต้องเป็นในทุกภาคส่วนทั้ง ผู้จัด ผู้กำกับ คนเขียนบท หรือแม้กระทั่งตัวสถานี พรีเมียมเท่านั้นที่จะอยู่ได้ ซึ่งคำว่า "พรีเมียม" คือ อะไร คือ บทที่เป็นหัวใจ บทต้องดี ซึ่งความหมายของคำว่าดี คือ สนุก ชวนติดตาม และไม่โบราณ การเล่าเรื่องที่มีชั้นเชิง ผู้กำกับ นี่แหละคือผลงานที่พรีเมียม ต้องมีหลายส่วนประกอบกัน

คนยังดูทีวี ยังเชื่ออย่างนั้น ถ้างานคุณพรีเมียมจริง ชวนติดตามจริง ๆ คนพร้อมกลับไปดู พิสูจน์ให้เห็น

ขณะที่ในมุมของ "ปราณประมูล" นักเขียนบทละครโทรทัศน์ ก็มีความเห็นที่ตอกย้ำความเชื่อเรื่อง "คุณภาพ" ของละครไทยว่าจะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ละครโทรทัศน์ไทยจะยังคงอยู่ก็คือ ทีวีนั้นให้ผู้ชมดูฟรี เพราะฉะนั้นทีวีต้องพรีเมียมถ้าจะทำให้ผู้ชมยังดูอยู่ คุณภาพต้องพรีเมียม

ปราณประมูล นักเขียนบทโทรทัศน์มือทองมากประสบการณ์

ปราณประมูล นักเขียนบทโทรทัศน์มือทองมากประสบการณ์

หมายความว่า ทั้งคุณภาพ ทั้งเนื้อหา ทั้งการแสดง ทั้งหน้าตานักแสดง ในเมื่อคู่แข่งเรา จำพวกแพลตฟอร์มต่าง ๆ แข็งแรงมาก เพราะฉะนั้นถ้าเรามองว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นคู่แข่ง คุณก็ต้องทำให้คนมาดูทีวี ในสิ่งที่ต้องดูทีวี ถึงจะสะใจ

สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือ การอัปตัวเอง คือ ต้องเจ๋งจริง ถ้าคุณเจ๋งจริงเน็ตฟลิกซ์ก็มาซื้อคุณไป คุณก็สามารถฉายทั้งของคุณและเน็ตฟลิกซ์ฉายตาม คือถ้าคุณดีจริงมันจะเกิดสิ่งนี้ขึ้น ฉะนั้นคุณต้องทำให้คุณดีจริง

ท้ายที่สุด นักการตลาด "ผศ.ดร.ลลิตา" ก็สรุปการนำการตลาดมาประยุกต์ร่วมกับละคร ที่จะเป็นทางรอดโดยระบุว่า การทำละคร หรือจะเรียกว่า ซีรีย์ก็ตาม ยุคนี้ทุกอย่างต้องสมจริง มีเหตุผลคือต้อง Real และ Reasonable เริ่มตั้งแต่บท เสื้อผ้า นักแสดง การเมกอัป ฉาก ซีจี การตัดต่อ การนำเสนอ เพลง ทุกอย่างที่นำเสนอ

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ลลิตา โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่สำคัญจะต้องไม่ลืมการสื่อสารการตลาดที่ทำให้ผู้ชมรับรู้ว่าละครจะออนแอร์แล้ว จะต้องมีการโปรโมต และการสร้างความสัมพันธ์ ( Relationship) และการมีปฏิสัมพันธ์ "Engagement" ระหว่างละครหรือซีรีย์กับกลุ่มผู้ชมจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะยุคนี้เป็นยุคที่แค่ขายหรือออกอากาศแล้วก็จบสิ้นเลยไม่ได้ ต้องสร้างให้เขาเกิดความผูกพัน แล้วอยู่กับเราเป็นครอบครัว เขาก็จะสนับสนุนเรื่องอื่น ๆ ของเราต่อไป

ยืนยันว่า จนถึงอีกในอีก 10-20 ปีข้างหน้า คนก็จะยังดูละคร แต่จะเปลี่ยนรูปแบบ เพราะละครคือ ความบันเทิง (Entertainments) อาจจะเปลี่ยนชื่อเรียก ไม่เรียกละครแล้ว แต่เด็กรุ่นใหม่ เรียกซีรีย์ และเนื้อเรื่องอาจเปลี่ยน บางคนอาจชอบดูพล็อตเรื่อง เป็นตอบโจทย์ยุคสมัยมากขึ้น 

