ปรับตัวเลขแรงงานในตึก สตง.103 คน เสียชีวิตคงที่ 15 คน

Thu, 3 Apr 2025 17:43:00

วันนี้ (3เม.ย.2568) รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รายงานตัวเลขคนทำงานในตึกสำนักงานตวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวว่า จากเดิมเคยรายงานตัวเลขแรงงานที่ทำงานในตึกวันเกิดเหตุจำนวน 96 คน  แต่ล่าสุดได้ตรวจสอบกับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ใหม่ทำให้พบว่ามีแรงงานทำงานในตึกขณะแผ่นดินไหว 103 คนส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตคงเดิม 15 คน สูญหาย 81 คน 

นอกจากนี้ยังปรับตัวเลขผู้บาดเจ็บ และรักษาตัวและกลับบ้าน ซึ่งเดิมมีแรงงานบาดเจ็บจากอาคารถล่มรวม 7 คน แต่ตอนนี้พบว่ายังมีประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจาการขายของ หรือมาทำธุระในพื้นที่เกิดเหตุบาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง หรือเข้ารักษาภายหลังเพิ่มเติมอีก 12 คนรวมคนบาดเจ็บ 19 คน

 รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีการตรวจสอบจาก 17,300 เคส เสียหายมากใน กทม.มีแค่ 2 อาคาร ที่สั่งระงับใช้งานไปแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นอาคารสีเขียวไม่ได้รับผลกระทบกว่า 300 แห่ง รวมทั้งยังมีการเปิดพื้นที่ให้ญาติของผู้สูญหายได้มีพื้นที่พักคอยในวัดเสมียนนารีเพิ่มเติม

ภาพการระดมค้นหาผู้สูญหายตึกสตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 7 ของเหตุแผ่นดินไหว

ภาพการระดมค้นหาผู้สูญหายตึกสตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 7 ของเหตุแผ่นดินไหว

เปิดขั้นตอนยื่นขอรับเงินเยียวยาบ้านเสียหาย

สำหรับการเยียวยา บ้านที่ได้รับความเสียหาย การจ่ายเงินหลังละไม่เกิน 45,000 บาทและเป็นไปตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยประชาชนที่มีบ้าน อาคารได้รับความเสียหายให้ทำคำร้องไปที่สำนักงานเขต และขอชดเชย ส่วนค่าเช่าบ้านจ่ายให้เดือนละ 3,000 บาท

ค่าจัดงานศพผู้เสียชีวิตและในกรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว 29,700 บาท ส่วนกรณีการบาดเจ็บสาหัสช่วยเหลือเบื้องต้น 4,000 บาท และกรณีบาดเจ็บพิการ เบื้องต้น 13,3000 บาท เงินปลอบขวัญ (ตามใบรับรองแพทย์) กรณีรับบาดเจ็บจากเหตุสาธารณภัยคนละ 2,300 บาท เงินทุนประกอบอาชีพครอบครัวละ 11,400 บาท

โดยประชาชนต้องเตรียมเอกสาร และยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือ และใบประกอบ อช.2 จากเดิมต้องแจ้งที่สถานีตำรวจ แต่ทาง กทม.ได้ขอความร่วมมือตำรวจให้ไปประจำที่สำนักงานเขต เพื่อรองรับประชาชน โดยจะเริ่มวันที่ 8 เม.ย.นี้

ในส่วนของญาติผู้สูญหาย ตำรวจอยากให้เดินทางไปเก็บดีเอ็นเอไว้ที่ศูนย์ตรวจเอกลักษณ์บุคคล โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการตรวจเทียบกับผู้สูญหาย เพราะขณะนี้ศพของผู้สูญหายที่ผ่านการเสียชีวิตมาแล้ว 1 สัปดาห์พบว่าสภาพค่อนข้างเน่าแล้ว ทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจอัตลักษณ์บุคคลพร้อมทั้งแนะนำให้ญาติอาจไปหาประวัติการทำฟันรอไว้ด้วย 

อ่านข่าว “พาณิชย์” ลุยสอบ 26 โครงการรัฐ นอมินี-วัสดุไม่ได้มาตรฐาน พบ 37 บ. เอี่ยวตึกสตง. ถล่ม

ประเมินเสียงร้องขอ"ช่วยเหลือ" ในจุด B

นายสุริยชัย รวิวรรณ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่าการช่วยผู้ติดค้างเน้นไปที่โซนบี และโซนซี ที่พบจุดต้องสงสัยและคาดว่ามีผู้ติดค้างอยู่ภายในสร้างอาคาร

โดยโซน บี เป็นบริเวณใกล้ช่องบันไดหนีไฟ ที่พบสัญญาณต้องสงสัยว่าจะมีผู้ติดค้างร้องขอความช่วยเหลืออยู่ใต้ซากที่มับถมกันลึกลงไปประมาณ 3 เมตร ขณะนี้ ดำเนินการไปได้ 2 เมตรกว่า จากการสแกนน่าจะใกล้ถึงตัวผู้ติดตามที่อยู่ด้านใน ส่วนการตอบรับจากผู้ที่ติดค้างอยู่ ปัจจุบันไม่ได้รับการตอบรับเหมือนเมื่อคืน และช่วงเมื่อเช้าที่ผ่านมา

โซน ซี ใกล้เคียงโซนดี ซึ่งเป็นบริเวณช่องลิฟต์ และเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของโครงสร้างที่ผ่านถล่มลงมา และคาดว่ามีผู้ติดตามอยู่ภายใน และเป็นจุดที่สุนัข K9 มีปฏิกิริยาที่ต้องสงสัยว่าพบผู้ติดค้าง

นายสุริยชัย กล่าวว่า ตลอดทั้งวันได้ระดมกำลังค้นหา สนุข k9 และเจ้าหน้าที่นานาชาติเข้าไปค้นหาปัจจุบันได้เจาะและเคลื่อนย้าย ซากอาคารและขุดเจาะเข้าไปถึงผนังช่องลิฟท์แล้ว และกำลังจะดำเนินการเจาะผนังช่องลิฟท์ เข้าไปถึงโพรงด้านใน ที่ยังคงมีความหวังอยู่ว่าจะพบผู้ติดค้างอยู่บริเวณนี้

ส่วนปัญหาและอุปสรรค คือพื้นคอนกรีตที่กดทับลงมาหลายชั้น มีความหนา ยากที่จะขุดเจาะช่องให้คนเข้าไปได้ ซึ่งต้องกว้างพอสมควร

อ่านข่าว

เก็บ DNA ญาติผู้สูญหายตึกถล่ม-พิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว 13 ร่าง


เก็บ DNA ญาติผู้สูญหายตึกถล่ม-พิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว 13 ร่าง

Thu, 3 Apr 2025 16:55:28

วันนี้ (3 เม.ย.2568) พล.ต.ต.วาที อัศวุตมางกุร ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐานกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้กองพิสูจน์หลักฐานได้เก็บตัวอย่างพันธุ์กรรม (DNA) และลายนิ้วมือจากครอบครัวผู้สูญหายในเหตุการณ์อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่พังถล่มแล้ว 56 คน เหลือบางส่วนที่ยังไม่ติดต่อเข้ามา

ทั้งนี้ เชื่อว่าเป็นครอบครัวแรงงานข้ามชาติ ซึ่งในส่วนนี้ต้องรอให้บริษัทที่เป็นนายจ้างติดต่อประสานงานมาที่เจ้าหน้าที่ เพื่อประสานญาติที่สงสัยว่าญาติของตัวเองเป็นผู้สูญหาย ให้มาเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอให้ครบตามจำนวน

สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตขณะนี้ยืนยันอยู่ที่ 15 คน พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลเสร็จสิ้นแล้ว 13 คนและได้ส่งมอบให้กับครอบครัวไปประกอบพิธีทางศาสนา โดยยังเหลืออีก 2 คนที่อยู่ระหว่างพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล

พร้อมขอประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวของผู้สูญหายหรือนายจ้าง สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ สำหรับพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลได้ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.

อ่านข่าว : หวังพบผู้รอด! “ชัชชาติ” ระดม จนท.กู้ภัย ขุดโพรงจุดพบสัญญาณชีพ

สำหรับชิ้นส่วนของมนุษย์ 2 รายการที่พบ อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าตรงกับอัตลักษณ์บุคคลใด เนื่องจากชิ้นส่วนที่ได้มาเปลี่ยนแปลงสภาพ มีความเสียหายมาก จึงยากต่อการพิสูจน์ แต่เจ้าหน้าที่ยังมีวิธีการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลหลายวิธี

สำหรับการทำงานของเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน แบ่งเป็น 2 ทีม โดยทีมหนึ่งจะประจำอยู่ที่จุดเกิดเหตุเพื่อเก็บรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบร่างผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนอีกทีมประจำอยู่ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อเก็บตัวอย่างสำหรับการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล

สำหรับการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานได้ร่วมกับวิศวกรรมสถาน กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สตง.ในฐานะเจ้าของอาคารที่เข้ามาร่วมเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อหาสาเหตุการถล่มของอาคารดังกล่าว โดยทุกฝ่ายจะทำงานร่วมกันในนามคณะกรรมการและมุ่งหวังให้การพิสูจน์สาเหตุเกิดความยุติธรรมที่สุด

อ่านข่าว

เครื่องจักรหนักเริ่มทำงาน หลังหยุด 12 ชม.ให้ทีมกู้ภัยค้นหาผู้สูญหาย

คืบหน้า เหตุอาคาร สตง.ถล่ม สอบปากคำญาติ-พยานแล้ว 50 ปาก

DSI สอบตึกสตง.ถล่ม "นอมินีไทยถือหุ้น พบ “ซิน เคอ หยวน” ใบกำกับภาษีปลอม


คืบหน้า เหตุอาคาร สตง.ถล่ม สอบปากคำญาติ-พยานแล้ว 50 ปาก

Thu, 3 Apr 2025 12:22:00

วันนี้ (3 เม.ย.2568) เข้าสู่วันที่ 7 ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวและอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และยังคงมีผู้ติดค้างภายใน เจ้าหน้าที่กู้ภัยระดมกู้ซากและให้การช่วยเหลือต่อเนื่อง โดยเมื่อคืนที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้รับสัญญาณที่มีความหวังของผู้รอดชีวิต จึงเดินหน้าค้นหาต่อเนื่อง

ตลอดทั้งคืนมีการใช้อุปกรณ์ตัดถ่างพร้อมเครื่องมือขนาดเล็ก เข้าดำเนินการในบริเวณโซน B ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่ชุดค้นหา ระบุว่า พบสัญญาณต้องสงสัยออกมาจากภายใน และอาจเป็นเสียงสัญญาณการขอความช่วยเหลือ แต่การดำเนินการเป็นไปด้วยความยากลำบาก

เนื่องจากแผ่นปูนคอนกรีตมีความหนากว่า 30 เซนติเมตร และมีเหล็กเส้นอีกมาก เมื่อยกแผ่นคอนกรีตชั้นบนออกได้ก็ยังพบแผ่นปูนคอนกรีตซ้อนทับอีกชั้น กระทั่งช่วงเช้าวันนี้ เวลา 06.00 น. จึงสามารถยกแผ่นปูนออกไปได้ แต่ก็ยังไม่พบโพรงที่จะขุดค้นเข้าไปด้านในได้ เพราะยังมีแผ่นปูนคอนกรีตอีกชั้น

เจ้าหน้าที่จึงสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวอาจมีแผ่นปูนคอนกรีตซ้อนทับกันอีกหลายชั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงจากการทรุดตัวของซากอาคาร

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยยืนยันว่ามีเสียงตอบรับแต่เป็นสัญญาณค่อนข้างเบา แม้จะไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเสียงของผู้ติดค้าง แต่นี่ก็เป็นความหวัง ของผู้ปฏิบัติภารกิจทุกคนรวมถึงผู้ที่รอคอย พร้อมสำหรับว่าด้วยแผ่นปูนคอนกรีตที่ทับกันอยู่หลายชั้น การดำเนินการต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ส่งผลให้ใช้เวลาค่อนข้างนานในการขุดเจาะ

สอบปากคำญาติ และพยาน แล้ว 50 ปาก  

พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น เปิดเผยว่า ตำรวจได้ทำงานควบคู่ไปกับชุดค้นหาจัดคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนลงพื้นที่รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นสอบปากคำพยาน และญาติผู้ประสบภัยไปแล้วกว่า 50 คน รวมทั้งประสานเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้าไปเก็บพยานหลักฐานในระหว่างที่ชุดค้นหาพักการปฏิบัติการ สามารถเก็บตัวอย่างเศษปูนและเศษเหล็กไปแล้วในเบื้องต้น

ขณะที่พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างทำหนังสือไปยังสำนักงานเขตจตุจักร เพื่อขอเอกสารหนังสืออนุญาตก่อสร้างอาคาร รวมทั้งทำหนังสือไปยังสำนักงานตรวจแผ่นดินเพื่อขออนุญาตเข้าไปสอบปากคำเจ้าหน้าที่เพื่อดูหนังสือเริ่มสัญญาการก่อสร้าง พร้อมตั้งประเด็นการสอบสวนตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นไปตามที่ออกแบบหรือไม่

ทั้งนี้ รอง ผบช.น ยังได้กำชับตำรวจในท้องที่ให้ช่วยกันสอดส่องต้องการไม่ให้คนเร่ร่อนหรือมิจฉาชีพแฝงตัวมาเป็นญาติของผู้ประสบภัยในการเรียกรับเงิน หรือหากประชาชนคนใดเจอมิจฉาชีพในลักษณะนี้ก็ให้แจ้งตำรวจที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้ทันที

