“ตลาดทองคำ” ปั่นป่วนหนัก นักลงทุนผวาเศรษฐกิจโลกถดถอย

Thu, 3 Apr 2025 17:28:10

วันนี้ ( 3 เม.ย.2568 ) รายงานข่าวจากเว็บไซต์ฮั่วเซ่งเฮง เปิดเผย หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศทำสงครามการค้ารุนแรง เศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย ส่งผลราคาทองทำ All-time High โดยในปีนี้ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่นและมีความต้องการซื้อทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทั้งจากนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน ธนาคารกลาง เป็นผลจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ที่สำคัญคือการทำสงครามการค้า ทำให้ในไตรมาส 1 ทองคำ Spot ให้ผลตอบแทน 18% เป็นไตรมาสที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดนับตั้งแต่ ปี 1986

ในต้นเดือนเม.ย.ราคาทองคำ Spot ปรับตัวขึ้นทำ All-time high ติดต่อกันทุกวัน ในช่วงเช้าของวันนี้ราคาทองคำ Spot ยังปรับตัวขึ้นทำ All-time high นับเป็นครั้งที่ 21 ของปีนี้ แตะ 3,167 ดอลลาร์ ให้ผลตอบแทน 20.7% ราคาทองแท่งไทยปรับตัวขึ้นทำ All-time high อย่างต่อเนื่องเช่นกัน นับเป็นครั้งที่ 20 ของปีนี้ แตะ 51,250 บาท ให้ผลตอบแทน 20.9% ได้รับผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าลงมากในเดือนนี้ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่สหรัฐขาดดุลการค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 และเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้กับไทยในอัตรา 36%

หลังทรัมป์ปรับขึ้นภาษีในช่วงคืนวาน ราคาทองตอบรับเชิงบวก และทองในประเทศได้แรงหนุนจากค่าเงินบาทด้วย แต่แนะนำรอดูสถานการณ์รวมถึงการตอบโต้ของประเทศต่างๆก่อน เนื่องจากวันนี้เป็นช่วงแรกๆที่ปัจจัยสำคัญเข้ากระทบ ตลาดจึงอาจมีความผันผวนค่อนข้างแรง

ราคาทองตลาดโลกแนวรับ : 3,110 และ 3,090 ดอลลาร์แนวต้าน : 3,160 และ 3,180 ดอลลาร์ราคาทองโลกที่ปรับตัวขึ้นมายังคงซื้อขายอยู่บริเวณแนวต้าน แต่กลับมาแนะนำ Wait and See เพื่อรอดูท่าทีของประเทศต่างๆหลังได้รับผลกระทบทางภาษีก่อนแต่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรระยะสั้นอาจเสี่ยงไล่ซื้อ โดยมีเป้าทำกำไรที่ระดับ 3,160 – 3,180 ดอลลาร์

ราคาทองคำแท่ง 96.5%แนวรับ : 50,600 และ 50,300 บาทแนวต้าน : 51,500 และ 52,000 บาทเช้านี้ราคาทองคำในประเทศ ยังได้แรงหนุนจากค่าเงินบาทที่กลับขึ้นมาอ่อนค่า แต่กลับมาแนะนำ Wait and See เพื่อรอดูท่าทีของประเทศต่างๆหลังได้รับผลกระทบทางภาษีก่อน แต่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรระยะสั้นอาจเสี่ยงไล่ซื้อ โดยมีเป้าทำกำไรที่ระดับ 51,500-52,000 บาท

โดยทั้งวันราคาทองคำในประเทศผันผวนขึ้นลง 25 ครั้ง ส่งผลให้ราคาทองคำแท่ง ขายออก อยู่ที่ 50,850 บาท รับซื้อ 50,750 บาท ราคาทองคำรูปพรรณ ขายออก 51,650 บาท รับซื้อ 49,830.50 บวก 250 บาท ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 3,129.50ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ภาพรวมทั้งปีทองคำบวกที่ 8,450 บาท

อ่านข่าว:

 ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"

สรุปราคาทองคำ 2 เม.ย.2568 ผันผวน 18 ครั้ง GOLD SPOT ยังทำ All-time high

สรุปราคาทองคำ 1 เม.ย.2568 ปรับขึ้น 550 บาท ผันผวน 18 ครั้ง


TDRI แนะทางรอดหนี “สงครามการค้า” ชี้ช่องไทยส่งออกสินค้าทดแทนจีน-เวียดนาม

Thu, 3 Apr 2025 17:13:00

 วันนี้ (3 เม.ย.2568) น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Economic Intelligence Service (EIS) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง ผลกระทบจากการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าหลายประเทศ โดยไทยถูกเพิ่มอัตราภาษีที่ 36 % ว่า ผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งโลก เพราะทุกประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะถูกคิดภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 10% ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ ขณะที่ไทยเป็น 1 ใน 60 กว่าประเทศที่ถูกเพิ่มภาษีในอัตราสูงกว่านั้น โดยในเอกสารทางการของสหรัฐ ระบุไว้ที่ 37 % ซึ่งอัตราดังกล่าวจะเริ่มในวันที่ 9 เม.ย.นี้

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Economic Intelligence Service (EIS)  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Economic Intelligence Service (EIS) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

อย่างไรก็ตามมีบางประเทศในอาเซียนที่ถูกเก็บภาษีในอัตรามากกว่าไทย เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา ส่วนจีนที่ถูกภาษีเพิ่มอีก 34% จากเดิมที่อัตราได้ปรับขึ้น 20% อยู่แล้ว ทำให้จีนถูกเก็บภาษีนำเข้าที่ 54%

สินค้าส่งออกของไทยที่จะได้รับผลกระทบหลักๆ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สูงอยู่ใน 20 อันดับแรก ซึ่งคิดเป็น 64% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ รวมทั้งส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ไทยมีเม็กซิโกเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดสหรัฐฯ

ผอ.ศูนย์วิจัยEIS กล่าวอีกว่า การขึ้นภาษีครั้งนี้ จะทำให้ไทยต้องจ่ายภาษีนำเข้าที่ 38.5% (รวมกับอัตราเดิมจ่าย 1.5%) ในขณะที่เม็กซิโก จ่ายภาษี 25% เท่านั้น นอกจากนี้การขึ้นภาษีดังกล่าว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอ รวมทั้งคู่ค้าอื่นของไทยด้วย ดังนั้นคาดว่าปีนี้ส่งออกของไทยจะโตอยู่ที่ 1-2% ขณะที่ปีที่ผ่านมาโตที่ 5.4%

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาคือการประเมินคู่แข่งของไทยที่ผลิตสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ว่าถูกขึ้นภาษีมากกว่าหรือน้อยกว่าไทย เพราะนั่นหมายถึงโอกาสในการแข่งขันบนสนามที่มีกติกาใหม่ ซึ่งไทยอาจสามารถส่งสินค้าไปทดแทนสินค้าของประเทศอื่น ๆ ที่ถูกตั้งกำแพงภาษีสูงกว่าไทยได้ เพราะปีแรกของการขึ้นภาษีสหรัฐฯ คงไม่สามารถผลิตสินค้าในประเทศมาทดแทนสินค้าได้ทัน

ทั้งนี้ไทยอาจมีโอกาสเพิ่มการส่งออกไปสหรัฐฯ ในสินค้าที่คู่แข่งของไทยถูกขึ้นภาษีมากกว่าเรา เช่น จีน 54% เวียดนาม 46% แต่ไทย 36% ดังนั้นอาจสามารถแข่งขันในเรื่องราคาได้ เช่น ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์

นี่คือโอกาสของไทยในครั้งนี้ ซึ่งเราเห็นได้จากสมัยทรัมป์ 1 ที่หลังจากที่จีนถูกตั้งกำแพงภาษี สหรัฐฯก็หันไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ไทย เวียดนาม และไต้หวัน แทนสินค้าจากจีนในตอนนั้น 

นอกจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการส่งออกของไทยแล้ว สินค้านำเข้าน่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกประเทศต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะสินค้าจากจีน และสินค้าประเภทเหล็ก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสหรัฐฯต้องการให้นานาประเทศ รวมทั้งไทยเจรจาเพิ่มเติมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับสหรัฐฯมากขึ้นกว่าเดิม แลกกับการขอปรับลดอัตราภาษีนำเข้า เพราะในเอกสารของสหรัฐฯ ระบุว่าทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้หากมีการเจรจา

โดยประเมินว่ามี 3 แนวทางที่ทางสหรัฐฯ ต้องการจากไทย คือ 1. อาจขอให้ไทยลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ โดยสินค้าที่ไทยเรียกเก็บสหรัฐฯสูงกว่าที่สหรัฐฯเรียกเก็บจากไทยมาก เช่น ไวน์ เบียร์ เนื้อวัว รถยนต์ รวมถึงสินค้าเกษตรหลายชนิด ซึ่งสินค้าเกษตรมีความสำคัญกับประธานาธิบดีทรัมป์ เนื่องจากเกษตรกรเป็นฐานเสียงหลัก 2. อาจขอให้ไทยเพิ่มโควตานำเข้าสินค้าบางประเภทมากขึ้น เช่น ข้าวโพด และกาแฟ ที่ไทยมีการกำหนดโควต้านำเข้า

3. อาจขอให้ไทยลดข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสุขภาพ เช่นให้ไทยอนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ ซึ่งไทยกังวลว่ามีสารเร่งเนื้อแดงเกินมาตรฐาน ดังนั้นไทยควรพิจารณาเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าที่มีผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจไทยน้อยหรือจะส่งผลดีกับผู้บริโภคในไทยในลำดับแรก นอกจากนี้สหรัฐฯ อยากให้ประเทศต่างๆมีการไปลงทุนในสหรัฐฯมากขึ้นด้วย

สิ่งที่น่าเป็นกังวล คือ ท่าทีของธุรกิจต่างชาติที่ต้องการมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งมีภาคธุรกิจจากต่างประเทศจำนวนมากที่มาขอรับการส่งเสริมการลงทุกจากบีโอไอ และได้รับบัตรส่งเสริมไปแล้วในสองปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้เข้ามาลงทุน เมื่อมีความไม่แน่นอนนี้เกิดขึ้นและไทยถูกขึ้นภาษี 36% บางธุรกิจอาจจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์หลังการเจรจาระหว่างประเทศต่างๆกับสหรัฐฯ

สำหรับภาพรวมทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วยว่าเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทิศทางของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยน่าจะเป็นขาลง ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการลดดอกเบี้ยอีก 1-3 ครั้งในปีนี้ เช่นเดียวกับทิศทางดอกเบี้ยของไทยน่าจะลงเช่นเดียวกัน คาดว่ากนง.จะมีการปรับอันตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% อีก 1-2 ครั้งในปีนี้

ส่งผลให้ค่าเงินบาทไทยจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว รวมถึงเงินที่จะไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย ทั้งจากการค้า และภาคท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีในปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งค่าเกือบจะมากที่สุดในอาเซียน เป็นรองเพียงมาเลเซียเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ประเทศที่ค่าเงินถูกกว่าไทยได้เปรียบไทยในการส่งออก

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าสงครามการค้าระดับโสกครั้งนี้จะส่งผลกระทบทางลบกับเศรษฐกิจโลก และไทย แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสสำหรับธุรกิจไทย ภาครัฐ และเอกชนไทยจึงต้องร่วมกันลดผลกระทบและบริหารความเสี่ยง รวมถึงใช้โอกาสที่มาในครั้งนี้

อ่านข่าว:

 ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"

 ไทยสะเทือน “ทรัมป์”ขึ้นภาษี ทุบเศรษฐกิจพัง 3.59 แสนล้าน GDP เหลือ 1.93%

 สหรัฐขึ้นภาษีไทย กระทบส่งออกหนัก แนะปฏิรูปโครงสร้างผลิต


ไทยสะเทือน “ทรัมป์”ขึ้นภาษี ทุบเศรษฐกิจพัง 3.59 แสนล้าน GDP เหลือ 1.93%

Thu, 3 Apr 2025 16:54:00

เป็นข่าวใหญ่สะเทือนไปทั้งโลก ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าในสหรัฐทุกประเภทกับประเทศที่ได้ดุลการค้า ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป 20% จีน 34% ญี่ปุ่น 24% แอฟริกาใต้ 30% ไต้หวัน 32% อินเดีย 26%กัมพูชา 49% ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซีย 24% ฟิลิปปินส์ 17% สิงคโปร์ 10%และไทนยที่ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 37% ซึ่งจะมีผลในวันที่ 9 เม.ย.นี้

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แน่นอนว่าการประกาศเก็บภาษีของทรัมป์ ในรอบนี้ ส่งผลให้เกิดสงครามการค้าไปทั่วทั้งโลกเรียกได้ว่า สร้างความปั่นป่วนแทบทุกประเทศ ที่ต้องหามาตรการออกมาตอบโต้ในการขึ้นภาษีนี้

ประเทศไทย เป็น 1 ในหลายประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษีค่อนข้างสูงเกินความคาดหมาย เพราะเดิมกระทรวงพาณิชย์-ภาคเอกชน มองว่าสหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากไทย 10-20% เท่านั้น

“พิชัย” รับตกใจ ทรัมป์ ขึ้นภาษีไทยสูง

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีตอบโต้ไทยและประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ว่า รู้สึกตกใจที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีไทยในอัตราสูงมาก เกินกว่าความคาดหมาย โดยสหรัฐฯ ได้คำนวณจากอัตราภาษีที่คู่ค้าเก็บจากสหรัฐฯ และสหรัฐฯ เก็บจากคู่ค้า รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ซึ่งของไทยคำนวณได้ 72% และหาร 2 เท่ากับ 37%

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์

ไม่ต้องห่วง เพราะไทยมีคณะทำงานที่เตรียมความพร้อมในการเจรจากับสหรัฐฯ ไว้แล้ว และมีความหวังว่าจะสามารถเจรจาต่อรองเพื่อให้สหรัฐฯ ลดภาษีลงได้ โดยไทยพร้อมเจรจากับสหรัฐฯ ตลอดเวลา รอแค่ว่าสหรัฐฯ จะรับนัดเมื่อไร

รมว.พาณิชย์ กล่าวอีกว่า การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ทุกประเทศได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ไทยจะพยายามอย่างเต็มที่ เจรจาให้สหรัฐฯ ลดภาษีลงมาให้ได้ ตอนนี้เตรียมข้อมูลเจรจาไว้หมดแล้ว และมีความหวังว่าจะสำเร็จ เพราะไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่วนการปรับขึ้นภาษี จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ 3% หรือไม่ ขณะนี้ยังบอกไม่ได้

เก็บจริง 37% ไม่ใช่ 36% มีผล 9 เม.ย.