อ่านข่าว :

ปรับตัวเพื่อเดินต่อ "บุญธร" มองสตรีมมิงเป็นโอกาสคนทำละคร

“ละครไทย” ในมุม “แอน” รู้ให้ทัน-ปรับตัวให้ได้-ลับคมเสมอ-จะอยู่รอดใน “ยุคดิจิทัล

“ปราณประมูล” เบื้องหลังคนสำคัญ “ละคร” ถูกบีบรอบตัว ต้องทำ “พรีเมียม” ให้คนคืนจอ


MUT ไม่ปิดสวิตซ์! สาวงามชื่อ อ. คว้ามง 5 ปีติดล่าสุด "โอปอล"

Mon, 15 Jul 2024 10:02:00

ปิดฉากลงแล้ว การประกวด "มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2024" (Miss Universe Thailand 2024) ในค่ำคืนวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยดาวดวงใหม่บนจักรวาล ได้แก่ "โอปอล-สุชาตา ช่วงศรี" สาวงามในวัย 20 ปี ตัวแทนจากจังหวัด "กรุงเทพมหานคร" คว้ามงกุฎ Starlight Crown จาก MOUAWAD มงกุฎประจำตำแหน่ง "Miss Universe Thailand 2024"

นอกจากจะคว้ามงตรงใจกองเชียร์แล้ว ยังเป็นการสืบตำนานนางงาม "อ." ฟาดมงในยุค TPN เป็นคนที่ 5 อีกด้วย หลังจากที่ "อแมนด้า ออบดัม" ซิวตำแหน่ง "มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์" ในปี 2020 ตามด้วย "แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส" ปี 2021 ที่ส่งต่อมงให้ "แอนนา เสืองามเอี่ยม" ปี 2022  และมงต่อไปที่ "แอนโทเนีย โพซิ้ว" ในปี 2023 อีกทั้งยังไปสร้างประวัติศาสตร์ให้วงการนางงามงามไทยกับตำแหน่ง รองอันดับหนึ่ง MU 2023 อีกด้วย

อแมนด้า ออบดัม The Power of Authenticity : MUT 2020

อแมนด้า ออบดัม The Power of Authenticity : MUT 2020

แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส Flame of Passion Crown : MUT 2021

แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส Flame of Passion Crown : MUT 2021

แอนนา เสืองามเอี่ยม  Power of Resilience Crown : MUT 2022

แอนนา เสืองามเอี่ยม Power of Resilience Crown : MUT 2022

แอนโทเนีย โพซิ้ว Light of Glory Crown : MUT 2023

แอนโทเนีย โพซิ้ว Light of Glory Crown : MUT 2023

โอปอล สุชาตา ช่วงศรี  Starlight Crown : MUT 2024

โอปอล สุชาตา ช่วงศรี Starlight Crown : MUT 2024

เรียกว่าตำนาน "อ." ยังสืบต่อไป ปีหน้า 2025 มาลุ้นกันใหม่ว่า สาวงามผู้คว้ามงกุฎ "มิสยูนิเวิร์สไทยแบนด์" จะปิดสวิตซ์ "อ." หรือเปิดสวิตซ์ต่อไปอีก

รูปภาพจาก : กองประกวด Miss Universe Thailand

อ่านข่าวเพิ่ม :

ไม่พลิกโผ! เปิดประวัติ "โอปอล" สุชาตา ช่วงศรี Miss Universe Thailand 2024

“โอปอล สุชาตา ช่วงศรี” คว้าตำแหน่ง “Miss Universe Thailand 2024”


ไม่พลิกโผ! เปิดประวัติ "โอปอล" สุชาตา ช่วงศรี Miss Universe Thailand 2024

Mon, 15 Jul 2024 07:23:00

"โอปอล" สุชาตา ช่วงศรี ปัจจุบันอายุ 20 ปี เติบโตที่ จ.ภูเก็ต จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และกำลังศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครอบครัวทำอาชีพธุรกิจส่วนตัว ในใจกลางเมืองเก่า จ.ภูเก็ต