อ่านข่าว : เมียนมาประกาศหยุดยิงชั่วคราว เปิดทางช่วยฟื้นฟูแผ่นดินไหว

จับแล้ว! มือล่ากระทิงเขาแผงม้า 2 ตัวชำแหละเนื้อขาย

"ชัชชาติ" ย้ำญาติยังมีหวัง หลัง "สก.พญาไท" จี้ปมดูแลคน


DSI สอบตึกสตง.ถล่ม "นอมินีไทยถือหุ้น พบ “ซิน เคอ หยวน” ใบกำกับภาษีปลอม

Thu, 3 Apr 2025 11:55:00

วันนี้ (3 เม.ย.2568) ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้นัดคณะพนักงานสอบสวนประชุมคดีพิเศษที่ 32/2568 ตามความผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยเป็นการประชุมนอกรอบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนประชุมนัดแรกพรุ่งนี้ (4 เม.ย.) หลัง พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ใช้อำนาจอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับคดีนอมินี บจก.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 บริษัทผู้ก่อสร้างที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อาคาร สตง.) แห่งใหม่ ความสูง 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เป็นคดีพิเศษ

อ่านข่าว จนท.เร่งเจาะเข้าจุด “เสียงใต้ตึก” ผ่านคอนกรีตหลายชั้นแต่ยังไม่พบ

พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

รายงานข่าวจากดีเอสไอ ระบุว่า ความผิดทางอาญาที่อยู่ในอำนาจของดีเอสไอจะต้องสอบสวนมี 3 เรื่องคือ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่กฎหมายไทยห้ามต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท

โดยเฉพาะการทำก่อสร้าง นิติบุคคล ซึ่งด่างด้าวจะเข้ามา ถือหุ้นไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ในส่วนของคนไทยเกินกึ่งหนึ่ง แต่ต้องพิสูจน์ว่าคนไทยที่ถือหุ้นนั้น เป็นการถือหุ้นที่แท้จริงหริอไม่ หรือมีการถือหุ้นโดยอำพราง

พบนอมินีคนไทยถือหุ้น “ไชนา เรลเวย์” 

ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพ.ศ.2511 โดยมีเกณฑ์ว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปก็ต้องดู ในเรื่องมาตร ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ เกี่ยวกับเหล็กที่ไม่ได้มาตร ฐาน และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล เบื้องต้นดีเอสไอจะสอบในส่วนที่ตั้งประเด็นไว้ก่อน

สำหรับความผิดว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากการตรวจสอบพฤติการณ์ของ บริษัท ไชนา เรลเวย์ ในฐานะนิติบุคคล กิจการก่อสร้างส่วนใหญ่จะอนุญาตให้จดทะเบียนคนต่างด้าวไม่เกินร้อยละ 49 และคนไทยร้อยละ 51 แต่ พบกรรมการผู้ถือหุ้น 3 คน คือ เป็นสัญชาติจีน 1 คน และผู้ถือหุ้นคนไทย 3 คน คนแรก ถือหุ้นในสัดส่วนกว่าร้อยละ 49 และคนที่ 2 และ 3 ,4 ถือเป็นลดลงตามลำดับ

โดยคนไทย 2 คนแรก ตรวจพบว่าถือหุ้นในเครือบริษัทไชนา เรลเวย์อีก 21 นิติบุคคล แต่มีสถานะที่ไม่เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจที่อาจจะมากกว่า 21 นิติบุคคล ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทำธุรกิจ และฐานะความเป็นอยู่ จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และการสอบของพนักงานสอบสวนว่า การดำเนินคดีอาญากับผู้รับผิดชอบ คือ นิติบุคคล และกรรมการจะเอาผิดในฐานเป็นตัวการร่วม หรือผู้สนับสนุน

อ่านข่าว เข้าสู่วันที่ 7 ตึกถล่ม เร่งค้นหาผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณขอความช่วยเหลือ

แหล่งข่าวจากดีเอสไอ กล่าวว่า  ขณะนี้พบข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทไชน่า จดทะเบียนเป็นกิจการร่วมค้า โดยมีเจตนาประมูลโครงการภาครัฐมีถึง 11 กิจการร่วมค้า และได้มีการประมูลโครงการของภาครัฐไปแล้ว 25 โครงการ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อมูลอีกว่า ที่ตั้งของบริษัทไชนาฯ เรลเวย์ 493 ซอยพุทธบูชา แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กทม. นอกจากใช้เป็นที่ตั้งของบริษัทนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่ตั้งของ นิติบุคคลอื่น ๆ อีก 10 บริษัท ที่ใช้ที่อยู่เดียวกัน

เหล็กข้ออ้อยของซิน เคอ หยวน สตีล ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอายัดไว้

เหล็กข้ออ้อยของซิน เคอ หยวน สตีล ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอายัดไว้

พบซิน เคอ หยวน สตีล ใบกำกับภาษีปลอม

ส่วนบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเหล็กไปตรวจพบว่า ตกมาตรฐาน 2 ไซส์นั้น ดีเอสไอได้ประสานกับกรมสรรพากรพบว่า บริษัท ซิน เคอ หยวน ได้มีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เรื่องการใช้ใบกำกับภาษีปลอมด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าว แม้จะยังไม่ได้เป็นคดีพิเศษแต่มีเหตุผลสนับสนุน เรื่อง บริษัทที่ทำการจัดหาเหล็ก เข้าข่ายการกระทำการโดยไม่สุจริต

อ่านข่าว แผ่นดินไหวเมียนมา 7.4 สะเทือน กทม.-หลายจังหวัดทั่วประเทศ

แหล่งข่าว ยังกล่าวถึงการตรวจสอบการกระทำความผิดในเรื่องคดีฮั้วประมูล การสร้างตึกของสตง.ว่า มีการเสนอต่ำกว่าราคากลาง ตามพ.ร.บ.ฮั้วประมูล ฯ หรือไม่ เพราะฮั้วทำได้ในหลายลักษณะ เช่น ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม การสมยอมราคา การตรวจคุณสมบัติไม่เป็นไปตามทีโออาร์ การล็อกสเปก ทีโออาร์

นอกจากนี้ การเสนอราคาให้ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุนจำนวนมาก ทั้ง หมดจะต้องดูพฤติกรรมว่า มีการสมยอมกันหรือไม่ เพราะการล็อกสเปก นอกจากจะผิด พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ แล้ว ยังผิด พ.ร.บ.ฮั้วประมูลด้วย

ดีเอสไอ มีข้อมูลพอสมควร และที่ต้องตรวจสอบให้รอบด้าน ให้ครบทุกประเด็น

อ่านข่าว จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม


ทั้งนี้คณะทำงานคดีพิเศษ ที่ที่ 32/2568 จำนวน 36 คนประกอบด้วย

อ่านข่าว แบล็กลิสต์! “มนพร” จ่อเลิกสัญญา “กิจการร่วมค้าซีไอเอส” สร้างเทอร์มินัลสนามบินนราฯ

 

 อ่านข่าว จับตา "ทรัมป์" ผลักโลกทั้งใบ สู่สงครามการค้าเต็มรูปแบบ

อ่านข่าว

หวังพบผู้รอด! “ชัชชาติ” ระดม จนท.กู้ภัย ขุดโพรงจุดพบสัญญาณชีพ

 


"กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์" คว้า 20 โครงการรัฐ มูลค่า 1.2 หมื่นล้าน

Wed, 2 Apr 2025 17:24:30

ยังพบความผิดปกติต่อเนื่อง หลังอาคารสตง.มูลค่า 2,136 ล้านบาท ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว ล่าสุด กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซีนัมเบอร์เทน (ไทย) หรือ ITD - CREC NO.10 ในฐานะผู้รับจ้างก่อสร้างได้ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ยืนยันว่า วัสดุก่อสร้างตึก สตง.เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาโครงการ (TOR) ผ่านกรรมการตรวจรับวัสดุเข้มงวด และพร้อมฟื้นฟูเยียวยาเต็มที่ ขอทุกฝ่ายรอผลตรวจสอบทางวิศวกรรมอย่างเป็นทางการ

CREC NO.10 หรือ China Railway No.10 Engineering Group Co., Ltd. คือ บริษัทรับเหมารายใหญ่จากจีน พันธมิตรร่วมในกิจการร่วมค้า "ไอทีดี–ซีอาร์อีซี" ร่วมกับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

เหตุการณ์ผ่านมาแล้ว เกือบหนึ่งสัปดาห์ สื่อหลายสำนักพยายามคลี่ปมปริศนาโครงการก่อสร้างดังกล่าว โดยเฉพาะการรับเหมาก่อสร้างของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ฯ ซึ่งเป็นของทุนจีน และเข้าข่ายใช้คนไทยเป็นนอมินีถือหุ้น คือ นายโสภณ มีชัย (49 % ของ 51 ล้านบาท), นายประจวบ ศิริเขตร (40.8 % ของ 51 ล้านบาท) และนายมานัส ศรีอนันท์ (10.2 % ของ 51 ล้านบาท) ให้เกิน 50% เพื่อไม่ให้ขัดกฎหมายไทยว่าด้วย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

โดยมีการตามไปยังจุดที่ตั้งสำนักงานฯ ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายเอกสาร รื้อป้าย สำนักงานออก ขณะที่บ้านพักของ "ผู้ถือหุ้นชาวไทย" ในบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทไชน่า เรลเวย์ฯ  และบริษัทอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งพบว่าไม่อาจอยู่ในสถานะที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้

นอกจากนี้ ยังพบความเชื่อมโยงในประเด็น วัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กประเภทต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างที่มาจาก 3 บริษัท คือ บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน) และบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (จีน) แต่จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจสอบพบ 2 ไซส์ที่ตกมาตรฐานเป็นเหล็กของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล ซึ่งตั้งอยู่ใน จ.ระยอง ด้วย

คว้า 20 โครงการ "กิจการร่วมค้า-ไชน่า ฯ" รับงานภาครัฐ

สำหรับบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) แม้จะจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อปี 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แต่สามารถประกอบกิจการในนามเครือข่ายกิจการร่วมค้า และเป็นผู้ชนะการประกวดราคาโครงการก่อสร้างภาครัฐได้ถึง 20 โครงการ ตั้งแต่ปี 2562-2565 ดังนี้

ปี 2562 มี 4 โครงการ

ปี 2563 มี 4 โครงการ

ปี 2564 มี 7 โครงการ

ปี 2565 มี 3 โครงการ

นอกจากนี้ ยังมีอาคารศูนย์ฝึกกีฬามวยมาตรฐานระดับสากลสนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย มูลค่า 608 ล้านบาท รวมทั้ง อาคาร สตง.ที่ถล่มไปมูลค่า 2,136 ล้านบาท  ทั้งหมดเป็นโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการทั้งสิ้น ด้วยวงเงินงบประมาณมูลค่ากว่า 12,314 หมื่นล้านบาท และมีราคากลางอยู่ที่ 11,445 หมื่นล้านบาท 

โดยราคาที่ตกลงตามสัญญา อยู่ที่ 9,868 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าความแตกต่างระหว่างวงเงินงบประมาณกับราคาที่ตกลงตามสัญญา 2,446 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.86 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีการตัดราคาในการเสนอราคากับคู่แข่งอย่างเข้มข้นและดุเดือดมาก

อย่างไรก็ตาม หากจำแนกการรับงานของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) พบมีงานโครงการก่อสร้างภาครัฐ 4 โครงการ

และในรูปกิจการร่วมค้า AKC (อัครกร ดีเวลอปเม้นท์- ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำนวน 3 โครงการ

คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 โครงการ และศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ 1 โครงการ

ดังจะเห็นว่า โครงการที่ "กิจการร่วมค้า" คว้าชัยในการประกวดราคาจัดจ้าง 20 โครงการทั้งหมดยังอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งโครงก่อสร้างตึก สตง. ในความรับผิดชอบของ "ITD-CREC" บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ และบริษัท China Railway No.10 Engineering Group ในฐานะผู้รับเหมาหลัก

และหลังจากดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว ปมปริศนาจะกระจ่างชัดขึ้นว่า เหตุใด "แผ่นดิน" จึงต้องฟ้องให้สิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ภายในตัวอาคารแห่งนี้ เปิดเผยออกมา 

อ่านข่าว : ดีเอสไอรับคดีตึก สตง.ถล่มเป็นคดีพิเศษ ชี้ความผิดนอมินีชัดสุด

กกร. ชี้ ทรัมป์ขึ้นภาษี ฉุด GOP ร่วง 0.2-0.6%

ทรัมป์ ขึ้นภาษี ไทยสูญ 8 พันล้าน เอกชนจี้ "เพิ่มนำเข้า-เจรจา FTA"


ดีเอสไอรับตึก สตง.ถล่มเป็นคดีพิเศษ ชี้ความผิดนอมินีชัดสุด

Wed, 2 Apr 2025 16:32:00

วันนี้ (2 เม.ย.2568) พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าหลังรับคดีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม เข้าเป็นคดีพิเศษ ว่า ภายหลังที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงข้อสงสัยว่าบริษัทสัญชาติจีน ที่รับเหมาก่อสร้าง อาจมีบริษัทไทยร่วมค้าเป็นนอมินี จึงมอบหมายให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริง

ขณะนี้ดีเอสไอได้รับเป็นคดีพิเศษ ได้รับเป็นคดีพิเศษเลขที่ 32/2568 โดยเป็นไปตามเงื่อนไขเข้าลักษณะความผิดท้ายบัญชี ตาม พ.ร.บ.คดีพิเศษ ที่ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณารับเข้าคดีพิเศษได้โดยไม่ต้องเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ

ขั้นตอนหลังจากนี้ จะตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยมีรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหัวหน้าคณะ ส่วนการพิจารณาความผิด ขณะนี้พบเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือ นอมินี , ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ ฮั้วประมูล

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ระบุ ว่า ความผิดที่พบชัดเจน คือ คดีนอมินี ความหมายคือ ไม่ใช่ตัวจริง จากการตรวจสอบ แม้จะพบว่า มีคนไทยถือหุ้นอยู่ร้อยละ 51 แต่จะตรวจสอบกลุ่มนี้ ว่าสอดคล้องกับฐานานุรูปหรือไม่ ซึ่งถือว่า ผิดปกติจากที่ทำธุรกิจขนาดใหญ่และมีมูลค่ามาก

โดยพบว่า คนไทยกลุ่มนี้ยังถือหุ้นกับบริษัทอื่นไม่ต่ำกว่า 3 บริษัทในเครือ จากทั้งหมด 13 บริษัท ซึ่งจะตรวจสอบเส้นทางการจดทะเบียน ,ประกอบธุรกิจ ,กรรมการผู้ถือหุ้น และตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับกลุ่มบริษัทที่ได้งานประมูลโครงการภาครัฐและอื่นๆ ว่าเข้าข่ายฮั้วประมูลหรือไม่

ส่วนประเด็นที่เข้าข่ายมีความผิด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. จะต้องตรวจสอบการก่อสร้างทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องเหล็ก แต่ในรายละเอียดอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนเรื่องฮั้วประมูล จะตรวจสอบ เรื่องการเทียบราคากลาง และบริษัทคู่เทียบ ว่า มีจริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องสืบสวนข้อเท็จจริงจากคดี นอมินีก่อน นอกจากนี้ จะตรวจสอบในประเด็นวิศวกรก่อสร้าง ที่ถือวีซ่านักศึกษา ด้วย

โดยจะเรียกผู้เกี่ยวข้อง เข้ามาให้ปากคำทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและประสานกรมสรรพากร เพื่อเอาเอกสาร ก่อนจะกำหนดลำดับบุคคลที่จะเชิญเข้ามาให้ปากคำ

อ่านข่าว :

นักวิชาการจับตา “3 รอยเลื่อน” ชี้กระทบแรง เพราะกรุงเทพฯ เป็นแอ่งดินอ่อน

สตง.ต้องปกป้องงบแผ่นดิน ทัวร์ลงหนักจดหมายเวียนผู้ว่าฯ

จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม


โจทย์หิน! กำจัดซากปรักหักพังแผ่นดินไหว

Wed, 2 Apr 2025 16:05:00

ซากคอนกรีตและเศษปูนขนาดมหึมา บางแผ่นหนากว่า 1 เมตร ปะปนไปด้วยเหล็กเส้น ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่บางเส้นมีน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัม แผ่นเหล็ก เศษกระจกกระจัดกระจายกองทับกันมีความสูงมากกว่าตึก 5 ชั้น และกินพื้นที่กว่า 5 ไร่

บางจุดยังคงมีร่องรอยให้เห็นถึงโครงสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 30 ชั้นที่พังครืนในช่วงเวลาไม่ถึง 5 วินาที หลังแผ่นดินไหวเมียนมา 8.2 แต่สะเทือนถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 5 วันก่อน กลายเป็นโจทย์ใหญ่ในการกู้ภัย และค้นหาผู้สูญหาย 70 ชีวิตจากซากตึกถล่ม

ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่ทำงานมา 40 ปี ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้หนักที่สุด เพราะอาคารปูนสูง 30 ชั้นถล่มลงมาพร้อมกัน
รถเครนขนาดใหญ่ เครื่องจักรเข้าพื้นทีเพื่อระดมขนย้ายเศษปูนอิฐขนาดใหญ่ตึก สตง.ถล่ม

รถเครนขนาดใหญ่ เครื่องจักรเข้าพื้นทีเพื่อระดมขนย้ายเศษปูนอิฐขนาดใหญ่ตึก สตง.ถล่ม

ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกถึงโจทย์หิน เนื่องจากตลอด 5 วันทีมกู้ภัยทั้งไทย และต่างประเทศ ต้องทำงานกลางซากปรักหักพังของตึก 

โจทย์แรก คือการค้นหาผู้สูญหายที่ทำงานในตึกแห่งนี้ ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ทำให้ช่วง 2 วันแรกยังไม่สามารถนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าค้นหา เพราะอาจเสี่ยงกับผู้สูญหายที่มีชีวิตใต้ตึก

อ่านข่าว นักวิชาการจับตา “3 รอยเลื่อน” ชี้กระทบแรง เพราะกรุงเทพฯ เป็นแอ่งดินอ่อน

กระทั่งล่วงเลยสู่ชั่วโมงที่ 72 เจ้าหน้าที่มีการปรับยุทธวิธี ด้วยการใช้เครื่องจักรเข้ารื้อถอนมากขี้น พร้อมทั้งเครื่องจักรใหญ่เข้ามาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบขณะที่การกู้ภัย ทีมกู้ภัยนานาชาติ ยังคงหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังกำลังอย่างต่อเนื่องตลอด ภาพรวมถือว่าการทำงานของทีมกู้ชีพ ทำมาถูกทางแล้ว 

ขณะนี้ได้นำคอนกรีตออกจากพื้นที่ได้ราว 100 ตัน ยอมรับการช่วยชีวิต การรื้อถอนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แม้จะพบกับข่าวร้ายผู้เสียชีวิตที่พบ 10 ชีวิตแต่ยังนำออกมาไม่ได้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม.ลงพื้นที่ตึก สตง.ถล่ม

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม.ลงพื้นที่ตึก สตง.ถล่ม

ชัชชาติ บอกว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กู้ภัย เจาะช่องอุโมงค์ไว้หลายจุดแล้ว เพื่อจะเร่งหาผู้รอดชีวิตให้ได้มากที่สุด และในเวลา 18.00 น.วันนี้ จะมีการประชุมอีกครั้ง เพื่อนำเครื่องจักรใหญ่เข้าพื้นที่เพิ่มขึ้น และรื้ออาคารด้านบนให้มากขึ้น

แต่ยังต้องดูว่ามีผู้รอดชีวิตอยู่หรือไม่ หากรื้ออาคารด้านบนทีมกู้ชีพค้นหาผู้รอดชีวิตก็ต้องหยุดปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าระหว่างรื้อ หากพบสัญญาณชีพ ทีมกู้ชีพก็จะเข้าพื้นที่

งานหินเศษย่อยคอนกรีต-เหล็กเสี่ยงพัง

การยกคอนกรีต 1 ชิ้นไม่ได้ง่ายเพราะมีน้ำหนักหนักมากอาจเกิดอันตรายกับผู้อยูหน้างาน และเครนน้ำหนัก 100 ตัน แต่เวลาที่ยืดแขนยกน้ำหนักเพียง 20 ตัน และต้องมาซอยย่อยทั้งปูนและเหล็ก  

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกอีกว่า การจัดการเศษคอนกรีตที่พังถล่มต้องค่อยตัดออกให้เหลือน้ำหนัก 10 ตัน เพื่อให้ปลอดภัยกับทีมปฎิบัติงานและให้ทยอยขนย้ายออกจากพื้นที่ 

วันนี้เจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย นำอุปกรณ์ เครื่องตัด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจพื้นที่ เข้ามาที่จุดเกิดเหตุอาคาร เพื่อทำการสำรวจพื้นที่ และเก็บตัวอย่างวัสดุนำไปตรวจสอบ หาข้อเท็จจริงของการก่อสร้างอาคารและสาเหตุของการถล่ม

รวมถึงการตรวจสอบว่าเป็นไปตามโดยได้ร่วมกับทางเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะเจ้าของโครงการ เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ร่วมกัน

เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่า เบื้องต้นจะทำการสำรวจพื้นที่ก่อนว่าจะสามารถเข้าไปเก็บตัวอย่างวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เหล็ก และอื่น ๆ ได้ที่บริเวณจุดไหน หรือโซนไหนบ้าง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้เข้าพื้นที่โซนนั้น ๆ โดยจะคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้วย

อ่านข่าว ดรามา! สตง.สูดลมหายใจก้าวข้ามตึกถล่มลืม 70 ชีวิตใต้ซาก

สำหรับการก่อสร้างสำนักงาน สตง.สร้างขึ้นบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ 3 งาน บริเวณ ถ.กำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร งบก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท เป็นอาคาร 30 ชั้นและก่อสร้างแล้ว 30% โดยบริษัทผู้ชนะการประกวดราคาคือกิจการร่วมค้าไอทีดี ซีอาร์อีซี หรือบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

ซากตึกถล่มแผ่นดินไหว แนะย้ายภายใน 1 เดือน

น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือกับทาง กทม.เรื่องจัดการขยะตึกถล่มแผ่นดินไหว แต่ทางกทม.มีรูปแบบการการจัดการที่ดีมากอยู่แล้ว

ข้อน่ากังวลของการจัดการตึกถล่มคือปัญหาเรื่องฝุ่น เพราะระหว่างการรื้อถอนซากปูน เศษอิฐจากการก่อสร้างอาจทำฝุ่นฟุ้งกระจายออกมา

เช่นเดียวกับความเห็นของ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ระบุว่า ปัญหาจากการซากปรักหักพัง ลำดับแรกคือฝุ่นจากการเจาะรื้อเศษอิฐ คอนกรีตที่อาจทำให้การฟุ้งกระจายรอบพื้นที่ แนะนำผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน ต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น และควรมีการทำสแกนกั้นและฉีดน้ำไล่ฝุ่นเป็นระยะๆ 

เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำไล่ฝุ่นหลังการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อรื้อโครงสร้างที่พังถล่มลงมา

เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำไล่ฝุ่นหลังการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อรื้อโครงสร้างที่พังถล่มลงมา

ส่วนขยะพวกปูน อิฐ หินจากการก่อสร้างไม่อันตราย สามารถนำไปถมที่ได้ ในพื้นที่ลุ่มที่ขุดดินออกไปแล้ว แต่ไม่แนะนำให้เป็นดินการเกษตร โดยะจะต้องนำปูนแยกออกจากเหล็ก เพื่อนำออกใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เชื่อว่าถ้ามีแบบก่อสร้าง ปริมาณปูน เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร 30 ชั้นแล้วจะช่วยให้คำนวณปริมาณซากเศษตึกที่ถล่มและจัดการได้ โดยประเมินแล้วอาจใช้เวลากว่า 1 เดือนกว่าจะเคลียร์ทั้งหมดออก 

ไทยไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการซากปรักหักพังตึกถล่มแผ่นดินไหวมาก่อน  แนะนำให้นำบทเรียนจากตุรกีที่เคยเผชิญกับแผ่นดินไหวใหญ่และต้องจัดการซากตึกจำนวนมากที่พังถล่ม

ในส่วนของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ก่อนหน้านี้สํานักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน German Federal Ministry for Economic Cooperation (BMZ) ออกแนวทางปฏิบัติในการจัดการของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอน ถึงแม้ว่าของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนในประเทศไทยยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ได้ซ่อนปัญหาสิ่งแวดล้อมไว้มาก

โดยของเสียประเภทนี้บางส่วนถูกทิ้งอย่างผิดกฏหมาย ปัจจุบันยังไม่มีการประกาศของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนเป็นขยะประเภทหนึ่ง แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขยะชุมชนเท่านั้น

อ่านข่าว จนท.โยธาฯ-สตง.เก็บตัวอย่างวัสดุ-เหล็ก ตรวจหาสาเหตุตึกถล่ม

คัดแยกขยะและซากปรักหักพัง 

สอดคล้องกับข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เสนอแนะ 4 วิธีเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ดังนี้

โดยเฉพาะการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าและก๊าซ ก่อนการปฎิบัติงานในพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้ครบถ้วน เช่น หน้ากากกันฝุ่น ถุงมือ หมวกนิรภัย

ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องจัดเก็บในภาชนะเฉพาะ

ซากวัสดุจากการก่อสร้าง ประเภทอิฐ คอนกรีตเหล็ก และไม้ ควรแยกระเภทเพื่อความสะดวกในการขนย้าย

ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร และวัสดุที่ย่อยสลายได้ ควรเร่งกำจัดให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเน่าเสีย และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและป้องกันสัตวพาหะนำโรค

นำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่นการเจาในเตาที่มีการควบคุมอุณหภูมิเป็นไปตามมาตรฐานและมีการควบคุมมลพิษที่เกิดจากการเผา
และการฝังกลบอย่างปลอดภัย

อ่านข่าว เปิด 13 โครงการรัฐไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ชนะประมูล

ห่วงฝุ่นพิษ-แนะผู้ปฏิบัติภารกิจป้องกัน

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากซากปรักหักพังของอาคารที่ถล่ม โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และทีมกู้ภัย ควรปฏิบัติตนเพื่อป้องกันสุขภาพจากฝุ่นละออง ดังนี้