ด้านนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ถือว่าเกินความคาดหมายสำหรับไทย โดยอัตราภาษีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถือเอกสารตอนแถลงข่าวอยู่ที่ 36% แต่ในเอกสารประกอบคำสั่งฝ่ายบริหารอยู่ที่ 37% แต่ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เม.ย.2568 ยังมีเวลาที่ไทยจะเจรจาต่อรองได้ โดยไทยพร้อมที่จะเจรจาทุกเมื่อ รอเพียงให้สหรัฐฯ รับนัดมา ถ้าเดินทางไปไม่ทัน ก็จะมีทีมไทยแลนด์ ที่เป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอชิงตัน ดีซี. เป็นหัวหน้าคณะ แต่หากมีเวลาเดินทางไป รมว.พาณิชย์จะเป็นหัวหน้าคณะไปเจรจาเอง

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ คาดการณ์ว่า ถ้าสหรัฐฯ ขึ้นภาษีตอบโต้ไทย 11% จะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ 7,000-8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 1 ปี แต่ขณะนี้ภาษีสูงถึง 37% ก็อาจเสียหายมากกว่านี้ หากไทยไม่ทำอะไรเลย แต่ถ้าเจรจาต่อรองแล้ว เป็นผลสำเร็จ ก็อาจไม่เกิดความเสียหาย หรือเสียหายลดลง ส่วนจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยปีนี้ที่ตั้งเป้าหมายขยายตัว 2-3% หรือไม่ ต้องคำนวณอีกครั้ง

สำหรับแนวทางการเจรจากับสหรัฐฯ 1.ไทยจะลดภาษีสินค้านำเข้าสินค้าบางรายการให้กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าอยู่แล้ว แต่นำเข้าจากแหล่งอื่น อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง รวมถึงเพิ่มการลงทุนด้านพลังงานในสหรัฐฯ 2.เพิ่มปริมาณการนำเข้าสินค้าที่ยังไม่เคยนำเข้าจากสหรัฐฯ 3.ลดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าของสหรัฐฯ

โดยมั่นใจว่า จะเจรจาต่องรองกับสหรัฐฯ ได้ ทุกอย่างเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่การเจรจาด้านการค้าสินค้าเท่านั้น แต่จะทำทุกมิติ ทั้งการค้าบริการที่สหรัฐฯ ได้ดุลไทยจำนวนมาก การลงทุน การเป็นพันธมิตรที่ดี และหากให้คะแนนความสำเร็จ ถ้าได้เจรจากัน น่าจะได้ถึง 7-9 เต็ม 10

15 สินค้าไทยกระทบหนักสุด

อย่างไรก็ตามจากการประเมินเบื้องต้น พบว่า สินค้าไทยที่จะได้รับผลกระทบมาก จะเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มูลค่าสูง โดยสินค้า 15 อันดับแรกที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มาก ได้แก่ 1.โทรศัพท์มือถือ 2.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3.ยางรถยนต์ 4.เซมิคอนดักเตอร์ 5.หม้อแปลงไฟฟ้า 6.ชิ้นส่วนอุปกรณ์การพิมพ์ 7.ชิ้นส่วนรถยนต์ 8.อัญมณี 9.เครื่องปรับอากาศ 10.กล้องถ่ายรูป 11.เครื่องปริ้นเตอร์ 12.วัตถุดิบอาหารสัตว์ 13.แผงวงจรอิเลกทรอนิกส์ 14.ข้าว และ 15.ตู้เย็น

ส่วนการพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ จะมีการหารือกับนายพิชัย ชุณหชวิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เช่น อาจจะมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือ หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดยจะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย และมีการส่งออกไปสหรัฐฯ เพราะตัวเลขพวกนี้ มีข้อมูล มีสถิติชัดเจนอยู่แล้ว

การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ จะทำให้การเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยเจรจากับประเทสคู่ค้ามีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ทั้งกรอบไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ไทย-เกาหลีใต้ และอาเซียน-แคนาดา

ม.หอการค้าชี้เศรษฐกิจพัง 3.57 แสนล้าน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรการภาษีตอบโต้ จะสร้างผลกระทบมากถึง 359,104 ล้านบาท ฉุดจีดีพีลดลง 1.93% แต่หากรวมกับเหตุการแผ่นดินไหวด้วยแล้ว ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจไทย 374,851.8 ล้านบาท ฉุดให้จีดีพีไทยปีนี้ลดลง 2.02% ส่งผลให้จีดีพีไทยทั้งปีนี้อาจขยายตัวปรับลดลงเหลือ 1% ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ที่ 3% โดยในส่วนของ ผลกระทบเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะสร้างความเสียหายราว 15,747.8 ล้านบาท ฉุดให้จีดีพีลดลง 0.08%

สำหรับมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อ 4 กลุ่มสินค้า คือ เหล็ก, ผลิตภัณฑ์เหล็ก, อะลูมิเนียม, รถยนต์ อุปกรณ์-ส่วนประกอบ ซึ่งอัตราภาษีที่ประกาศใช้อยู่ที่ 25% ทั้ง 4 กลุ่ม ประเมินมูลค่าการส่งออกในปี 68 รวมกันที่ราว 4,727 ล้านดอลลาร์ฯ แต่หากได้รับผลกระทบจากกรณีทรัมป์ 2.0 อาจจะทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือราว 4,077 ล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็นมูลค่าของผลกระทบราว 650 ล้านดอลลาร์ (21,900 ล้านบาท)

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ส่วนผลกระทบทางอ้อม อาจส่งผลให้การทะลักของสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดสินค้าไทย จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เครื่องจักรกล, เฟอร์นิเจอร์, สินค้าเบ็ดเตล็ด, อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เป็นต้น เนื่องจากจีนจำเป็นต้องหาตลาดส่งออกใหม่ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายนี้

สรท.มองกระทบส่งออกไตรมาส 2 จี้รัฐเร่งเจรจา

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ยังไม่สามารประเมินมูลค่าความเสียหายจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐได้ แต่คาดว่าหลายอุตสาหกรรมต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน แต่จะมีหรือน้อย โดยขณะนี้แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมกำลังประเมินตัวเลขผลกระทบ ซึ่งในเดือนพ.ค.จะมีความชัดเจนมากขึ้น คาดว่าจะสรุปผลได้ในช่วงเดือนพ.ค.นี้

อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ปฏิรูปโครงสร้างการผลิต และทบทวนนโยบายกับประเทศคู่ค้าทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในประเทศ

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

สรท.ตั้งเป้าการส่งออกทั้งปี ขยายตัว 1-3% โดยอาจจะมีการปรับเป้าหมายการส่งออกอีกครั้งในไตรมาส 2 โดยขอหารือกับผู้ประกอบการเพื่อประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นรายสินค้าแต่ละตัว ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง

ส่วนการส่งออกเดือนก.พ.มีมูลค่า 26,707 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 14% การนำเข้ามีมูลค่า 24,718.9 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 4.0 % ส่งผลให้ไทย เกินดุล 1,988.3 ล้านดอลลาร์ ภาพรวม 2 เดือนแรก (ม.ค. – ก.พ.) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 51,984.1 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.8 %

อย่างไรก็ตามเมื่อเจาะลึกไปดูตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวที่สูงกลับไม่สอดคล้องกับดัชนีภาคการผลิตของไทยหรือ PMI ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน ดังนั้นจะต้องไปพิจารณาว่าเป็นการลงทุนใหม่เพื่อการผลิตส่งออกหรือไม่หรือมีการสวมสิทธิ์สินค้าไทยแล้วส่งออกหรือไม่ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

สำหรับมีปัจจัยเสี่ยงและความผันผวนเสมือนระเบิดเวลาที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ประกอบด้วย 1.Trade War Trump 2.0 ความไม่นอนของเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จากมาตรการภาษีศุลกากร ส่งผลให้ต้นทุนทางการค้าเพิ่มสูงขึ้น 2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังไม่มีข้อยุติทั้ง รัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-กลุ่มฮามาส แม้มีข้อตกลงหยุดยิงแต่ยังคงมีการปะทะกันในหลายพื้นที่

3. ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน เป็นผลมาจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และปัจจัยราคาทองคำ 4. ปัจจัยเฝ้าระวังขนส่งสินค้าทางทะเล ทั้ง ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่จะส่งผลต่อความผันผวนและมีผลต่อการวางแผนการสต็อกและส่งออกสินค้า สถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคทะเลแดงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ค่าระวาง ดัชนีรวมปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าระวางเส้นทางไปยังเอเชียปรับเพิ่มขึ้นในหลายเส้นทางซึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้า และ 4ความกังวลเกี่ยวกับมาตรการของสหรัฐฯ ต่อเรือขนส่งสินค้าที่ต่อในประเทศจีน (Chinese-Built vessel)

ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอ 3 เร่งที่สำคัญ คือ 1. เร่งเจรจาสหรัฐ โดย ส่งเสริมการลงทุนไทยในสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เร่งนำเข้าสินค้าที่ไทยต้องการจากสหรัฐฯ เพื่อลดการเกินดุลการค้าและ ใช้แนวทาง ASEAN+ ในการเจรจา เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับสหรัฐ

2. เร่งเจรจาและใช้ประโยชน์ FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการค้า และกระจายสินค้าไปในตลาดอื่นได้มากขึ้น ซึ่งภาครัฐ โดยเฉพาะทูตพาณิชย์ ต้องมีการทำงานอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน

3. เร่งปฏิรูปการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย โดยสนับสนุนการลงทุน ใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในประเทศไทยเป็นส่วนประกอบหลัก การมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมต้นน้ำและซัพพลายเออร์ภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงภายในประเทศ เพื่อให้แรงงานไทยมีการยกระดับ

ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม-เกษตรกระทบหนัก

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร กล่าวว่า การขึ้นภาษีของสหรัฐกระทบต่อสินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่ส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างมาก ทั้งเครื่องโทรศัพท์ โทรสาร เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ขณะที่สินค้าเกษตรก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งสินค้าแต่ละตัวก็ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน

โดยมาตรการตอบโต้ทางภาษีของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้า เมื่อสินค้ามีราคาสูงขึ้นก็ทำให้ส่งออกไปได้ลดลง สินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบชัดเจนเนื่องจากประเทศคู่แข่งเสียภาษีน้อยกว่า ได้แก่ สับปะรด ซึ่งฟิลิปปินส์โดนขึ้นภาษีน้อยกว่าไทย ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยมาเลเซียถูกปรับขึ้นภาษีน้อยกว่าไทยเช่นกัน ขณะเดียวกันต้องมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเพื่อป้องกันการเข้ามาทำตลาดของประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนถูกกว่า

ส่งออกในไตรมาส 1 ไม่น่ามีปัญหา แต่จะเห็นผลกระทบในไตรมาส 2 ยังมีออเดอร์สั่งซื้อสินค้าอยู่ แต่เบื้องต้นคาดว่าตัวเลขจะลดลง โดยช่วงหลังสงกรานต์ ผู้ส่งออกไทยน่าจะได้รับข้อมูลจากฝั่งผู้นำเข้าถึงผลกระทบ และจะสามารถประเมินได้ว่าตัวเลขในไตรมาส 2 จะลดลงเท่าไร 

อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐในครั้งนี้ยังมีแนวทางแก้ไข คือ การเจรจากับสหรัฐในแต่ละประเทศที่โดนสหรัฐขึ้นภาษีจะเป็นตัววัดว่า ช่วงไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ต่อเนื่องไปปี 69 เรื่องของคำสั่งซื้อสินค้าจะไปที่ประเทศไหนมากกว่ากัน ซึ่งอยู่กับความสามารถในการเจรจาของแต่ละประเทศ และจะชิงความได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่เจรจาด้อยกว่า

ชี้เป็นกลยุทธ์บล็อกสินค้าจีนย้ายฐานผลิต

ขณะที่นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์”ว่า ไม่เกินความคาดหมาย เพราะรู้ว่าสหรัฐณจับตาดูอยู่ ซึ่งรอบนี้ ทรัมป์ใช้คำว่า Reciprocal Tariff คือ การเอาคืนทางภาษีเพราะไทยเก็บภาษีสหรัฐฯในหลายสินค้าเช่นกัน แต่ทั้งนี้ สหรัฐเองก็ยังเปิดช่องให้เจรจาเพียงแต่ รมว.คลังของสหรัฐเองพูดในเชิงขู่ว่าหากประเทศใดตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีกลับ สหรัฐฯยังมีช่องว่าการขึ้นภาษีที่เหลืออยู่

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

ไทยโดย สหรัฐฯขึ้นภาษี 37% เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของภาษีที่ไทยเก็บกับสินค้าสหรัฐฯ นั้นหมายความว่า หากไทยขึ้นภาษีสินค้าตอบโต้กลับ สหรัฐฯก็อาจจะขึ้นภาษีส่วนที่เหลือได้

ทั้งนี้การที่สหรัฐฯขึ้นภาษีประเทศอาเซียนสูง อาจจะเป็นเป็นการบล็อกไม่ให้จีนย้ายฐานกำลังการผลิตไปเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯเพราะจะเห็นว่า ทรัมป์ ขึ้นภาษี กัมพูชา ลาว เวียดนาม เมียนมา สุงมาก เพราะเป็นการบล็อกไม่ให้จีนย้ายฐานผลิตมา

ผลกระทบกับการส่งออกน่าจะเห็นชัดในสไตรมาส 2 เพราะได้มาสแรกผู้นำเข้ามีการสต็อกสินค้าไว้แล้ว แต่ไตรมาสหลังจากนี้น่าจะมีการชะลอตัว ผู้นำเข้าอาจจะชะลอการสั่งซื้อสินค้าเพื่อรอดูสถานการณ์

หลังจากวันนี้ไปจนถึงวันที่ 9 เม.ย.คงต้องติดตามว่ากระทรวงพาณิชย์ ทีมไทยแลนท์ จะเร่งเจรจากับสหรัฐฯขอปรับลดภาษีหรือแลกเปลี่ยนสินค้านำเข้ากันอย่างไร เพราะมีบางสินค้าที่หากแลกเปลี่ยนอาจจะกระทบกับผู้ประกอบการไทย-เกษตรกรไทยได้ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยและทีมไทยแลนด์ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

อ่านข่าว:

 ส่งออก "ข้าวหอมมะลิไทย" สะเทือน สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย 36% 

สหรัฐขึ้นภาษีไทย กระทบส่งออกหนัก แนะปฏิรูปโครงสร้างผลิต

ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"


นักวิชาการแนะ รบ.เร่งยกหูเจรจา "ทรัมป์"ภายในคืนนี้ คลี่คลายกำแพงภาษี

Thu, 3 Apr 2025 16:52:00

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยและโลกจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการประกาศขึ้นภาษีทางการค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ทว่าที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาก็ได้ส่งสัญญาณมาโดยตลอดว่า ประเทศต่าง ๆ สามารถเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกันได้ ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำในเวลานี้คือการเข้าสู่การเจรจาให้เร็วที่สุด และต้องนำเสนอข้อแลกเปลี่ยนที่มีน้ำหนักเพียงพอที่ทรัมป์จะพูดคุยด้วย ที่สำคัญก็คือระยะเวลาในการประสานงานเพื่อเจรจาจะมีผลอย่างมากต่อการยอมรับและเปิดใจ เพราะทรัมป์เป็นคนคิดเร็วตัดสินใจเร็ว ฉะนั้นความล่าช้าอาจทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงความไม่จริงใจ และจะทำให้ไทยตกเป็นเบี้ยล่างในการเจรจาทันที

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ ยังกล่าวว่า คณะทำงานเจรจาของไทยต้องรีบประชุมเช้านี้ ช่วงบ่ายเตรียมตัว และอย่างช้าที่สุดคือภายในคืนนี้ ซึ่งฝั่งอเมริกาเป็นกลางวัน ต้องมีการยกหูโทรหาเพื่อพูดคุยข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว เพราะทุกประเทศรู้ว่า ตอนนี้ถ้าประเทศไหนช้าสุดจะเสียเปรียบที่สุด จึงไม่มีใครยอมตกขบวน การช้าไปแค่นาทีเดียวก็จะกระทบหนัก การเร่งดำเนินการเรื่องนี้ภายใน 24 ชม.ก็ยังถือว่าช้าที่สุด จะรอทำหนังสือเชิญประชุมกันไม่ได้แล้ว เพราะนี่คือสถานการณ์ฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ อเมริกาไม่ได้คาดหวังอยู่แล้วว่าทุกประเทศจะมาครบ แค่มาสัก 60% ของทั้งหมด เขาก็ไม่จำเป็นต้องแคร์อีก 40% ที่เหลือแล้ว นี่คือเกมทางเศรษฐศาสตร์ ที่ใครมาเร็วย่อมได้เปรียบ และยิ่งช้ายิ่งเจ็บ ยิ่งเสียเปรียบ