"โอปอล" สามารถพูดได้ถึง 3 ภาษา "ไทย-อังกฤษ-จีน" ด้วยความสูงถึง 180 ซม. ทำให้เธอก้าวเข้าสู่วงการนางแบบ จากนั้นเริ่มเข้าสู่เวทีนางงาม ประเดิมเวทีแรกการประกวดนางงามรัตนโกสินทร์ เวทีต่อมา Miss Universe Thailand 2022 เธอสามารถเอาชนะใจกรรมการจนได้ครองตำแหน่งรองอันดับ 3 มาได้สำเร็จ (และขึ้นเป็นรองอันดับ 2 ในเวลาต่อมาเพราะมีผู้สละสิทธิ์ 1 คน) กระทั่งในปีนี้ ความฝันของเธอเป็นจริง โอปอลกลับมาคว้ามงกุฎสู่จักรวาลได้สำเร็จ

โอปอล จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยสู่การประกวด Miss Universe 2024 ณ ประเทศเม็กซิโก ปลายปีนี้
ที่มา Facebook Opal Suchata

ที่มา Facebook Opal Suchata

อ่านข่าว : “โอปอล สุชาตา ช่วงศรี” คว้าตำแหน่ง “Miss Universe Thailand 2024”

ในการประกวด Miss Universe 2024 "โอปอล" ถือว่าเป็นตัวเต็งในเวทีนี้เพราะทำคะแนนในระดับสูงมาโดยตลอด ผ่านรอบ Fast Track เข้ารอบ 20 คนสุดท้ายด้วยคะแนนโหวตสูงที่สุด 590 คะแนน คว้า 4 รางวัลในรอบพรีลิมมินารี ได้แก่ รางวัล Miss Extravaganza, VOICE FOR CHANGE, WOMEN INSPIRED 2024 และ รางวัล ขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชน

ส่วนรอบชุดประจำชาติ "โอปอล" มาในชุด สยามมานุสตรี พระราชพงศาวดารกล่าวถึง ครั้งสมเด็จพระมหาเทวีศรีสุริโยไท ทรงกระทำยุทธหัตถีกลางสมรภูมิอย่างหาญกล้า วีรสตรีที่สละพระชนม์ชีพเพื่อเป็นตัวแทนปกป้องบ้านเมือง ตัวอย่างของพลังที่ไร้ขีดจำกัดของผู้นำหญิงของไทยที่มีมาแต่โบราณ ตอกย้ำความสามารถในการเป็นผู้นำด้วยความหาญกล้าของหญิงไทย 

อ่านข่าว : 10 "ชุดประจำชาติ" ยอดเยี่ยม เวที Miss Universe Thailand 2024

ใช้ "ความป่วย" สร้างพลังให้ตนเอง-สังคม

ในอดีต "โอปอล" ต้องฝ่าฟันกับบททดสอบชีวิตซึ่งถือว่าหนักหนาสำหรับหญิงสาววัย 16 ปี ณ ขณะนั้น หลังพบว่าตนเองมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่ถึง 10 ซม. ที่บริเวณหน้าอกตัวเอง เธอเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อส่วนเกินออกทั้งที่ยังเด็ก แม้ก้อนเนื้อดังกล่าวไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หลังจากพักฟื้นตัวดี เธอกลับนำความกลัวเป็นพลังจุดประกาย ตั้งเป้าเป็นกระบอกเสียงสร้างความตระหนักรู้ "โรคมะเร็งเต้านม" ภัยร้ายอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก 

ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ โอปอลกล่าว Speech ว่าเธอไม่ต้องการจะ Empowering Woman แต่ต้องการ Empowering Human ผ่านโครงการ Opal for Her และขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเธอ

ที่มา Facebook Opal Suchata

ที่มา Facebook Opal Suchata

อ่านข่าวเพิ่ม :

บรรยากาศ Miss Universe Thailand 2024 รอบตัดสิน ลุ้นใครจะคว้ามงกุฎ

มงจะลงใคร "น้ำตาล-ชลิตา" กูรูนางงามวิเคราะห์ Top 5 เวที MUT 2024

ส่องลุคราตรี 40 สาวงาม MUT 2024 เปล่งประกายในค่ำคืน "พรีลิมมินารี"