อ่านข่าว วันแรก! เปิดจราจร ถ.กำแพงเพชร 2 ตึกสตง.ถล่มตาย 15 คน

เศษเหล็กขนาดใหญ่ที่ต้องรื้อถอนออกด้วยความยากลำบาก

เศษเหล็กขนาดใหญ่ที่ต้องรื้อถอนออกด้วยความยากลำบาก

บทเรียน "ตุรกี" เคยเผชิญซากปรักหักพัง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2566 ตุรกีเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ซึ่งถูกขนานนามภัยพิบัตินี้ว่า “ภัยพิบัติแห่งศตวรรษ” รุนแรงสุดในรอบ 100 ปีที่คร่าชีวิตกว่า 50,000 คน และบาดเจ็บมากกว่า 100,000 คน

ไม่เพียงภัยพิบัติ แต่ตุรกีเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในการกำจัดขยะ เศษหินหรืออิฐที่เหลือจากอาคารอาคาร 227,000 หลัง พังทลายจากแผ่นดินไหว

โดยการเก็บกู้และกวาดเศษซากปรักหักพัง ในช่วง 2 สัปดาห์ รถขุดหลายร้อยคันทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อกำจัดฝุ่นจากซากปรักหักพัง รื้อถอนอาคารที่เหลือ ซึ่งทางการท้องถิ่นพิจารณาว่าไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย Sezgin

เศษหินที่ถูกเก็บไว้ในถังขยะชั่วคราว ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับมลพิษจากสารเคมีต่าง ๆ เช่น แร่ใยหิน ซึ่งเป็นเส้นใยที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่เคยใช้เป็นวัสดุฉนวนในอดีต แต่ตอนนี้ถูกห้ามใช้แล้วในประเทศส่วนใหญ่รวมถึงตุรกี

นำขยะแผ่นดินไหวกลับมาใช้ใหม่ 

สอดคล้องกับข้อมูลของ NLM หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ระบุความเสี่ยงด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมหลังแผ่นดินไหวในตุรกี-ซีเรียในปี 2566เนื้อหาระบุว่า การกำจัดเศษซากจากภัยพิบัติ และปัญหาการจัดการขยะ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในตุรกีและซีเรียในปี 2566 การจัดการเศษซากจากภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิผลและปลอดภัยกลายเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ ของ 2 ประเทศ

เหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้มีเศษซาก ซากปรักหักพัง และสารอันตรายสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศและสุขภาพอย่างมากรัฐบาลของตุรกีและซีเรีย ไวมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในการพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมสำหรับการจัดการเศษซาก 

ขั้นตอนแรกประกอบด้วยการประเมินอย่างครอบคลุมของภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ เพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่มีความเร่งด่วนสูงสุดที่จำเป็นต้องกำจัดเศษซากโดยเร็ว ทีมเฉพาะทางได้รับการส่งไปพร้อมเครื่องจักรหนักและบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมเพื่อเคลียร์เศษซากอย่างเป็นระบบ

โดยมุ่งเน้นไปที่การกู้คืนวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการสร้างใหม่หลังภัยพิบัติเป็นหลัก

พร้อมกันนี้ มีการบังคับใช้ขั้นตอนที่เข้มงวดเพื่อแยกขยะอันตราย เช่น แร่ใยหินและสารอันตรายอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกักเก็บและกำจัดอย่างเหมาะสมในสถานที่ที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม

นอกจากนี้ทั้ง 2 ประเทศยังสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทำความสะ อาด โดยระดมชาวเมือง อาสาสมัครในท้องถิ่น เพื่อช่วยในการกำจัดเศษซากและฟื้นฟู การกำจัดเศษซากจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานของรัฐ องค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศ และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ 

 


ชาย 51 ปี ก่อเหตุฆ่า "พ่อ-แม่-น้องชาย" พบประวัติป่วยจิตเวช

Wed, 2 Apr 2025 14:56:28

กรณีนายอั้น วัย 51 ปี ก่อเหตุฆาตกรรมพ่อแม่ของตัวเอง และน้องชายที่เข้าไปพบศพพ่อและแม่ รวมเป็น 3 ศพ

ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (2 เม.ย.2568) พ.ต.อ.สุทัศน์ สงสยม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เข้าติดตามตรวจสอบที่เกิดเหตุอย่างละเอียด เนื่องจากเป็นเหตุสะเทือนขวัญ

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุบริเวณห้องนอน พบศพนายสะอาด อายุ 82 ปี และนางปลื้ม อายุ 71 ปี พ่อและแม่ผู้ก่อเหตุ ส่วนศพบริเวณหน้าประตูบ้าน คือ นายอนันตศักดิ์ อายุ 31 ปี น้องชาย

ทั้งนี้ คาดว่าพ่อและแม่ของผู้ก่อเหตุ เสียชีวิตมาแล้วนาน 48 ชั่วโมง ต่อมาน้องชายได้เข้ามาที่บ้านและพบศพทั้งคู่ จึงถูกฆ่าอีก 1 คน ซึ่งอยู่ก่อเหตุยังคงอยู่ในบ้านพัก กระทั่งมีผู้พบเห็นและแจ้งเจ้าหน้าที่

พ.ต.อ.สุทัศน์ เปิดเผยว่า ผู้ก่อเหตุใช้อาวุธเป็นเหล็กแทงปาล์ม และมีดพร้า ซึ่งการตรวจสอบประวัติพบว่าก่อนหน้านี้ 4 ปี ครอบครัวได้นำตัวนายอั้นไปรักษาอาการป่วยจิตเวช ที่โรงพยาบาลสงขลา จากนั้นกินยาเรื่อยมา ขณะที่การตรวจปัสสาวะ ไม่พบสารเสพติด

ตลอด 4 ปีที่ไปรักษาตัวนั้น ไม่มีประวัติการทำร้ายคนในครอบครัว และเพื่อนบ้านไม่เคยพบเห็นการมีปากเสียงหรือวิวาทในครอบครัว รวมทั้งตำรวจท้องที่ไม่เคยรับแจ้งเหตุมาก่อน

พ.ต.อ.สุทัศน์ กล่าวว่า เพื่อนบ้านเกิดความสงสัยว่าครอบครัวนี้ไม่มีใครออกจากบ้านมา 2-3 วันแล้ว มีเพียงนายอั้นเดินอยู่บ้าง จึงเดินมาดูและได้กลิ่นศพ จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

ขณะนี้ยังไม่สามารถแจ้งข้อกล่าวหากับนายอั้นได้ โดยอยู่ระหว่างคุมตัวไปยัง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช เพื่อให้แพทย์ตรวจว่าอยู่ในอาการป่วยจิตเวชหรือไม่ หากพบว่าป่วยจะต้องรักษาก่อนแจ้งข้อกล่าวหา แต่หากไม่พบว่ามีอาการจิตเวช สามารถแจ้งข้อหาดำเนินคดีได้ทันที

อ่านข่าว : สธ.เขต 12 เผยผลตรวจสร้างอาคาร รพ.สงขลา ยันมีมาตรฐานทุกขั้นตอน 

โกหกทั้งประเทศ! ลุง 50 ปีขอโทษ กุเรื่องเมียท้องติดใต้ซากตึกถล่ม 

เคสแรกในไทยใช้ “สเต็มเซลล์” รักษา “ลูกช้างวาสนา” ป่วยเฮอร์ปีส์ไวรัส 

 


สธ.เขต 12 เผยผลตรวจสร้างอาคาร รพ.สงขลา ยันมีมาตรฐานทุกขั้นตอน

Wed, 2 Apr 2025 13:06:00

วันนี้ (2 เม.ย.2568) นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 กล่าวถึงกรณีประชาชนมีข้อกังวลถึงความปลอดภัยของการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสงขลา เนื่องจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นบริษัทเดียวกับที่ก่อสร้างอาคาร สตง. ที่ถล่ม หลังเกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมา ว่า กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลสงขลา ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายให้ นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นพ.รัตนพล ล้อประเสริฐกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา ประสานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา เข้าตรวจสอบการก่อสร้างอาคารบริเวณหน้างาน

เบื้องต้นไม่พบความผิดปกติจากเหตุแผ่นดินไหว ส่วนการก่อสร้างโรงพยาบาลสงขลา มีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่รัดกุม โดยคณะกรรมการควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจรับงาน มีทั้งวิศวกรของโรงพยาบาล โยธาธิการจังหวัด และนายช่างจากกองแบบกระทรวงสาธารณสุข

ส่วนวัสุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ปูน ได้กำหนดให้มีมาตรฐาน มอก. และมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนใช้ โดยสำนักงานโยธาธิการจังหวัด

จากการตรวจสอบคุณภาพเหล็ก พบว่า มีหลากหลายยี่ห้อ หลายขนาด แต่ทั้งหมดผ่านการทดสอบคุณภาพครบถ้วนตามมาตรฐาน เช่น ขนาด น้ำหนักเฉลี่ย ความต้านทานแรงดึงต่ำสุด-สูงสุด อัตราความยึดเฉลี่ย ส่วนปูนก็มีการเก็บตัวอย่างมาทดสอบตามระยะเวลาเพื่อดูคุณภาพเช่นกัน

ขอให้ประชาชนวางใจว่ากระบวนการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้มีการกำกับดูแลตามมาตรฐาน กระบวนการว่าจ้างและการตรวจรับงานเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบราชการ

อย่างไรก็ตาม พบว่าการก่อสร้างมีความล่าช้าจากการแก้ไขแบบ ซึ่งจะได้ติดตามเร่งรัดให้การก่อสร้างอาคารเป็นไปตามกรอบระยะเวลาโดยยึดความปลอดภัยเป็นหลัก และไม่ให้เกิดปัญหาการทิ้งงาน

สำหรับการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสงขลา เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) จำนวน 9 ชั้น โครงสร้างออกแบบให้สามารถต้านแผ่นดินไหวได้ พื้นที่ใช้สอย 21,652 ตารางเมตร ใช้งบประมาณ 426.9 ล้านบาท จัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ออกแบบโดยกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งเคยนำแบบแปลนนี้ไปก่อสร้างอาคารที่โรงพยาบาลปัตตานีมาก่อนแล้ว สัญญาเริ่มวันที่ 29 ส.ค.2565 สิ้นสุดวันที่ 24 ก.ค.2568 การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 45.18%

อ่านข่าว : วันแรก! เปิดจราจร ถ.กำแพงเพชร 2 ตึกสตง.ถล่มตาย 15 คน 

“พิชัย” ชี้พบพิรุธ “ไชน่า เรลเวย์ฯ” เข้าข่ายนอมินี ส่งดีเอสไอสอบเชิงลึก 

นำร่างคนที่ 14 เหตุตึก สตง.ถล่ม พบอีก 12 ร่างยังนำออกไม่ได้ 


วันแรก! เปิดจราจร ถ.กำแพงเพชร 2 ตึกสตง.ถล่มตาย 15 คน

Wed, 2 Apr 2025 10:24:00

วันนี้ (2 เม.ย.2568) เข้าสู่วันที่ 5 เหตุการณ์แผ่นดินไหวตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มมีผู้เสียชีวิต 15 คนสูญหายกว่า 70 คน ท่ามกลางการระดมค้นหาอย่างเข้มข้น 

เมื่อวลา 08.00 น.ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว อาคาร สตง.ถล่ม มีผู้บาดเจ็บ 19 คน เสียชีวิต 15 คนขณะที่สถานการณ์พื้นที่ กทม.มีผู้เสียชีวิตรวม 22 คน บาดเจ็บ 34 คน

เมื่อเวลา 09.40 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่มาเยี่ยมญาติผู้ประสบภัยที่เต็นท์พักคอย ด้านหน้าจุดเกิดเหตุอาคารพังถล่ม โดยพูดคุย และให้กำลังใจกับญาติผู้ได้รับผลกระทบ บริเวณที่เต็นท์พักคอยญาติผู้ประสบภัยโดยใช้เวลา 20 นาทีในการพูดคุย โดยระบุเพียงสั้นๆ ว่า

วันนี้มาเยี่ยมญาติ มาให้กำลังใจ เรายังคงมีความหวังต่อไป

ก่อนเดินทางกลับไปทำภารกิจต่อไป

สำหรับศูนย์พักคอยมีทีมเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน และมีสิ่งความอำนวยความสะดวกมากมายทั้ง พัดลม เครื่องปรับอากาศ เตียงนอนและเครื่องนอนต่าง ๆ  โดยมีผู้เข้าใช้บริการมีมากถึง 67 คน แบ่งเป็นคนไทย 44 คน แรงงานข้ามชาติ 23 คน ซึ่งได้มีเต็นท์ให้บริการ 3 เต็นท์โดยให้ผู้ชาย 2 เต็นท์และผู้หญิง1 เต็นท์

เมื่อเวลา 10.30 น. ทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ลงพื้นที่หลังเหตุการณ์ตึก สตง.30 ชั้นพังถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวเป็นครั้งแรก

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม

วันแรกเปิดจราจรถนนกำแพงเพชร 2 

ขณะที่ตำรวจจราจร สน.บางซื่อ เปิดเส้นทางจราจร ฝั่งขาเข้ามุ่งหน้าแยก อตก.ทางเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ หลังเกิดเหตุอาคารถล่มจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา

โดยปิดทางสัญจรให้ใช้เพียงฝั่งเดียวคือฝั่งบริเวณอาคารที่เกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน รวมถึงสื่อมวลชนต่างก็เดินข้ามถนน ใช้พื้นที่ไปมาอย่างต่อเนื่อง

วันแรก เปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 2 หลังตึก สตง.ถล่ม

วันแรก เปิดการจราจรถนนกำแพงเพชร 2 หลังตึก สตง.ถล่ม

สำหรับภารกิจ การค้นหาและช่วยเหลือผู้ติดตามภายในอาคาร ยังคงเดินหน้าต่อและตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่มอีก 1 คน ซึ่งการเคลื่อนย้ายก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก

ส่วนการปฏิบัติภารกิจตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. ที่ผ่านมา และยังคงมุ่งประเด็นไปที่การค้นหาผู้ติดค้าง เพื่อช่วยเหลือออกมาให้ได้มากที่สุด

ส่วนแผนการที่จะดำเนินการในวันนี้ คาดว่าจะใช้เครื่องมือหนักเข้ารื้อซากอาคาร ตัดยกแผ่นปูนซีเมนต์จากด้านบนออกมา สลับกับการส่งเจ้าหน้าที่เดินเท้าค้นหา พร้อมทั้งมี และสุนัข K9 ร่วมภารกิจค้นหาผู้ติดค้าง

สำหรับยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการมีจำนวน 15 คน ยังคงมีผู้สูญหายอีก 72 คน ยังไม่มีรายงานเจอผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่มเพิ่มเติม

อ่านข่าว แบล็กลิสต์! “มนพร” สั่งฟันผู้รับจ้างสร้างเทอร์มินัลใหม่สนามบินนราธิวาส

ขณะที่กรณีชาวจีน 4 คนที่เข้าไปขนเอกสาร จากพื้นที่ อาคาร สตง.ถล่ม ศาลพิพากษาจำคุก 4 คนละ 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี

จราจรกำแพงเพชรคล่องตัวหลังเปิดใช้วันแรก

พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวแทนคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มารอต้อนรับนายกรัฐมนตรี ระบุว่า สำหรับการจราจรหลังจากที่มีการปรับให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ถนนกำแพงเพชร 2 ได้ตามปกติในช่องทางฝั่งตรงข้ามกับจุดเกิดเหตุที่อาคารถล่ม

ถือว่าจราจรคล่องตัวดี ประชาชนกลับมาดำรงชีวิตได้ปกติมากขึ้น แต่ขอความร่วมมือให้ใช้เส้นทางอย่างระมัดระวัง อย่าหยุดชะลอดูในจุดที่เกิดเหตุเพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนถนนได้

พล.ต.อ.อดิศร์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีเครื่องจักรใหญ่เข้ามา ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบภายในเร็ววันนี้ ส่วนกู้ภัยนานาชาติยังอยู่ครบ หมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังโดยตลอด

อ่านข่าว

แจ้งรอยร้าวอาคารแผ่นดินไหวแล้ว 15,500 เคส ทีมวิศวกรเร่งตรวจสอบ

 

 


“พิชัย” ชี้พบพิรุธ “ไชน่า เรลเวย์ฯ” เข้าข่ายนอมินี ส่งดีเอสไอสอบเชิงลึก

Tue, 1 Apr 2025 17:32:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่พังถล่มหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา

จากการลงพื้นที่ของ ร.ต.จักรา ยอดมณี รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบความผิดปกติหลายประการ เช่น เมื่อไปตรวจสอบสถานที่ตั้งของบริษัท ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดรับสายโทรศัพท์หรือกดกริ่งที่อาคาร ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

พบว่ามีสิ่งผิดปกติค่อนข้างมาก และวันที่ 4 เม.ย.นี้ จะนำผลตรวจสอบเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งตนเป็นประธาน

รมว.พาณิชย์ กล่วอีกว่า มีความผิดปกติค่อนข้างมาก และเครือข่ายของบริษัทนี้ค่อนข้างกว้าง จะต้องตรวจสอบให้รอบด้าน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ดำเนินการอย่างถึงที่สุด ไม่มีการฮั้ว ไม่มีการปกปิด โปร่งใสชัดเจน และจะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด

โดยจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมด รวมถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ซึ่งขณะนี้ตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายนอมินีสูง หากพบว่ามีการกระทำผิดจริง ทั้งผู้ถือหุ้นคนไทยและต่างชาติ จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท

ทั้งนี้การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าผู้ถือหุ้น 10 % ของบริษัท ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่กลับมีรถยนต์ใช้งาน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติ เนื่องจาก 10 % ของทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เท่ากับ 100 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ที่ถือหุ้นระดับนี้ควรมีฐานะที่มั่นคง กระทรวงพาณิชย์จึงได้รวบรวมข้อมูลและส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบเพิ่มเติม หากพบว่ามีการกระทำผิด จะดำเนินการทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา

ด้านนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้กำชับให้คณะทำงานตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 อย่างเข้มงวด โดยวันนี้( 1 เม.ย.) รองปลัดกระทรวงพาณิชย์จะเป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และกรมสรรพากร โดยตั้งเป้าสรุปผลภายใน 7 วัน

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์

เบื้องต้น พบว่ากรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับบริษัทอื่นอีก 13 แห่ง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมว่าบริษัทเหล่านี้รับงานจากที่ใดบ้าง และยังมีการดำเนินกิจการอยู่หรือไม่

แม้ว่าบริษัทนี้จะมีผู้ถือหุ้นชาวไทย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเข้าข่ายนอมินีหรือไม่ จึงได้ประสานกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ตั้งบริษัท รวมถึงการเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมสิทธิ์ที่ดิน

รมช.พาณิชย์ ย้ำว่ากระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าตรวจสอบบริษัทต่างชาติที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนอมินีเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทย

จากการตรวจสอบข้อมูลผู้ถือหุ้นของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด พบว่ามีความเชื่อมโยงกับบริษัทอื่นหลายแห่ง โดยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า บริษัทนี้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561 มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย และจากงบการเงินล่าสุดปี 2567 ระบุว่าประกอบกิจการด้านทรัพยากรมนุษย์และรับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน บริษัทมีกรรมการ 2 ราย ได้แก่ นายชวนหลิง จาง และนายโสภณ มีชัย โดยมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบ่งเป็น 49 % จีน และ 51 % ไทย อย่างไรก็ตาม พบว่ามีความเชื่อมโยงกับบริษัทอื่นอีก 13 แห่ง ซึ่งอาจเข้าข่ายการฮั้วประมูลและกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยนอมินีและ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง

โดยที่ประชุมคณะทำงานจึงมีมติให้ตั้งคณะตรวจสอบย่อย 5 ชุด โดยแบ่งเป็น 3 ชุดแรก ตรวจสอบกรณีการเป็นนอมินีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และคุณภาพสินค้า อีก 2 ชุด ลงพื้นที่ตรวจสอบธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง และการถือครองที่ดินของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ การตรวจสอบจะดำเนินการอย่างเข้มข้น โดยมุ่งเน้นหาหลักฐานเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

อ่านข่าว:

 เดินทางแนวนอนปลอดภัย “แผ่นดินไหวเกิดอีก” แต่ไม่ใช่ภัยพิบัติ

“ซิน เคอ หยวน” สตีล บริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง “ทุนจีน-หุ้นไทย”


นำร่างคนที่ 14 เหตุตึก สตง.ถล่ม พบอีก 12 ร่างยังนำออกไม่ได้

Tue, 1 Apr 2025 17:09:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) เมื่อเวลา 14.00 น.เจ้าหน้าที่กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกคนที่ 14 จากด้านบนซากตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม พร้อมนำร่างส่งต่อไปที่สถาบันนิติเวช เพื่อตรวจสอบอัตลักษณ์ในลำดับต่อไป

ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังระดมค้นหาต่อเนื่อง หลังสแกนพบสัญญาณมนุษย์กลุ่มใหญ่ ชั้น 17-21 โดยเจ้าหน้าที่ใช้เครนยกแผ่นปูนออกจากด้านบนของตึกที่ถล่มลงมา หลังจากช่วงเช้าที่ผ่านมา สแกนพบร่างในบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นห้องโถง จึงเร่งนำเเผ่นปูนขนาดใหญ่ ออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าให้ถึงจุดที่เครื่องสแกนพบร่าง

อ่านข่าว ไทม์ไลน์แผ่นดินไหว 8.2 เมียนมา สะเทือนถึงไทย 28 มี.ค.-1 เม.ย.68

เศษปูนอาคารพังถล่มเจ้าหน้าที่ต้องระวังในการยกออกเพื่อค้นหาผู้สูญหาย

เศษปูนอาคารพังถล่มเจ้าหน้าที่ต้องระวังในการยกออกเพื่อค้นหาผู้สูญหาย

พบอีก 12 คนยังนำออกไม่ได้-เคลียร์ซาก

ต่อมาเวลา 16.00 น.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ขั้นตอนขณะนี้เป็นการค้นหาผู้ประสบภัย พร้อมทั้งรื้อถอนซากที่หักพังตั้งแต่เมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) โดยวางแผนกับทีมกู้ภัยนานาชาติ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญระดับดีที่สุดในโลก โดยติดตั้งเครน 4 ตัว และเริ่มยกเมื่อช่วงเช้าวันนี้ กำหนดเป้าหมาย 4 จุด และยกเสร็จช่วง 12.00 น. จึงเริ่มเข้าสู่โครงด้านใน

พบ 12 ร่างด้านใน ไม่มีสัญญาณชีพ โดยเห็นมือ หรือตัวที่ถูกทับอยู่ แต่ยังไม่ได้นำออกมา เนื่องจากอยู่ลึกและมีสิ่งกีดขวางทับ จึงต้องค่อย ๆ ยกออกทีละชั้น พร้อมทั้งค้นหาผู้รอดชีวิตก่อน เนื่องจากบางจุดอาจมีโพรงและอากาศ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังกล่าวถึงการเผยแพร่ภาพที่เป็นจุดประมาณ 50 คน ว่า รูปดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ของเครื่องมือ จึงไม่อยากให้ผู้ไม่กี่ยวข้องเข้าไปในไซต์ เพราะอาจเกิดการคาดการณ์และประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ทำให้คนด้านในเสียกำลังใจ และสับสน

สำหรับแผนผังตึกนี้ จุด A คือ ด้านหน้า ส่วน B และ C เป็นจุดที่คนอยู่มากที่สุด เพราะเป็นทางหนีไฟ ปล่องลิฟต์ และลานจอดรถด้านหลัง เมื่ออาคารพังทลายคนที่หนีได้จะวิ่งไปทางหนีไฟ ส่วนใหญ่จะเห็นคือโซนนี้

ขณะที่โซน A และ D เป็นลักษณะการทับของซากอาคารเหมือนแพนเค้ก การเข้าถึงต้องเจาะซากเข้าไปลึก

พฐ.ขอเก็บหลักฐานเพิ่มจุดเกิดเหตุ

พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประชุมร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐานกลาง กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง สตง. และหน่วยงานที่เกี่ยข้อง เพื่อหารือวางแนวทางการเข้าเก็บพยานหลักฐานเพิ่มเติม และติดตามสาเหตุของ สตง.แห่งใหม่ที่ถล่มจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีรศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากการประชุมในวันนี้ ตำรวจได้มุ่งเน้นไปในเรื่องของการเข้าเก็บพยานหลักฐานที่เกิดเหตุ

เจ้าหน้าที่เร่งย้ายซากปูนโครงสร้างขนาดใหญ่ออกเพื่อเปิดพื้นที่ค้นหา

เจ้าหน้าที่เร่งย้ายซากปูนโครงสร้างขนาดใหญ่ออกเพื่อเปิดพื้นที่ค้นหา

โดยภายหลังการประชุมพล.ต.ท.สยาม กล่าวว่า การประชุมร่วมกองพิสูจน์หลักฐานตำรวจในวันนี้ เพื่อต้องการเข้าไปเก็บหลักฐานภายในที่เกิดเหตุ แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการค้นหาผู้ประสบภัย และรื้อย้ายโครงสร้างอาคารที่พังลงมา เจ้าหน้าที่จึงเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัย จึงขอความร่วมมือให้รอทาง กทม.ส่งมอบพื้นที่ให้กับตำรวจก่อน

อ่านข่าว 

"แพทองธาร" สั่งครม.สอบปมตึก สตง.ถล่ม เร่งกู้ความเชื่อมั่นโลก

 

 


DSI เร่งสืบสวนปมตึก สตง.ถล่ม หากพบความผิดรับเป็นคดีพิเศษ

Tue, 1 Apr 2025 13:51:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม สำนักงานรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานการประชุมสรุปสถานการณ์กรณีอาคารของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถล่มพังเสียหายในเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568

มี ร.ตอ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.ท.อมร หงษ์สีทอง ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ, พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวในมิติที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวข้อง

เบื้องต้นมีประเด็นที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ซึ่งมีประกาศ กคพ. (ฉบับที่ 8) กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดฯ ไว้ โดยเป็นอำนาจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่จะมีคำสั่งให้รับเป็นคดีพิเศษได้

อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงมีข้อสั่งการให้กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค เร่งทำการสืบสวนกรณีดังกล่าว หากพบความผิดที่เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ ให้รีบเสนอมาเพื่อพิจารณาสั่งการให้ทำการสืบสวนสอบสวนและทำความจริงให้ปรากฏโดยเร็ว

กรณีดังกล่าวแม้เป็นภัยธรรมชาติ แต่เกิดเหตุการณ์อาคารของ สตง.ถล่มเพียงแห่งเดียว และเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาล รวมถึงกระทรวงยุติธรรมให้ความสำคัญ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งมีผู้สูญหายจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ปรากฏมีข้อสงสัย และการตั้งคำถามของประชาชนมากมายเกี่ยวกับมาตรฐานวัสดุ รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับกิจการร่วมค้าฯ ที่เป็นผู้ก่อสร้าง ซึ่ง DSI จำต้องทำความจริงให้ปรากฏ