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวว่า ข้อเสนอของไทยที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการของสหรัฐอเมริกาคือ การผสมผสานระหว่างความต้องการด้านเศรษฐกิจที่ประสงค์ให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา โดยมีแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่คำพูดหรือคำสัญญาปากเปล่า เพื่อนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในประเทศ เพราะการมี Action Plan ที่ชัดเจนในการนำเสนอ คือวิธีคิดที่ทรัมป์ใช้ในการทำงานมาโดยตลอด

นอกจากนี้ ไทยต้องดำเนินการบนความเข้าใจในภูมิศาสตร์ทางการเมืองและบนความคาดหวังของสหรัฐอเมริกา นั่นคือการชี้แจงว่า จะไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศจีนมากจนเกินไป เพราะการที่มีทุนจีนสีเทาเข้ามาในไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจทำให้สหรัฐอเมริการู้สึกว่า ไทยกำลังกลายเป็นฐานของจีนหรือไม่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่คณะทำงานเจรจาของไทย ต้องแสดงและยึดมั่นความเป็นกลางทางการเมืองระหว่างประเทศไว้ให้ได้

ผมเชื่อมั่นว่าคนเก่ง ๆ ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดีของหน่วยงานรัฐมีอยู่เป็นมาก ผมเคยสัมผัสมา ฉะนั้นจึงอยู่ที่ผู้บริหารว่าจะเปิดโอกาสให้เขาแสดงศักยภาพหรือไม่ เมื่อเปิดโอกาสแล้วก็ต้องให้เวลา ให้ทรัพยากรที่เขาจำเป็นต้องใช้ไปทุกอย่าง และตอนนี้สถานการณ์มันก็ฉุกเฉินมากเกินกว่าที่ใครจะเอาหน้า และมากเกินกว่าจะมามองผลประโยชน์ของพรรคการเมือง มันคือผลประโยชน์ของประเทศชาติ เวลานี้คนเก่งต้องระดมกันมาทั้งหมด

นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปว่า มาตรการการขึ้นภาษีครั้งใหญ่นี้ มีความเป็นไปได้ที่ทรัมป์ต้องการเชือดไก่ให้ลิงดูใน 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1.แม้ว่าบางประเทศจะยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจและเปิดโต๊ะเจรจาด้วยความรวดเร็ว แต่ก็ยังจำเป็นต้องเชือดให้เห็น 2.การลับมีดรอไว้ก่อน แต่จะเชือดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับข้อเสนอว่ามีความน่าสนใจเพียงใด 3.ทำเสมือนว่าจะเชือดแต่แท้จริงแล้วคือยังไงก็กลับไปดูแล เพราะเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมาโดยตลอด ซึ่งไทยต้องพยายามเข้าไปอยู่ในรูปแบบที่ 2 ให้ได้

การขึ้นภาษีการค้าเช่นนี้ย่อมสร้างผลกระทบกับทุกประเทศ ดังนั้นการที่ไทยจะพยายามหาตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ คงเป็นไปไม่ได้ มากไปกว่านั้นคือประเทศยักษ์ใหญ่หลายแห่งก็โดนกำแพงภาษี ที่น่ากลัวคือจีนซึ่งมีคลังสินค้าอยู่มาก ก็จะนำสินค้าเหล่านั้นมาขายในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยจะตกอยู่ในที่นั่งลำบาก ดังนั้นรัฐบาลไทยจะต้องเร่งสร้างมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อป้องกันการไหลบ่าของสินค้าเข้ามา เราต้องสร้างกำแพงให้เข้มแข็งขึ้น คือกฎหมาย-ระเบียบต่างๆ ที่เรามีอยู่แล้วต้องบังคับใช้ให้เข้มงวด ไม่ปล่อยให้ง่ายเหมือนเมื่อก่อน

ผศ. ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลอย่าเพิ่งไปคิดเรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ ให้คิดแก้ปัญหาเรื่องนี้ก่อน เพื่อไม่ให้สถานการณ์มันแย่ไปกว่านี้ และรัฐบาลควรพลิกวิกฤติในครั้งนี้ให้กลายเป็นโอกาส ด้วยการปรับโครงสร้างการผลิตขนานใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง จะส่งผลให้ขายสินค้าราคาถูกได้มากขึ้น มาตรการที่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนของสหรัฐอเมริกานำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาวของไทยได้ ซึ่งถึงเวลาที่เราจะได้ทำสิ่งที่มีการพูดคุยมานาน แน่นอนการเจรจาช่วยซื้อเวลา แต่ระยะยาวมีแต่วิธีนี้เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปอาจไม่ได้รู้ว่าได้รับผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้ในทันที เว้นแต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจการส่งออก แต่ในท้ายที่สุดในวันหนึ่งก็จะกระทบ เพราะเมื่อยอดการส่งออกตกจะกระทบไปเป็นลูกโซ่ ทั้งการเลิกจ้าง มีคนตกงาน กำลังซื้อในประเทศลดลง อาจใช้เวลาสักหน่อยกว่าที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบจริงๆ แต่จะมาอย่างแน่นอน และหากภาครัฐปล่อยให้สถานการณ์เดินไปถึงจุดนั้นก็จะแก้ไขได้ยากลำบากแล้ว

การแจกเงินในเวลานี้ก็ไม่ช่วย ซ้ำร้ายถ้ายิ่งแจกเงินในเวลานี้ มันจะยิ่งทำให้เราเหลือเงินในการสร้างกำแพงน้อยมาก

 

อ่านข่าว : สะเทือนทั้งโลก "สหรัฐฯ" เคาะตัวเลขภาษีตอบโต้คู่ค้า ไทยโดน 36% 

จับตา "ทรัมป์" ผลักโลกทั้งใบ สู่สงครามการค้าเต็มรูปแบบ 

ส่งออก "ข้าวหอมมะลิไทย" สะเทือน สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย 37%  

 

 

 


สหรัฐขึ้นภาษีไทย กระทบส่งออกหนัก แนะปฏิรูปโครงสร้างผลิต

Thu, 3 Apr 2025 14:32:16

วันนี้ (3 เม.ย.2568) หลายประเทศกำลังกังวลกับสงครามการค้าที่จะรุนแรงขึ้น หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ทำการค้าเกินดุลกับสหรัฐ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่เรียกเก็บภาษีสูงสุด 36% ปัจจุบันภาคการส่งออกของไทย กำลังประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้

โดยหลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศไทย 36% และจากประเทศอื่นๆ อีกประมาณ 60 ประเทศ มีผลบังคับใช้วันที่ 9 เม.ย.2568

โดยประเทศจีนรวมแล้วสูงสุดมากกว่า 54% ขณะที่ประเทศไทยติดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอัตราภาษีสูงสุดที่ 36% ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับมาตรการดังกล่าวหลายฝ่ายมองว่า จะเป็นการขยายสงครามการค้าที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดโลก รวมถึงสร้างความสับสนให้กับประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ

ขณะที่สถานการณ์การส่งออกของไทย แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2568 จะเติบโตที่ 13% แต่ภาคการผลิตของไทยกลับทรงตัวและไม่มีการเติบโต

นายธนากร เกษตรสุวรรณ กรรมการสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเข้าแห่งประเทศไทย จึงเสนอแนวทางการรับมือกับนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการผลิต และแนวปฏิบัติทางด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการค้าไทย ทั้งนี้ รัฐบาลควรเจรจากับสหรัฐโดยด่วน

ด้านนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์​​ ระบุว่า การรับมือผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางภาษีของสหรัฐฯ ปัจจุบันรัฐบาลมีแผนไว้อยู่แล้ว โดยนโยบายเร่งด่วนจะเป็นการช่วยเหลือภาคการส่งออก โดยเฉพาะ SME ซึ่งจะมีค่าชดเชยในเบื้องต้น ส่วนระยะยาวจะต้องเร่งเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ ที่กำลังมองหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EU ที่ไทยอยู่ระหว่างเจรจาน่าจะเห็นผลเร็วมากขึ้น เพราะทุกประเทศก็กำลังมองตลาดการค้าใหม่ๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐเช่นกัน

ขณะที่ในมิติการเจรจาการค้ากับสหรัฐ รัฐบาลได้หารือกับภาคเอกชนและเตรียมข้อเสนอไว้หมดแล้ว ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยจะคำนึงและให้ความสำคัญถึงผลกระทบของเกษตรกรไทยเป็นหลัก ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการตอบรับเพื่อเข้าร่วมเจรจา

นอกจากนี้ ยังความเห็นจาก นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) มีมุมมองต่อนโยบายสหรัฐกับการเรียกเก็บภาษีจากไทย 36% โดยงานแรกของรัฐบาลคือต้องไปหาต้นตอ ว่าภาษีไทยที่เรียกเก็บกับสหรัฐ 72% มาจากไหน เพราะสหรัฐคิดว่าไทยเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 72% ทั้งๆ ที่ค่าเฉลี่ยภาษีนำเข้าแค่ประมาณ 10% ขณะเดียวกันหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ยังเสนอมุมมอง 3 ทางเลือก ได้แก่ "สู้" แบบ แคนาดา ยุโรป หรือจีน "หมอบ" คือเจรจาหาทางลงที่สหรัฐฯ พอใจเช่นปรับลดภาษี หรือยอมเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ "ทน" จ่ายอัตราภาษีแบบนี้ หากเราหาทางออกไม่ได้

ขณะที่มุมมองของ บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด มองว่า ตามการวิเคราะห์แบบละเอียดอ่อน อัตราภาษีที่ 36% อาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง -3.6% และการส่งออกจะหดตัวประมาณ -7% หากไม่มีการเจรจาต่อรองและการลดดอกเบี้ยจากแบงก์ชาติ เศรษฐกิจไทยอาจหดตัว -1.1% ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์พื้นฐานที่ 2.5%

อ่านข่าว :

กลยุทธ์กำแพงภาษี กับความต้องการของ "ทรัมป์"

"ชาติเอเชีย" งัดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ

จับตา "ทรัมป์" ผลักโลกทั้งใบ สู่สงครามการค้าเต็มรูปแบบ


“พาณิชย์” ลุยสอบ 26 โครงการรัฐ นอมินี-วัสดุไม่ได้มาตรฐาน พบ 37 บ. เอี่ยวตึกสตง. ถล่ม

Thu, 3 Apr 2025 14:19:59

วันนี้ (3 เม.ย.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลัง การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ครั้งที่ 4 (2/2568) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิด ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ส่งผลให้อาคารสำนักงาน สตง. ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างพังถล่มลงมา

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์

โดยการก่อสร้างดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างวัสดุก่อสร้างจากที่เกิดเหตุ พบว่าวัสดุบางส่วนเป็นของ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ทำให้เกิดข้อสงสัยว่านิติบุคคลทั้งสองรายนี้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

รมว.พาณิชย์กล่าวอีกว่า เบื้องต้น 2 นิติบุคคล มีมูลฐานความผิดตามกฎหมายไทยหลายฉบับ หนึ่งในนั้น คือ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ส่งเอกสารรายละเอียดข้อมูลทางทะเบียนของทั้งสองบริษัทให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อพิจารณา และขณะนี้ DSI ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นคดีพิเศษแล้ว

เรื่องนี้เป็นที่สนใจของสังคม และนายกรัฐมนตรีกำชับให้ดำเนินการให้ถึงที่สุด การเร่งประชุมครั้งนี้เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและอาคาร สตง. ถล่มลงมา ซึ่งนำไปสู่การตรวจสอบอย่างละเอียด

อย่างไรก็ตาม พบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด มีความเชื่อมโยงกับอีก 13 บริษัท และ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด มีความเกี่ยวข้องกับอีก 24 บริษัท รวมเป็น 37 บริษัท ขณะนี้ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกส่งมอบให้ DSI เพื่อดำเนินการต่อไป
โดยในส่วนของกรมบัญชีกลาง จะเข้าตรวจสอบการรับงานของ 26 โครงการที่มีปัญหา ซึ่งบางส่วนมีการทิ้งงาน โดยหากพบความผิดปกติอาจพิจารณา ขึ้นบัญชีดำ (Black List) บริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใน26 โครงการเป็นของหน่วยงานมีมูลค่าโคงรการตั้งแต่ 100-ไปจนถึง 10,000 ล้านบาท ซึ่งมี 1โครงการที่มีมูลค่าโครงการ 9,348 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง

มีบริษัทไทยรายหนึ่งที่ถูกขึ้นบัญชีดำเนื่องจากทิ้งงาน ซึ่งบริษัทนี้จะไม่สามารถรับงานรัฐได้อีกต่อไปแต่สามารถรับงานของเอกชนได้

ด้าน นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดีเอสไอ ได้รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว และทุกหน่วยงานต้องนำข้อมูลทั้งหมดให้ DSI ตรวจสอบ โดยมีการดำเนินการดังนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงเครือข่าย 13 บริษัท พร้อมป้อนข้อมูลให้ DSI ,สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงินของบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้เกี่ยวข้อง, กรมสรรพากร ตรวจสอบการเสียภาษีของบริษัทและผู้ถือหุ้นทั้งหมด

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ตรวจสอบคุณภาพเหล็กและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้าง,กรมการจัดหางาน ตรวจสอบใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว, กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบโรงงานผลิตเหล็ก ,กรมที่ดิน ตรวจสอบการถือครองที่ดินของคนไทยและต่างชาติ และกรมบัญชีกลาง ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ขณะเดียวกัน จะมีการตรวจสอบ 14 บริษัทในเครือข่ายว่ารับงานที่ใดบ้าง โดยข้อมูลล่าสุดพบว่ามี 26 โครงการที่เกี่ยวข้อง และอาจมีเพิ่มเติม ซึ่งได้เสนอให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและทรัพย์สิน ซึ่งจะตรวจสอบเชิงลึกว่ามีการใช้คนไทยเป็นนอมินีอีกหรือไม่ และโยงใยไปถึงใคร ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งให้ DSI ดำเนินการอย่างเร่งด่วน

สำหรับโทษตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หากพบว่ามีการกระทำผิด จะมีบทลงโทษดังนี้ กรณีคนไทยถือหุ้นแทนชาวต่างชาติ (Nominee) มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ 100,000-1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ,กรณีคนต่างด้าวดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ 100,000-1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจต้องห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลสามารถสั่งให้เลิกกิจการ หรือ เพิกถอนการถือหุ้นได้

อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์เปิดข้อมูล 2 บริษัทที่ถูกตรวจสอบ พบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนเมื่อ 10 ส.ค. 2561 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทสัดส่วนหุ้น: ไทย 51% / จีน 49%ผลประกอบการปี 2566: ขาดทุนสะสม 208,489,056.67 บาท และบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด จดทะเบียนเมื่อ 23 ก.พ. 2554 ทุนจดทะเบียน 1.53 พันล้านบาท สัดส่วนหุ้น: ไทย 20% / จีน 80% ซึ่งขณะนี้ทั้งสองบริษัท ถูกตรวจสอบความเชื่อมโยงกับนิติบุคคลอื่นๆ อีก 37 บริษัท โดย DSI เดินหน้าสืบสวนเพิ่มเติม

ทั้งนี้จากการสอบถามกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ขอมูลว่า บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัดที่มีคนจีนถือหุ้น 80 % เพราะเป็นการผลิตที่ไม่ได้อยู่ภายใต้พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บัญชี 3 ดังนั้นการถือครองหุ้นมากกว่า 49 % จึงสามารถทำได้เพราะเป็นการผลิตสินค้าที่จำหน่ายในประเทศ

อ่านข่าว:

 ขุมทรัพย์ “ไชน่า เรลเวย์” แกะรอยผู้ถือหุ้นจีน-ไทย สร้างอาคารสตง.

"กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์" คว้า 20 โครงการรัฐ มูลค่า 1.2 หมื่นล้าน

“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”

 


"ชาติเอเชีย" งัดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ

Thu, 3 Apr 2025 13:35:00

การประกาศขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ เพื่อปลดแอกประเทศ สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เดิมที่สหรัฐฯ ประกาศจะขึ้น Universal Tariff ไว้ที่ 10-20% แต่เมื่อเปิดออกมากลับกลายเป็นขึ้นภาษีแบบครึ่งหนึ่งของภาษีที่แต่ละประเทศเก็บกับสหรัฐฯ จึงได้เห็นภาพกัมพูชาถูกขึ้นภาษีเกือบ 50%

ขณะที่ประเทศไทยถูกตั้งกำแพงภาษีนำเข้า 36% ส่วนหนึ่งเพราะไทยเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯ 72% แต่ในการพิจารณายังรวมถึงประเด็นอื่นๆ เช่น กฎหมายและสิทธิมนุษยชนด้วย

อ่านข่าว : สะเทือนทั้งโลก "สหรัฐฯ" เคาะตัวเลขภาษีตอบโต้คู่ค้า ไทยโดน 36%

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เปิดรายชื่อประเทศและอัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บ เพื่อตอบโต้ประเทศคู่ค้าทั่วโลก

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เปิดรายชื่อประเทศและอัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บ เพื่อตอบโต้ประเทศคู่ค้าทั่วโลก

รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ยอมรับว่า ขึ้นสูงกว่าที่คาดและเคยประกาศ Universal Tariff ซึ่งการประกาศสูงแบบนี้มีสาเหตุและมีหลักคิด โดยใช้วิธีที่เรียกว่า Maximarism คือตั้งกำแพงสูงมากไว้ก่อน เพื่อบีบให้เจรจาแก้ปัญหาทั้งเรื่องดุลการค้า บีบให้คุยเรื่องมิติอื่นที่นอกเหนือจากการนำเข้า-ส่งออก เช่น การส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน 

และมิติอื่น เช่น การลดข้อกำหนดมาตรฐานและข้อบังคับต่างๆ และบีบให้แก้ปัญหาที่กระทบกับสหรัฐฯ อย่างกรณีเม็กซิโก บีบให้จัดการสินค้ายาเสพติด หรือกับจีน บีบให้แก้ปัญหา TiKTok เป็นต้น

การตั้งกำแพงสูงเพื่อบีบให้เจรจา ท้ายที่สุดสหรัฐฯ อาจจะลดภาษีลงมาครึ่งหนึ่งจากที่ตั้งไว้ เช่นของไทย 36% ก็อาจจะลงมาที่ 15-18% ได้เช่นกัน

สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีในลักษณะที่สูงไว้ก่อนหรือ Maximarism และดำเนินไปสู่การเจรจา เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เขาใช้ แต่การเจรจาไม่ได้เจรจามิติเดียว แต่เป็นการเจรจาด้วยมิติต่างตอบแทน คือด้านหนึ่งแก้ปัญหาเรื่องดุลการค้าด้วยการนำเอาบริการพวกไอทีหรือเทคโนโลยีด้านต่างๆ ของสหรัฐฯ กลับเข้ามามาก รวมทั้งมิติทางด้านความมั่นคงด้วย

ประเทศไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯ ในลำดับต้นๆ คือลำดับ 10 ดังนั้นจึงได้เห็นว่ารัฐบาลพยายามวางแผนรับมือ แต่ก็มองกันว่าช้าไปหรือไม่ที่เป็นแบบนั้น เพราะหลายประเทศในเอเชียมีการลงมือทำเพื่อป้องกันผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ไปแล้ว

"อินเดีย" เกินดุลอันดับ 11 สิ่งที่ทำแล้วคือ นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือน ก.พ. และได้ข้อตกลงว่าจะซื้อพลังงานและอาวุธนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าเพิ่มการค้ากับสหรัฐฯ เป็น 2 เท่าที่ 500,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 16.79 ล้านล้านบาท ภายในปี 2030 และจะลดภาษีที่ทรัมป์มองว่าไม่เป็นธรรม เช่น ภาคยานยนต์ สิ่งทอ เครื่องหนัง เภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และภาคการเกษตร

"ญี่ปุ่น" เกินดุลอันดับ 7 นายกฯ ญี่ปุ่นไปพบทรัมป์และประกาศจะเพิ่มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐฯ อีกทั้งยังกล่าวถึงแผนการลงทุนในสหรัฐมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะสร้างงานในสหรัฐฯ อีกหลายตำแหน่งผ่านการตั้งโรงงานผลิตของโตโยตา มอเตอร์ และอีซูซุ มอเตอร์ รวมทั้งจะเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก เช่น พลังงาน เหล็กและปัญญาประดิษฐ์ (AI)

อ่านข่าว : นายกฯ ยันมีแผนรับมือสหรัฐรีดภาษี 36% ไม่ต้องห่วงเชื่อต่อรองได้

"ไต้หวัน" เกินดุลอันดับ 6 บริษัท TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ ประกาศจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปในสหรัฐฯ เพิ่มอีก 5 แห่ง

"เกาหลีใต้" เกินดุลอันดับ 8 ก็เตรียมจะเพิ่มภาษีเหล็กนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งอาจจะเรียกเก็บภาษีเหล็กแผ่นรีดร้อนจากจีน 38% และส่งหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน เข้าไปเจรจาหารือกับผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ แล้ว

"เวียดนาม" เกินดุลอันดับ 3 เตรียมตัวรองรับฐานการผลิตที่จะกระจายเข้ามาในพื้นที่ รองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จะเพิ่มมูลค่าการผลิตภายในประเทศ มอบเงินอุดหนุนสูงสุด 50% ของมูลค่าโครงการให้แก่โครงการลงทุนวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร พิจารณานำเข้าสินค้าเกษตร เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์ ก๊าซธรรมชาติเหลวและเภสัชภัณฑ์จากสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น และยังออกใบอนุญาตเปิดทางให้สตาร์ลิงก์ (Starlink) ของอีลอน มัสก์ ให้บริการอินเทอร์เน็ตในเวียดนาม

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าจะลดภาษีรถยนต์ลงเหลือ 32% จากเดิม 64%, ลดภาษีก๊าซ LNG เหลือ 2% จาก 5%, ลดภาษีเอธานอลเหลือ 5% จาก 10% และจะลดนำเข้าสินค้าเกษตรจำพวกไก่แช่เแข็ง อัลมอนด์และเชอรี่

หลายประเทศในแถบเอเชียดำเนินการล่วงหน้าไปแล้ว จึงต้องกลับมาพิจารณาวิธีรับมือของไทย ซึ่งสหรัฐฯ ได้แบ่งเทียร์ประเทศที่จะตอบโต้ทางภาษี อย่างเทียร์แรกมีทั้ง จีน เม็กซิโก แคนาดา อินเดีย เวียดนาม สหภาพยุโรป โดยประเทศกลุ่มนี้มีการเจรจาและมีการรับมือเชิงรุกไปแล้ว แต่สำหรับไทยก็มีหลายอย่างที่ทำได้ แต่ต้องเร็ว เพราะสหรัฐฯ ประกาศจะใช้ภาษีใหม่ในวันที่ 9 เม.ย.นี้

             "รัฐบาลคงเตรียมในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างสินค้าบางอย่างที่ถูกเล่นงานหนัก เช่น สินค้าเกษตร อาจเป็นตัวที่ช่วยได้ เพราะสินค้าเกษตรต่างๆ ถ้าถูกเล่นงานจะมีประเด็นปัญหาอย่างเรื่องข้าวโพด ถั่วเหลือง ซึ่งสินค้าเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่เราสามารถต่อสู้ได้ในระดับหนึ่ง และรัฐบาลคงพร้อมที่จะผ่านปรนในการนำเข้า ตั้งแต่เรื่องน้ำมัน แก๊ส หรือเครื่องมือต่างๆ

สิ่งที่ตั้งกำแพงภาษีไว้มีจุดประสงค์อย่างหนึ่งคือ นำเอาการลงทุนไปลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งหากเรามีการพูดคุยกับเอกชนและมีโครงการที่จะไปลงทุนในสหรัฐฯ ก็นำมาเจรจรได้ หรืออีกมิติคือเรื่องการผ่อนปรนทางด้านกฎหมาย ซึ่งไทยมีกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อบริษัทอเมริกัน คือให้เอาบริษัทอเมริกันถือครองได้ 100% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง" รศ.สมชาย กล่าว

อ่านข่าว

นายกฯ เตรียมข้อเสนอปรับดุลการค้ากับสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯปรับขึ้นภาษีนำเข้า 36%

ทรัมป์ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"


อย่าลืม "ยื่นภาษี" วันสุดท้าย 8 เม.ย.นี้

Thu, 3 Apr 2025 13:24:00

วันนี้ (3 เม.ย.2568) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ใกล้สิ้นสุดกำหนดเวลาการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91 ประจำปี 2567 ซึ่งวันที่ 8 เม.ย.2568 เป็นวันสุดท้าย

สำหรับช่องทางการยื่นแบบออนไลน์ ผ่านทาง www.rd.go.th (ระบบ D-MyTax) e-Filing หรือแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยหลังจากยื่นแบบฯ ยังมีขั้นตอนสำคัญ เช่น การอัปโหลดเอกสารประกอบ (กรณีที่ต้องยื่นเพิ่มเติม), การตรวจสอบสถานะเงินคืนผ่านพร้อมเพย์, การผ่อนชำระภาษีสำหรับผู้ที่ต้องการแบ่งจ่าย รวมทั้งการตรวจสอบย้อนหลังจากกรมสรรพากร

ทั้งนี้ วิธีตรวจสอบสถานะคืนภาษี ผู้เสียภาษีสามารถติดตามความคืบหน้าของการพิจารณาคืนภาษีได้ด้วยตนเองผ่านทาง www.rd.go.th (ระบบ D-MyTax) เช็กเงินคืนภาษีทำได้ผ่านเว็บไซต์และมือถือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ เข้าเว็บไซต์ rd.go.th เลือกระบบ Digital MyTax (D-MyTax), เข้าสู่ระบบด้วย RD ID พร้อมรหัส Laser ID จากด้านหลังบัตรประชาชน, เลือกเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลที่ลงทะเบียนไว้เพื่อรับ OTP, กรอก OTP เพื่อยืนยันตัวตน 5) เลือก “ติดตามสถานะขอคืน/นำส่งเอกสาร”

นายอนุกูล กล่าวว่า ระยะเวลาการดำเนินการคืนภาษีหากไม่ติดเกณฑ์ตรวจสอบ ผู้ยื่นแบบภาษีจะได้รับเงินผ่านพร้อมเพย์ภายใน 3-5 วันทำการ แต่หากติดเกณฑ์ตรวจสอบผู้ยื่นแบบภาษี เจ้าหน้าที่จะติดต่อขอเอกสารเพิ่มเติม โดยสามารถอัปโหลดไฟล์ข้อมูลผ่านระบบ D-MyTax และส่งทางไปรษณีย์ หรือโทรสารตามที่อยู่ในใบนำส่งเอกสาร

ทั้งนี้ กรมสรรพากร เปิดให้ผ่อนชำระได้ถึง 3 งวด โดยไม่คิดดอกเบี้ยและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ครอบคลุมทั้งผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ภายใต้เงื่อนไข คือ มีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป (ทั้งภาษีครึ่งปี และภาษีสิ้นปี) โดยขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวด เท่า ๆ กัน สามารถติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบ บ.ช.35 จำนวน 1 ชุด (กรณียื่นแบบกระดาษ) หรือขอผ่อนชำระผ่านทางเว็บไซต์สรรพากร (กรณียื่นภาษีออนไลน์)

ปีภาษี 2567 ขณะนี้เหลือเพียงการยื่นแบบออนไลน์เท่านั้น ซึ่งจะหมดเขตในวันที่ 8 เม.ย.นี้ ขอย้ำเตือนให้ผู้มีเงินได้ทุกคนรีบดำเนินการยื่นภาษีให้เรียบร้อย ภายในกำหนดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและบทลงโทษทางกฎหมาย


ส่งออก "ข้าวหอมมะลิไทย" สะเทือน สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย 37%

Thu, 3 Apr 2025 12:17:00

วันนี้ ( 3 เม.ย.2568) นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หลังจากทราบผลประกาศที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าหลายประเทศเพิ่มขึ้น โดยประเทศไทยถูกเรียกเก็บสูงถึง37% ถือได้ว่าสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ซึ่งจากการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้ในส่วนของการส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยที่มีสัดส่วนในตลาดสหรัฐปี 2567 สูงกว่า 850,000 ตัน จากปกติเฉลี่ยตันละ 900-1,000 เหรียญ แต่เมื่อถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 37% จะทำให้ราคาข้าวหอมมะลิไทยในตลาดสหรัฐขึ้นเป็น 1,400 เหรียญทันที

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายชูเกียรติกล่าวอีกว่า ราคาข้าวหอมมะลิไทย ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับข้าวหอมเวียดนามที่มีการนำเข้าเฉลี่ยต่อปี 40,000 ตันเท่านั้น แม้เวียดนามจะถูกเรียกเก็บภาษีสูงกว่าไทยอยู่ที่ 46% แต่ราคาข้าวหอมเวียนนามเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 600-700 เหรียญเท่านั้น ทำให้ผู้บริโภคน่าจะลดการซื้อข้าวหอมมะลิไทยและหันไปซื้อข้าวหอมเวียดนานแทนก็ได้

อยากให้หน่วยงานภาครัฐเร่งหาทางช่วยเหลือหรือเจรจากับสหรัฐเป็นการเร่งด่วน เพื่อลดผลกระทบให้กับภาคเอกชนต่างๆด้วย เพราะ หากดูปริมาณการนำเข้าข้าวหอมมิลิในตลาดสหรัฐในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากมีกระแสข่าวที่จะเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในหลายประเทศ ทำให้ผู้ค้าข้าวในตลาดสหรัฐนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยไปแล้วกว่า 100,000 ตัน

อย่างไรก็ตามคงต้องมาติดตามดูว่าจะเรียกเก็บภาษีทันทีเมื่อใด ซึ่งภาคเอกชนขอดูผลกระทบต่างๆก่อน

อ่านข่าว:

 กกร. ชี้ ทรัมป์ขึ้นภาษี ฉุด GDP ร่วง 0.2-0.6%

ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA" 

"ทรัมป์" ป่วนโลกขึ้นภาษีสินค้า "จีน-ไทย" การ์ดสูง รับมือรอบด้าน


สรุปราคาทองคำ 2 เม.ย.2568 ผันผวน 18 ครั้ง GOLD SPOT ยังทำ All-time high

Wed, 2 Apr 2025 17:41:40

วันนี้ (2 เม.ย. 2568) ราคาทอง ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ผันผวน 14 ครั้ง ราคาทองโลกกลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในภาคเช้า จากความกังวลต่อนโยบายภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ที่จะประกาศออกมาในคืนนี้ ขณะที่สงครามภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางกลับมาระอุขึ้นอีกครั้ง GOLD SPOT ยังทำ All-time high ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ที่ 3,128.50 ดอลลาร์ เปรียบเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ เว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 16.18 น. “ทองรูปพรรณ”ในประเทศ ร้านทองขายออก 51,400 บาททองคำ “ทองคำแท่ง” ขายออกทะลุ 50,600 บาททองคำ

สรุปราคาทองคำ วันที่ 2 เม.ย. 2568

ครั้งที่ 14 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 13 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 12 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 11 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,450 บาท
• ขายออก บาทละ 50,550 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,542.88 บาท
• ขายออก บาทละ 51,350 บาท

ครั้งที่ 10 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,400 บาท
• ขายออก บาทละ 50,500 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,497.4 บาท
• ขายออก บาทละ 51,300 บาท

ครั้งที่ 9 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,350 บาท
• ขายออก บาทละ 50,450 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,436.76 บาท
• ขายออก บาทละ 51,250 บาท

ครั้งที่ 8 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,300 บาท
• ขายออก บาทละ 50,400 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,391.28 บาท
• ขายออก บาทละ 51,200 บาท

ครั้งที่ 7 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,350 บาท
• ขายออก บาทละ 50,450 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,436.76 บาท
• ขายออก บาทละ 51,250 บาท

ครั้งที่ 6 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,300 บาท
• ขายออก บาทละ 50,400 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,391.28 บาท
• ขายออก บาทละ 51,200 บาท

ครั้งที่ 5 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,350 บาท
• ขายออก บาทละ 50,450 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,436.76 บาท
• ขายออก บาทละ 51,250 บาท

ครั้งที่ 4 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,400 บาท
• ขายออก บาทละ 50,500 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,497.4 บาท
• ขายออก บาทละ 51,300 บาท

ครั้งที่ 3 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,450 บาท
• ขายออก บาทละ 50,550 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,542.88 บาท
• ขายออก บาทละ 51,350 บาท

ครั้งที่ 2 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 1 บวก 50 บาท

ทองแท่ง

• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ

• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

อ่านข่าว:

สรุปราคาทองคำ 1 เม.ย.2568 ปรับขึ้น 550 บาท ผันผวน 18 ครั้ง

สรุปราคาทองคำ 31 มี.ค. 2568 ปรับขึ้น 450 บาท ผันผวน 18 ครั้ง

ราคา “ทองแท่ง” ทะลุ 5 หมื่นบาท ทำ All-time high 18 ครั้งในปีนี้


ลุยค้น "ซิน เคอหยวน สตีล" สอบปมเหล็กข้ออ้อยโผล่ตึกสตง.ถล่ม

Wed, 2 Apr 2025 16:57:05

กรณีกรมโรงงานอุตสาหกรรมนำเหล็กจากโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 6 ประเภททั้งเหล็กกลม และเหล็กข้ออ้อย 3 ยี่ห้อ จากการตรวจสอบเมื่อวานพบว่ามีเหล็ก 2 ขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน คือเหล็กไซส์ 20 และ 32 มาจากยี่ห้อเดียวกัน

วันนี้ (2 เม.ย.2568) เจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจสอบ บริษัท ซิน เคอหยวน สตีล จำกัด ในพื้นที่อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เพื่อหาหลักฐานหลังพบเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ในซากอาคารสตง.ที่ถล่ม โดยเริ่มเข้าตรวจสอบตั้งแต่เวลา 10.00 น. แต่จนถึงขณะนี้ยังรอข้อสรุป เนื่องจากจ้าหน้าที่ ต้องตรวจสอบในหลายประเด็น

ภายในโกดังเก็บเหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มิลลิเมตร เป็นจุดแรก ที่เจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เข้าทำการตรวจสอบ

อ่านข่าว จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม

น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม

น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม

สำหรับโกดังดังกล่าว ถูกอายัดไว้ ตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังตรวจพบ เหล็กไม่ผ่านมาตรฐาน ในรายการองค์ประกอบทางเคมีธาตุโบรอน และวันนี้ เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่า หลังมีคำสั่งอายัดแล้ว มีการเคลื่อนย้ายหรือลักลอบนำไปจำหน่ายหรือไม่

ทั้งนี้ การตรวจสอบ ยังรวมถึงเหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มิลลิเมตร และขนาด 25 มิลลิเมตร ที่ถูกยึดอายัดพร้อมกันรวม 44,325 เส้น มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท

อ่านข่าว ดีเอสไอรับคดีตึก สตง.ถล่มเป็นคดีพิเศษ ชี้ความผิดนอมินีชัดสุด

สำหรับการเข้าตรวจในวันนี้ น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เป็นการขยายผลจากการตรวจตัวอย่างเหล็ก ที่เก็บจากอาคาร สตง.ที่ถล่ม และตรวจพบว่า เหล็กขนาด 20 มิลลิเมตร และ 32 มิลลิเมตรที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มีที่มาจากบริษัทแห่งนี้

มาตรวจว่าของกลางยังอยู่หรือไม่ เช็กสต็อกว่าเหล็กที่ไปปรากฏที่ สตง.ขายไปจำนวนเท่าไร่ ล็อตไหน ช่วงเวลาผลิต และจะมีกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีการลักลอบประกอบกิจการหรือไม่แต่แนวโน้มบิลค่าไฟลดลง แต่จะขอย้อนหลังของเดือน มี.ค. 

นอกจากตรวจสอบของกลางที่เคยอายัดไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เจ้าหน้าที่ยังตรวจสอบการจำหน่ายเหล็กข้ออ้อยก่อนหน้านี้ ว่า เคยส่งขายไปที่ใดบ้าง รวมไปถึง เหล็กที่จำหน่ายให้กับโครงการก่อสร้างอาคาร สตง.มีทั้งหมดกี่ล็อต

อ่านข่าว โจทย์หิน! กำจัดซากปรักหักพังแผ่นดินไหว

เอกชนยันคุณภาพเหล็ก ออกจากโรงงานยันถึงไซต์ก่อสร้างได้มาตรฐาน

เอกชนยันคุณภาพเหล็ก ออกจากโรงงานยันถึงไซต์ก่อสร้างได้มาตรฐาน

ตัวแทนบริษัทซิน เคอ หยวน สตีล ระบุว่า แม้จะมีผลสอบออกมาแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบว่า เหล็กตัวอย่างที่ไม่ผ่านการทดสอบอยู่ที่จุดไหนของอาคาร และใช้เหล็กของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล สัดส่วนเท่าไหร่

การนำเหล็กเส้นออกขายตลาด จะมีการตรวจสอบตั้งแต่ออกจากเตาผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพทุกเตา จากนั้นเอเย่นจะตรวจสอบอีกรอบก่อนส่งไปพ่อค้าคนกลางและขายให้ไซต์งาน ตามกระบวนการต้องตัดและทดสอบว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ถ้าได้ถึงจะนำไปใช้งานได้

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ เจ้าหน้าที่ยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่มีข้อสรุป ว่า เหล็กที่อายัดไว้ก่อนหน้านี้ มีการเคลื่อนย้ายหรือลักลอบนำไปขายหรือไม่ และขายไปที่ใดบ้าง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการสรุปข้อมูลอีกครั้ง ภายในช่วงเย็นของวันนี้ 

อ่านข่าว

"เอกนัฏ" ตรวจซ้ำ รง.เหล็ก ต้นตอตึก สตง.ถล่ม ระบุทีมถูกข่มขู่-วิ่งเต้น

 


กกร. ชี้ ทรัมป์ขึ้นภาษี ฉุด GDP ร่วง 0.2-0.6%

Wed, 2 Apr 2025 16:24:00

วันนี้ ( 2 เม.ย.2568) นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นประธาน กกร.กล่าว ว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มองว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญหลายปัจจัยที่อาจทำให้ GDP ปี 2568 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 2.4-2.9% ซึ่งแม้ จะรวมผลกระทบบางส่วนจากมาตรการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ไว้แล้ว แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนถึงขนาด และขอบเขตของมาตรการภาษีที่จะประกาศในคืนนี้ (ตามเวลาสหรัฐ) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ GDP มากขึ้นอีก 0.2-0.6%

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ในฐานะเป็นประธาน กกร.

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นประธาน กกร.

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังอาจถูกกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวช้า และเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดในกรุงเทพฯ รวมทั้งบางจังหวัดในภาคเหนือของไทย ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งจากภายใน

โดยดำเนินการผ่าน นโยบายระยะสั้น มุ่งลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนภายนอก ปรับกรอบนโยบายมหภาคให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายระยะยาว มุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่าง ๆ และยกระดับขีดความสามารถภาครัฐ

ทั้งนี้ กกร. ยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ ไว้ในระดับเดียวกับที่เคยประเมินเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยคาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะโตได้ 2.4-2.9% การส่งออก ขยายตัว 1.5-2.5% และเงินเฟ้อ 0.8-1.2%

จับตามาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กระทบส่งออกไทย ไทยถือเป็นประเทศเป้าหมายหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนต่างอัตราภาษีศุลกากรและการเกินดุลกับสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง ธุรกิจอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมี ของไทย อาจเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากนโยบาย Reciprocal Tariffs ของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมผ่านคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง นอกจากนี้ ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาไทยอาจรุนแรงขึ้น รวมถึงสินค้าจากสหรัฐฯ ที่ไทยอาจต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นหลังการเจรจาการค้า
นอกจากนี้ กกร.ขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้

ขณะนี้เป็น Moment of opportunity ในการสร้างความเชื่อมั่นท่ามกลางความไม่แน่นอนรอบด้าน จากทั้งเรื่องของสงความการค้า และเหตุแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้น โดยร่วมกันบูรณาการความร่วมมือ ทั้งในส่วนกระบวนงานของส่วนราชการและองค์กรภาคเอกชนที่ควรมีการปฏิรูป โดยให้ความสำคัญกับการมีข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ประกอบการพิจารณาแผนการรับมือและการจัดการกับปัญหา

ทั้งนี้ เห็นว่า ควรใช้โอกาสที่มีการสำรวจความปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างจากเหตุแผ่นดินไหว เปิดเผยข้อมูลการสำรวจอย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากต่างประเทศ

 อ่านข่าว:

หอการค้าไทยจี้รบ.ตั้งทีมพิเศษ รับมือทรัมป์2.0 หวั่นกระทบ ศก.ไทยทรุดรุนแรง

ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"

"ทรัมป์" ป่วนโลกขึ้นภาษีสินค้า "จีน-ไทย" การ์ดสูง รับมือรอบด้าน 


"สุริยะ" ลั่นไฮสปีดไทย-จีนเฟส 2 ไทยคุมงานเอง-ตรวจสอบทั้งระบบ

Wed, 2 Apr 2025 16:21:45

ภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 32 (JC) เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ระหว่างวันที่ 1-2 เม.ย.2568 โดยเป็นการประชุมรูปแบบออนไลน์

วันนี้ (2 เม.ย.2568) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยฝ่ายจีนได้เร่งรัดเนื่องจากการก่อสร้างมีความล่าช้า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน

จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาและก่อสร้างภายในปี 2568 เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ กับ สปป.ลาวและจีน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้อีก 4 ข้างหน้าหรือปี 2572

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. กรอบวงเงิน 341,351.42 ล้านบาท ก่อนหน้านี้ทางการจีนเสนอว่าจะเป็นผู้ตรวจแบบก่อสร้าง และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจแบบการก่อสร้างตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงจีน โดยเจรจาวงเงินมาอยู่ที่ วงเงิน 250 ล้านบาท

ฝ่ายไทยจะควบคุมงานก่อสร้าง ออกแบบและตรวจแบบเองทั้งหมด โดยจะใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% ตรวจสอบทั้งระบบ ซึ่งเชื่อมั่นความสามารถของวิศวกรไทย เป็นไปตามมาตรฐานสากลและฝ่ายจีนยอมรับได้

นอกจากนี้ได้สั่งการให้ รฟท. และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดียวกับกรณีตึก สตง.ถล่ม

ทั้งนี้ การประกวดราคาเฟส 2 จะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่าเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

ส่วนประเด็นเรื่องการประมูลที่บริษัทที่เป็นนอมีนีจีน มักจะเลี่ยงการตรวจสอบ โดยการจัดตั้งบริษัทในรูปแบบกิจการร่วมค้า นายสุริยะ ยืนยันว่า จะดำเนินการโดยใช้ผู้รับเหมาไทยทั้งหมด และหลังจากนี้จะตรวจสอบเข้มข้นเพื่อจะได้ไม่เกิดลักษณะที่ใช้ช่องโหว่เข้ามา

            "ยืนยันว่าโครงการรถไฟไทย-จีน ไม่ได้เป็นประกาศประกวดราคานานาชาติ ซึ่งโครงการนี้ CREC NO.10 เข้ามาร่วมในรูปแบบกิจการร่วมค้า หากดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างก็สามารถเข้ามาได้ตามกฎหมาย แต่หลังจากนี้หากกรมบัญชีกลางออกระเบียบเงื่อนไขการก่อสร้าง เช่น หากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็จะมีกฎเกณฑ์ขึ้นแบบแบล็กลิสต์"

นายสุริยะ ยังชี้แจงประเด็นเรื่องเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หากผู้ผลิตที่ขายสินค้าอยากจะได้มาตรฐานก็ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ สมอ.และจะมีการสุ่มตรวจว่าโรงงานทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่

ส่วนกรณีที่เกิดเหตุ สมอ. ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ได้มาตรฐาน แต่เป็นการตรวจช่วงหลังแล้ว จึงได้หารือกับ รมว.อุตสาหกรรม ว่าจำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น ซึ่งกรณีนี้มีการทำแบล็กลิสไปแล้ว แต่แอบมาเปิดใหม่ โดยหลังจากนี้จะตรวจสอบอย่างเข้มงวดมากขึ้น

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศ 100% โดยเฉพาะเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง จะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพทุกขั้นตอน ส่วนขั้นตอนการควบคุมงานก่อสร้างของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะที่ 1 มีมาตรฐานสูง ก่อนจะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้จะต้องทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทยคือการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด

ขณะเดียวกันเมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ รวมถึงสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทดสอบตามข้อกำหนด อีกทั้งผู้ควบคุมงานจะสุ่มตรวจจำนวนและขนาดเหล็กก่อนเทคอนกรีตด้วย

ตั้งแต่ตอนเริ่มก่อสร้างจะตรวจสอบวัสดุ โดยเฉพาะเหล็กเป็นของทาทาสตีล ซึ่งเป็นสเปกที่อยู่ในสัญญา เพราะฉะนั้นไม่มีเหล็กคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน

ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจ ทีมวิศวกรและบริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องโครงสร้างและเก็บตัวอย่าง พร้อมขอความร่วมมือสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยตรวจสอบ คาดว่าจะได้ผลภายใน 2 วัน

ผู้ว่าการรถไฟฯ ยังกล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2572 โดยยืนยันว่าดำเนินการบนมาตรฐานที่สูง ขณะที่โครงสร้างเหล็กต่างๆ มีมาตรฐานระดับสากล และได้รับรายงานว่าโครงการนี้ใช้เหล็กของบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อีกทั้งการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ได้ทำการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหว

ขณะที่การตรวจสอบสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348 ล้านบาท โดยมีผู้รับจ้างเป็น บจ.กิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10 ขณะนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็ก รวมถึงวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ ดำเนินการตรวจสอบแล้วและคาดว่าจะทราบผลภายใน 2 วัน

อ่านข่าว

จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม

เปิด 13 โครงการรัฐไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ชนะประมูล

นักวิชาการจับตา “3 รอยเลื่อน” ชี้กระทบแรง เพราะกรุงเทพฯ เป็นแอ่งดินอ่อน


ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"

Wed, 2 Apr 2025 14:58:00

วันนี้ (2 เม.ย. 2568) นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา พร้อมตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เตรียมพร้อมรับมือนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาซึ่งจะประกาศมาตรการทางการค้าที่ตอบโต้ภาษีกับคู่ค้าสหรัฐ โดยคณะทำงานได้มีการเตรียมประชุมและทำแผนการเจรจาเชิงรุกร่วมภาครัฐกับภาคเอกชนไว้แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา

เนื่องจากผ่านมาสหรัฐได้ประกาศใช้มาตราการด้านภาษี 4 รูป ประกอบด้วย มาตราการขึ้นภาษีรายประเทศ มาตราการขึ้นภาษีเป็นรายสินค้า ,ขึ้นภาษีกับกลุ่มประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ก่อปัญหาด้านยาเสพติด การอพยพเข้าเมืองและ ขึ้นภาษีตอบโต้รายประเทศ

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและไทย เนื่องจากมีสัดส่วนการค้าการโลก 20 % และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย แต่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ซึ่งการเพิ่มภาษีในรอบแรกไทย สินค้าที่ได้รับผลกระทบล็อตแรก คือ กลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียม ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา เหล็กขึ้นจากภาษี 0 -12.5 % เป็น 25 % อลูมิเนียมจาก 0-6.25. % เป็น 25 %

สหรัฐฯเก็บภาษีคู่แข่งในทุกประเทศ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก และยังส่งได้ตามปกติเพียงแต่ชะลอลง เพราะเป็นสินค้าสหรัฐฯ จำเป็นต้องนำเข้า ส่วนกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จากเดิม 0-4.9 % เป็น 25 % ซึ่งจะมีผล 3 เม.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นภาษีไทยอีก 2-3 รายการ คือ สินค้ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ อาจปรับภาษีนำเข้าเป็น 25 % , ยา ,ไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ไทยจะถูกเก็บภาษีตอบโต้จากสหรัฐ ฯ ในการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าให้เท่าที่ไทยเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ

หากสหรัฐ ฯ ขึ้นภาษีเท่ากับไทยเก็บในกลุ่มอุตสาหกรรมและเกษตร 10% คาดว่าทำให้ไทยเสียหาย 7,000-8,000 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น ข้าว กุ้งแปรรูป ยางล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์

สำหรับแนวทางการเจรจานั้นที่ผ่านมาคณะทำงานได้เดินทางเข้าพบยูเอสทีอาร์ สภาคองเกรส เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอนแนะตามขั้นตอนที่สหรัฐเปิดรับความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ลงทุน ผู้นำเข้าจากทุกประเทศรวมทั้งไทยเพื่อให้ขี้แจงข้อมูล

ปรับลดภาษี-เพิ่มนำเข้าสินค้าเกษตร แก้ขาดดุลการค้า

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไทยอาจจะใช้แนวทางในการปรับลดภาษีนำเข้าและเพิ่มปริมาณนำเข้าเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ เศษเนื้อ และเครื่องใน สุรา และเครื่องบิน โดยอาจประสานให้บริษัทการบินไทยเช่าหรือซื้อจากสหรัฐฯ แทน

อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอาจไม่สามารถลดการขาดดุลการค้าที่สูงถึง 30,000-40,000 ล้านดอลลาร์กับไทยได้ ดังนั้นจะต้องทำทุกมิตินอกเหนือจากการค้า เพราะต้องมองในเรื่องของการลงทุน หุ้นส่วนทางพันธมิตร รวมทั้งต้องมีการสร้างเสถียรภาพการค้าเพื่อลดการขาดดุล

รัฐบาลสนับสนุนให้ไทยเข้าไปลงในสหรัฐเพื่อสร้างการจ้างานในสหรัฐมากขึ้น โดยเน้นในรัฐที่ทรัมป์ให้ความสำคัญ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหาร และพลังงาน พร้อมเข้าไปลงทุนในสหรัฐ

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังมีข้อกังวลในเรื่องการย้ายฐานการผลิตบางประเทศมายังไทยทำให้เกิดการสวมสิทธิสินค้าไทยไปสหรัฐ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ขึ้นบัญชีสินค้าที่เสี่ยงสวมสิทธิประเทศไทยแล้ว 49 รายการ โดยเฉพาะเหล็ก ผลิตภัณฑ์จากจีน

อย่างไรก็ตาม ไทยเตรียมรับมือผลกระทบและมาตราการเยียวผลกระทบกับผู้ประกอบการ โดยวางเป้า 2 แนวทาง คือ การเยียวยาเร่งด่วนทั้งผู้ประกอบ เอสเอ็มอี เช่น ลดดอกเบี้ย เข้าแหล่งเงินทุนมากขึ้น ส่วนในระยะยาวต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับประเทศต่างเสร็จโดยเร็ว โดยเอฟทีเอไทยอียูจะเสร็จในปีนี้แน่นอน เพื่อชดเชยการถูกต้อบโต้ภาษีจากสหรัฐ

การเตรียมรับมือและเจรจาคณะทำงานคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและความเสียหายกับประเทศให้น้อยที่สุด โดยยึดหลักประโยชน์ร่วมกัน 2 ฝ่าย สร้างสมดุลทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งจะเสนอแผนเจรจาให้นายกฯเป็นคนตัดสินใจ

นายสมภพ พันธนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ไทยกับสหรัฐมีความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งในเรื่องการนโยบายพลังงาน และการโอกาสด้านการลงทุน โดยในปี2567 ไทยได้นำเข้าน้ำมันนำเข้าน้ำมันดิบ ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมเหลว มูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์

ล่าสุดลงนามนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี 1 ล้านตันต่อปี รวมระยะเวลา 15 ปี รวมมูลค่า 7,500พันล้านดอลลาร์นอกจากนี้ปตท.ยังมีการลงทุนในสหรัฐ 1,200 ล้านบาทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ล่าสุดได้มีการพบว่าหารือผู้ว่าการรัฐอลาสก้า โดยไทยสนใจเข้าลงทุนในอุตสากรรมก๊าซเอลเอ็นจี

ปธ.สภาอุตฯ หวั่นจีน สวมสิทธิ์ "สินค้าไทย" ส่งออกสหรัฐฯ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป้าหมายของทรัมป์ในการขึ้นภาษี เพื่อต้องการดึงการลงทุนและการจ้างงานกลับคืน ซึ่งปีที่ผ่านมาไทยเกินดุลสหรัฐเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ที่อันดับ 11 ของโลก คาดอุว่าตสาหกรรมที่เกินดุลมากก็จะได้รับผลกระทบ เช่น เหล็ก และอะลูมินัมที่โดนขึ้นภาษีไปก่อนแล้ว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นอกจากนี้จะมีการขึ้นภาษีแบบเจาะจง ซึ่งจะทำให้กลุ่มยานยนต์ และชิ้นส่วนรับผลกระทบเพิ่มอีก ซึ่งภาคเอกชนเตรียมแผนรับมือ รวมถึงต้องเตรียมข้อมูลชี้แจงด้วยว่าการเกินดุลบางส่วนก็มาจากการที่สหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทย และส่งออกกลับไปสหรัฐ เช่น อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็ยังเกินดุลไทยหลายส่วน โดยเฉพาะธุรกิจบริการออนไลน์ ดาต้าเซอร์วิส รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ สอท.เป็นห่วงคือ สินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนเข้ามาสวมสิทธิสินค้าไทยเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นนี้สหรัฐฯ มีการจับตาค่อนข้างมาก อีกทั้งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่ไทยมีการส่งออกไปสหรัฐเพิ่มไปมากขึ้นเยอะซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเร่งนำเข้าก่อนใช้มาตรการภาษี แต่สิ่งที่สวนทางคือดัชนีการผลิตในประเทศที่ลดลง และสอดคล้องตัวเลขนำเข้าจากจีนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการนำสินค้าจีนเข้ามาเพื่อใช้สิทธิส่งออก หรืออาจนำวัตถุดิบมาผลิต แต่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 10-20% แต่ใช้วัตถุดิบจากจีนถึง 70-80 %

ตัวเลขที่น่าสนใจการนำเข้าจากจีนยังเพิ่มต่อเนื่อง โดยเฉพาะเดือนม.ค.2568 เพิ่มถึง 20% โดยเฉพาะเหล็ก ยางรถยนต์ สอท.จึงร่วมกับสมาชิกตั้งทีมติดตามดูอย่างใกล้ชิด พร้อมตั้งแพลตฟอร์ม FTI EYE เพื่อรับแจ้งข้อมูล หากพบพฤติกรรมดังกล่าว และเร่งนำมาแก้ไขให้ทันท่วงที

หอการค้า จี้เพิ่มนำเข้า "สินค้าสหรัฐ"เร่งเจรจา FTA

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ทรัมป์ มีนโยบายมีชัดเจนการขึ้นภาษีกับประเทศที่ได้หนุนการค้ากับสหรัฐ รวมถึงเรื่องดึงการลงทุนเข้าไปในสหรัฐ หากพิจารณามูลค่าการค้าเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรและอาหาร พบว่า ไทยเกินดุลสหรัฐฯ 142,654 ล้านบาท โดยไทยเป็นผู้ส่งออกเกษตรอาหารอันดับที่ 11 ของโลกและไทยยังไทยยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย

ดังนั้น ไทยควรพิจารณาเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหาร และพลังงาน เพื่อลดความกดดันด้านดุลการค้า รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโควต้าภาษีนำเข้าของไทยกับสหรัฐฯ ให้มีจุดยืนที่เป็นธรรมและสมดุล (Fair and Balance Postion) ในการเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สำคัญในการลดแรงกดดันทางการค้าจากสหรัฐฯ คือ การเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่จำเป็นจากสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีจุดยืนที่ดีขึ้นในการเจรจาต่อรอง

ทั้งนี้ ทางหอการค้าฯ มีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ กับทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้มีสินค้าต่างประเทศทะลักเข้าสู่ตลาดอาเซียนรวมถึงไทย สร้างแรงกดดันต่อการส่งออกของไทยและผู้ประกอบการไทยในทุกระดับต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

และขอเสนอให้รัฐบาลพิจารณาการนำเข้าสินค้ากลุ่มต่างๆ ที่จะไม่กระทบต่อคู่ค้าและเกษตรกรภายในประเทศ เช่น พืชอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง) ที่ผ่านมาไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและหมอกควัน

สินค้าอาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอนแช่แข็ง หอยเซลล์ และปลาทูน่าจากเรือชักธงสหรัฐฯซึ่งไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปภายในประเทศ สินค้าประเภทสุราและเครื่องดื่มแอลถอฮอลล์ (Whisky & Wine) รวมถึงเครื่องในสัตว์ เพื่อนำมาผลิตและแปรรูปในอุดสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ทำเป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยมเพื่อส่งออกหอการค้าฯ มองว่านโยบายภาษีของสหรัฐฯ จะทำให้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของโลกเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง

ปัจจุบันประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่นได้ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคกันแล้ว อีกทั้งสหภาพยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับแคนาดาในการเปิดตลาดกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ทางหอการค้าฯ เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลของไทยจำเป็นต้องเร่งเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี FTA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FTA ไทย-ยุโรป FTA อาเซียน-แคนาดา รวมถึงการปรับปรุงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ให้สำเร็จภายในปี 2568 นี้ให้ได้ ซึ่งจะทำให้ GDP ของไทยเติบโดขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า1 % รวมทั้งการส่งออกจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 10 %

อ่านข่าว:

 "ทรัมป์" ป่วนโลกขึ้นภาษีสินค้า "จีน-ไทย" การ์ดสูง รับมือรอบด้าน

"ทุเรียน" ยังครองแชมป์ส่งออก 2 เดือนนำรายได้เข้าไทยกว่า 4 พันล้านบาท

หอการค้าไทยจี้รบ.ตั้งทีมพิเศษ รับมือทรัมป์2.0 หวั่นกระทบ ศก.ไทยทรุดรุนแรง


เปิด 13 โครงการรัฐไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ชนะประมูล

Wed, 2 Apr 2025 11:59:00

ในขณะที่ทีมกู้ภัยและฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามอย่างเต็มที่ ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหาย การหาคำตอบถึงสาเหตุการถล่มของอาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่กำลังก่อสร้าง เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าจะต้องมีคำตอบให้ประชาชน

แต่ที่มากไปกว่านั้น คือการขยายผลตรวจสอบในเรื่องอื่น ที่เผยให้เห็นปัญหาที่ซุกอยู่ภายใต้เศษซากอาคารที่พังถล่ม ที่เกี่ยวพันกับบริษัทก่อสร้าง จนถึงวัสดุก่อสร้างที่ผลเบื้องต้นพบว่ามีเหล็กเส้นในบางขนาดที่เก็บตัวอย่างมาจากซากอาคาร และตีตราผลิตจากบริษัทของจีน ไม่ได้มาตรฐาน

ทางกิจการร่วมค้า ITD-CRC no.10 ไทย ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ช่วงหนึ่งตอนหนึ่ง ยืนยันว่าการจัดซื้อวัสดุและการก่อสร้างอาคาร ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดใน TOR กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานทางวิศวกรรม วัสดุที่ใช้ มีการคัดเลือกผู้ผลิตตามข้อกำหนดทางเทคนิค ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจรับวัสดุ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวด ก่อนเข้าสู่พื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง

นี่เป็นอีกคำถามที่การตรวจสอบซ้ำของกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการที่กระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้น น่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนได้ และต้องหาให้ได้เช่นกันว่า เหล็ก หรือวัสดุก่อสร้างที่อาจกลายเป็นเหล็กเบา หรือไม่ผ่านมาตรฐานเชิงกล ที่ผลิตจากบริษัทจากจีน นั้น กระจายไปใช้งานที่อื่นด้วยหรือไม่

แต่การขยายผลไม่จบแค่นี้ เพราะกิจการร่วมค้าที่บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 หรือ CRC no.10 ประเทศไทย ไปร่วมประมูลและได้รับงานก่อสร้างอาคารแห่งต่างๆ ก็ต้องตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่า โครงการเหล่านั้นจะไม่เกิดปัญหา

13 โครงการ ไชน่า เรลเวย์ รัฐร่วมเป็นกิจการร่วมค้า

ตอนนี้พบ 13 โครงการรัฐที่บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ได้ร่วมเป็นกิจการร่วมค้าในโครงการภาครัฐ นอกเหนือจากโครงการสำคัญ อย่างโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. ที่ถล่ม มูลค่า 2,136 ล้านบาท โดยตั้งแต่ปี 2562 - 2565 โครงการที่ได้ชนะการประมูล มีมูลค่ารวมกว่า 7,232 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ ได้แก่

1.ท่าอากาศยานนราธิวาส อาคารที่พักผู้โดยสารและสิ่งก่อสร้างประกอบ มูลค่า 639 ล้านบาท

2.โครงการเคหะชุมชนภูเก็ตเป็นทาวน์โฮม 354 หน่วย มูลค่า 343 ล้านบาท

3.โรงเรียนวัดอมรินทราราม - อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้าง มูลค่า 160 ล้านบาท

4.อาคารคลังพัสดุ รพ.จักรีนฤบดินทร์ มูลค่า 146 ล้านบาท

5.หอพักนักศึกษา ม.ราชภัฏภูเก็ต มูลค่า 132 ล้านบาท

6. ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ มูลค่า 540 ล้านบาท

7. ศูนย์ฝึกกีฬามวย กกท. หัวหมาก มูลค่า 608 ล้านบาท

8. ที่พักข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มูลค่า 386 ล้านบาท

9. ศูนย์บริการลูกค้า การไฟฟ้าภูเก็ต มูลค่า 210 ล้านบาท

10.อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ มูลค่า 179 ล้านบาท

11. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มูลค่า 716 ล้านบาท

12. สถาบันวิชาการ กฟภ. มูลค่า 606 ล้านบาท

13. และอาคารผู้ป่วยนอก รพ.สงขลา มูลค่า 426 ล้านบาท

 

สั่งตรวจสอบใน 7 วัน นอมินี-ฮั้วประมูล

CRC no.10 ประเทศไทย เป็นบริษัทลูกของ China Railway No.10 Engineering Group หนึ่งในรัฐวิสาหกิจจีนในเครือ China Railway Group Limited (CREC) ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2561 ใช้โมเดลทางธุรกิจแบบ "กิจการร่วมค้า" กับบริษัท เอกชนไทยเพื่อเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการ ทำให้เกิดคำถามถึงวิธีการเข้าประมูลงานของบริษัท ซึ่งมักเข้าไปซื้อซองเอกสารแต่ไม่ยื่นเสนอราคาเอง และไปจับมือกับเอกชนไทยรายใหญ่เพื่อยื่นซองแทนในนาม "กิจการร่วมค้า" ทำให้เกิดแรงกดดันให้ตรวจสอบเชิงลึกขึ้น นอกเหนือจากวิธีการประมูลอย่างโปร่งใส

ตอนนี้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาดูเรื่องนี้ ทั้ง ป.ป.ช. กองสอบสวนอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของ ตร. ดีเอสไอ จนถึงสรรพากร ตรวจสอบให้ได้ผลภายใน 7 วัน เพื่อหาว่าบริษัทนี้ เกี่ยวข้องกับบริษัทอื่นในลักษณะเป็นนอมินีด้วยหรือไม่ มีคนไทยเกี่ยวข้องหรือเปล่า มีการฮั้วประมูลหรือไม่

หน้าที่นี้ไปตกที่ดีเอสไอที่จะต้องช่วยกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบกรณีนอมินี ซึ่งเมื่อวานดีเอสไอมีการประชุมสรุปสถานการณ์กรณีอาคาร สตง.ถล่ม

มีประเด็นที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดตามกฎหมาย 3 ฉบับ คือ 1. พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 , 2. พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 , 3. พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือการฮั้วประมูล

ยังไม่รวมเรื่องบริษัทก่อสร้างจีน ใช้วัสดุบริษัทจีนที่อาจตกมาตรฐานมาก่อสร้างโครงการรัฐของไทย โดยที่ท้ายที่สุด ประเทศไทยเหมือนจะไม่ได้อะไรเลย คำตอบทั้งหมดเหล่านี้จะต้องหาให้ได้ เพื่อความเชื่อมั่นของประชาชน และชาวโลกที่จับจ้องอยู่

สทนช.ยันการก่อสร้างอาคารเป็นไปตามมาตรฐาน-รับแรงแผ่นดินไหว

สำหรับ อาคาร สทนช. ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นอาคารสูง 16 ชั้น อาคารชั้นใต้ดิน 1 ชั้น และอาคารสัมมนา 3 ชั้น บนพื้นที่ 14 ไร่ หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ จนทำให้ตึกสูงหลายแห่งได้รับผลกระทบ ซึ่งตึก สทนช. แห่งใหม่ ดำเนินการก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า NCRCE ประกอบด้วย บริษัทนวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 51 และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) ถือหุ้นร้อยละ 49 ซึ่งชนะการประกวดราคาโดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (E-bidding) ด้วยราคากว่า 716 ล้านบาท และเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือน ส.ค.2562 ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปถึงร้อยละ 99 แล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569

ขณะที่ก่อนหน้านี้ จากเหตุการณ์ที่อาคารแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ถล่มลงมา จึงมีกระแสข่าวเรื่องความเชื่อมโยงของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ถูกว่าจ้าง ให้สร้างอาคารแห่งใหม่ของ สทนช. ด้วย จะตั้งข้อสังเกตว่าอาคารแห่งนี้จะมีความแข็งแรงหรือไม่

นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ บอกว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่เกิดแผ่นดินไหว ได้สั่งให้คนงานหยุดปฏิบัติงานทันที และได้นำผู้ออกแบบอาคาร วิศวกรควบคุมงาน ผู้รับจ้าง เข้ามาร่วมตรวจสอบอาคารดังกล่าวแล้ว ไม่พบรอยร้าวหรือความเสียหายแต่อย่างใด แม้ว่าอาคารแห่งนี้ จะได้รับแรงสั่นสะเทือนเช่นกันในวันดังกล่าว

ส่วนสร้างอาคารแห่งนี้ ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างอาคารสูงทุกประการ ที่จะคำนึงถึงความถูกต้อง มั่นคงและปลอดภัยในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง โดยจะยึดหลักกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชนเป็นไปอย่างรอบคอบและ มีประสิทธิภาพสูงสุด

ขณะที่อาคารแห่งนี้ยังได้มีมาตรฐานการรองรับแผ่นดินไหว ซึ่งมีการกำหนดการสั่นสะเทือนเป็นค่าแรง G ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานด้วยการใช้แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศไทย ทั้งที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เคยเกิดแผ่นดินไหวสูง 4.5 ริกเตอร์ และจังหวัดกาญจนบุรี ที่เคยเกิดแผ่นดินไหวสูง 6-6.5 ริกเตอร์มาคำนวณเป็นมาตรฐานและสร้างอาคารให้ สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนมากกว่ามาตรฐานถึง 3 เท่า จึงทำให้เหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดที่ผ่านมา แรงสั่นสะเทือนที่ได้รับของอาคารแห่งนี้มีเพียง 1 ใน 3 ของค่า G ที่สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ อีกทั้งในทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน จะต้องมีผู้ควบคุมงาน คอยดูแลการปฏิบัติงานของคนงานที่จะต้องก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานและสเปคที่กำหนดร่วมกัน หากไม่ทำตามแผนที่กำหนด ก็จะมีการลงโทษ หรือยกเลิกสัญญาได้

เมื่อถามว่าจากภาพที่ถูกนำมาแชร์ในโซเชียลต่างๆ ที่พบว่ามีการใช้เหล็กเส้นเล็ก ในการก่อสร้างอาคาร นายไพฑูรย์ บอกว่า ชุดภาพดังกล่าวเป็นเสาของอาคารสัมมนา ซึ่งมีขนาดเล็ก ส่วนอาคารขนาดใหญ่จะใช้เหล็กและซีเมนต์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากศูนย์วิจัยของกรมชลประทาน และมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำต่างๆ และสามารถทนต่อการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาคารนี้ค่อนข้างที่จะสมบูรณ์ และมีความแข็งแรง พร้อมที่จะรับน้ำหนัก และสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในอนาคต ที่สำคัญเป็นอาคารที่รับรองมาตรฐานอาคารเขียว ที่จะประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ทั้งนี้วิศวกรผู้ควบคุมงาน และสื่อมวลชน เข้าร่วมตรวจสอบอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แห่งใหม่ โดยใช้เทคนิค Visual Check หรือใช้แสงเลเซอร์สีเขียววัดความเอียงของอาคาร ซึ่งเสาทุกต้น ยังคงสภาพปกติ และไม่เกิดความลาดเอียงเพิ่มขึ้น ขณะที่พื้นอาคาร กระจก ผนังกำแพง รวมถึงคอลิฟต์ ซึ่งเป็นจุดรับน้ำหนักสูงสุด ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเช่นกัน

อ่านข่าว :

กู้ร่างได้เพิ่ม 1 ศพตึก สตง.ถล่ม เร่งค้นหาอีก 72 คน

วันแรก! เปิดจราจร ถ.กำแพงเพชร 2 ตึกสตง.ถล่มตาย 15 คน

กทม.เผย ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ยังมีผลบังคับใช้


แบล็กลิสต์! “มนพร” จ่อเลิกสัญญา “กิจการร่วมค้าซีไอเอส” สร้างเทอร์มินัลสนามบินนราฯ

Wed, 2 Apr 2025 08:33:00

วันนี้ (2 เม.ย.2568) นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้ดำเนินโครงการจ้างก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ และสิ่งก่อสร้างประกอบอื่น ๆ พร้อมครุภัณฑ์อำนวยความสะดวก ท่าอากาศยานนราธิวาส ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส 1 แห่ง วงเงิน 639.89 ล้านบาท โดยมีผู้รับจ้างคือ กิจการร่วมค้าซีไอเอส ประกอบด้วย บริษัท ไอเอสโอ เอนจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัดนั้น

ทั้งนี้ โครงการฯ ดังกล่าว ซึ่งเริ่มสัญญาตั้งแต่รัฐบาลยุคที่แล้ว เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2565 และได้สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 16 ม.ค.2568 แต่เมื่อช่วงปลายปี 2567 ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่นราธิวาส ทำให้ได้รับการขยายอายุสัญญา

ผลงานของโครงการในเดือน ก.พ.2568 มีความคืบหน้าเพียง 0.64% ส่งผลให้ภาพรวมของโครงการล่าช้ากว่า 61.27% มีแนวโน้มว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา ดังนั้น ทย.จึงเชิญผู้รับจ้างเข้าประชุมเร่งรัดงานในวันที่ 4 มี.ค.2568 โดยมีเงื่อนไขว่าหากภายใน 2 เดือน โครงการไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินงานเดือนละ 5% ทย.จะยกเลิกสัญญาและแจ้งชื่อเป็นผู้ทิ้งงาน เนื่องจากผิดสัญญาจ้างตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันอยู่ในช่วงติดตามผลการเร่งรัด ซึ่งผู้รับจ้างทำผลงานเดือนที่ 1 (มี.ค.2568) ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาก โดยมีความคืบหน้าเพียง 0.51% ส่งผลให้ภาพรวมโครงการคืบหน้าเพียง 39.24% ล่าช้ากว่าแผน 60.76% หรือล่าช้ากว่า 631 วัน ซึ่ง ทย.ได้ส่งจดหมายเตือนและติดตามผลงานในเดือนที่ 2 ต่อไป

หากผู้รับจ้างไม่สามรถดำเนินการเร่งรัดงานได้ตามที่กำหนด แสดงว่าผู้รับจ้างไม่มีความสามารถที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ ทย.จะดำเนินการยกเลิกสัญญาและแจ้งชื่อเป็นผู้ทิ้งงาน ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถรับงานกับหน่วยงานรัฐได้อีก

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ ทย.แจ้งไปยังที่ปรึกษาควบคุมงาน ตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้าง มาตรฐานวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับเหมาที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั้งระบบอย่างละเอียด และให้รายงานทราบภายใน 3 วัน หากพบสิ่งผิดปกติให้รายงานและแก้ไขโดยเร่งด่วนด้วย

รมช.คมนาคม ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมเน้นย้ำให้ทุกโครงการก่อสร้าง โดยเฉพาะในเรื่องวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง จะต้องได้มาตรฐานตามแบบแผนที่กำหนด รวมถึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและผ่านตรวจเช็กจากวิศวกรผู้ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด

อ่านข่าว

กู้ร่างได้เพิ่ม 1 ศพตึก สตง.ถล่ม เร่งค้นหาอีก 72 คน

แจ้งรอยร้าวอาคารแผ่นดินไหวแล้ว 15,500 เคส ทีมวิศวกรเร่งตรวจสอบ

ไอซ์แลนด์อพยพคน "ภูเขาไฟ" ปะทุรอบใหม่ พ่นลาวาตามรอยแยก


สรุปราคาทองคำ 1 เม.ย.2568 ปรับขึ้น 550 บาท ผันผวน 18 ครั้ง

Tue, 1 Apr 2025 17:40:00

วันนี้ (1 เม.ย. 2568) ราคาทอง ปิดบวก 550 บาท ผันผวน 18 ครั้ง ราคาทองโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ในวันพรุ่งนี้ อีกทั้งสงครามภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางกลับมาระอุขึ้น GOLD SPOT ทำ All-time high ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ที่ 3,132.50 ดอลลาร์ เปรียบเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ เว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 15.21 น. “ทองรูปพรรณ”ในประเทศ ร้านทองขายออก 51,400 บาททองคำ “ทองคำแท่ง” ขายออกทะลุ 50,600 บาททองคำ

สรุปราคาทองคำ วันที่ 1 เม.ย. 2568

ครั้งที่ 18 ลบ 50บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 17บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 16 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 15 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,450 บาท
• ขายออก บาทละ 50,550 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,542.88 บาท
• ขายออก บาทละ 51,350 บาท

ครั้งที่ 14 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 13 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 12 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 11 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 10 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 9 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,450 บาท
• ขายออก บาทละ 50,550 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,542.88 บาท
• ขายออก บาทละ 51,350 บาท

ครั้งที่ 8 ลบ 100 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 7 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,600 บาท
• ขายออก บาทละ 50,700 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,694.48 บาท
• ขายออก บาทละ 51,500.00 บาท

ครั้งที่ 6 ลบ 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 5 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,600 บาท
• ขายออก บาทละ 50,700 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,694.48 บาท
• ขายออก บาทละ 51,500 บาท

ครั้งที่ 4 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,550 บาท
• ขายออก บาทละ 50,650 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,633.84 บาท
• ขายออก บาทละ 51,450 บาท

ครั้งที่ 3 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,500 บาท
• ขายออก บาทละ 50,600 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,588.36 บาท
• ขายออก บาทละ 51,400 บาท

ครั้งที่ 2 บวก 50 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,450 บาท
• ขายออก บาทละ 50,550 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,542.88 บาท
• ขายออก บาทละ 51,350 บาท

ครั้งที่ 1 บวก 450 บาท

ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 50,400 บาท
• ขายออก บาทละ 50,500 บาท

ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 49,497.4 บาท
• ขายออก บาทละ 51,300 บาท

อ่านข่าว:

สรุปราคาทองคำ 31 มี.ค. 2568 ปรับขึ้น 450 บาท ผันผวน 18 ครั้ง

ราคา “ทองแท่ง” ทะลุ 5 หมื่นบาท ทำ All-time high 18 ครั้งในปีนี้

ราคาทองวันนี้ พุ่งต่อ 650 บาท “รูปพรรณ” 2 บาทขายออก 103,000 บาท


“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”

Tue, 1 Apr 2025 16:32:00

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะลงพื้นที่ตรวจโรงงาน ซิน เคอ หยวน ต.หนองละลอก จ.ระยอง ซึ่งถูกสั่งปิด ในวันที่ 2 เม.ย.2568 หลัง นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง พรรคประชาชน ลงพื้นที่ก่อนหน้านี้ พบว่าโรงงานดังกล่าว ยังมีความเคลื่อนไหว เจอรถบรรทุกขนฝุ่นแดง ทั้งถูกสั่งปิดตั้งแต่ปี 2567 โดยตั้งข้อสังเกตว่าจะมีการลักลอบผลิตเหล็กอยู่หรือไม่

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สูง 33 ชั้น ถล่มลงมาเมื่อ 4 วันที่แล้ว และทีมสุดซอยของรมว.อุตสาหกรรม ได้เข้าไปเก็บตัวอย่างเหล็กจาก 3 บริษัท คือ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (จีน) , บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน) 7 ประเภท จำนวน 28 เส้น

ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย ขนาด 12 มม. จำนวน 3 เส้น , เหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มม. จำนวน 3 เส้น , เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. จำนวน 6 เส้น ,เหล็กข้ออ้อย ขนาด 25 มม. จำนวน 2 เส้น , เหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มม. จำนวน 7 เส้น , เหล็กเส้นกลม ขนาด 9 มม. จำนวน 2 เส้น และลวดสลิง ขนาด 15.2 มม. จำนวน 5 เส้น

และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แถลงผลการตรวจแบบ อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ จนทำให้ รมว.อุตสาหกรรม ต้องออกมาโพสต์ เฟซบุ๊ก ว่า

ฟังแถลงแล้ว ยังงงเอง...ขอสรุปที่ได้รับรายงานว่า มีตัวอย่างเหล็กสองประเภทที่ตรวจสอบแล้วต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด คือเหล็กข้ออ้อย ไซส์ 20 และ ไซส์ 32 ที่เป็นของยี่ห้อเดียวกัน

แม้นายเอกนัฏ ไม่ได้เปิดเผยว่า เหล็กดังกล่าวเป็นของบริษัทใด แต่มีรายงานข่าวระบุว่า เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสตง. ส่วนใหญ่ผลิตจากบริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด ซึ่งเคยเกิดปัญหาเพลิงไหม้ เมื่อปี 2567 จนกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าไปตรวจสอบเหตุ และพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านการผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงยึดอายัดเหล็กไว้และตรวจสอบพบไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2,441 ตัน มูลค่า 49.2 ล้านบาท และดำเนินคดีตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบบริษัทดังกล่าว พบว่า ได้รับใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จำนวน 3 ฉบับ คือ เหล็กเส้นกลม มอก. 20-2559, เหล็กข้ออ้อย มอก. 24-2559 ชั้นคุณภาพ SD 40 และชั้นคุณภาพ SD 50

ทั้งนี้ผลการทดสอบ เหล็กข้ออ้อย โดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประ เทศไทย พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2 รายการ คือ ในรายการส่วนสูงของบั้งที่มีผลทำให้ความสามารถในการยึดเกาะระหว่างเนื้อเหล็กและเนื้อคอนกรีตลดลง เมื่อนำไปใช้งาน และรายการธาตุโบรอน มีผลทำให้เนื้อเหล็กเปราะ ความเหนียวของเนื้อเหล็กลดลง ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถรับแรงดึงได้ตามที่มาตรฐานกำหนด

ในครั้งนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้แจ้งเตือนให้บริษัทฯ แก้ไขกระบวนการผลิตในระยะเวลา 30 วัน มิฉะนั้นจะสั่งพักใบอนุญาต และ อายัดเหล็กข้ออ้อยขนาด 16,25 และ 32 มิลลิเมตร รุ่นการผลิตช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.2567 ไม่เช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีโทษฐานทำผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และสั่งให้บริษัทฯ เรียกคืนเหล็กที่ได้จำหน่ายออกไปแล้วกลับคืนมา

สำหรับบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (SIN KER YUAN STEEL COMPANY LIMITED ) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 170 หมู่ที่ 3 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2554 ทุนปัจจุบัน 1.53 พันล้านบาท มีคนจีนถือครองหุ้นใหญ่กว่า 73%

กรรมการผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 คน ประกอบด้วย นายเจี้ยนฉี เฉิน นายสู้ หลงเฉิน และนายสมพัน ปันแก้ว มีการนำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ 30 เม.ย. 2567
โดยนายเจี้ยนฉี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 64.91% ,นายจิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 10%

นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 8% , นายซู่หยวน หวัง (สัญชาติจีน) ถือ 6% ส่วนอีก 8 คน ถือหุ้นลดหลั่นตามลำดับ โดย 1 ใน 8 เป็นคนไทย คือ นายสันติ เกษมอมรกิจ ถือ 2%

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทในเครือคือ ซิน เคอ หยวน จำกัด เลขทะเบียน 0215562006497 จดทะเบียน 19 ก.ค.2562 ประกอบธุรกิจการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น  (Manufacture of other basic iron) มีทุนจดทะเบียน 6,000 ล้านบาท  ตั้งอยู่เลขที่ 666 หมู่ 2 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง

มีกรรมการ 3 คนคือ นายสู้ หลงเฉิน นายเหลินจง เฉิน นายสมพัน ปันแก้ว (สัญชาติลาว) และมีการนำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ม.ค.2568 มี นายฉิน เจี้ยนฉี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 73.63% นาย ชวู้หยวน หวง (สัญชาติจีน) ถือ 5.12% นาย จิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 5% นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 5% นายจื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 2% นายสันติ เกษมอมรกิจ ถือ 1.67%

และนายสมพัน ปันแก้ว (สัญชาติลาว) ถือ 0.33% ที่เหลืออีก 11 คนเป็นชาวจีนที่ถือหุนลดหลั่นกันไป บริษัทได้นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 สินทรัพย์รวม 14,887,406,423 บาท หนี้สินรวม 9,196,465,411 บาท รายได้รวม 320,797,654 บาท รายจ่ายรวม 86,470,444 บาท กำไรสุทธิ 234,327,210 บาท

ข้อมูลของ "เฉิน เจี้ยนฉี" หรือ "เจี้ยนฉี เฉิน" ผู้ถือหุ้นใหญ่ 73.63% ในเครือ ซิน เคอ หยวน ปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริษัทอีกอย่างน้อย 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ซิน เส้า หยวน จำกัด ,บริษัท เจิ้นหวา อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวริซึ่ม และเทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท ไทยอินเตอร์สตีล จำกัด (เสร็จชำระบัญชี)

นายเอกนัฏ ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงผลตรวจการสุ่มตรวจคุณภาพเหล็กตัวอย่าง ที่เก็บมาจากอาคารสตง.ว่า อึ้งเหมือนกัน เพราะโรงงานที่พบว่าผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐาน เป็นโรงงานที่เคยไปตรวจ และสั่งปิดไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่การก่อสร้างเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 สร้างมาแล้ว 5 ปี

"การตรวจเหล็กจะตรวจ 2 ส่วน คือ คุณสมบัติด้านการกล และคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งครั้งแรกที่ไปตรวจตกทางเคมี และล่าสุดที่ตรวจเมื่อวานคือตกทางกล ที่ผ่านมาสั่งให้หยุดและอายัดของกลาง เรียกเก็บสินค้ามา และให้หยุดเพื่อปรับปรุง ...ที่ผ่านมาได้ตรวจและปิดโรงงานเหล็กไปแล้ว 7 โรงงาน ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 3 แห่ง"รมว.อุตสาหกรรม ตั้งข้อสังเกตว่า

อุตสาหกรรมธุรกิจศูนย์เหรียญ ที่มาอยู่ในประเทศแล้ว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทย เป็นทุนต่างชาติ 100% จ้างงานต่างด้าว 100% ไม่ต้องจ่ายภาษี และได้รับ BOI ด้วย ซึ่งจากที่ทำมา 6 เดือน บางเรื่องมีลักษณะการดำเนินงานเป็นกระบวนการ

นับจากนี้ คงต้องรอผลการตรวจพิสูจน์อย่างเป็นทางการ จากหน่วยงานของรัฐ หลังจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้มอบหมายให้กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค เร่งสืบสวน ก่อนรับเป็นคดีพิเศษ

ขณะที่กลุ่มบริษัทผู้ผลิตเหล็ก ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (จีน) , บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน) ในฐานะผู้ผลิตเหล็ก ยังไม่ได้ถูกกล่าวหาเรื่องการใช้เหล็กชานอ้อยในการก่อสร้างอาคารสตง. 

อ่านข่าว:

ขุมทรัพย์ “ไชน่า เรลเวย์” แกะรอยผู้ถือหุ้นจีน-ไทย สร้างอาคารสตง.

เดินทางแนวนอนปลอดภัย “แผ่นดินไหวเกิดอีก” แต่ไม่ใช่ภัยพิบัติ

 


"คมนาคม" คุมเข้มความปลอดภัยก่อสร้าง "รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน"

Tue, 1 Apr 2025 15:25:00

วันนี้ (1 มี.ค.2568) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา และส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการตรวจสอบทุกโครงการของ รฟท. โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ทั้งหมด 14 สัญญา ระยะทางรวม 250.77 กม. ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลยุคที่แล้ว โดยการตรวจสอบดังกล่าว เพื่อสำรวจถึงผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ให้ รฟท. ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานของวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับเหมาทั้งระบบ โดยเฉพาะสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348 ล้านบาท โดยมีผู้รับจ้างเป็น บจ. กิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10 ซึ่งมีหลายฝ่ายกังวลว่า เป็นบริษัทร่วมค้ากลุ่มเดียวกับที่สร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 30 ชั้น ที่เกิดเหตุถล่มลงมาจากแผ่นดินไหวช่วงที่ผ่านมา

นายสุริยะ กล่าวว่า มอบหมายให้ผู้ว่า รฟท. ไปดำเนินการตรวจสอบโครงการอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนว่า ช่วงที่ผ่านมามีการกำหนดสเปคอย่างไร ซึ่งในขณะนี้ รฟท. ได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ ทั้งในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า มีความปลอดภัย พร้อมทั้งต้องมีความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการตรวจสอบจะแล้วเสร็จภายในระยะ 2 วันนี้ อีกทั้งได้สั่งการให้ รฟท. แจ้งไปยังผู้ควบคุมงานให้ออกตรวจหน้างานอย่างสม่ำเสมอ หากพบสิ่งผิดปกติจะแจ้งให้ผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขทันที หากไม่แก้ไข จะรายงานให้ รฟท. ออกคำสั่งหยุดงานทันที

อ่านข่าว : DSI เร่งสืบสวนปมตึก สตง.ถล่ม หากพบความผิดรับเป็นคดีพิเศษ

ครม.เห็นชอบลดค่าไฟ 3 เดือนเหลือหน่วยละ 3.99 บาท

โกหกทั้งประเทศ! ลุง 50 ปีขอโทษ กุเรื่องเมียท้องติดใต้ซากตึกถล่ม


"ทรัมป์" ป่วนโลกขึ้นภาษีสินค้า "จีน-ไทย" การ์ดสูง รับมือรอบด้าน

Tue, 1 Apr 2025 15:09:00

วันนี้ ( 1 เม.ย.2568) ศูนย์วิจัยกรุงศรีอยุธยา วิเคราะห์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ยกระดับสงครามการค้าผ่านการปรับขึ้นภาษีสินค้า โดยขึ้นภาษีรถยนต์ 25% และเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ต่อทุกประเทศทั่วโลก หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯเสี่ยงชะลอตัวแรงกว่าคาด การยกระดับความรุนแรงของสงครามการค้าเพิ่มความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจสูงกว่าคาดผ่านต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้นและการจ้างงานที่ลดลง

สะท้อนผ่านดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงกว่า 3% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) รวมถึงเก็บภาษีนำเข้า 25% สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ไม่ได้ผลิตในสหรัฐฯ จะมีผลบังคับใช้วันที่ 3 เม.ย.นี้

การขึ้นภาษีของทรัมป์นำไปสู่การใช้มาตรการตอบโต้ของกลุ่มประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าในอนาคตได้

โดยศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% สู่ระดับ 3.50-3.75% ในช่วงสิ้นปี นับตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้

ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นแม้ว่าจะฟื้นตัวแต่เป็นการฟื้นตัวช้ากว่าคาดจากเงินเฟ้อที่ยังสูง รวมถึงสงครามการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในเดือนมี.ค. ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นหดตัวลงสู่ระดับ 48.3 ขณะที่ ดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นพลิกกลับมาหดตัวที่ 49.5

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในกรุงโตเกียว (Tokyo CPI) เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.8% สู่ระดับ 2.9% YoY ในเดือนมี.ค. เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในกรุงโตเกียว (Tokyo core CPI) เพิ่มขึ้นจาก 2.2% สู่ระดับ 2.4%

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจเผชิญแรงกดดันมากขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงรวมถึงสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นหลัง ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า 25% สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ไม่ได้ผลิตในสหรัฐฯ โดยมาตรการดังกล่าวคาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญเพราะญี่ปุ่นส่งออกรถยนต์มากถึง 28.3% ของการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่นไปยังสหรัฐในปี 2567

ขณะที่ญี่ปุ่นเผยว่า เตรียมพิจารณาเจรจารับมือและยังไม่ตัดความเป็นไปได้ที่อาจจะใช้มาตรการตอบโต้ต่อสหรัฐฯ แม้แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงสูงแต่การฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจโดยรวมคาดส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ในขณะที่พี่ใหญ่ของอาเซียนอย่างจีน ยังมีเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังเปราะบาง โดยปัจจัยเสี่ยงภายนอกจากสงครามการค้ารุนแรงขึ้น กำไรภาคอุตสาหกรรมในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์หดตัว -0.3% จาก +11% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับยอดค้าปลีกสินค้าซึ่งขยายตัวเพียง 4% ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและดัชนียอดค้าปลีกยังยังแตกต่างกันค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับระดับในช่วงก่อนโควิดระหว่างปี 2557-2562

เศรษฐกิจจีนยังเผชิญแรงกดดันจากการผลิตส่วนเกินในหลายอุตสาหกรรม ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแรงลง ล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์จากทุกประเทศในอัตรา 25% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 3 เม.ย.นี้ ซึ่งกระทบกับการส่งออกรถยนต์ของจีนอย่างหลีกไม่ได้

ศูนย์วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ผลกระทบส่วนเพิ่มจากการขึ้นภาษียานยนต์ต่อจีนยังจำกัด โดยคาดว่าการส่งออกจะลดลงจากกรณีฐาน 0.32% อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงมากยิ่งขึ้น

อยางไรก็ตาม มาตรการตอบโต้ภาษีของสหรัฐฯ และการฟื้นตัวช้าของภาคท่องเที่ยว นับเป็นปัจจัยความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในอนาคต สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานเศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ 14%

ส่วนภาคท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยชะลอลงเหลือ 3.12 ล้านคน(-6.9% ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางชะลอตัวจากการลดลงของการบริโภคในหมวดสินคงทนเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวแรงขึ้นเป็น -3.9% ในเดือนก.พ.

แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งกระทบต่อการเติบโตของภาคส่งออกที่เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี

การที่สหรัฐฯประกาศจะเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้น 25%มีผล 3 เม.ย.แม้ไทยอาจได้รับผลกระทบทางตรงในวงจำกัด เพราะไทยส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ เพียง 1.6% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดของไทย แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยลดลงจากกรณีฐานฯ -0.05%

ศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) อย่างจริงจังกับประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับตนเอง ไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับมาตรการภาษีดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและภาคการผลิตของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้

ทั้งนี้ อัตราภาษีเฉลี่ยของไทยสูงกว่าสหรัฐฯ ประมาณ 5-6% และเมื่อรวมกับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งอยู่ที่ 7% อาจส่งผลให้สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้สินค้าจากไทยสูงถึง 13% อาจกลายเป็นอัตราภาษีที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องเตรียมกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ แม้แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของไทย แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคท่องเที่ยวอาจเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น สำหรับ สถานการณ์ภาคท่องเที่ยวล่าสุด จากข้อมูลในช่วงวันที่ 1 ม.ค.-23 มี.ค. มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 8.89 ล้านคน (+2.9% ) สร้างรายได้ 434,662 ล้านบาท

โดยนักท่องเที่ยวจีน (1,259,391 คน) มาเลเซีย (1,057,438) รัสเซีย (667,905) อินเดีย (498,341) และเกาหลีใต้ (475,124) ด้านท่องเที่ยวในประเทศ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 16.48 ล้านคน-ครั้ง (+4.1% ) สร้างรายได้ 8.8 พันล้านบาท (+6.6%)  การประคองการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวให้มีความต่อเนื่องหลังจากการฟื้นตัวช้าของนักท่องเที่ยวจีน

ล่าสุดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างพิจารณามาตรการ "เราเที่ยวด้วยกัน" ในช่วงโลว์ซีซั่น (หลังเทศกาลสงกรานต์) เบื้องต้นกำหนดไว้ 1 ล้านสิทธิ์ รายละไม่เกิน 3,000 บาท โดยรัฐช่วยจ่าย 40% สำหรับเที่ยวเมืองหลัก และ 50% สำหรับเมืองรอง (ไม่รวมตั๋วเครื่องบิน) รวมถึงอาจพิจารณาต่อมาตรการฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีน แต่อาจลดจำนวนวันลงจาก 90 วันเหลือ 30 วัน (ส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ 10-15 วัน)

ขณะที่เหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงยังคงต้องรอติดตามการประเมินความเสียหายรวมถึงอาจมีผลกระทบต่อภาคท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภค รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศได้ เบื้องต้นสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) และสมาคมโรงแรมไทย (THA) ชี้ว่าผลกระทบในระยะสั้นจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจากความกังวลเรื่องปลอดภัยโดยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะลดลง 10-15% หรืออาจจะมากกว่านี้ในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้ไป

อ่านข่าว:

 ศูนย์วิจัยกสิกร ประเมินแผ่นดินไหว "เศรษฐกิจ" เสียหาย 2 หมื่นล้าน

สศอ.เผย ศก.โลกผันผวน-หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดดัชนีMPI ก.พ. ร่วง 3.91%

หอการค้าไทย จี้เร่งทำระบบเตือนภัย "แผ่นดินไหว"ไม่กระทบธุรกิจ