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อมูลหรือเบาะแสในเรื่องดังกล่าว สามารถแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทราบผ่านทางสายด่วน โทร 1202 ฟรีทั่วประเทศ หรือ DSIไลน์โอเพ่นแชท โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษจะรักษาข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ

อ่านข่าว : "ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม 

ไขปม! แผ่นดินไหวไทย 22 ครั้ง จับตาอาฟเตอร์ช็อกต่อ 2 สัปดาห์ 

ระดมค้นหาคนติดซากตึกถล่มทั้งคืน ปรับแผนใช้เครื่องจักรใหญ่เช้านี้ 


โกหกทั้งประเทศ! ลุง 50 ปีขอโทษ กุเรื่องเมียท้องติดใต้ซากตึกถล่ม

Tue, 1 Apr 2025 12:54:18

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2568 จากกรณีที่ชายอายุ 50 ปี ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนด้วยน้ำเสียงสั่นเครือเมื่อวันที่ 28 มี.ค. หลังเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงจากเมียนมาส่งผลให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ย่านจตุจักรที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถล่ม โดยอ้างว่า "ภรรยา" วัย 24 ปี ตั้งครรภ์ 4 เดือน ติดอยู่ใต้ซากอาคาร และตนเฝ้ารอที่จุดเกิดเหตุตั้งแต่วันแรก เรื่องราวดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจให้ประชาชนทั่วประเทศ จนกระทั่งมีผู้หลงเชื่อบริจาคเงินช่วยเหลือ 10,000 บาทผ่านการไลฟ์สด

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2568 ความจริงปรากฏ เมื่อ หญิงสาวอายุ 25 ปี เดินทางเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ หลังพบว่าชายวัย 50 ปีนำบัตรพนักงานของเธอไปแอบอ้างว่าเป็นภรรยาที่ทำงานเป็นเสมียนในโซนออฟฟิศชั้น 4 ของตึก สตง. และติดอยู่ใต้ซากอาคาร

โดย หญิงอายุ 25 ยืนยันว่าเธอเลิกทำงานกับบริษัทนั้นตั้งแต่ปี 2562 และไม่เคยรู้จักชายในข่าวมาก่อน การกระทำนี้สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและทำให้ครอบครัวของเธอตกใจ คิดว่าเธอเสียชีวิตจริง

ต่อมา พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) เปิดเผยว่าได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการสืบสวนพบว่า ชายวัย 50 ให้ข้อมูลเท็จทั้งหมด ไม่มีภรรยาท้อง 4 เดือนตามที่อ้าง และยังมีพฤติกรรมหลบหนีไปยังหมอชิตด้วยรถจักรยานยนต์ ช่วงเย็นวันที่ 31 มี.ค. หลังเริ่มเป็นข่าวว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นการโกหก

จากการตรวจค้นตัว พบบัตรพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นของหญิงวัย 25 โดยชายวัย 50 อ้างว่าเก็บได้บริเวณถนนลาดพร้าวและนำมาพกติดตัวเพื่อใช้แอบอ้างว่าเป็นภรรยาของตน ซึ่งตำรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ ยังพบว่าเขารับเงินบริจาค 10,000 บาทจากผู้ที่หลงเชื่อผ่านการไลฟ์สด แม้จะคืนเงินทั้งหมดไปแล้ว แต่ตำรวจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมในฐานะ ฉ้อโกง ซึ่งความผิดสำเร็จแล้ว

หลังถูกควบคุมตัว ชายวัย 50 ให้การกับพนักงานสอบสวน โดยยอมรับว่าเรื่องทั้งหมดไม่เป็นความจริง และยกมือไหว้ขอโทษทั้งผู้เสียหาย สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป พร้อมยืนยันว่าไม่มีเจตนาจะหลอกลวง อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.นพศิลป์ ระบุว่า ตำรวจจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดในทุกข้อหาที่พบ 

ทั้งนี้ พล.ต.ต.นพศิลป์ ฝากเตือนประชาชนว่า การใช้สถานการณ์ภัยพิบัติหรือวิกฤตมาเป็นเครื่องมือหากิน โดยการหลอกลวงเพื่อสร้างความสงสารหรือรับบริจาค เป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านสื่อ ซึ่งอาจเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 และขอให้ประชาชนระวังการใช้โอกาสเช่นนี้ในทางที่ผิด

ด้านฝ่ายหญิงที่ถูกนำชื่อไปใช้ ระบุว่า ตกใจมากที่ชื่อถูกนำไปแอบอ้าง ครอบครัวของเธอถึงกับหวาดกลัวว่าลูกสาวเสียชีวิตจริง จึงตัดสินใจเข้าแจ้งความทันที 

จากการตรวจสอบประวัติชายวัย 50 พบว่า ในปี 2558 เคยถูกดำเนินคดีในข้อหา ขับรถขณะเมาสุรา ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมที่เคยฝ่าฝืนกฎหมายมาก่อน อย่างไรก็ตาม การโกหกครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงกว่า เนื่องจากเกิดในช่วงวิกฤตแผ่นดินไหวที่ประชาชนกำลังตื่นตระหนกและต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริง ยิ่งในวันนี้ (1 เมย.2568) ตรงกับวัน April Fool’s Day

การโกหกในสถานการณ์ฉุกเฉินยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอาจสร้างความสับสนและความเสียหายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาท, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14, และ การโกหกจนประชาชนตื่นตระหนกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 384 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าวอื่น :

ทุนจีนสวมบริษัทก่อสร้างไทย กรณี “ตึก สตง.ถล่ม”

กทม.จ่อลดระดับเขตประสบสาธารณภัย-ระงับใช้เครน 201 ไซต์ก่อสร้าง


"เอกนัฏ" ตรวจซ้ำ รง.เหล็ก ต้นตอตึก สตง.ถล่ม ระบุทีมถูกข่มขู่-วิ่งเต้น

Tue, 1 Apr 2025 12:39:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวถึงกรณีนำทีมเข้าไปตรวจวัสดุก่อสร้างในจุดที่เกิดอาคาร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่ม ซึ่งได้ขออนุญาต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย แล้ว ซึ่งมีทีมกู้ภัยมาช่วยตัดเหล็ก และเก็บตัวอย่างมาได้ 6 ประเภท ทั้งเหล็กกลม และเหล็กข้ออ้อย 3 ยี่ห้อ จากการตรวจสอบเมื่อวานพบว่า มีเหล็ก 2 ขนาด ที่ไม่ได้มาตรฐาน คือเหล็กไซส์ 20 และ 32 มาจากยี่ห้อเดียวกัน

เหล็กที่พบ มาจากผู้ผลิตที่มาจากกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งหยุดโรงงานไปแล้ว เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขยายผล ตามปกติเมื่อพบว่า มีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน ต้องเรียกเก็บของมาให้หมด ให้ผู้ผลิตหยุดและปรับปรุงก่อน ซึ่งในกรณีนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้หยุดและปรับปรุงไปแล้ว จึงต้องไปดูว่ามีผลพอที่จะให้เพิกถอนใบอนุญาตได้เลยหรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหล็ก 2 ขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน จะอนุมานว่า เป็นทั้งล็อตที่ใช้ในการก่อสร้างหรือเฉพาะที่สุ่มตรวจตัวอย่าง นายเอกนัฏกล่าวว่า การเข้าไปสุ่มตรวจจะทำ 2 รอบ โดยรอบแรกพื้นที่เกิดเหตุ มีการกู้ภัยอยู่จึงเป็นการสุ่มตัวอย่าง เพราะไม่อยากเข้าไปในพื้นที่อาคารที่กำลังมีการกู้ภัย

โดยระหว่างเก็บตัวอย่างได้มีการติดกล้อง ที่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันว่า เก็บจากจุดไหนบ้าง แต่ละประเภทมีหลายตัวอย่าง และตอนที่ลำเลียงออกไป รวมถึงการแกะตัวอย่างก่อนตรวจสอบ ก็มีสื่อมวลชนบันทึกภาพอยู่

ส่วนรอบต่อไปจะเข้าพื้นที่ พร้อมกับคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่นายกรัฐมนตรีตั้งไว้แล้ว โดยมีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมตำรวจ จะเป็นการเก็บแบบชี้เป้า ซึ่งจะต้องมีแบบ และจะต้องเอา BOQ ของผู้รับเหมา ว่ามีเหล็กประเภทไหนบ้าง เก็บให้ครบทุกประเภท หลายตัวอย่างและเก็บในจุดที่สันนิษฐานว่าเป็นจุดที่ทำให้ตึกถล่ม ซึ่งจะเป็นการเก็บเต็มรูปแบบกว่าครั้งแรก

นายเอกนัฏกล่าวต่อว่า ตนก็อึ้งเหมือนกัน เพราะโรงงานที่พบว่า ผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐานนี้ เป็นโรงงานที่ตนไปตรวจ และสั่งปิดไปตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีที่แล้ว (2567) แต่การก่อสร้างเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 สร้างมาแล้ว 5 ปี ซึ่งในการตรวจเหล็กจะตรวจ 2 ส่วน คือคุณสมบัติด้านทางกล และคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งครั้งแรกที่ไปตรวจตกทางเคมี และล่าสุดที่ตรวจเมื่อวานคือ ตกทางกล

ที่ผ่านมาสั่งให้หยุดและอายัดของกลาง เรียกเก็บสินค้ามา และให้หยุดเพื่อปรับปรุง ซึ่งตั้งแต่ตอนนั้นก็ไม่มีการเปิดตามขั้นตอนทางกฎหมาย เมื่อสั่งให้หยุดปรับปรุง พอปรับปรุงแล้วก็หนังสือมาเพื่อสั่งเปิดและต้องเอาของมาตรวจอีกที ถ้ายังตกอีกคราวนี้ ก็อาจจะปิดและเพิกถอนใบอนุญาต มอก.

นายเอกนัฏกล่าวต่อว่า ดังนั้นหลักฐานทั้งหมดที่เก็บมาได้ในครั้งนี้ จะดูว่า เพียงพอหรือไม่ ที่จะไม่ให้เปิดอีก เพราะถ้าเปิดอีก ผลิตออกมาก็มีปัญหาอีก เราก็ต้องใช้กฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ เพื่อผลประโยชน์ประชาชน เรื่องนี้ตนต่อสู้มาตลอด ไม่ใช่เรื่องเหล็กอย่างเดียวยังมีเรื่องสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย โดยพยายามเรียกเก็บของที่ไม่ได้มาตรฐาน

นายเอกนัฏกล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้ดำเนินการตรวจ และปิดโรงงานเหล็กไปแล้ว 7 โรงงาน อยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 3 โรงงาน มูลค่า 400 ล้าน อีกนัยหนึ่ง คือมีอุตสาหกรรมธุรกิจศูนย์เหรียญ ที่มาอยู่ในประเทศแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทย เป็นทุนต่างชาติ 100 % จ้างงานต่างด้าว 100 % ภาษีบางเจ้าไม่ต้องจ่าย และได้รับ BOI ด้วย

จากที่ทำมา 6 เดือน บางเรื่องมีลักษณะการดำเนินงานเป็นขบวนการ และเมื่อวานนี้อยากให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ตนนำทีมไปเก็บหลักฐานเองทั้งหมด เพราะเชื่อว่าหลักฐานบางส่วน มีความสำคัญและมีน้ำหนัก และสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ ช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ผมได้ข่าวว่า ยังมีความพยายามวิ่งเต้น และข่มขู่เจ้าหน้าที่ เรื่องนี้ตนเข้าใจ ไม่เป็นไร ถ้าไม่กล้าพูดผมจะพูดเอง เกิดอะไรขึ้นผมรับผิดชอบเอง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ผมคิดว่าเราปล่อยปละละเลยต่อไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว

นายเอกนัฏกล่าวด้วยว่า ในวันพรุ่งนี้ (2 เม.ย.2568) จะลงพื้นที่จะมีการลงพื้นที่ตรวจโรงงาน ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่สั่งปิด หลัง สส. ประชาชนลงพื้นที่ซึ่งพบว่า โรงงานดังกล่าวยังมีความเคลื่อนไหว พบรถบรรทุกขนฝุ่นแดง ทั้งที่มีการสั่งปิดตั้งแต่ปี 2567 ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า จะมีการลักลอบผลิตเหล็กอยู่หรือไม่ ทั้งนี้หากพื้นที่แล้วตรวจพบและพบว่า มีการลักลอบจะถูกตั้งข้อกล่าวหา และดำเนินคดีเพิ่มอีก

อ่านข่าว : "ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม

เช็กสิทธิสวัสดิการแรงงานไทย-แรงงานข้ามชาติตายแผ่นดินไหว

"บิณฑ์" เผยผลสแกนตึก สตง.ถล่ม พบภาพสัญญาณมนุษย์กลุ่มใหญ่ ชั้น 17 - 21


“ทวี” ชี้บริษัทรับเหมาจีน สร้างตึก สตง.เข้าข่ายคดีพิเศษ "ฮั้วประมูล"

Tue, 1 Apr 2025 11:27:00

วันนี้ (1 เม.ย.2568) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงการช่วยเหลือเยียวยาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เหตุตึกถล่มจากแผ่นดินไหว ว่า เรื่องการเยียวยา เป็นไปตามกฎหมาย กรณีดังกล่าวหากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ เรื่องความประมาททำให้เสียชีวิต ถือเป็นฐานความผิดทางอาญา ก็จะไปเข้าข้อกฎหมาย แต่ในการช่วยเหลือเยียวยาของเหตุภัยพิบัติ มีหลายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานที่ดูแลโดยตรง อย่างกระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา

ซึ่งในส่วนของรัฐบาลมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเหมือนโศกนาฏกรรม ก็ต้องดูแลช่วยเหลือเต็มที่ ดังนั้น การเยียวยาทางด้านจิตใจ และที่เป็นตัวเงินจะต้องมี ซึ่งในการเยียวยาเหตุภัยพิบัติสามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด นอกจากนี้ รัฐบาลอาจจะมีมติคณะรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม สำหรับกระทรวงยุติธรรม จะเข้าไปดูแลเรื่องหนี้สินครัวเรือนด้วย

ขณะเรื่องคดีความมีอยู่ 3 ประเด็น ที่จะเข้าข่ายความผิด คือ 1.การประกอบธุรกิจบุคคลต่างด้าว ที่ใช้นอมินี เท่าที่ดูจากงบการเงินที่เผยแพร่กันอยู่ ของบริษัทดังกล่าว ขาดทุนมาตลอด และไม่มีการเสียภาษี อีกทั้งมีการนำเงินของบริษัท ไปให้กรรมการกู้จำนวน 2 พันล้านบาท แม้อำนาจที่แท้จริงจะให้ต่างชาติ 49 % ไทย 51 % แต่หากมองในลักษณะมีอำนาจครอบงำ จะเห็นในเรื่องของการบริหาร

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม

ดังนั้น จึงต้องเข้าไปดูประกอบกับการตรวจสอบสถานที่เดียวกัน กลุ่มคนเดียวกัน มีบริษัทในลักษณะนี้ 10 บริษัท ซึ่งต้องดูว่า มีการกระทำใดที่เป็นความผิดในพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจบุคคลต่างด้าว และเข้าข่ายที่จะให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้าไปดำเนินการหรือไม่

ประเด็นที่ 2.หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ดีเอสไอมีอำนาจในการสอบสวน และ 3.การจัดซื้อจัดจ้าง ที่เรียกว่าฮั้วประมูล หากเกินกว่า 30 ล้านบาทขึ้นไป กรมสอบสวนคดีพิเศษก็มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบ เพราะเบื้องต้นเห็นว่า ต่ำกว่าราคากลางเพียง 1 % เท่านั้น ปกติการประมูลที่ไม่มีการแข่งขัน ควรต่ำกว่า 10-15 %

เมื่อถามว่าบริษัท ไชน่าเรลเวย์ นัมเบอร์ 10 มีบริษัทเครือข่ายเดียวกันกว่า 24 บริษัท พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ทราบจากการรายงานของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะมีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือการตรวจสอบว่า เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุแค่ตึกเดียว ก็จะดูว่ามีการกระทำผิดหรือไม่

ซึ่งมีข้อมูลทางทะเบียนไปตรวจสอบ เรื่องการเสียภาษี ที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร รวมถึงการตรวจสอบในเชิงลึก คือการนำบุคคลที่เกี่ยวข้องมาซักถาม ก็จะได้ข้อมูล ก็ได้กำชับให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเร่งดำเนินการ

ส่วนจะพุ่งเป้าไปที่บริษัท ไชน่าเรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ก่อนใช่หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า นายกฯ ได้สั่งการให้กระทรวงยุติธรรม ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ดูเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจของไทย เหมือนจีดีพีจะโต แต่คนไทยไม่ได้ประโยชน์ จึงจะไปดูว่า หากเราบังคับใช้กฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว ให้เป็นไปตามกฎหมาย เงินที่จะไปสู่คนต่างด้าวเพียงอย่างเดียว ต้องกลับมาหาคนไทย 51 % ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้ แต่จะดูธุรกิจทั้งหมด ที่คนต่างด้าวดำเนินการ โดยให้สำนักความมั่นคงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปดูเรื่องนอมินีทั้งหมด

อ่านข่าว : การสื่อสารจากรัฐในเหตุวิกฤต หรือ วิกฤตการสื่อสารของรัฐ

ไขปม! แผ่นดินไหวไทย 22 ครั้ง จับตาอาฟเตอร์ช็อกต่อ 2 สัปดาห์

พบผู้เสียชีวิตใต้ซากตึกถล่มเพิ่ม 5 คน เร่งกู้ร่างออก


เจาะกิจการร่วมค้า คว้างานสร้าง "ตึก 2 พันล้าน"

Mon, 31 Mar 2025 20:04:00

การประมูลโครงการภาครัฐที่มีมูลค่าการก่อสร้างสูง แน่นอนว่า หน่วยงานผู้ว่าจ้าง ก็ต้องคัดเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีสถานะทางการเงินที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า จะสามารถเดินหน้าโครงการได้ตามแผน 

ไทยพีบีเอส พิจารณาข้อมูลของบริษัท ในกิจการร่วมค้าที่มารับงานก่อสร้างอาคาร สตง.ที่ถล่ม เมื่อเจาะลึกลงไปในข้อมูลงบการเงินของบริษัท ที่เป็นผู้ก่อสร้างอาคาร สตง.ที่ถล่ม

พบว่า หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ สตง.คัดเลือกเอา บริษัทที่มีปัญหาขาดทุนเข้ามารับงาน แม้จะหนึ่งในบริษัทร่วมทุนที่เป็นของคนไทย จะมีประวัติน่าเชื่อถือ เคยรับงานโครงการขนาดใหญ่ของรัฐมามากมาย

โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน สตง.แห่งใหม่ ที่มีมูลค่า การก่อสร้างกว่า 2,136 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์ซี เป็นผู้ชนะการเสนอราคาเมื่อ ปี 2563 ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท จากจีน

ไม่ใช่เรื่องแปลก หากทั้ง 2 บริษัท มาร่วมทุนรับงานในไทย แต่ถ้าพิจารณาข้อมูลการเงินของทั้ง 2 บริษัท สิ่งที่พบคือ ในช่วงตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน สถานะการเงินของทั้งคู่มีข้องเกตว่าอาจมีปัญหาต่อเนื่อง

ข้อมูลงบการเงินของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ในปี 2566 บริษัทมีสินทรัพย์รวมกว่า 2,800 ล้านบาท แต่มีหนี้สินกว่า 2,900 ล้านบาท ตัวเลขนี้บ่งบอกว่า บริษัทมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์

เมื่อดูรายละเอียดในส่วนของสินทรัพย์กว่า 2,800 ล้านบาท พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินให้กู้ระยะสั้น มากกว่า 2,239 ล้านบาท ขณะที่ เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงินมีเพียง 7 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของมูลค่าสินทรัพย์รวมเท่านั้น ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2566 ก็จะเห็นว่า มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ทำให้ขาดทุนมากกว่า 199 ล้านบาท

ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2566 บริษัทขาดทุนสะสมมาตลอด โดยในปี 2566 ขาดทุนสะสมกว่า 208 ล้านบาท ขณะที่ บริษัทมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แต่เป็นทุนที่ชำระแล้ว 60 ล้านบาท นั่นหมายความว่า บริษัทขาดทุนสะสมเกินกว่าทุนที่มีถึง 3 เท่าตัว

ไม่ต่างจากงบการเงินของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) แสดงให้เห็นถึงปัญหาทางการเงินที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 37.34 ล้านบาท เป็นช่วงหลังจากที่ ผู้บริหาร บริษัท ถูกดำเนินคดี "ล่าเสือดำ" และขยับขึ้นมาเป็น ขาดทุนสุทธิ 1,104 ล้านบาท ในปี 2563

แม้ดูเหมือนว่า สถานการณ์จะดีขึ้นในปี 2564 ก็กลับขาดทุนสุทธิ 155 ล้านบาท ในปี 2565 ก็ขาดทุนหนักกว่าเดิมถึง 4,758 ล้านบาท ปี 2566 ขาดทุนสุทธิ 1,072 ล้านบาท และปีล่าสุด 2567 ขาดทุนสุทธิ 5,775 ล้านบาท

ท่ามกลางข้อสังเกตของ ผู้ตรวจสอบบัญชี เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.2567 บริษัทมีขาดทุนสะสมสูงถึง 12,138 ล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ด้านสภาพคล่อง กลุ่มบริษัทมีหนี้สินหมุนเวียน สูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนถึง 13,553 ล้านบาท จนต้องขอผ่อนผันการชำระหนี้ ที่เกิดจากหุ้นกู้ออกไปอีก 2 ปี นับจากวันครบกำหนดไถ่ถอนเดิม

ทำให้หลายฝ่าย ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทั้ง 2 บริษัท ที่มีสภาพขาดทุนหนักทั้งคู่ ถึงได้รับเลือกและชนะการประมูลงานภาครัฐ แม้ "ไอทีดี" จะมีประวัติ เคยก่อสร้างงานโครงการภาครัฐมาหลายโครงการ แต่การขาดทุนต่อเนื่องแบบนี้ ก็สะท้อนถึงฐานะของบริษัทที่อาจเข้าขั้นวิกฤต เมื่อประมูลงานมูลค่าหลักพันล้านบาทได้ จะมีศักยภาพในการบริหารการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ยืนยันว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ เป็นไปตามระเบียบทุกประการ โดย สตง.พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ หลัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ สั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่มีกรมโยธาและทีมวิศวกรเป็นแม่งาน และจะมีการเก็บรวบรวมเอกสาร หลักฐาน ระเบียบหลักเกณฑ์ และสัญญา ทั้งหมด วันนี้

พร้อมยอมรับว่า ในระหว่างการบริหารสัญญาโครงการ มีการตีความแบบก่อสร้าง แต่เป็นการตีความปลีกย่อย โดยไม่ได้มีการแก้ไขสเปค หรือ แก้แบบโครงสร้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ที่ระหว่างบริหารสัญญาจะมีการตีความแบบก่อสร้าง ซึ่ง สตง. จะเลือกแบบที่ดีที่สุดอยู่แล้ว พร้อมย้ำว่า บริษัทนี้ เป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลจีนจึงมีคุณสมบัติเข้าร่วมงานได้

นายประจักษ์ บุญยัง อดีตผู้ตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้ลงนามสัญญาว่าจ้าง ยอมรับว่า ขณะนั้น สตง.ไม่ได้ตรวจสอบ ที่ไปที่มา บริษัทผู้รับเหมาจีนเพราะจับคู่ในรูปกิจการร่วมค้า กับ บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ซึ่งมีเครดิตชั้นความน่าเชื่อถืองานภาครัฐ ในระดับสูง

ในระหว่างบริหารสัญญาก็เริ่มเห็นสัญญาณปัญหาความล่าช้าของโครงการ มีคนงานเข้าทำงานครั้งละไม่เกิน 50 คน ทั้งที่ควรมีคนงานไม่น้อยกว่า 300 คนต่อวัน ซึ่งตอกย้ำปัญหาบริษัทผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน

ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัท ที่มีปัญหาฐานะการเงินแต่สามารถเข้ามาประมูลงานภาครัฐได้ หรือ อาจใช้ ความได้เปรียบ ของบริษัท ที่มีเครดิตเคยรับงานภาครัฐ เป็นแต้มต่อในการเข้าร่วมงาน และพ่วงเอาบริษัทที่ขาดทุนและไม่เคยมีประสบการณ์ในการสร้างตึกสูงเข้ามาร่วมงานด้วย

นอกจากโครงการก่อสร้าง อาคาร สตง.หลังใหม่ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ยังได้งาน โครงการรถไฟไทย-จีน กรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ -นครราชสีมา สัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ลงนามสัญญา 19 ก.ค.2566 มูลค่างานกว่า 9,000 ล้านบาท 

ขณะที่วันนี้ บริษัท อิตาเลียนไทย แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยชดเชย และเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่ง กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ได้ทำประกันภัยเต็มมูลค่างานตามสัญญา 2,136 ล้านบาท และ ครอบคลุมอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

รวมถึงการคุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกอีกจำนวน 100 ล้านบาท และมั่นใจว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโครงการอื่นๆ ของบริษัทฯ แต่หลังจากนี้ต้องมีการตรวจสอบโครงการที่บริษัทดังกล่าว เข้าไปรับงาน โดยเฉพาะ การรถไฟแห่งประเทศไทย สั่งให้ตรวจสอบทุกโครงการ และรายงาน ภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้

อ่านข่าว : แผ่นดินไหว 7.4 จตุจักรตึกถล่มตาย 1 สูญหาย 43 คน

กางข้อมูลอาคาร สตง.ถล่มขณะก่อสร้าง เหตุแผ่นดินไหว 

ลดระดับแผ่นดินไหวสาธารณภัยเป็นระดับ 2 - กทม.แนะเลี่ยง 2 เส้นทาง 


ขุมทรัพย์ “ไชน่า เรลเวย์” แกะรอยผู้ถือหุ้นจีน-ไทย สร้างอาคารสตง.

Mon, 31 Mar 2025 18:28:00

คนงานก่อสร้างสูญหาย 75 คน ยังหาไม่พบ ขณะตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 คน และผู้เสียชีวิตอีก 13 คน ท่ามกลางซากปรักหักพังและเสียงร้องไห้ของครอบครัวและญาติ หลังเกิดเหตุอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ มูลค่ากว่า 2.1 พันล้านบาท ถล่มจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค.2568 ที่ผ่านมา ทำให้มีคำถามว่า เหตุใดโครงสร้างก่อสร้างอาคารของรัฐ จึงเปราะบางมากกว่าอาคารอื่น ๆ ของเอกชนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเช่นเดียวกัน

แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่แน่ นอนว่า ในฐานะที่ กิจการร่วมค้า "ITD-CREC" ประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ และบริษัท China Railway No.10 Engineering Group ซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักของโครงการฯ ก็ยากที่จะปฎิเสธความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น

อาคารสตง. เป็นตึกสูง 33 ชั้น สร้างบนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ 3 งาน บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กทม. ออกแบบเมื่อปี 2561 โดยบริษัท ฟอ-รัม อาร์คิเทค จำกัด และบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด วงเงิน 73 ล้านบาท

ตามการชี้แจงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2563 ครม.ได้อนุมัติงบประมาณรายการค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 2,560 ล้านบาท และดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

โดยแยกเป็น 2 ส่วนงานคือ การก่อสร้างอาคาร ผู้ชนะการประกวดราคา คือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี – ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นผู้เสนอราคารายต่ำสุด ด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 22 งวด เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 966.80 ล้านบาท

ส่วนการควบคุมงานก่อสร้าง สตง.ระบุว่า ได้จัดหาผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 โดย กิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์ โครไนซ์ จำกัด บริษัท ว. และสหายคอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนชัลแทนส์ จำกัด) เป็นผู้ชนะการยื่นข้อเสนองานจ้างควบคุมงาน ด้วยวงเงิน 74.65 ล้านบาท

เปิดรายชื่อผู้ถือหุ้น “ไชน่า เรลเวย์” จีน-ไทย

หากพลิก ข้อมูลของกิจการร่วมค้า AKC พบว่า จดเลขทะเบียนนิติบุคคล 993000435168 ที่ตั้ง สำนักงานใหญ่อยู่ที่ 493 ซอยพุทธบูชา แยก 11 เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ประเภทธุรกิจ: กิจกรรมบริการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจอื่นซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (82990)

โดยลักษณะธุรกิจ:(ล่าสุด) เพื่อร่วมเสนอราคาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของโครงการ หมายเลขโทรศัพท์: 02-0009737

ขณะที่ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้ง 493 ซอยพุทธบูชา แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร หนึ่งในผู้รับเหมาหลักจากประเทศจีน

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2561 มีรายชื่อกรรมการ คือ นายชวนหลิง จาง และ นายโสภณ มีชัยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท

จำแนกเป็นสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 51 ล้านบาท เป็นบุคคล 3 ราย คือ นายโสภณ มีชัย (49 % ของ 51 ล้านบาท) , นายประจวบ ศิริเขตร (40.8 % ของ 51 ล้านบาท) และ นายมานัส ศรีอนันท์ (10.2 % ของ 51 ล้านบาท) ส่วนสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติจีน 49 ราย เป็นบุคคล 1 ราย คือ นายชวนหลิง จาง

การนำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 พบมีสินทรัพย์รวม 2,804,535,819 บาท และหนี้สินรวม 2,952,877,175 บาท จดทะเบียนประเภทธุรกิจ การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย วัตถุประสงค์ ด้านการบริการด้านการทรัพยากรมนุษย์และรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการ ทางรถไฟ ทางรถสาธารณะ ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน

สำหรับนาย โสภณ พบข้อมูล เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในหลายบริษัท ในประเทศไทย นอกจากเป็นกรรมการร่วมกับ นายชวนหลิง จาง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัดแล้ว ยังมีสถานะเป็นกรรมการบริษัทอื่นๆ อีก เช่น

บริษัท ไซเบอร์ เทเลคอม จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย โดยถือหุ้น 60 % ในบริษัท , เป็นกรรมการบริษัท ไฮห่าน จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยถือหุ้น 51 % ,เป็นกรรมการ บริษัท เอที แคปปิตอล โซลูชั่น จำกัด เคยถือหุ้น 60 %

และนายโสภณ ยังมีตำแหน่งเป็นผู้ถือหุ้น 25.50 % บริษัท ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายเสื้อผ้า , ถือหุ้นบริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเสริมและเครื่องสำอาง 10 %

ส่วน นายชวนหลิง จาง (Mr. Chuanling Zhang) พบข้อมูลเพียงดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด และไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งกรรมการหรือการถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

บ.กิจการร่วมค้า-ไชน่า เรลเวย์-สยาม ไบโอฯ ที่ตั้งเดียวกัน

ขณะที่ นายมานัส ศรีอนันท์ ผู้ถือหุ้น (10.2 % ) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด พบมีชื่อ เป็นกรรมการ 11 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด เลขที่ 493 ซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ และ เครื่องสำอางค์ทุกชนิด

รวมทั้ง บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด , บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท บี เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด 

และนายมานัส ยังถือครองหุ้นอีก 12 บริษัท ประกอบด้วย ,บริษัท เลนเยส อี-พาวเวอร์ จำกัด ถือ 51 % ,บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 31 % ,บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถือ 52.1 % , บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ถือ 40 % , บริษัท บี เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 1 % ,บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถือ 30% , บริษัท ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป จำกัด ถือ 25.5 % ,บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด ถือ 48 % , บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ถือ 70 % , บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 45.03 % และบริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด ถือ 62.48 %

ทั้งนี้ พบข้อน่าสังเกตว่า ที่ตั้งของ กิจการร่วมค้า AKC  สำนักงานบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ทั้ง 3 แห่ง มีที่ตั้งอยู่เลขที่เดียวกัน คือ เลขที่ 493 ซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ที่สำคัญมีรายชื่อ นายโสภณ เป็นผู้ถือหุ้น บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ส่วนนายมนัส ยังมีชื่อเป็นกรรมการ บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ด้วยเช่นกัน

มีรายงานว่า ในปี 2563 กิจการร่วมค้า AKC ร่วมกับบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) ได้รับงาน โครงการก่อสร้างภาครัฐปรับปรุงที่ดินก่อสร้างอาคารศูนย์บริการลูกค้า อาคารสำนักงาน อาคารอบรมสัมมนาอื่น ๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่าโครงการ 210.0 ล้านบาท ในนามกิจการร่วมค้า AKC (ระหว่าง บจก.อัครกร ดีเวลลอปเม้นท์ กับ บจก.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย)

ในปี 2564 โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์สาธิตบริการและอาคารจอดรถ กรมควบคุมโรค มูลค่า 480.0 ล้านบาท ที่กิจการร่วมค้า AKC ได้เข้าร่วมประมูล โดยมีนิติบุคคลอื่นที่เข้าร่วมประมูลด้วยจำนวน 16 ราย ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทอิตัลไทย ดีเวลลอปเมนท์, บริษัท ไชน่าสเตท คอนสตรัคชั่น เอนจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

และมีข้อสันนิษฐานว่า บริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอนจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด อาจเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มทุนสัญชาติจีนเช่นเดียวกันกับ บริษัทไชน่าสเตท คอนสตรัคชั่น เอนจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (CSCEC) ในกิจการร่วมค้า ซีเอเอ็น (CAN JOINT VENTURE) ประกอบด้วยบริษัทต่าง ๆ คือ

โดยบริษัทดังกล่าว ได้ร่วมลงนามในสัญญาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) มูลค่าโครงการ 11,525.35 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของ CSEC 40%, NWR ( เป็นบริษัทในกลุ่มทุน ITD ) 30 %, และ AS 30% มีระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน

อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อมูลอีกว่า มีการใช้ชื่อและเครื่องหมายของ China Railway Group Limited (CREC) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของจีนซึ่งมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท คือ China Railway Engineering Corporation ที่เป็นของรัฐ เพื่อต้องการสร้างความสับสนหรือไม่

เนื่องจากบริษัทกิจการร่วมค้าระบุ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) ที่มีการใช้ชื่อผู้ถือหุ้นสัญชาติจีน ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จะใช้ชื่อ “China Railway No.10 Engineering Group Co., LtdW เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับนอมินีสัญชาติไทย ก็ไม่สามารถใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษว่า CREC ได้

ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ต้องตามว่า บริษัทอิตาเลียนไทย (ITD ) และทางสตง. มีการตรวจสอบหรือไม่ว่า China Railway No.10 Engineering Group Co., Ltd สัญชาติจีนเป็นบริษัทย่อยของ CRCC ที่ตั้งอยู่ในประเทศจีนหรือไม่

อ่านข่าว:

วิศวกรตรวจซ้ำ "อาคาร A" ศูนย์ราชการฯ พบเสาปูนกระเทาะแตก

เร่งด่วนอันดับ 1 ช่วยชีวิตคนงาน อันดับ 2 คลี่ปมเหตุตึก สตง.ถล่ม

เช็กรอยร้าว อาคาร-บ้าน-คอนโด หลังแผ่นดินไหว แบบไหนอันตราย


พบอีก 3 ศพตึกสตง.ถล่ม "นิติเวช" ตั้งวอร์รูมพิสูจน์อัตลักษณ์

Sun, 30 Mar 2025 15:21:00

ความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่ประเทศเมียนมา แต่ทำให้ตึก 30 ชั้น ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในเขตจตุจักร กทม. ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่มลงมา เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 10 คน สูญหาย 80 คน 

วันนี้ (30 มี.ค.2568) เวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่กู้ภัยพบร่างของผู้เสียชีวิต 3 คน ออกจากใต้ซากอาคาร สตง. ที่ถล่ม ออกจากพื้นที่ เพื่อนำส่งไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงาน ครั้งที่กู้ภัยจากหลายมูลนิธิ ตำรวจ ทหาร รวมถึงสถาบันการศึกษาที่นำหุ่นยนต์ และเครื่องจักรเข้ามาช่วยในภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิต ยังคงระดมเร่งกู้ซากอาคารถล่ม หาผู้รอดชีวิต

ในขณะเดียวกันก็ค้นหาผู้เสียชีวิตด้วย โดยยังได้รับความร่วมมือจากต่างชาติหลายหน่วยงานทั้งกองทัพทหารสหรัฐฯ และอิสราเอล

ทั้งนี้เนื่องจากวันนี้ช่วงบ่ายมีฝนตกลงมา อาจเป็นอุปสรรคต่อภารกิจการค้นหากู้ชีพและกู้ภัยในวันนี้ ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานต้องเร่งระดมสรรพกำลังปฏิบัติงานแข่งกับเวลา

เจ้าหน้าที่ยังเร่งทำงานแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาผู้สูญหาย และล่าสุดนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้อีก 3 ศพ

เจ้าหน้าที่ยังเร่งทำงานแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาผู้สูญหาย และล่าสุดนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้อีก 3 ศพ

เปิดวอร์รูมพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล

สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ แจ้งประชาสัมพันธ์จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่ออาคารที่กำลังดำเนินการก่อสร้างพังถล่ม ทำให้เกิดความเสียหาย และการสูญเสียค่อนข้างมาก

เพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือญาติของผู้สูญหาย ท่านสามารถเข้ามาตรวจเก็บ DNA จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม และติดต่อขอดูรูปภาพผู้สูญหาย ได้ที่สถาบันนิติเวชวิทยา สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมมาด้วย คือ บัตรประชาชน หรือเอกสารสำคัญทางราชการ เพื่อแสดงตัวตน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล กรณี อาคาร สตง. ถล่ม เนื่องจากเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยศูนย์ฯ ตั้งอยู่ที่ อาคารสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 3 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-20.00 น.สอบถามข้อมูล 02-207-6108 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

อ่านข่าว

"คปภ." ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ-เยียวยาด้านประกันภัยเหตุแผ่นดินไหว

กทม.อัปเดตตึก สตง.ถล่มพบเสียชีวิตแล้ว 10 คน ยังเน้นหาคนสูญหาย

 


ปิดทางด่วนดินแดง! เร่งย้ายเครนถล่มภายใน 31 มี.ค.

Sun, 30 Mar 2025 07:56:00

วันนี้ (30 มี.ค.2568) นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวภายหลังติดตามความคืบหน้ากรณีชิ้นส่วนเครนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ หล่นลงมาบริเวณขาออก ช่วงด่านเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษดินแดง ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา

นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ยึดรั้งตัวเครนไว้กับอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้เครนสั่นไหวแล้ว ส่วนขั้นตอนต่อไปเป็นการตัดชิ้นส่วนเครนออกเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่

โดยในวันที่ 30 มี.ค.นี้ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษดินแดง จะยังคงปิดให้บริการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้สามารถเปิดการจราจรได้ทันก่อนเช้าวันจันทร์ 31 มี.ค.นี้

อ่านข่าว กทพ.ยืนยันทางพิเศษให้บริการได้ตามปกติ ยกเว้น "ด่านฯดินแดง"

นอกจากนี้มีการประเมินสถานการณ์ว่าหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายเครนออกจากพื้นที่ ได้ทันก่อนเช้าวันที่ 31 มี.ค.นี้ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อรถประมาณ 50,000 คันต่อวัน ที่จะเข้าใช้บริการในด่านแห่งนี้

คาดใช้เวลา 2 วันเร่งเคลียร์

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมวมหาดไทย และน.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ดูยังจุดเกิดเหตุเครนถล่มที่บริเวณทางขึ้น-ลง ด่านดินแดง

นายชัชชาติ กล่าวว่า การนำเศษซากของเครนลงมาจากตัวอาคาร เป็นหน้าที่ของบริษัทผู้รับเหมาที่ต้องดำเนินการ โดยกทม.ตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยดูแล และจะมีการบูรณาการร่วมกัน 

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนการจัดการ ภายใน 2 วันน่าจะแล้วเสร็จ แต่หากมีอุปสรรคก็จะใช้เวลานานขึ้น ต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัยของประชาชน